แลหน้าเหลียวหลัง
จลตฺเยเกน ปาเทน, ติฎฺฐตฺเยเกน ปณฺฑิโต;
นาสมิกฺขฺย ปรํ ฐานํ, ปุพฺพมายตนํ จเช.
ปราชญ์ย่อมก้าวไปด้วยเท้าข้างเดียว ย่อมดำรงอยู่ด้วยก้าวอีกข้างหนึ่ง
ผิยังไม่ทันพิจารณาที่อื่นแล้ว ก็จะไม่ละทิ้งที่ถิ่นที่เคยอยู่เดิม.
(ธรรมนีติ เทสกถา ๘๖, มหารหนีติ ๗๗, จาณักยนีติ ๓๒)
ศัพท์น่ารู้ :
จลตฺเยเกน ตัดบทเป็น จลติ+เอเกน, √จล+อ+ติ = จลติ (ย่อมเคลื่อน, ย้าย, ย่าง) ภูวาทิ. กัตตุ., เอก+นา = เอเกน (ข้างหนึง, ข้างเดียว).
ปาเทน (ด้วยเท้า, บาทา) ปาท+นา
ติฎฺฐตฺเยเกน ตัดบทเป็น ติฏฺฐติ+เอเกน, √ฐา+อ+ติ = ติฏฺฐติ (ยืน, ตั้ง, ดำรง) ภูวาทิ. กัตตุ. แปล ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง § ฐา ติฏฺโฐ. (๔๙๒)
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
นาสมิกฺขฺย ตัดบทเป็น น+อสมิกฺขฺย ๆ น+สมิกฺขฺย = อสมิกฺขฺย (มหารหนีติ เป็น อสมิขฺย) สมิกฺขฺย ไม่แน่ใจว่าทำตัวอย่างไร แต่ถ้าให้เดา ก็น่าจะมาจาก สํ+อิกฺข+ตฺวา ศัพท์นี้ก็ขอฝากผู้รู้ช่วยกันพิจารณาครับ!
ปรํ (อื่น, ข้างหลัง) ปร+อํ
ฐานํ (ที่, ฐาน, สถานที่) ฐาน+อํ
ปุพฺพมายตนํ ตัดบทเป็น ปุพฺพํ (ก่อน, ข้างหน้า) +อายตนํ (ที่อยู่, ที่อาศัย, บ่อเกิด, เครื่องต่อ,ส่วน, อายตนะ) ทั้งสองศัพท์เป็น ทุติยาวิภัตติ
จเช (พึงสละ, ละทิ้ง) √จช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
บัณฑิตย่อมเคลื่อนไปด้วยเท้าเดียว อีกเท้าหนึ่งยัง ยันไว้ก่อน
[เพราะฉะนั้น] บุคคลยังไม่ทันเห็นฐานอื่น อย่าพึงทิ้งทำเลเก่าเสีย.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
บัณฑิตเคลื่อนไปเพียงเท้าเดียวก่อน อีกเท้าหนึ่งยังยันไว้
เพราะฉะนั้น เมื่อยังมองไม่เห็นฐานอื่น อย่าเพิ่งทิ้งทำเลเดิมเสีย.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ที่ไม่ควรอยู่นาน , ที่ไม่ควรเนานาน , สถานที่ไม่ควรอยู่ , ผู้มีความหวัง , ถิ่นที่ไม่น่าอยู่ , แลหน้าเหลียวหลัง , สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
"วัดปัญญานันทาราม” คลองหก จังหวัดปทุมธานี
เป็นที่ตั้งของ พุทธคยาจำลอง (พุทธมหาเจดีย์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกถอดแบบมาจากประเทศอินเดีย โดย "หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ" ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ได้มุ่งหวังให้เป็นมรดกธรรม และยังมีภาพปริศนาธรรมแบบ 3 มิติที่แรกในโลก! ที่จัดแสดงอยู่ด้านล่างเจดีย์พุทธคยา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปถ่ายรูปเล่นกันได้ โดยแต่ละภาพจะมีความหมายและแฝงไปด้วยคติธรรมสอนใจในเรื่องของอริยสัจสี่
0 comments: