ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย
ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย แต่มันอยู่ที่จิตสำนึกของตนที่จะกลับตัวกลับใจใหม่จากดำให้เป็นขาว ฉะนั้นการเห็นโทษและการไม่เห็นโทษในความผิดของตนจึงสำคัญที่สุด เพราะจะนำพาไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อม เรื่องนี้มันตัดสินกันด้วยปัญญา
สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอัจจยสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า “เป็นคนพาล”
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เห็นโทษ โดยความเป็นโทษ (คนพาลย่อมไม่เห็นความผิดของตนว่า เป็นความผิด)
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ไม่แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด (คนพาลแม้ทราบแล้วว่า “เราทำผิด” แต่ก็ไม่ยอมทำตามธรรม คือรับทัณฑกรรมมาแล้ว ก็ไม่ยอมแสดงโทษ คือไม่ยอมขอโทษคนอื่น)
๓. เมื่อผู้อื่นแสดงโทษอยู่ (ขอโทษอยู่) ไม่ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด (เมื่อคนอื่นทราบว่า “ตนเองทำผิด” ยอมรับทัณฑกรรมแล้วมาขอขมาโทษ คนพาลก็จะไม่ยอมยกโทษให้)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า “เป็นคนพาล”
(ส่วน) บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า “เป็นบัณฑิต”
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เห็นโทษ โดยความเป็นโทษ (บัณฑิตย่อมเห็นความผิดของตนว่า เป็นความผิด)
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด (บัณฑิตแม้ทราบแล้วว่า “เราทำผิด” ก็ยอมทำตามธรรม คือรับเอาทัณฑกรรมมาแล้ว ก็ยอมขอขมาโทษ คือยอมขอโทษคนอื่น)
๓. เมื่อผู้อื่นแสดงโทษอยู่ (ขอโทษอยู่) ก็ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด (เมื่อคนอื่นทราบว่า “ตนทำผิด” รับเอาทัณฑกรรมแล้วมาขอขมาโทษ บัณฑิตก็จะยอมยกโทษให้)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า “เป็นบัณฑิต” ดังนี้เป็นต้น ฯ
เพราะฉะนั้น การเห็นโทษและการไม่เห็นโทษในความผิดของตนจึงสำคัญที่สุด เพราะจะนำพาไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อม บุคคลผู้มีปัญญาผู้เป็นนักปราชญ์จึงยึดถือความถูกต้อง ไม่ก่อเวรก่อภัยให้เกิดขึ้นแก่ใครๆ ทำให้สามารถดำเนินชีวิตด้วยปัญญา และย่อมเป็นคนที่มีจิตใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ ดังนี้แล ฯ
สาระธรรมจากอัจจยสูตร ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 7/5/65
เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน
"พระใหญ่ไดบุตสึ" จังหวัดลำปาง
ที่ วัดพระธาตุดอยพระฌาน อ.แม่ทะ ประดิษฐาน “พระพุทธรูปไดบุตสึ” องค์ใหญ่โดดเด่นอยู่บนยอดเขา มีบันไดเดินขึ้นไปสักการะ พุทธลักษณะคล้ายกับพระไดบุตสึแห่งวัดโคโตคุ เมืองคามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น
0 comments: