วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS


21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS

๑. มตฺตาสุขปริจฺจาคา    ปสฺเส  เจ  วิปุลํ สุขํ,   
   จเช  มตฺตาสุขํ  ธีโร    สมฺปสฺสํ  วิปุลํ  สุขํ ฯ๒๙๐ฯ 

ถ้าเห็นว่า จะได้สุขอันยิ่งใหญ่ ด้วยการสละสุขเล็กๆน้อยๆ นักปราชญ์ก็ควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่

If by giving up a slight happiness One may behold a greater one, Let the wise man renounce the lesser, Having regard to the greater.

๒. ปรทุกฺขูปธาเนน    โย  อตฺตโน  สุขมิจฺฉติ,  

    เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ    เวรา  โส  น  ปริมุจฺจติ ฯ๒๙๑ฯ  

ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน โดยการก่อทุกข์ให้คนอื่น ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น ไม่มีทางพ้นทางเวรไปได้

Whosoever wishes his own happiness Yet inflicts suffering on others- He is not free from hatred, Entangled in the tangles of anger.

๓. ยํ  หิ  กิจฺจํ  ตทปวิทฺธํ    อกิจฺจํ  ปน  กยีรติ,   

    อุนฺนฬานํ  ปมตฺตานํ    เตสํ  วฑฺฒนฺติ  อาสวา ฯ๒๙๒ฯ  

สิ่งที่ควรทำไม่ทำ กลับทำสิ่งที่ไม่ควรทำ อาสวะย่อมเจริญแก่พวกเขา ผู้ถือตัวและมัวเมาประมาท

What ought to be done is left undone; What ought not to be done is done, For those who are naughty and heedless Corruptions greatly progress.

๔. เยสญฺจ  สุสมารทฺธา    นิจฺจํ  กายคตา  สติ,  

    อกิจฺจํ  เต  น  เสวนฺติ    กิจฺเจ  สาตจฺจการิโน, 

    สตานํ  สมฺปชานานํ     อฏฺฐํ  คจฺฉนฺติ  อาสวา ฯ๒๙๓ฯ  

ส่วนชนเหล่าใด เจริญสติในกายเป็นนิตย์ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำเฉพาะสิ่งที่ควรทำเสมอ สำหรับชนผู้มีสติ สัมปชัญญะพร้อมมูลเหล่านั้น อาสวะมีแต่จะหมดไป

Those who develop well mindfulness of the body, who never do what ought not to be done, And ever do what ought to be done- of those mindful and reflective ones Defilements come to extinction.

๕. มาตรํ  ปิตรํ  หนฺตฺวา    ราชาโน  เทฺว  จ  ขตฺติเย,  

    รฏฺฐํ  สานุจรํ  หนฺตฺวา    อนีโฆ  ยาติ  พฺราหฺมโณ ฯ๒๙๔ฯ  

พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าขัตติยราชอีกสององค์ ทำลายรัฐ พร้อมทั้งผู้ครองรัฐเสียแล้ว ย่อมสัญจรไป อย่างไร้ทุกข์

Having slain mother and father, And two warrior kings, Having destroyed a country, With its governor, Ungrieving goes a brahmana

๖. มาตรํ  ปิตรํ  หนฺตฺวา     ราชาโน  เทฺว  จ  โสตฺถิเย,  

    เวยฺยคฺฆปญฺจมํ  หนฺตฺวา    อนีโฆ  ยาติ  พฺราหฺมโณ ฯ๒๙๕ฯ   

พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่ากษัตริย์ ผู้คงแก่เรียนอีกสององค์ ทำลายทางเดินห้าสายของพยัคฆ์ร้าย ย่อมสัญจรไป อย่างปลอดภัย

Having slain mother and father, And two learned kings, Having destroyed the five ways of a tiger, Scatheless goes the brahmana.

๗. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,  

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ    นิจฺจํ  พุทฺธคตา  สติ ฯ๒๙๖ฯ   

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้รำลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นนิจศีล ทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Who ever day and night Recollect the Buddha's virtues.

๘. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,  

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ    นิจฺจํ  ธมฺมคตา  สติ ฯ๒๙๗ฯ  

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้รำลึกถึงพระธรรมคุณ เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Who ever day and night Recollect the Dharma's virtues.

๙. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,   

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ    สทา  สงฺฆคตา  สติ ฯ๒๙๘ฯ  

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้ระลึกถึงพระสังฆคุณ เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Who ever day and night Recollect the Sangha's virtues.

๑๐. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,  

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ    สทา  กายคตา  สติ ฯ๒๙๙ฯ   

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้รำลึกถึงสภาพเป็นจริงของร่างกาย เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Who ever day and night Recollect the body's nature.

๑๑. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,  

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ    อหึสาย  รโต  มโน ฯ๓๐๐ฯ  

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Whose mind ever day and night Takes delight in harmlessness.

๑๒. สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ    สทา  โคตมสาวกา,  

    เยสํ  ทิวา  จ  รตฺโต  จ     ภาวนาย  รโต  มโน ฯ๓๐๑ฯ  

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีใจยินดีในภาวนา เป็นนิจศีลทั้งกลางวัน กลางคืน ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake Are the disciples of Gotama Whose mind ever day and night Takes delight in meditation.

๑๓. ทุปฺปพฺพชฺชํ  ทุรภิรมํ    ทุราวาสา  ฆรา  ทุกฺขา,  

    ทุกฺโข  สมานสํวาโส    ทุกฺขานุปติตทฺธคู,  

    ตสฺมา  น  จทฺธคู  สิยา    น  จ  ทุกฺขานุปติโต  สิยา ฯ๓๐๒ฯ  

การสละโลกียวิสัยออกบวช ก็ยาก การจะยินดีในเพศบรรพชิต ก็ยาก การครองเรือนไม่ดี เป็นทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน ก็เป็นทุกข์ ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น ไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏ และไม่ควรแส่หาความทุกข์ใส่ตน

Hard is the 'going forth'. Hard is it to delight therein. Hard is household life. Ill is association with  unequals. Ill also is to wander in Samsara. Be therefore no more a wanderer Nor be a pursuer of suffering.

๑๔. สทฺโธ  สีเลน  สมฺปนฺโน    ยโสโภคสมปฺปิโต,  

    ยํ  ยํ  ปเทสํ  ภชติ    ตตฺถ  ตตฺเถว  ปูชิโต ฯ๓๐๓ฯ  

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคทรัพย์ ไปประเทศใดๆ ย่อมได้รับความนับถือ ในประเทศนั้นๆ

He who is full of faith and virtue. Possessed of repute and wealth- He is hanoured everywhere. In whatever land he travels.

๑๕. ทูเร  สนฺโต  ปกาเสนฺติ    หิมวนฺโต  ว  ปพฺพโต, 

    อสนฺเตตฺถ  น  ทิสฺสนฺติ    รตฺติขิตฺตา  ยถา  สรา ฯ๓๐๔ฯ   

คนดี ย่อมปรากฎเด่น เหมือนภูเขาหิมพานต์ คนไม่ดี ถึงอยู่ใกล้ ก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่เขายิงไปในราตรี

The good shine from far away Just as the Himalayan peaks. The wicked are not seen, though near, Just as an arrow shot at night.

ขอขอบคุณที่มา : http://www.dhammathai.org

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: