วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST

19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST 

๑. น  เตน  โหติ  ธมฺมฏฺโฐ    เยนตฺถฺ  สหสา  นเย,  

    โย  จ  อตฺถํ  อนตฺถญฺจ    อุโภ  นิจฺเฉยฺย  ปณฺฑิโต ฯ๒๕๖ฯ  

ผู้ที่ตัดสินความโดยหุนหันพลันแล่น ไม่จัดเป็นผู้เที่ยงธรรม ส่วนผู้ที่ฉลาด วินิจฉัยรอบคอบ ทั้งฝ่ายถูก และฝ่ายผิด (จึงจัดเป็นผู้เที่ยงธรรม)

He who hastily arbitrates Is not known as 'just' The wise investigating right and wrong (Is known as such).

๒. อสาหเสน  ธมฺเมน    สเมน  นยตี  ปเร,  

    ธมฺมสฺส  คุตฺโต  เมธาวี    ธมฺมฏฺโฐติ  ปวุจฺจติ ฯ๒๕๗ฯ  

บัณฑิตผู้ตัดสินผู้อื่นโดยรอบคอบ โดยเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ผู้นี้ได้สมญาว่า ผู้เที่ยงธรรม

He who judges others other with due deliberation, With judgement righteous and just- Such a wise one, guardian of the law, Is called righteous.

๓. น  เตน  ปณฺฑิโต  โหติ    ยาวตา  พหุ  ภาสติ,  

    เขมี  อเวรี  อภโย     ปณฺฑิโตติ  ปวุจฺจติ ฯ๒๕๘ฯ  

เพียงแต่พูดมาก ไม่จัดว่าเป็นบัณฑิต คนที่ประพฤติตนให้เกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย จึงจะเรียกว่า เป็นบัณฑิต

A man is not called wise Merely because he speaks much. Secure, hateless and fearless- Such a man is called wise.

๔. น  ตาวาตา  ธมฺมธโร    ยาวตา  พหุ  ภาสติ,  

    โย  จ  อปฺปมฺปิ  สุตฺวาน    ธมฺมํ  กาเยน  ปสฺสติ,  

    ส  เว  ธมฺมธโร  โหติ    โย  ธมฺมํ  นปฺปมชฺชติ ฯ๒๕๙ฯ 

บุคคลไม่นับว่าผู้ทรงธรรม ด้วยเหตุเพียงพูดมาก ส่วนผู้ใด ถึงได้สดับตรับฟังน้อย แต่เห็นธรรมด้วยใจ ไม่ประมาทในธรรม ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้ทรงธรรม

He is not versed in the Dharma Merely because he speaks much. He who hears little of the teaching But mentally sees the Truth, And who is not heedless of the Truth- He is indeed versed in the Dharma.

๕. น  เตน  เถโร  โหติ     เยนสฺส  ปลิตํสิโร,   

    ปริปกฺโก  วโย  ตสฺส   โมฆชิณฺโณติ  วุจฺจติ ฯ๒๖๐ฯ  

เพียงมีผมหงอก ยังไม่นับว่า เถระ  เขาแก่แต่วัยเท่านั้น  เรียกได้ว่า คนแก่เปล่า

A man is not an elder Merely because his head is grey. Ripe is his age, And old-in-vain is he called.

๖. ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม  จ     อหึสา  สญฺญโม  ทโม,  

    ส  เว  วนฺตมโล  ธีโร    โส เถโรติ  ปวุจฺจติ ฯ๒๖๑ฯ  

ผู้ใดมี สัจจะ คุณธรรม ไม่เบียดเบียน สำรวม ข่มใจ ฉลาด ปราศจากมลทินโทษ  ผู้นั้นแล เรียกว่า เถระ

In whom there are truth, virtue, harmlessness, Self-mastery, and self-restraint Who is free from defilements and is wise- He, indeed, is called an elder.

๗. น  วากฺกรณมตฺเตน    วณฺณโปกฺขรตาย  วา,    

    สาธุรูโป  นโร  โหติ    อิสฺสุกี  มจุฉรี  สโฐ ฯ๒๖๒ฯ  

ไม่ใช่เพราะพูดคล่อง  ไม่ใช่เพราะมีผิวพรรณสวย  ที่ทำให้คนเป็นคนดีได้  ถ้าหากเขายังมีความริษยา มีความตระหนี่ เจ้าเลห์ (เขาก็เป็นคนดีไม่ได้)

Not by mere cloquence, Nor by beautiful complexion Does a man become good-natured, Should he be jealous, selfish and deceitful.

๘. ยสฺส  เจตํ  สมุจฺฉินฺนํ    มูลฆจฺฉํ  สมูหตํ,   

    ส  วนฺตโทโส  เมธาวี    สาธุรูโปติ  วุจฺจติ ฯ๒๖๓ฯ  

ผู้ใดเลิกละความอิจฉาเป็นต้น ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว คนฉลาด ปราศจากมลทินเช่นนี้  เรียกว่า คนดี

In whom such behaviour Is cut off and wholly uprooted, That wise man who has cast out impurities, Is indeed called good-natured.

๙. น  มุณฺฑเกน  สมโณ   อพฺพโต  อลิกํ  ภณํ,  

    อิจฺฉา  โลภสมาปนฺโน   สมโณ  กึ  ภวิสฺสติ ฯ๒๖๔ฯ  

คนศีรษะโล้นไร้ศีลวัตร  พูดเท็จ ไม่นับเป็นสมณะ เขามีแต่ความอยากและความโลภ จักเป็นสมณะได้อย่างไร

Not by a shaven head does a man, Undisciplined and lying, become an ascetic. How can he, full of desire and greed, Become an ascetic?

๑๐. โย  จ  สเมติ  ปาปานิ    อณุํ  ถูลานิ  สพฺพโส,  

    สมิตตฺตา  หิ  ปาปานํ    สมโณติ  ปวุจฺจติ ฯ๒๖๕ฯ  

ผู้ที่ระงับบาปทั้งหลาย ทั้งน้อยและใหญ่ เรียกว่าเป็นสมณะ  เพราะเลิกละบาปได้

Whosoever makes an end of all evil, Both small and great- He is called an ascetic, Since he has overcome all evil.

๑๑. น  เตน  ภิกฺขุ  โส  โหติ     ยาวตา  ภิกฺขเต  ปเร,  

    วิสฺสํ  ธมฺมํ  สมาทาย    ภิกฺขุ  โหติ  น  ตาวตา ฯ๒๖๖ฯ  

เพียงขอภิกษาจากผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ ถ้ายังประพฤติตนเหมือนชาวบ้านอยู่ ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ

A man is not a bhikkhu Simply because he begs from others. By adapting householder's manner, One does not truly become a bhikkhu.

๑๒. โยธ  ปุญฺญญฺจ  ปาปญฺจ    พาเหตฺวา  พฺรหฺมจริยวา,   

    สงฺขาย  โลเก  จรติ     ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ ฯ๒๖๗ฯ  

ผู้ใดละบุญละบาปทุกชนิด ครองชีวิตประเสริฐสุด อยู่ในโลกมนุษย์ด้วยปัญญา ผู้นี้แลเรียกว่า ภิกษุ

He who has abandoned both merit and demerit, He who is leading a pure life, He who lives in teh world with wisdom- He indeed is called a bhikkhu.

๑๓. น  โมเนน  มุนิ  โหติ     มูฬฺหรูโป  อวิทฺทสุ,   

    โย  จ  ตุลํว  ปคฺคยฺห     วรมาทาย  ปณฺฑิโต ฯ๒๖๘ฯ 

๑๔. ปาปานิ  ปรวชฺเชติ    ส  มุนิ  เตน  โส  มุนิ,  

    โย  มุนาติ  อุโภ  โลเก    มุนิ  เตน  ปวุจฺจติ ฯ๒๖๙ฯ  

คนโง่เขลา ไม่รู้อะไร นั่งนิ่งดุจคนใบ้ ไม่นับเป็นมุนี ส่วนคนมีปัญญาทำตนเหมือนถือคันชั่ง เลือกชั่งเอาแต่ความดี ละทิ้งความชั่วช้า ด้วยปฏิปทาดังกล่าวเขานับว่าเป็นมุนี อนึ่งผู้ที่รู้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า จึงควรแก่สมญาว่า มุนี

Not by silence does one become a sage If one be both ignorant and dull. But the wise who, as if holding a pair of scales, Embraces the best and shuns evil- He is indeed, for that reason, a sage. He that understands both worlds is called a sage.

๑๕. น  เตน  อริโย  โหติ     เยน  ปาณาติ  หึสติ,  

    อหึสา  สพฺพปาณานํ    อริโยติ  ปวุจฺจติ ฯ๒๗๐ฯ  

ถ้ายังเบียดเบียนสัตว์อยู่ บุคคลไม่นับว่า เป็นอารยชน เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง เขาจึงได้ชื่อว่า อารยชน

By harming living beings Not thus is one a noble man. By harmlessness towards all beings One is then called a noble man.

๑๖. น  สีลพฺพตมตฺเตน     พาหุสจฺเจน  วา  ปน,  

    อถวา  สมาธิลาเภน   วิวิตฺตสยเนน  วา ฯ๒๗๑ฯ   

๑๗. ผุสามิ   เนกฺขมฺมสุขํ    อปุถุชฺชนเสวิตํ, 

    ภิกฺขุ  วิสฺสาสมาปาทิ   อปฺปตฺโต  อาสวกฺขยํ ฯ๒๗๒ฯ  

ภิกษุเอย เพียงมีศีลาจารวัตร  เพียงมีภูมิปริยัติคงแก่เรียน เพียงพากเพียรปฏิบัติจนได้ฌาน  เพียงอยู่ในสถานสงบสงัด  ถ้าขจัดกิเลสไม่ได้หมด เธออย่านิ่งนอนใจ  ว่า เธอได้รับสุขในบรรพชา  ที่สามัญชนทั่วไปมิได้สัมผัส

Not by mere conduct and vows, Nor again by much learning, Nor even by gaining concentration, Nor by living alone in solitude, At the thought; 'I enjoy the bliss of remunciation Not resorted to by the worlding', Should you, O monks, rest content Without reaching the extinction of corruption.

ขอขอบคุณที่มา : http://www.dhammathai.org


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: