วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

กิเลสที่เป็นเครื่องผูกใจไว้มิให้ทำความดี ประดุจตะปูตรึงจิตไว้มี ๕ ประการ คือ

กิเลสที่เป็นเครื่องผูกใจไว้มิให้ทำความดี ประดุจตะปูตรึงจิตไว้มี ๕ ประการ คือ

๑. มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของผู้มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๑

๒. มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม จิตของผู้มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๒

๓. มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ จิตของผู้มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๓

๔. มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่ต้องศึกษา คือศีล สมาธิ และปัญญา) จิตของผู้มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๔

๕. เป็นผู้โกรธ มีใจไม่แช่มชื่น มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว (มีจิตคิดประทุษร้าย) มีจิตแข็งกระด้างในพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของบุคคลนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๕

ตะปูตรึงใจมี ๕ ประการนี้แล.

สาระธรรมจากเจโตขีลสูตร

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

8/9/64





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: