วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

เพราะฉะนั้น กรรมใดที่มีความเบียดเบียน จงประพฤติเว้นกรรมนั้น ส่วนกรรมใดที่ไม่มีความเบียดเบียน จงถือปฏิบัติกรรมนั้น

สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสัพยาปัชฌสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า “เป็นคนพาล”  ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน (การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม)

๒. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ)

๓. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ความคิดร้ายผู้อื่น ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า “เป็นคนพาล”  (ส่วน) บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า “เป็นบัณฑิต”  ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน (ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)

๒. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ)

๓. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่คิดร้ายผู้อื่น เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม)

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า “เป็นบัณฑิต”

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า ‘เป็นคนพาล’ เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น (และ) บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า ‘เป็นบัณฑิต’ เราจักถือปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากสัพยาปัชฌสูตร ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ  6/5/65

เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: