ประโยชน์การอุปมาอันได้จากการศึกษาคัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์มิลินท์ปัญหาเป็นต้น
สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
มีเพื่อนผู้ใคร่ในธรรม ถามมาว่า ประโยชน์การอุปมาอันได้จากการศึกษาคัมภีร์มิลินท์ปัญหาก็ดี ประโยชน์การหักล้างข้อมูลอันได้จากการศึกษาคัมภีร์กถาวัตถุก็ดี ประโยชน์การตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดด้วย บท 12 หาระ 16 มูล 18 นัย 5 สาสนปัฏฐาน 16,28 อันได้จากการศึกษาคัมภีร์เนตติปกรณ์ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างเรื่องในยุคอดีตทั้งสิ้น ถามว่า แล้วที่เป็นเรื่องในยุคปัจจุบันมีให้เห็นบ้างไหม?
ตอบว่า มีครับ เช่น การสอนว่า อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในใจ ก็เหมือนตะกอนที่นอนอยู่ที่ก้นภาชนะ พอเขย่าภาชนะก็ฟุ้งขึ้นมาเป็นปริยุฏฐานกิเลสที่กุ้มรุมอยู่ในใจ ครั้นพอเขย่า ภาชนะแรงเพิ่มขึ้นอีก ก็ล่วงหล่นออกจากภาชนะ คือก้าวล่วงออกมาทางกายและทางวาจาเป็นวีติกกมกิเลส การกำจัดกิเลสด้วยอุปมาและข้อมูลเช่นนี้ จึงหมายเอา ขณะที่ล่วงออกมาทางกายและทางวาจา เพราะง่ายและสะดวก แต่ความเป็นจริง อนุสัยกิเลส, ปริยุฏฐานกิเลส, วีติกกมกิเลส, ต่างก็ล้วนเป็นกิเลสคนละประเภท จึงมีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่างกัน กล่าวคือ อนุสัยกิเลสมีปัญญาเป็นปฏิปักษ์ ปริยุฏฐานกิเลสมีสมาธิเป็นปฏิปักษ์ วีติกกมมีศีลเป็นปฏิปักษ์ ดังนั้นการอุปมาและการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ท่านโบราณาจารย์จึงอุปมาว่า อนุสัยกิเลสเปรียบได้กับส่วนที่เป็นโคนของต้นไม้, ปริยุฏฐานกิเลสเปรียบได้กับส่วนที่เป็นลำต้นของต้นไม้ วีติกกมกิเลสเปรียบได้กับส่วนที่เป็นกิ่งก้านของต้นไม้ เมื่อจะโค่นต้นไม้ให้ตายก็ต้องขุดโคนส่วนที่มีรากทิ้ง ลำพังแค่ตัดลำต้น และกิ่งก้านทิ้งไป เมื่อโคนต้นยังมีอยู่ ต้นไม้ก็งอกใหม่ได้ ฉันใดการละกิเลสได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหานก็ต้องละที่อนุสัยฉันนั้นเหมือนกัน
อีกตัวอย่างหนึ่ง มีการสอนว่า วันประสูติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน เป็นเรื่องของขณะจิตใหญ่ขณะเดียว(เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป) ขณะจิตเล็กเกิดขึ้น ก็คือวันประสูติ ขณะจิตเล็กตั้งอยู่เพื่อทำกิจตรัสรู้ ก็คือวันตรัสรู้ ขณะจิตเล็กดับไป ก็คือวันปรินิพพาน ทั้งๆที่ทรงตรัสยืนยันว่า มีการท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสารก็ตาม เป็นปฏิเสธการเวี่ยนว่ายตายเกิดนั่นเอง
อีกตัวอย่างหนึ่ง มีการสอนว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา(จิตเจตสิก รูป นิพพาน) ก็ตาม โดยสรูปเป็นเรื่องของจ้กรวาลซึ่งเป็นเรื่องของรูป คือ สสารและพลังงาน แต่ไม่ครบทั้ง 4 สมุฏฐาน คือ กล่าวเฉพาะอุตุสมุฏฐานเป็นหลัก ส่วนกัมมสมุฏฐาน จิตตสมุฏฐาน และอาหารสมุฏฐาน ไม่ได้กล่าวถึง ทั้งๆที่ทรงตรัสว่า สัตว์บุคคลจะพ้นจากวัฏฏทุกข์ต้องเห็นไตรลักษณ์ มีทุกขลักษณะ เป็นต้น ในอัตภาพภาพในของตน หาใช่สถานภาพภายนอกตนไม่
และเมื่อตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยบท 12 หาระ 16 มูล 18 นัย5 สาสนปัฏฐาน16,28 ตามคัมภีร์เนตติปกรณ์ จะปรากฏ สภาวะผู้กล่าวสอนการละศีลผิด เป็น สัตสตทิฏฐิ เพราะเห็นผิดว่ากิเลสทั้ง 3 ประเภท เป็นสิ่งเดียวกัน ผู้กล่าวสอนว่า การประสูติตรัสรู้ปรินิพพานเป็นไปในขณะจิตเดียวกัน เป็น อุจเฉททิฏฐิ เพราะเห็นผิดว่า สัตว์บุคคลตายแล้วก็สูญ โดยไม่เชื่อว่า มีการเวียนว่ายตายเกิด ผู้กล่าวสรูปเป็นเรื่องของจักรวาลล้วน ซึ่งมีแต่รูปอุตุสมุฏฐาน โดยขาดรูปกัมมสมุฏฐาน รูปจิตตสมุฏฐาน และรูปอาหารสมุฏฐาน ดังนั้น เมื่อมีผู้รู้ให้ข้อคิดว่า ก็แล้วมหาภูต 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จากสมุฏฐานทั้ง 4 จักดับสิ้นทั้งหมดได้ที่ไหน ก็จะฉุกคิดขึ้นได้ว่า ที่ตนเห็นสำคัญว่าเป็นเรื่องของจักรวาลนั้นไม่ใช่แล้ว ความสงสัยก็พลั่นเกิดขึ้นทันที หากมีอภิญญาก็ใช้อภิญญานั้นนั่นแหละเที่ยวสำรวจจักวาลทั้งหลาย จนจุติ เมื่อปฏิสนธิก็ได้อภิญญา ก็สำรวจจักวาลต่อ แม้เห็นจักวาลเกิดดับบ้าง แต่ก็ไม่พบว่า มหาภูตรูป 4 ทั้ง 4 สมุฏฐานเกิดดับที่ไหนเลย จนอ่อนใจ เที่ยวถามพรหมและเทวดาทั้งหลาย ต่างก็แนะนำให้กลับไปทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง
เนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มิใช่มติของผู้โพสต์ แต่มีจารกล่าวนำร่องไว้ในคัมภีร์นิสสยะ ซึ่งตรงกับสมัยการเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาแบบมุกขปาฐะมาจารเป็นอักษรปัลลวะอันเป็นอักษรต้นแบบของอักษรโบราณ มี อักษรสิงหล อักษรขอม เป็นต้น
ขอขอบคุณ ที่มา: http://dhamma.serichon.us
มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) , (ตอนที่ 49) , (ตอนที่ 48) , (ตอนที่ 47) , (ตอนที่ 46) , (ตอนที่ 45) , (ตอนที่ 44) , (ตอนที่ 43) , (ตอนที่ 42) , (ตอนที่ 41) , (ตอนที่ 40) , (ตอนที่ 39) , (ตอนที่ 38) , (ตอนที่ 37) , (ตอนที่ 36) , (ตอนที่ 35) , (ตอนที่ 34) , (ตอนที่ 33) , (ตอนที่ 32) , (ตอนที่ 31) , (ตอนที่ 30) , (ตอนที่ 29) , (ตอนที่ 28) , (ตอนที่ 27) , (ตอนที่ 26) , (ตอนที่ 25) , (ตอนที่ 24) , (ตอนที่ 23) , (ตอนที่ 22) , (ตอนที่ 21 ต่อ) , (ตอนที่ 21) , (ตอนที่ 20) , (ตอนที่ 19) , (ตอนที่ 18) , (ตอนที่ 17) , (ตอนที่ 16) , (ตอนที่ 15) , (ตอนที่ 14) , (ตอนที่ 13) , (ตอนที่ 12) , (ตอนที่ 11) , (ตอนที่ 10) , (ตอนที่ 9) , (ตอนที่ 8) , (ตอนที่ 7) , (ตอนที่ 6) , (ตอนที่ 5) , (ตอนที่ 4) , (ตอนที่ 3) , (ตอนที่ 2) , (ตอนที่ 1) , ประโยชน์การอุปมาอันได้จากการศึกษาคัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์มิลินท์ปัญหาเป็นต้น , มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้ , เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า? , นิปปปัญจปัญหา - ปัญหาเกี่ยวกับธรรมที่ปราศจากเหตุให้เนิ่นช้าในวัฏฏทุกข์ , ถามว่า อานิสงส์การเจริญเมตตา ห้ามอันตรายต่างๆ เหตุไรสุวรรณสามผู้เจริญเมตตาจึงถูกยิงเล่า?
0 comments: