วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากความทุกข์ 3 ประการ คือ อาการของโรคซึมเศร้าหากจะเทียบกับองค์ธรรมในพระพุทธศาสนา คงหนีไม่พ้นคือ โสกะ (หรือโศกในภาษาไทย) ความเศร้าโศกเสียใจ เสียดาย อาลัย ปริเทวะ ก็เป็นองค์ธรรมอีกอัน คือ ความคร่ำครวญหรือร่ำไห้ เพราะยึดมั่นถือมั่น และอุปายาส คือความคับแค้นใจหรือความสิ้นหวังเป็นทุกข์

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นโรคที่มีมาแต่สมัยพุทธกาล แต่พอมีอาการของบุคคลในสมัยพุทธกาลที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า คือ นางปฏาจารา และนางกีสาโคตมี ซึ่งบุคคลทั้งสองได้รับพระเมตตาจากพระพุทธเจ้าจนหายจากอาการนี้

นางปฏาจารา ป่วยเพราะนางยอมรับไม่ได้ที่ครอบครัวของนางด่วนจากไปจนหมดสิ้น บิดา มารดา และพี่ชายตายในกองไฟ เพราะบ้านของนางไฟไหม้ สามีตายเพราะถูกงูกัด ลูกชายคนโตจมน้ำตาย ลูกคนเล็กที่เพิ่งเกิดกลายเป็นอาหารของเหยี่ยว

นางจึงกลายเป็นคนบ้า ร่างกายเปลือยปราศจากผ้านุ่งห่ม วิ่งเข้าไปกลางฝูงชน ไม่มีใครจำนางได้ว่า นางคือ ปฎาจารา ธิดาเศรษฐี นางเข้าไปในพระวิหารที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่

พระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตาตรัสเรียกว่าด้วยพระทัยที่มีความเมตตาว่า “จงได้สติเถิดน้องหญิง” หลังจากนั้น นางจึงได้สติ

สังเกตว่าพระพุทธเจ้าทรงไม่ได้ทำอะไรมาก เนื่องจากตรัสต่อนางด้วยปิยวาจา (หนึ่งในหลักธรรมของหลักกัลยาณมิตรธรรม) คือทรงตรัสด้วยคำพูดเพราะๆต่อนางด้วยพระเมตตา

นางสัมผัสได้ถึงความเมตตา นางรับรู้ว่ามหาบุรุษผู้นี้จะเป็นที่พึงพิงของนางได้ หลังจากนางไร้ที่พึงทุกทาง สามีก็ด่วนตายจาก ลูกทั้งสองที่นางจะยึดเหนี่ยวใจได้ก็ตายจากนางไป ครอบครัวที่นางหวังกลับมาพึงก็ตายด้วยอัคคีภัยยกครัว

เมื่อนางไร้ที่พึงเช่นนี้จึงถึงกลายเป็นบ้า แล้วด้วยสภาพที่นางเป็น ใครๆก็รังเกลียดนาง ไม่มีใครเข้าใจนาง ไม่มีใครปลอบใจ นางจึงยังคงเป็นหยิงบ้าล่องจ่องมาจนถึงพระเชตวันวิหาร

พระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่มีประมาณ จึงเป็นบุคคลแรกที่ปลอบนาง นางจึงได้สติและหายจากอาการคลั่งนั่นเอง

หลังจากนั้น นางปฏาจาราจึงบวชเป็นภิกษุณี และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

นางกีสาโคตมี เป็นภรรยาบุตรชายเศรษฐีที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำต้อยกว่า นางเป็นโรคซึมเศร้าทำอาหารสุดโต่ง เพราะบุตรชายที่เป็นความหวังของนางตายจากไป

นางพยายามทำให้บุตรชายฟื้น เพราะเท่ากับว่านางจะไม่เป็นที่ยอมรับของสามีและญาติของสามี น่าเห็นใจนาง เพราะอินเดียสมัยพุทธกาล สะใภ้ที่มีบุตรชายให้ครอบครัวของสามีได้ ย่อมเป็นที่ยอมรับของครอบครัวสามี

นางอุ้มร่างไร้วิญญาณของบุตรชายมาจนจะถึงพระเชตวันวิหาร ร้องเรียกถามว่า มีผู้ใดรักษาลูกชายข้าให้ฟื้นขึ้นมาได้ไหม ชายคนหนึ่งจึงแนะนำให้นางทูลขอให้พระพุทธเจ้าช่วยรักษา

นางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้นางไปขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากครอบครัวที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวตายมาให้พระองค์ แล้วพระองค์จะทรงช่วยรักษา

นางไปขอตามบ้านเรือนต่าง ๆ ล้วนมีแต่คนตาย นางเข้าใจจึงทิ้งร่างของบุตรชาย แล้วละอัตตาในความโลภที่อยากเป็นสะใภ้ที่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวสามี นางไม่สนใจแล้ว นางสนใจธรรมะของพระพุทธเจ้ามากกว่า นางจึงบวชเป็นภิกษุณี และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

หลักการบำบัดโรคซึมเศร้าของพระพุทธเจ้าเท่าที่สังเกตจากสองกรณีที่ยกมานี้ พบว่าพระองค์ทรงยึดหลักกัลยาณมิตรธรรม 2 ประการด้วยกันคือ ปิโย เพราะท่านเป็นผู้มีเมตตา จึงทำให้นางปฏาจาราเข้าหาพระองค์ และด้วยความเป็นปิโย (ผู้น่ารัก ผู้น่าเข้าหา) ทำให้นางมีที่พึงพิง และภาวนีโย (ผู้ทรงความรู้และภูมิ) ข้อนี้เป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว แต่ถ้าพระองค์ไม่มีพระปัญญา จะทรงแนะนำให้นางกีสาโคตมีทำเช่นนั้น พระองค์เข้าพระทัยว่านางต้องเข้าใจในสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการให้นางรู้คือ การยอมรับความจริงว่า โลกนี้ไม่มีสิ่งใดหนีความตายไปไม่พ้น และการละจากอัตตาที่นางต้องการยึดตำแหน่งสะใภ้ใหญ่ในบ้านของสามีอย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่มีคำชี้แนะที่ช่วยป้องกันโรคนี้ได้ แต่หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น เขาเพียงปล่อยใจไปตามแรงของอัตตามากเกินไป ยึดว่าเราเป็นเราจนมากเกินไป อย่างกรณีของนางกีสาโคตมีเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ซึ่งที่ผู้ป่วยสามารถกระทำเองได้คือการยอมรับความจริง อย่าเศร้าโศกกับสิ่งที่เป็นไปได้ยาก สตรีสองนางละความโศก เพราะยอมรับความจริง

สำหรับบุคคลรอบข้างก็สามารถช่วยบำบัดผู้ป่วยได้อีกแรงคือการยึดพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ต้องเป็นที่พึงให้กับเขา ทำตัวเป็น ปิโย คนน่ารัก น่าเข้าใกล้ และภาวนีโย คือทรงภูมิ ต้องศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้เราเข้าถึงผู้ป่วยได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ที่มา: https://board.postjung.com/1094178
Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: