นายที่ไม่น่าคบ
น เสเว ผรุสํ สามึ, ตํปิ เสเว น มจฺฉรึ;
ตโต นิคฺคณฺหิกํ สามึ, เนวาปคฺคณฺหิกํ ตโต.
ไม่ควรคบนายจ้างที่หยาบคาย, ไม่ควรคบนายจ้างที่ตระหนี่; ไม่ควรคบนายจ้างที่ข่มขี่, อีกผู้ที่ไม่ยกย่องลูกจ้างก็อย่าคบ.
(ธรรมนีติ นิสสยกถา ๘๙, โลกนีติ ๘๙, มหารหนีติ ๑๙๔, กวิทัปปณนีติ ๒๔๔)
ศัพท์น่ารู้ :
น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
เสเว: (เสพ, คบ, คบหา, ร่วมงาน, รับใช้) √เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
ผรุสํ: (หยาบ, คาย, กล้าแข็ง, ดุร้าย) ผรุส+อํ ค.
สามึ: (เจ้าของ, สามี, นาย) สามี+อํ ป. (ในที่นี้น่าจะหมายถึง เจ้านาย หรือ นายจ้าง)
ตมฺปิ ตัดบทเป็น ตํ+อปิ (แม้นั้น)
มจฺฉรึ (คนตระหนี่) มจฺฉรี+อํ ป.
ตโต (แต่นั้น, ยิ่งกว่านั้น) ต+โต อ. (อัพยยศัพท์, นิบาตใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ)
นิคฺคณฺหิกํ: (ที่มักข่มเหง, รังแก, กดขี่) นิคฺคณฺหิก+อํ, ศัพท์นี้น่าจะเป็น อปคฺคหํ เหมือนในโลกนีติ
สามึ (เจ้าของ, สามี, นาย, นายจ้าง) สามี+อํ ป.
เนวาปคฺคณฺหิกํ ตัดบทเป็น น (ไม่, หามิได้) +เอว (นั่นเทียว) +อปคฺคณฺหิกํ (ผู้ไม่ให้การยกย่อง, ไม่ชมเชย, ไม่ให้เกียรติ) น ให้สัมพันธ์เข้ากับกิริยาคุมพากย์ว่า เสเวยฺย.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ไม่ควรรับใช้นายที่เข้มงวด ไม่ควรรับใช้แม้นายที่ ตระหนี่ นอกนั้น นายที่ข่มขี่ยังนอกจากนั้น นายที่ ไม่ยกย่องเลย.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
ไม่ควรรับใช้นายที่ร้ายกาจ ไม่ควรรับใช้นายที่ตระหนี่ นอกจากนี้ นายที่ข่มขี่ และนายที่ไม่ยกย่องคนใช้ ก็ไม่ควรรับใช้.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ศิลปินเดี่ยวดังยาก , นายที่ไม่น่าคบ , เพื่อนที่ไม่น่าคบ , หลักการบูชา , คนที่ไม่ควรคบ , พึงอาศัยคนดี , เพื่อนไม่จริง , ไม้มีผล คนมีบุญ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย
0 comments: