วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ?

เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ?

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี มีเทวดาตนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

“ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ผู้สงบ ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ฉันอาหารมื้อเดียว เพราะเหตุอะไร ผิวพรรณจึงผ่องใส”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  

“ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต กำหนดอยู่กับปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

เพราะคิดถึงอนาคต เศร้าโศกถึงอดีต ด้วยเหตุนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เขลาจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น”

ในอรรถกถาท่านอธิบายไว้ว่า  

“ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งบำเพ็ญกรรมฐานอย่างนี้แล้ว เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นเครื่องชำระของท่านก็เกิดขึ้น. ลำดับนั้น ความสืบต่อแห่งวิสภาคะ (อารมณ์ที่เป็นข้าศึก) ก็เข้าไปสงบระงับ. ความสืบต่อแห่งสภาคะ (อารมณ์เป็นที่สบาย) ก็หยั่งลงแล้ว จิตย่อมผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสแล้ว โลหิตก็ผ่องใสตาม อุปาทารูปทั้งหลายซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมบริสุทธิ์ วรรณะแห่งหน้าย่อมเป็นราวกะสีแห่งผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น”

เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต กำหนดอยู่กับปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณของเขาจึงผ่องใส ดังนี้.

สาระธรรมจากอรัญญสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

25/4/65




Related Posts

  • "ใจเศร้าหมองกับใจหดหู่" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)"ใจเศร้าหมองกับใจหดหู่"".. "ใจหดหู่" นั้นมันสลดสังเวช แล้วมันคิดถึงตัวของเราจะต้องเป็นอย่างนั้นแล้วมันหดหู่ลงไป "ส่วนใจเศร้าหมอง" นั้นคิดถึงเรื่องความแก่ ความตา… Continue Reading
  • สมณกรณียธรรม ๒๐ ประการสมณกรณียธรรม ๒๐ ประการ1. เสฏฺฐภูมิสโย ตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐ (ประกอบด้วยความกรุณาแลความสัตย์  เป็นต้น) 2. อคฺเค นิยโม     นิยมในกิจอันเลิ… Continue Reading
  • "กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ”"กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ” อันมีเนื้อ ความดังนี้คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึก… Continue Reading
  • ความเป็นผู้ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ?ความเป็นผู้ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ?บุคคลใดเป็นคนฉลาดหรือไม่ฉลาดให้กำหนดรู้ด้วยอุบายดังต่อไปนี้ บุคคลนั้นต้องรู้อุบายอันเป็นเหตุแห่งความเจริญและไม่เจริญ.  ควา… Continue Reading
  • "มันเป็นของกลาง" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)"มันเป็นของกลาง"".. ธรรมแท้ที่พระองค์ทรงสอนนั้นมิได้สอนอื่น "แท้จริงก็คือสอนให้เห็นแลเข้าใจชัดแจ้งในเรื่องความเป็นอยู่แลเป็นไปของโลกนั้นเอง" จึงจะหายกังวลสงสัยพ… Continue Reading

0 comments: