สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน
ฐานภฎฺฐา น โสภนฺเต, ทนฺตา เกสา นขา นรา;
อิติ วิญฺญาย มติมา, สฐานํ น ลหุํ จเช.
ฟัน ผม เล็บ คนทั้งหลาย พลัดจากถิ่นที่อยู้แล้ว ย่อมไม่งาม
ผู้มีปัญญาเมื่อรู้ชัดอย่างนี้แล้ว, จึงไม่ควรละถิ่นของตนให้เร็วนัก.
(ธรรมนีติ เทสกถา ๘๗, มหารหนีติ ๗๘, กวิทัปปณนีติ ๗๒)
ศัพท์น่ารู้ :
ฐานภฎฺฐา (ที่พลัดแล้วจากที่ตั้ง, ที่พรากจากฐาน) ฐาน+ภฏฺฐ > ฐานภฏฺฐ+โย
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
โสภนฺเต (งาม, สวย) √สุภ-ทิตฺติยํ+อ+อนฺเต ภูวาทิ. กัตตุ.
ทนฺตา (ฟัน ท.) ทนฺต+โย
เกสา (ผม ท.) เกส+โย
นขา (เล็บ ท.) นข+โย
นรา (คน, นระ, บุรุษ) นร+โย
อิติ (อย่างนี้, เพราะเหตุนั้น, อย่างนี้แล) นิบาต
วิญฺญาย (รู้แล้ว, รู้ชัดแล้ว, รู้แจ้งแล้ว) วิ+ญา+ตฺวา หลังธาตุที่มีอุปสัคอยู่หน้าให้แปลง ตฺวา ปัจจัยเป็น ย ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) = วิ+ญา+ย, ซ้อน ญฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๒๘) = วิ+ญฺญา+ย, รวมสำเร็จรูปเป็น วิญฺญาย (รู้แล้ว, เพราะรู้แล้ว).
มติมา (ผู้มีปัญญา) มติมนฺตุ+สิ, วิ. มติ ยสฺส อตฺถีติ มติมา (ปัญญามีอยู่แก่ผู้ใด เหตุนั้น ผู้นั้น ชือว่า มติมา – ผู้มีปัญญา มาจาก มติ+มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต, แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิิมฺหิ. (รู ๙๘)
สฐานํ (ที่ตั้ง, ที่ดำรง) สก+ฐาน > สฏฺฐาน+อํ
น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
จเช (สละรอบ, ปล่อยปะละเลย) √จช-จาเค+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ฟัน ผม เล็บ คน ออกจากที่เดิมของตนไม่งามเลย ผู้มีความคิด รู้อย่างนี้แล้ว ไม่ควรทิ้งถิ่นของตนเสียง่าย ๆ.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
ผม เล็บ ฟัน คน ออกจากถิ่นเดิมของตนแล้วไม่งามเลย ผู้มีสติปัญญารู้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ควรทิ้งถิ่นไปง่าย ๆ.
เทสกถา นิฏฺฐิตา : จบแถลงประเทศ.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ที่ไม่ควรอยู่นาน , ที่ไม่ควรเนานาน , สถานที่ไม่ควรอยู่ , ผู้มีความหวัง , ถิ่นที่ไม่น่าอยู่, แลหน้าเหลียวหลัง , สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
"วัดปัญญานันทาราม” คลองหก จังหวัดปทุมธานี
เป็นที่ตั้งของ พุทธคยาจำลอง (พุทธมหาเจดีย์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกถอดแบบมาจากประเทศอินเดีย โดย "หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ" ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ได้มุ่งหวังให้เป็นมรดกธรรม และยังมีภาพปริศนาธรรมแบบ 3 มิติที่แรกในโลก! ที่จัดแสดงอยู่ด้านล่างเจดีย์พุทธคยา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปถ่ายรูปเล่นกันได้ โดยแต่ละภาพจะมีความหมายและแฝงไปด้วยคติธรรมสอนใจในเรื่องของอริยสัจสี่
0 comments: