วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

25. หมวดภิกษุ-THE MONK

25. หมวดภิกษุ-THE MONK

๑. จกฺขุนา  สํวโร  สาธุ   สาธุ  โสเตน  สํวโร,  

    ฆาเนน  สํวโร  สาธุ   สาธุ  ชิวฺหาย  สํวโร ฯ๓๖๐ฯ 

สำรวมทางตา เป็นการดี สำรวมทางหู เป็นการดี สำรวมทางจมูก เป็นการดี สำรวมทางลิ้น เป็นการดี

Good is restraint in the eye. Good is restraint in the ear. Good is restraint in the nose. Good is restraint in the tongue.

๒. กาเยน  สํวโร  สาธุ   สาธุ  วาจาย  ​สํวโร, 

    มนสา  สํวโร  สาธุ    สาธุ  สพฺพตฺถ  สํวโร, 

    สพฺพตฺถ  สํวุโต  ภิกฺขุ   สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจติ ฯ๓๖๑ฯ 

สำรวมทางกาย เป็นการดี สำรวมทางวาจา เป็นการดี สำรวมทางใจ เป็นการดี ภิกษุ ผู้สำรวมทุกทาง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

Good is restraint in deed. Good is restraint in speech. Good is restraint in thought. Good is restraint everywhere The bhikkhu restrained everywhere Shall leave all sorrow behind.

๓. หตฺถสญฺญโต  ปาทสญฺญโต,   

    วาจาย  สญฺญโต  สญฺญตตฺตโม, 

    อชฺฌตฺตรโต  สมาหิโต, 

    เอโก  สนฺตุสิโต  ตมาหุ  ภิกฺขุ ฯ๓๖๒ฯ  

ผู้สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมกาย ยินดีในการบำเพ็ญวิปัสสนา มีใจเป็นสมาธิ สันโดษอยู่เดียวดาย ได้สมญาว่า ภิกษุ

He who is controlled in hand and foot. He who is controlled in speech and body. He who is with inward joy and settled mind. He who is solitarily controlled- Such a one they call a bhikkhu.

๔. โย  มุขสญฺญโต  ภิกฺขุ   มนฺตภาณี  อนุทฺธโต, 

    อตฺถํ  ธมฺมญฺจ  ทีเปติ   มธุรํ  ตสฺส  ภาสิตํ ฯ๓๖๓ฯ  

ภิกษุผู้สำรวมปาก พูดด้วยปัญญา ไม่ถือตัว ชี้แจงตำราและใจความถูกต้อง ถ้อยคำของภิกษุนั้น นับว่าไพเราะแท้

The bhikkhu who is well-controlled in tongue, Who speaks with wisdom and without pride, Who explains the text and its meaning- Sweet indeed is his speech.

๕. ธมฺมาราโม  ธมฺมรโต   ธมฺมํ  อนุวิจินฺตยํ, 

    ธมฺมํ  อนุสฺสรํ  ภิกฺขุ   สทฺธมฺมา  น  ปริหายติ ฯ๓๙๔ฯ  

ภิกษุผู้อยู่ในธรรม ยินดีในธรรม พินิจพิจารณาธรรม และรำลึกถึงธรรมเสมอ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

Dwelling in the Dharma, Delighting in the Dharma, Investigating the Dharma, Remembering the Dharma, That bhikkhu falls not away From the Dharma sublime.

๖. สลาภํ  นาติมญฺเญยฺย    นาญฺเญสํ  ปิหยญฺจเร, 

    อญฺเญสํ  ปิหยํ  ภิกฺขุ    สมาธึ  นาธิคจฺฉติ ฯ๓๖๕ฯ  

ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงริษยาลาภคนอื่น เมื่อภิกษุมัวริษยาลาภคนอื่น ใจย่อมไม่เป็นสมาธิ

Let him not despise his own gains. Let him not envy those of others. The bhikkhu envying the others' gains, Does not attain concentration.

๗. อปฺปลาโภปิ  เจ  ภิกฺขุ   สลาภํ นาติมญฺญติ,  

    ตํ  เว  เทวา  ปสํสนฺติ   สุทฺธาชีวึ  อตนฺทิตํ ฯ๓๖๖ฯ  

ภิกษุถึงมีลาภน้อย แต่ไม่ดูหมิ่นลาภของตน มีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ย่อมได้รับคำชมเชยจากทวยเทพ

Though a recipient of little, A bhikkhu despises not his own. Him of pure and strenuous life, Devas look up to high.

๘. สพฺพโส  นามรูปสฺมึ   ยสฺส  นตฺถิ  มมายิตํ,  

    อสตา  จ  น  โสจติ   ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ ฯ๓๖๗ฯ  

ผู้ไม่ยึดมั่นโดยประการทั้งปวง ว่า "กู" "ของกู" ไม่ว่าในรูปหรือนาม เมื่อไม่มี ก็ไม่เศร้าโศก เขาผู้นั้นแหละ เรียกได้ว่า ภิกษุ

He who grasps at neither 'I' nor 'Mine', Neither in mentality nor in materiality, Who grieves not for what is not- Such a one indeed is called a bhikkhu.

๙. เมตฺตาวิหารี  โย  ภิกฺขุ   ปสนฺโน  พุทฺธสาสเน,  

    อธิคจฺเฉ  ปทํ  สนฺตํ   สงฺขารูปสมํ  สุขํ ฯ๓๖๘ฯ  

ภิกษุ ผู้อยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพุทธศาสนา พึงลุถึงสภาวะอันสงบ อันเป็นสุข ระงับสังขาร

The bhikkhu who abides in loving-kindness, And who is pleased with the Buddha's teaching, Shall attain to the Peaceful State, The happy stilling of conditioned things.

๑๐. สิญฺจ  ภิกฺขุ  อิมํ  นาวํ   สิตฺตา  เต  ลหุเมสฺสติ,  

    เฉตฺวา  ราคญฺจ  โทสญฺจ   ตโต  นิพฺพานเมหิสิ ฯ๓๖๙ฯ 

ภิกษุ เธอจงวิดน้ำออกจากเรือนี้ เมื่อวิดน้ำออกหมดแล้ว เรือจักแล่นเร็ว ทำลายราคะ โทสะ (โมหะ) เสียแล้ว เธอจักไปถึงพระนิพพาน

Empty this boat, O bhikkhu! When emptied, it will swiftly move Cutting off lust, hatred (and ignorance) To Nibbana will you thereby go.

๑๑. ปญฺจ  ฉินฺเท  ปญฺจ  ชเห   ปญฺจ  อุตฺตริ  ภาวเย,  

    ปญฺจสงฺคาติโค  ภิกฺขุ   โอฆติณฺโณติ  วุจฺจติ ฯ๓๗๐ฯ  

จงตัดออกห้า ละทิ้งห้า ทำให้เจริญเติบโต อีกห้า พ้นเครื่องผูกพันห้าชนิด ภิกษุจึงได้ชื่อว่า ผู้ข้ามน้ำ

Cut off the Five, give up the Five Cultivate further more the Five The bhikkhu, from the Five Fetters freed, A Flood-Crosser is he called.

๑๒. ฌาย  ภิกฺขุ  มา  จ  ปมาโท, 

    มา  เต  กามคุเณ  ภมสฺสุ  จิตฺตํ, 

    มา  โลหคุฬํ  คิลี  ปมตฺโต, 

    มา  กนฺทิ  ทุกฺขมิทนฺติ  ฑยฺหมาโน ฯ๓๗๑ฯ  

เจริญภาวนาเถิด ภิกษุ อย่ามัวประมาท อย่าปล่อยใจเวียนวนอยู่แต่ในกามคุณ อย่าได้เผลอกลืนกินก้อนเหล็กแดง อย่าปล่อยให้ความทุกข์เผาผลาญเสียเอง แม้มัวคร่ำครวญว่า "โอ นี่ทุกข์จริงๆ"

Meditate, O bhikkhu! Be not heedless. Let not your mind dwell On sensual pleasures. Do not carelessly swallow A red-hot iron ball. Do not as you burn bewail 'O this indeed is ill'.

๑๓. นตฺถิ  ฌานํ  อปญฺญสฺส   นตฺถิ  ปญฺญา  อฌายิโน, 

    ยมฺหิ  ฌานญฺจ  ปญฺญา  จ   ส  เว  นิพฺพานสนฺติเก ฯ๓๗๒ฯ 

เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่มีความเพ่งพินิจ เมื่อไม่มีความเพ่งพินิจ ก็ไม่มีปัญญา ผู้ใดมีทั้งความเพ่งพินิจ และปัญญา ผู้นั้น นับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

There is no concentration For one who lacks wisdom, Nor is there wisdom For one who lacks concentration In whom there are found Both concentration and wisdom- He indeed is in the presence of Nibbana.

๑๔. สุญฺญาคารํ​  ปวิฏฺฐสฺส  ​ สนฺตจิตฺตสฺส  ภิกฺขุโน,  

    อมานุสี  รตี  โหติ   สมฺมา  ธมฺมํ  วิปสฺสโต ฯ๓๗๓ฯ  

ภิกษุผู้ไปสู่ที่สงัด มีใจสงบ เห็นแจ้งพระธรรมโดยชอบ ย่อมได้รับความยินดี ที่สามัญมนุษย์ไม่เคยได้ลิ้มรส

The bhikkhu gone to solitude, Having calmed his mind, Clearly perceiving the Teaching, Experiences a peaceful joy That has never before been Tasted by the worldings.

๑๕. ยโต  ยโต  สมฺมสติ   ขนฺธานํ  อุทยพฺพยํ,   

    ลภตี  ปีติปาโมชฺชํ   อมตํ  ตํ  วิชานตํ ฯ๓๗๔ฯ   

ไม่ว่าเมื่อใด พระอรหันต์พิจารณาเห็น ความเกิดและความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย ท่านย่อมได้ปีติ และปราโมทย์ ซึ่งเป็นสิ่งอมตะสำหรับท่านผู้รู้ทั้งหลาย

Whenever he reflects On the rise and fall of Aggregates; He experiences joy and happiness, To the knowing ones that is Deathless.

ขอขอบคุณ ที่มา : http://www.dhammathai.org

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: