วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผู้เจริญเหมือนโคถึก

ผู้เจริญเหมือนโคถึก

อปฺปสฺสุตายํ  ปุริโส,    พลิพทฺโธว  ชีรติ;
มํสานิ  ตสฺส  วฑฺฒนฺติ,    ปญฺญา  ตสฺส  น  วฑฺฒติ.

บุรุษมีสุตะน้อยนี้ ย่อมเจริญเหมือนโคถึก  เนื้อทั้งหลายของเขาย่อมเจริญ  [แต่] ปัญญาของเขาหาย่อมเจริญ หามิได้.

(ธรรมนีติ สุตกถา ๖๑, นรทักขทีปนี ๔๔, ขุ. ธ. ๒๕/๒๑ ชราวรรค)

ศัพท์น่ารู้ :

อปฺปสฺสุตายํ ตัดบทเป็น อปฺปสฺสุโต+อยํ (บุคคล ผู้มีความรู้น้อยนี้) อปฺป+สุต > อปฺปสฺสุต+สิ = อปฺปสฺสุโต (ผู้มีปัญญาน้อย, ผู้มีสุตะน้อย), ส่วย อยํ แปลว่า นี มาจาก อิม+สิ แปลง อิม เป็น อยํ ในปุง. และอิต. § อนปุํสกสฺสายํ สิมฺหิ. (รู ๒๑๘) แล้วลบ สิ วิภัตติ.

ปุริโส, (บุรุษ, ชาย, คน) ปุริส+สิ

พลิพทฺโธว ตัดบทเป็น พลิพทฺโธ+อิว (เหมือนโคพลิพัทท์) พระไตรปิฏก ฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น พลิทฺโธว ส่วนอัฏฐกถาเป็น พลิพทฺโทว เหมือนฉบับสยามรัฐ. พลิพทฺโธ, พลิพทฺโท (วัวมีกำลัง, วัวถึก, โคตัวผู้) พลิพททฺธ+สิ, ส่วน อิว ศัพท์ เปนนิบาตบอกการเปรียบเทียบ.

ชีรติ (ย่อมเจริญ, พัฒนา) √ชีร+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. (จากสัททนีติ ธาตุมาลา) อนึ่ง ชีรติ ศัพท์นี้ อาจแปลว่า ย่อมแก่, ย่อมโทรม, ย่อมเจ็บป่วย ก็ได้ ที่แปลว่า แก่, เจ็บป่วย มาจาก ชร ธาตุ แปลง ชร เป็น ชีร ได้บ้าง § ชรมรานํ ชีร-ชียฺย-มียฺยา วา. (รู ๔๘๒)

มํสานิ (เนื้อ ท.) มํส+โย

ตสฺส (ของบุคคลนั้น,​ ของเขา) ต+ส สัพพนาม

วฑฺฒนฺติ (ย่อมเจริญ) √วฑฺฒ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ปญฺญา (ปัญญา) ปญฺญา+สิ

ตสฺส (ของบุคคลนั้น, ของเขา) ต+ส สัพพนาม

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

วฑฺฒติ (ย่อมเจริญ) √วฑฺฒ+อ+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

ในอัฏฐกถา ท่านแก้ (อธิบาย) ศัพท์ว่า  ชีรติ  ไว้ดังนี้.

พลิพทฺโทว   ชีรตีติ   ยถา   หิ   พลิพทฺโท   ชีรมาโน   วฑฺฒมาโน   เนว   มาตุ,   น   ปิตุ,   น   เสสญาตกานํ  อตฺถาย   วฑฺฒติ,   อถ   โข   นิรตฺถกเมว   ชีรติ,   เอวเมวํ   อยมฺปิ  น   อุปชฺฌายวตฺตํ  กโรติ,  น  อาจริยวตฺตํ,  น  อาคนฺตุกวตฺตาทีนิ,  น  ภาวนารามตํ  อนุยุญฺชติ,  นิรตฺถกเมว  ชีรติ ฯ

บาทพระคาถาว่า พลิพทฺโทว ชีรติ ความว่า จริงอยู่ โคตัวเนื่องด้วยกำลัง เติบโตอยู่ คือ เจริญอยู่ ย่อมเจริญ เพื่อประโยชน์แก่มารดา หามิได้, แก่บิดา หามิได้, แก่เหล่าญาติที่เหลือ หามิได้, โดยที่แท้ ย่อมเจริญ โดยไม่มีประโยชน์นั่นเทียว ฉันใด, แม้บุคคลนี้ ย่อมทำวัตรแก่พระอุปัชฌาย์ หามิได้,​ ย่อมทำวัตรแก่อาจารย์ หามิได้, ย่อมทำวัตรแก่อาคันตุกะเป็นต้น หามิได้, ย่อมตามประกอบความเป็นผู้ยินดีในภาวนา หามิได้ ย่อมเจริญ โดยปราศจากประโยขน์ ฉันนั้นนั่นเทียว.

และในสัททนีติ ธาตุมาลา ท่านแสดงกิริยา ชีรติ ว่ามาจาก ชีร ธาตุ ไว้ดังนี้

ชีร พฺรูหเนฯ พฺรูหนํ วฑฺฒนํฯ ชีรติฯ ชีรํฯ ชีรมาโนฯ ชีรณํฯ อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส, พลิพทฺโทว ชีรติฯ

ชีร ธาตุ เป็นไปในพอกพูนฯ (อธิบายว่า) การพูกพูน ได้แก่ ความเจริญฯ (ตัวอย่าง) ย่อมเจริญฯ เจริญอยู่ฯ เจริญอยู่ฯ (ตัวอย่างที่มาในพระบาฬี) บุรุษนี้ ผู้มีสุตะน้อย ย่อมเจริญ เหมือนโคถึกตัวเจริญอยู่ฯ

ชร  โรเคฯ  เอตฺถ  ชรโรโคเยว  ‘‘โรโค’’ติ  อธิปฺเปโต  ปโยควเสนฯ  ชรสทฺทสฺส  หิ  ชรโรเค  ปวตฺตนิยมนตฺถํ ‘‘โรเค’’ติ  วุตฺตํฯ  เตน  อญฺโญ  โรโค  อิธ  โรคสทฺเทน  น  วุจฺจติฯ  ชรติฯ  ชโรฯ  สชฺชโรฯ  ปชฺชรโรโคฯ  ชเรน  ปีฬิตา  มนุสฺสาฯ  ยตฺถ  ตุ  อยํ  วโยหานิวาจโก,  ตตฺถ  ปโยเค  ‘‘ชีรติ,  ชรา’’ติ  จสฺส  รูปานิ  ภวนฺติฯ  (46)

ชร  โรเคฯ  ชรติ,  ชริยฺยติฯ ชรวโยหานิยํฯ  ชีรติ,  ชิยฺยติฯ  อิมา  เทฺวปิ  ภูวาทิ  คณิกวเสน  เอกคณิกาฯ  ตาสํ อยํ  สาธารณรูปวิภาวนาฯ  ‘‘เยน  จ  สนฺตปฺปติ,  เยน  จ  ชริยฺยตี’’ติอาทิฯ  ตตฺถ  เยน  จ  ชริยฺยตีติ  เยน  เต โชคเตน  กุปิเตน  อยํ  กาโย  เอกาหิกาทิชรโรเคน  ชริยฺยติ  ชรติฯ  อถ  วา  เยน  จ  ชริยติ  เยน  อยํ  กาโย   ชีรติ  อินฺทฺริยเวกลฺยตํ  พลกฺขยํ  ปลิตวลิตาทิญฺจ  ปาปุณาติฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บุรุษผู้มีความรู้ทราม ย่อมโซมเหมือนโคเกวียน  กล้ามเนื้อของเขาเจริญแท้ แต่ปัญญาของเขาไม่มีเลย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

สาธุ  โข  สิปฺปกํ  นาม,  อปิ  ยาทิสิ  กึทิสํ;

ปสฺส  ขญฺชปฺปหาเรน,  ลทฺธา  คามา  จตุทฺทิสา.

ธรรดาว่าศิลปะแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็ช่วยให้สำเร็จประโยชน์ได้  จงดูเอาเถิด!  เพียงการดีดขี้แพะอย่างเดียวเท่านั้น  ตาง่อยก็ยังได้บ้านส่วยถึงสี่ตำบล.

หมายเหตุ : ในราชนีติ ธรรมนีติ ไม่ปรากฏว่ามีคาถาข้างต้นด้านบน.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้👇

63. น้ำลึกไหลนิ่ง ,   62. กบในกะลา - The Frog Under the Coconut Shell ,   61. ผู้เจริญเหมือนโคถึก ,    60.  ประโยชน์อะไร? 59. ใกล้เกลือกินด่าง58. ควรเลือกครูก่อนเรียน

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ



Previous Post
Next Post

0 comments: