วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง)

หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง)

ราชกุมาร ! 

(๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์แต่ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม เลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น

(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ และประกอบด้วยประโยชน์และ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย

- บาลี ม.ม. ๑๓/๙๑/๙๔. ตรัสแก่อภยราชกุมาร ที่เวฬุวัน.

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (น.๒๔๔) , ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส

Credit:  สโมสรธรรมทาน สวนโมกข์กรุงเทพ

"พระใหญ่ไดบุทสึ" จังหวัดลำปาง

ที่ วัดพระธาตุดอยพระฌาน อ.แม่ทะ ประดิษฐานพระใหญ่ไดบุทสึ คล้ายกับพระไดบุตสึแห่งวัดโคโตคุ เมืองคามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น องค์ใหญ่โดดเด่นอยู่บนยอดเขา และเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยงาม



Previous Post
Next Post

0 comments: