วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT


23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT

๑. อหํ  นาโคว  สงฺคาเม   จาปาโต  ปติตํ  สรํ,  
    อติวากฺยํ  ติติกฺขสฺสํ   ทุสฺสีโล  หิ  พหุชฺชโน ฯ๓๒๐ฯ  

เราจักอดทนต่อคำเสียดสีของคนอื่น เหมือนพญาคชสาร ในสนามรบ ทนลูกศรที่ปล่อยออกไปจากคันธนู เพราะว่าคนโดยมาก ทุศีล

As an elephant in the battle field Withstands the arrows shot from a bow. Even so will I endure abuse, For people's conduct is mostly low.

๒. ทนฺตํ  นยนฺติ  สมิตึ   ทนฺตํ  ราชาภิรูหติ,  

    ทนฺโต  เสฏฺโฐ  มนุสฺเสสุ   โยติวากฺยํ  ติติกฺขติ ฯ๓๒๑ฯ  

ช้างที่ฝึกแล้ว เขานำไปสู่ที่ชุมชน ช้างที่ฝึกแล้ว พระราชาชึ้นทรง ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนตนได้ รู้จักอดทนต่อคำล่วงเกิน เป็นผู้ประเสริฐ

The tamed elephant is led to crowds. The tamed do the kings mount. The well-tamed is best among men, Who endures abuse.

๓. วรมสฺสตรา  ทนฺตา   อาชานียา  จ  สินฺธวา,  

    กุญฺชรา  จ  มหานาคา   อตฺตทนฺโต  ตโต  วรํ ฯ๓๒๒ฯ  

ม้าอัศดร ม้าอาชาไนยจากกลุ่มสินธู และพญากุญชร ที่ผ่านการฝึกปรือ นับเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่านั้น

Excellent are well-trained mules. So are thoroughbred ones from Sindhu And likewise noble fighting elephants. More excellent is the self-trained man.

๔. น  หิ  เอเตหิ  ยาเนหิ   คจฺเฉยฺย  อคตํ  ทิสํ,  

    ยถาตฺตนา  สุทนฺเตน   ทนฺโต  ทนฺเตน  คจฺฉติ ฯ๓๒๓ฯ  

แน่นอนทีเดียว คนที่ฝึกตนได้ ย่อมอาศัยร่างที่ฝึกฝนดีแล้วนั้น เป็นพาหนะนำไปสู่ที่ๆไม่เคยไป (นิพพาน) ซึ่งยานภายนอกเหล่านั้น พาไปไม่ได้เลย

Surely never by those vehicles Would one go to the untrodden land As does one who is controlled Through his subdued and well-trained self.

๕. ธนปาลโก  นาม  กุญฺชโร,   

    กฏุกปฺปเภทโน  ทุนฺนิวารโย,   

    พทฺโธ  กพลํ  น  ภุญฺชติ,  

    สุมรติ  นาควนสฺส  กุญฺชโร ฯ๓๒๔ฯ  

ช้างตกมันชื่อ ธนปาลกะ ยากที่ใครๆจะห้ามได้ ถูกล่ามไว้ ไม่ยอมกินอาหาร พญากุญชร รำลึกถึงแต่ป่าช้าง

The great elephant called Dhanapalaka In time of rut is uncontrollable; Tied fast he refuses his food Since he calls to mind the elephant wood.

๖. มิทฺธี  ยทา  โหติ  มหคฺฆโส  จ,   

    นิทฺทายิตา  สมฺปริวตฺตสายี, 

    มหาวราโหว  นิวาปปุฏฺโฐ, 

    ปุนปฺปุนํ  คพฺภมุเปติ  มนฺโท ฯ๓๒๕ฯ  

คนกินจุ สะลึมสะลือ ชอบนอน กลิ้งเกลือกไปมาบนที่นอน เหมือนสุกรที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร คนโว่ทึ่มเช่นนั้น ย่อมเกิดไม่รู้จบสิ้น

A sluggard, or glutton, too, Rolling himself about in gross sleep Like a bigh hog nursed on pig-wash- That foolish one endlessly comes to birth.

๗.  อิทํ  ปุเร  จิตฺตมจาริ  จาริกํ,  

    เยนิจฺฉกํ  ยตฺถกามํ  ยถาสุขํ,  

    ตทชฺชหํ  นิคฺคเหสฺสามิ  โยนิโส, 

    หตฺถิปฺปภินฺนํ  วิย  อํกุสคฺคโห ฯ๓๒๖ฯ  

เมื่อก่อนใจข้าได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ตามปรารถนา ตามความใคร่ ตามสบาย แต่บัดนี้ ข้าจักบังคับมันด้วยโยนิโสมนสิการ เหมือนควาญช้างถือขอ บังคับช้างที่ตกมัน

Formerly this mind went wandering Where it liked, as it wished, as it listed. I will now control it with attentiveness As the driver with his hook a wild elephant.

๘. อปฺปมาทรตา  โหถ   สจิตฺตมนุรกฺขถ, 

    ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ   ปงฺเก  สนฺโนว  กุญฺชโร ฯ๓๒๗ฯ  

พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท จงระมัดระวังจิตของตน จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส เหมือนพญาช้างติดหล่ม พยายามช่วยตัวเอง

Take delight in heedfulness And guard well your own minds; Draw yourselves out of evil ways Like an elephant sunk in the mire.

๙. สเจ  ลเภถ  นิปกํ  สหายํ,   

    สทฺธึจรํ  สาธุวิหาริธีรํ,    

    อภิภุยฺย  สพฺพานิ  ปริสฺสยานิ,   

    จเรยฺย  เตนตฺตมโน  สตีมา ฯ๓๒๘ฯ  

ถ้าได้สหายผู้เข้ากับตนได้ มีความประพฤติดี ฉลาดและเฉลียว พึงไปไหนๆกับสหายเช่นนั้นอย่างมีความสุข และพึงมีสติ ฝ่าฟันอันตรายทั้งหลาย

If for the faring-on you can find A friend, well-behaved, prudent and wise, Walk with him joyfully and mindfully, Overcoming dangers (open and concealed).

๑๐. โน  เจ  ลเภถ  นิปกํ  สหายํ, 

    สทฺธึจรํ  สาธุวิหาริธีรํ, 

    ราชาว  รฏฺฐํ  วิชิตํ  ปหาย, 

    เอโก  จเร  มาตงฺครญฺเญว  นาโค ฯ๓๒๙ฯ  

ถ้าไม่พบสหายที่เข้ากับตนได้ มีความประพฤติดี ฉลาด และเฉลียว ก็ควรสัญจรไปคนเดียว เหมือนพระราชา สละราชสมบัติเที่ยวไปองค์เดียว หรือไม่ก็เหมือนพญาช้าง ละโขลงเที่ยวไปตัวเดียวในป่า

If for the faring-on you cannot find A friend, well-behaved, prudent and wise, Fare alone as a king renouncing his country And as an elephant alone in the wilds.

๑๑. เอกสฺส  จริตํ เสยฺโย  ​   นตฺถิ  พาเล  สหายตา ฯ

            เอโก  จเร  น  จ  ปาปานิ กยิรา,  

            อปฺโปสฺสุโก  มาตงฺครญฺเญว  นาโค ฯ๓๓๐ฯ

เที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า  ความเป็นสหายในคนพาล ไม่มี  พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำบาป  ไม่ดิ้นรนขวนขวายมาก  เหมือนพญาช้างเที่ยวไปตัวเดียวในป่า

Better is it to fare alone; There is no friendship with a fool. Fare alone and commit no sin, Being carefree as an elephant in the wilds.

๑๒.  อตฺถมฺหิ  ชาตมฺหิ  สุขา  สหายา,  

    ตุฏฺฐี  สุขา  ยา  อิตรีตเรน, 

    ปุญฺญํ  สุขํ  ชีวิตสงฺขยมฺหิ, 

    สพฺพสฺส  ทุกฺขสฺส  สุขํ  ปหานํ ฯ๓๓๑ฯ  

มีเพื่อนตาย ก็มีความสุข ยินดีเท่าที่หามาได้ ก็มีความสุข ทำบุญไว้ถึงคราวจะตายก็มีความสุข ละทุกข์ได้ทั้งหมด ก็มีความสุข

Happy is it to have a friend in need Happy is contentement with whatever betides. Happy is merit at the end of life. Happy is it to leave all sorrow behind.

๑๓. สุขา  มตฺเตยฺยตา  โลเก   อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา,    

    สุขา  สามญฺญตา  โลเก   อโถ  พฺรหฺมญฺญตา  สุขา ฯ๓๓๒ฯ 

ปฏิบัติชอบต่อมารดา ก็เป็นสุข  ปฏิบัติชอบต่อบิดา ก็เป็นสุข ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ก็เป็นสุข ปฏิบัติชอบต่อพระผู้ประเสริฐ ก็เป็นสุข

Happy is it to honour mother. Happy is it to honour father. Happy is it to honour ascetics. Happy is it to honour the Noble Ones.

๑๔. สุขํ  ยาว  ชรา  สีลํ   สุขา  สทฺธา  ปติฏฺฐิตา,  

    สุโข  ปญฺญาปฏิลาโภ   ปาปานํ  อกรณํ  สุขํ ฯ๓๓๓ฯ  

ศีลให้เกิดสุข ตราบเท่าชรา ศรัทธา ที่ตั้งมั่นแล้ว ให้เกิดสุข ปัญญา ได้มาแล้ว ให้เกิดสุข การไม่ทำบาปทั้งหลาย ให้เกิดสุข

Happy is virtue until old age. Happy is faith that firmly stands. Happy is it to gain insight. Happy is it to commit no sin.

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA


ขอขอบคุณ ที่มา : http://www.dhammathai.org

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: