วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565

ที่ไม่ควรเนานาน

ที่ไม่ควรเนานาน

ยตฺถ  เทเส  น  สมาโน,   น  ปีติ  น  จ  พนฺธโว;
น  จ  วิชฺชาคโม  โกจิ,   น  ตตฺถ  ทิวสํ  วเส.

ในที่ใดไม่มีความนับถือกัน,  ไม่มีความยินดีต่อกัน ไม่มีพวกพ้อง;  และไม่มีการศึกษาวิชาความรู้,  ในที่นั้น ไม่ควรอยู่จนข้ามวัน.

(ธรรมนีติ เทสกถา ๘๒, โลกนีติ ๑๑๔, มหารหนีติ ๖๙, กวิทัปปณนีติ ๑๑๗, จาณักยนีติ ๓๗)

ศัพท์น่ารู้ :

ยสฺมึ (ใด) ย+สฺมึ

เทเส (ในประเทศ, เทสะ) เทส+สฺมึ

น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ

สมาโน (มีความเสมอกัน, มีความนับถือกัน, การบูชา) สมฺมาน+สิ (ในกวิทัปปณนีติ เป็น สมฺมาโน)

ปีติ (ความปีติ, ยินดี, แช่มชื่นใจ) ปีติ+สิ (กวิทัปปณนีติ เป็น ปิโย, โลกนีติ เป็น เปมํ)

น (ไม่, หามิได้)

จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจจยัตถะ)

พนฺธโว (ญาติ, พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์ ท.) พนฺธุ+โย แปลง โย เป็น โว ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ลโต โวกาโร จ. (รู ๑๕๕), แปลง อุ เป็น อ ด้วยสูตรว่า เวโวสุ โล จ. (๑๕๖) สำเร็จรูปเป็น พนฺธโว (ญาติ ท.) แจกและทำตัวเหมือน ภิกฺขุ (พระภิกษุ)

วิชฺชาคโม (การเรียน-, การศึกษาวิชา) วิชฺขา+อาคม > วิชฺชาคม+สิ วิ. วิชฺชาย อาคโม วิชฺชาคโม (การเรียนวิชา ชื่อว่า วิชฺชาคโม) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส

โกจิ (ไรๆ, บางอย่าง, บ้างเลย) -ปุงลิงค์, กาจิ -อิตฺถีลิงค์, กิญฺจิ -นปุงสกลิงค์ มาจาก กึ+สิ+จิ

ตตฺถ (ในประเทศนั้น = ตสฺมึ ปเทเส) ต+ถ ลง ถ ปัจจัยหลังสัพพนามทั้งหลาย ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตฺรถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖)

ทิวสํ (สิ้นวัน, ตลอดวัน) ทิวส+อํ

วเส (พึงอยู่, พึงพัก, ควรอาศัย) √วส+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในที่ถิ่นใด ไม่มีความเคารพนับถือ  ไม่มีความเปรมปรีดิ์ แลไม่มีพวกพ้อง แลไม่มีใคร ๆ  ผู้มีวิชาอาคม บุคคลไม่ควรอยู่ในที่นั้นตลอดวัน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ในถิ่นใด ไม่มีที่เคารพนับถือ  ไม่มีความเอิบอิ่ม ไม่มีพวกพ้อง  ไม่มีคนมีความรู้  ไม่ควรอยู่ในถิ่นนั้นให้ข้ามวันเลย.

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ที่ไม่ควรอยู่นาน , ที่ไม่ควรเนานาน , สถานที่ไม่ควรอยู่ , ผู้มีความหวัง , ถิ่นที่ไม่น่าอยู่,  แลหน้าเหลียวหลัง , สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali


Previous Post
Next Post

0 comments: