ถิ่นที่ไม่น่าอยู่
ยตฺถาลโส จ ทกฺโข จ, สูโร ภิรุ สมปูชา;
น สนฺโต ตตฺถ วสนฺติ, อวิเสสกเรน โก.
ณ ที่ใดคนขี้เกียจกับคนขยัน คนกล้าหาญกับคนขี้ขลาด ได้รับ การยกย่องเสมอกัน, ณ ที่นั้น สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่อาศัยอยู่ เหตุไรเล่า ด้วยการทำให้ไม่ต่างกัน.
(ธรรมนีติ เทสกถา ๘๕, มหารหนีติ ๗๓, นรทักขทีปนี ๑๖๗)
ศัพท์น่ารู้ :
ยตฺถาลโส ตัดบทเป็น ยตฺถ (ในที่ใด) +อลโส (คนเกียจคร้าน, คนขี้เกียจไม่เอาถ่าน) อลส+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต-ปทสมุจจยัตถะ (รวบรวมบท)
ทกฺโข (ขยัน, มั่นเพียร) ทกฺข+สิ
สูโร (กล้า, กล้าหาญ) สูร+สิ
ภิรุ, ภีรุ (กลัว, ขี้ขลาด) ภีรุ+สิ (ในมหารหนีติและนรทักขทีปนีเป็น : ภีรุ)
สมปูชา (บูชาเสมอกัน, ยกย่องเหมือนกัน) สม+ปูชา > สมปูชา+สิ (อิต.) ศัพท์นี้ในมหารหนีติ เป็น ปูชิโต ส่วนในนรทักขทีปนี เป็น ปูชิยา.
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
สนฺโต (ผู้สงบ, สัตบุรุษ, คนดี ท.) สนฺต+โย
ตตฺถ (ในที่นั้น) ต+ถ ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ
วสนฺติ (ย่อมอยู่, พัก, อาศัย) √วส+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
อวิเสสกเรน (ด้วยการกระทำไม่ให้ต่างกัน, ทำไม่ให้พิเศษ, ไม่แตกต่างกัน) น+วิเสส+กร > อวิเสสกร+นา
โก (ใครเล่า, อะไร, ทำไม, เหตุไร) กึ+สิ แปลง กึ เป็น ก § เสเสสุ จ. (รู ๒๒๖)
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ในที่ใด คนขี้เกียจแลคนขยัน คนกล้าแลขลาด ได้รับความยกย่องเสมอกัน พวกสัตบุรุษย่อมไม่อยู่ ในที่นั้น เออก็ใครจะทำให้มันต่างกันได้.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
ในถิ่นใด คนขี้เกียจกับคนขยัน คนกล้ากับคนขี้ขลาด ไดรับความยกย่องเสมอกัน พวกสัตบุรุษไม่ยอมอยู่ในที่นั้น เออ! ก็ใครจะทำให้มันต่างกันได้เล่า.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ที่ไม่ควรอยู่นาน , ที่ไม่ควรเนานาน , สถานที่ไม่ควรอยู่ , ผู้มีความหวัง , ถิ่นที่ไม่น่าอยู่, แลหน้าเหลียวหลัง , สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดที่มีชื่อเสียงคนไทยนิยมมากราบไหว้
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณ
วัดไผ่โรงวัวหรือวัดโพธาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปเที่ยวชมกันอย่างไม่ขาดสาย ด้วยมีพุทธวัตถุและโบราณสถานสำคัญให้เยี่ยมชมได้มากมายหลายจุด เช่น "พระพุทธโคดม" พระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) นอกจากนี้ยังมี "สังเวชนียสถาน 4 ตำบล" คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน มีส่วนที่แสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ สวรรค์ภูมิ ส่วน "พระกะกุสันโธ" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้านหน้าพระพุทธรูปมี "ฆ้อง และบาตร" ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน รวมทั้ง "พระวิหารร้อยยอด" และ "พระธรรมจักร" ซึ่งหล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย จนขึ้นชื่อเป็นวัดที่ใครมาเยือนสุพรรณบุรีแล้วต้องไม่พลาด
0 comments: