วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ - ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน


สุภาษิต ย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติต่างศาสนาต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน คำสุภาษิตนั้น เป็นคำสั้นๆ จำได้ ไม่ยากเย็น อีกทั้งไพเราะ และมีความหมาย ลึก กินใจ ดังนั้น เห็นว่า "พุทธศาสนสุภาษิต"   มีคุณค่า และประโยชน์ แก่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยสูงอายุ หากมีเวลา ให้แก่พระศาสนาบ้าง เพียงอ่าน และท่องจำวันละบท ศึกษาให้เข้าใจ
ทั้งนี้ก็เพื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดประโยชน์แก่ตนเอง และ  ผู้อื่นโดยทั่วไป  ทั้งเป็นเครื่องเตือนสติ และ เพื่อความอิ่มเอม ซาบซึ้งในรสพระธรรม.

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ - ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน (ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖)

ว่าด้วยที่พึ่งโดยทั่วไป 

คนเราทุกคนเกิดมาบนโลกใบนี้ ย่อมต้องการที่พึ่งพาอาศัยด้วยกันทั้งนั้น แรกเกิดเราพึ่งพ่อแม่ในการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ เมื่อถึงวัยอันควรเราพึ่งครูอาจารย์สั่งสอนวิชาความรู้ให้ เราพึ่งพาเพื่อนฝูงในการช่วยเหลือกิจต่าง ๆ เป็นต้น. จะเห็นได้ว่า เราเกิดมาแล้วต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้ด้วยความราบรื่น แรกเกิดเราพึ่งพ่อแม่ในการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่

หากแต่ว่า ที่พึ่งอื่น หรือที่พึ่งภายนอก อันได้แก่ บุคคลอื่นนอกเหนือจากตัวเราเอง ไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้เราได้ตลอดไป และไม่ใช่ที่พึ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน เราไม่สามารถพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่นได้ตลอดชีวิต เพราะทุกคนต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
ว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐ


ตามหลักพระพุทธศาสนา ที่พึ่งอันประเสริฐนั้นคือตัวเราเอง ไม่ใช่ผู้อื่น คนอื่นไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน ไม่ว่าจะมั่งมีร่ำรวยแค่ไหน ก็พึ่งพาอาศัยได้ไม่เท่าตัวเราเอง.  คำว่า “ตน” หรือตัวเรานี้ แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนกาย และส่วนจิต ทั้งสองส่วนนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

 

ส่วนกาย ต้องพึ่งพาอาศัยส่วนของจิตในการสั่งการ ไม่ว่าจะทำ พูด คิด ประกอบกิจใด ๆ ก็แล้วแต่ ส่วนกายต้องอาศัยส่วนจิตในการสั่งการทั้งสิ้น จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว.  ส่วนจิต ก็ต้องอาศัยส่วนกายในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง เพราะจิตไม่สามารถทำสิ่งใดได้เอง เป็นแต่เพียงสั่งการเท่านั้น ส่วนผู้กระทำคือกาย ที่คอยทำทุกสิ่งทุกอย่างตามคำสั่งการของจิต

จะเห็นได้ว่า กาย กับ จิต ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันตลอดเวลา จึงจะสามารถทำกิจต่าง ๆ ให้สำเร็จประโยชน์ได้ อันนี้ว่าโดยพื้นฐาน
ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน.  สาระสำคัญของคำว่า “ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน” นั้น ก็สืบเนื่องมาจาก สิ่งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ “พระนิพพาน” พุทธศาสนาสอนให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตนเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน


ซึ่งการขจัดขัดเกลากิเลสก็ดี การที่จะไปให้ถึงพระนิพพานก็ดี เป็น “ปัจจัตตัง” คือเป็นเรื่องเฉพาะตน นั่นก็คือ ไม่มีใครสามารถทำแทนใครได้ ทุกคนต้องปฏิบัติเอง จึงจะได้ผลเอง
ปฏิบัติวิปัสสนาขัดเกลากิเลส.  การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ ประการ เราต้องทำด้วยตนเอง นั่นคือเราต้องพึ่งพาตนเองในการบำเพ็ญบารมี พึ่งคนอื่นไม่ได้เลยนั่นเองครับ  และนี่ก็คือความหมายของคำว่า
“ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน”

ขอขอบคุณ ที่มา : https://www.jaisangma.com/we-are-our-refuge/

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ ,  'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ ,  เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม ,  ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ,  ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม ,  เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร 


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: