วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"มีสติอยู่ คือภาวนาอยู่" (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)

"มีสติอยู่ คือภาวนาอยู่"

" .. "สตินี้ คือความระลึกได้" เมื่อเราจะพูดอะไรทำอะไร ต้องรู้ตัวเราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ "คล้าย ๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่" คนจะเข้ามาซื้อของหรือจะมาขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คน ๆ นี้มันมาทำไม "เราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น" พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา

"อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้" อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อย ๆไปทำเรื่อย ๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆก็ตาม

"เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่" การภาวนาไม่ใช่ว่า เราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาทเราก็รู้จัก ไม่มีความประมาทเราก็รู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนาน ๆ พิจารณาดี ๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันก็รู้เรื่อง .. "

หลวงปู่ชา สุภทฺโท 

http://anuchah.com/letting-go/

post written by:

Related Posts

  • โรคร้าย ๓ ชนิด คือโรคร้าย ๓ ชนิด คือ๑. โรคความอยาก (อิจฺฉา)  ๒. โรคความหิว (อนสนํ)  ๓. โรคชรา (ชรา)เพราะฉะนั้น คำว่า “โรค” หมายถึง ความอยาก ๑ ความอดอยาก ๑ ความทรุดโทรม … Continue Reading
  • รัตนะอันสูงสุดรัตนะอันสูงสุดพระผู้มีพระภาคตรัสแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายว่า  “พระอริยะทั้งหลายกล่าว การประพฤติธรรม ๑ และการประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ทั้ง ๒ นี้ว่า “เป็นรัตนะอ… Continue Reading
  • เหตุที่ทำให้เกิดความปราโมช (ความปลื้มใจ)เหตุที่ทำให้เกิดความปราโมช (ความปลื้มใจ) (จะเขียนว่า ปราโมทย์ ก็ได้)ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร ?   ตอบว่า เหตุนั้นคือความเพียรจริงอยู่ ความเพียรท่า… Continue Reading
  • การกำหนดรู้โกธะ (ความโกรธ)การกำหนดรู้โกธะ (ความโกรธ)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า   “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ซึ้งถึงโกธะ ยังกำหนดรู้โกธะไม่ได้ ยังไม่คลายความพอใจในโกธะนั้น ยังละโกธะไ… Continue Reading
  • อำนาจวาสนาอำนาจวาสนา“อำนาจ” คำนี้ช่างมีอำนาจสมชื่อจริง ๆช่างมีมนต์ขลังและมีความหอมหวนไม่น้อย เพราะดูเหมือนว่าใคร ๆ ก็ชอบความมีอำนาจกันทั้งนั้น คนที่พูดว่าฉันไม่อยากมีอำนา… Continue Reading

0 comments: