คำว่า ความเพียร นี้เป็นเครื่องมือ เป็นธรรมประเภทเครื่องมืออย่างยิ่ง
จนมีพระพุทธภาษิตว่า "วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ - คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร" ไม่ได้พูดว่ามีความสุข พูดว่าล่วงทุกข์ ก้าวล่วงความทุกข์ไปได้ ด้วยอำนาจของวิริยะคือความเพียร
แต่แล้ว คนเดี๋ยวนี้ก็ล่วงทุกข์ไม่ได้ เพราะมีความเพียรผีสิง ความเพียรผีสิงคือความเพียรที่ทนไม่ได้ รอไม่ได้ พอลงมือทำก็ปวดหัว เดี๋ยวใจก็เป็นโรคประสาท ความเพียรผีสิงมันให้ผลอย่างนั้น คือในจิตใจมันกลัดกลุ้มรอไม่ได้ คอยไม่ได้ แต่ต้องทนทำ ฝืนทำ เพราะความจำเป็นบังคับ มันก็ทำด้วยจิตใจที่กระสับกระส่ายเหมือนผีสิง จะทำได้ก็หยาบกว่าเสมอไป
ที่ถูกคนควรจะรู้จักความเพียรแบบของพระพุทธเจ้า ให้ถูกต้องให้สมบูรณ์ แยกออกเป็น เพียรระวัง เพียรละ เพียรสร้าง เพียรรักษา เป็นความหมายที่กลางที่สุด ใช้ไปในรูปไหนก็ได้
เมื่อระวัง ต้องระวัง อย่าโง่ ระวังอย่าขี้เกียจ ละก็ละความโง่ ละความขี้เกียจ สร้างก็สร้างความขยันความฉลาด แล้วก็รักษาความขยันความฉลาด เพียรอยู่อย่างนี้ ทุกคนจะทำอะไรได้เท่ากันหมด ผิดกันเพียงแต่ช้ากับเร็ว ตามสติปัญญามีมากมีน้อย ถ้ามีปฏิกาณไหวพริบมาก ก็ทำได้เร็ว เรียนได้เร็ว ทำได้เร็ว แต่ถ้ามีความเพียร ย่อมทำได้ แม้จะทำช้าๆ ก็ทำได้ ความฉลาดมีมาเอง ที่เคยโง่ก็ค่อยฉลาดขึ้นมาเอง มันก็เป็นไปได้
สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒ (น.๖๕), ธรรมโฆษณ์ l พุทธทาสภิกขุ
Credit: สโมสรธรรมทาน
___
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ , 'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ , เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม , ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ , ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม , เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ , การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร , มลทินที่ร้ายแรงที่สุด
0 comments: