วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

รับนิมนต์และสวนที่ถวายโดยหญิงงามเมือง

รับนิมนต์และสวนที่ถวายโดยหญิงงามเมือง

[ณ กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี หญิงงามเมือง (หญิงบริการ) ชื่อ อัมพปาลี ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่โกฏิคาม จึงจัดรถงามๆเดินทางออกจากเวสาลีเพื่อไปหาท่าน ถึงจุดที่รถเข้าไม่ได้ก็ลงเดินเท้าไปถึงที่พักของท่าน หลังจากพระพุทธเจ้าได้สนทนาธรรมกับนางแล้ว นางก็พูดว่า]

อ:  ขอท่านพร้อมกับภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เพื่อบุญกุศลด้วยเถิด

[พระพุทธเจ้ารับคำแล้วนางก็ขอลากลับไป โดยระหว่างทางกลับ นางได้สวนทางกับพวกเจ้าลิจฉวีที่แต่งรถงามๆมาหาพระพุทธเจ้าเช่นกัน เมื่อหยุดคุยกันพวกเจ้าลิจฉวีจึงรู้ว่าพรุ่งนี้นางจะขอถวายภัตตาหารให้พระพุทธเจ้า]

ล:  แม่อัมพปาลี เธอให้พวกฉันถวายเถอะ เดี๋ยวจะให้เงินเธอหนึ่งแสนกหาปณะแทน (1 กหาปณะ = 4 บาท)

อ:  ถึงท่านจะให้เวสาลีทั้งเมือง หม่อมฉันก็ให้ไม่ได้

ล: (ดีดนิ้ว) ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว (จากนั้นก็ออกเดินทางต่อ)

[เมื่อพระพุทธเจ้าได้เห็นเจ้าลิจฉวีที่แต่งกายเขียว เหลือง แดง ขาวต่างกันมาแต่ไกล ท่านก็พูดกับภิกษุทั้งหลายว่า]

พ:  ใครไม่เคยเห็นเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ก็จงดูพวกเจ้าลิจฉวีเถิด

[หลังจากที่พวกเจ้าลิจฉวีมาถึงและได้สนทนาธรรมกันกับพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าลิจฉวีก็พูดว่า]

ล:  ขอท่านพร้อมกับภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เพื่อบุญกุศลด้วยเถิด

พ:  ลิจฉวีทั้งหลาย เรารับนิมนต์ของนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองแล้ว

ล:  (ดีดนิ้ว) ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว (จากนั้นก็ออกเดินทางกลับ)

[ต่อมา พระพุทธเจ้าเดินทางไปนครนาทิกา นางอัมพปาลีซึ่งเตรียมภัตตาหารถวายไว้ที่สวนของตน ได้นิมนต์ท่านมาที่สวนและถวายภัตตาหารนั้น จากนั้นได้กล่าวว่า]

อ:  ข้าฯขอถวายสวนอัมพปาลีแห่งนี้แก่ภิกษุสงฆ์ที่มีท่านเป็นประมุข

[พระพุทธเจ้ารับไว้เพื่อเป็นวัดของสงฆ์ และเมื่อได้สนทนาธรรมกันเสร็จแล้ว ท่านก็ออกเดินทางต่อไปยังป่ามหาวัน]

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 เภสัชชขันธกะ เรื่องเสด็จดำเนินโกฏิคาม), 2559, น.115-118

ที่มาของการเข้าพรรษาที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก,  ที่มาของการห้ามรับเงินทอง,  ไม่คิดแพ้ชนะ,  ทำเขาไว้อย่างไร ก็โดนคืนอย่างนั้น,  บาปและบุญคือเงาตามตัวไปโลกหน้า,  วิธีดึงให้หันมาหาแก่นแท้,  ไม่ตึงไม่หย่อนไป,  เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่มีการเกิดอีก,  คนพาลที่ไปเกิดเป็นสัตว์แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งนั้นยากแค่ไหน





คนพาลที่ไปเกิดเป็นสัตว์แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งนั้นยากแค่ไหน

คนพาลที่ไปเกิดเป็นสัตว์แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งนั้นยากแค่ไหน

[ณ วิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าพูดกับภิกษุเรื่องคนพาลและบัณฑิต]

พระพุทธเจ้า:  ถ้ามีคนโยนทุ่นที่มีรูลงไปในมหาสมุทร ทุ่นนั้นถูกลมพัดไปมาซ้ายบ้างขวาบ้าง และมีเต่าตาบอดตัวหนึ่งอยู่ในมหาสมุทรน้ัน ซึ่งทุกร้อยปีจะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำสักครั้งหนึ่ง พวกเธอว่าเต่าตาบอดตัวนั้นจะสอดคอเข้าไปในทุ่นนั้นได้บ้างไหม?

ภิกษุ:  เป็นไปไม่ได้เลยท่าน หรือถ้าได้ก็ต้องใช้เวลานานมากๆ

พระพุทธเจ้า:  เวลาที่เต่าตัวนั้นจะสอดคอเข้าที่ทุ่นนั้นได้ ยังจะเร็วกว่าเวลาที่คนพาลซึ่งไปเกิดเป็นสัตว์แล้วจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งเสียอีก นี่เป็นเพราะอะไร เพราะในภพภูมิที่รับทุกข์ (วินิบาต) นั้น ไม่มีการปฏิบัติธรรม ไม่มีการทำบุญทำกุศล และถึงจะกลับมาเกิดได้ ก็จะไปเกิดในตระกูลที่ยากลำบาก

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 23 (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภาค 3 เล่ม 2 พาลบัณฑิตสูตร), 2559, น.143

ที่มาของอุปัชฌายะ (ผู้คอยสอดส่องเอาใจใส่)ที่มาของการเข้าพรรษาที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก,  ที่มาของการห้ามรับเงินทอง,  ไม่คิดแพ้ชนะ,  ทำเขาไว้อย่างไร ก็โดนคืนอย่างนั้น,  บาปและบุญคือเงาตามตัวไปโลกหน้า,  วิธีดึงให้หันมาหาแก่นแท้,  ไม่ตึงไม่หย่อนไปเมื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่มีการเกิดอีก






เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่มีการเกิดอีก

เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่มีการเกิดอีก

[ณ โกฏิคาม พระพุทธเจ้าพูดกับภิกษุทั้งหลายว่า]

..เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้รู้แจ้งถ่องแท้ในอริยสัจ 4,   อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

ทุกขอริยสัจ (ตัวทุกข์ - เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบเจอกับสิ่งที่ไม่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รัก อยากได้อะไรแล้วไม่ได้)

ทุกขสมุทยอริยสัจ (เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ - ตัณหา ความอยากได้อยากมี อยากเป็น หรืออยากที่จะไม่เป็น)

ทุกขนิโรธอริยสัจ (การดับของทุกข์ - ไม่เหลือตัณหา หมดสิ้นความอยาก ไม่ติดยึดพัวพันกับสิ่งใดอีก)

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (ข้อปฏิบัติในการดับทุกข์ - อริยมรรค 8 ข้อ)

ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 นี้ เราและพวกเธอได้รู้แจ้งถ่องแท้แล้ว ตัดตัณหาที่จะพาให้ไปเกิดอีกได้เด็ดขาดแล้ว จากนี้ก็จะไม่มีการเกิดอีกต่อไป...

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 เภสัชชขันธกะ เรื่องเสด็จดำเนินโกฏิคาม), 2559, น.114-115

ให้ได้พบธรรมที่ดี,  ที่มาของอุปัชฌายะ (ผู้คอยสอดส่องเอาใจใส่)ที่มาของการเข้าพรรษาที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก,  ที่มาของการห้ามรับเงินทอง,  ไม่คิดแพ้ชนะ,  ทำเขาไว้อย่างไร ก็โดนคืนอย่างนั้น,  บาปและบุญคือเงาตามตัวไปโลกหน้าวิธีดึงให้หันมาหาแก่นแท้ไม่ตึงไม่หย่อนไป





ไม่ตึงไม่หย่อนไป

ไม่ตึงไม่หย่อนไป

[ณ ภูเขาคิชฌกูฏ หนึ่งในประชาชนจำนวนมากที่เดินทางไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าคือ ลูกเศรษฐีชื่อโสณโกฬิวิสะ เมื่อฟังแล้วคิดอยากบวช จึงขอพระพุทธเจ้าบวช จากนั้นได้ไปปฏิบัติธรรมต่อในป่าสีตวัน โดยพยายามอย่างหนักที่จะบรรลุธรรม เดินจงกรมจนเท้าแตกสองข้าง เลือดเลอะพื้น แต่ก็ยังไม่สำเร็จ]

ส:  (คิด) เราก็เพียรพยายามเหมือนกับรูปอื่นๆ แต่ทำไมจิตของเราไม่หลุดพ้นจากความถือมั่นซะที หรือเราจะสึกออกไปดีกว่า สมบัติก็ยังมีอยู่

[พระพุทธเจ้าได้รับรู้ความคิดนี้ จึงออกจากเขาคิชฌกูฏมาหาพระโสณะที่ป่าสีตวัน ระหว่างทางไปที่พักของพระโสณะได้เห็นรอยเลือดเปื้อนอยู่]

พ:  ภิกษุทั้งหลาย ที่เดินจงกรมตรงนี้เป็นของใคร ทำไมมีเลือดเปื้อนเหมือนที่ฆ่าโค

ภ:  ท่านพระโสณะเพียรพยายามเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าแตกสองข้าง ที่ตรงนี้จึงเปื้อนเลือดแบบนี้

[เมื่อพระพุทธเจ้าเดินไปถึงที่พักของพระโสณะ]

พ:  โสณะ เธอคิดใช่ไหมว่าเธอก็เพียรพยายามเหมือนกับรูปอื่นๆ แต่ทำไมจิตของเธอยังไม่หลุดพ้นจากความถือมั่นซะที เลยจะสึกออกไปดีกว่า เพราะสมบัติก็ยังมีอยู่.   ส:  คิดอย่างนั้นท่าน.   

พ:  โสณะ เธอลองคิดดูนะ ตอนที่เธอยังเป็นฆราวาส เธอเล่นพิณเก่งใช่ไหม ?  ส:  ใช่ท่าน.   พ:  คราวใดที่สายพิณตึงเกินไป คราวนั้นเสียงพิณเธอใช้ได้ไหม?   ส:  ใช้ไม่ได้ท่าน

พ:  คราวใดที่สายพิณหย่อนเกินไป คราวนั้นเสียงพิณเธอใช้ได้ไหม ?   ส:  ใช้ไม่ได้ท่าน.

พ:  คราวใดที่สายพิณไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ตั้งอยู่ในระดับที่พอดี คราวนั้นเสียงพิณเธอใช้ได้ไหม?  ส:   ใช้ได้ท่าน

พ: โสณะ มันก็เหมือนกันนั่นแหละ ความเพียรที่เคร่งเครียดจนเกินไปทำให้ฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนจนเกินไปทำให้เกียจคร้าน เพราะเหตุนี้ เธอจึงควรตั้งความเพียรให้พอเหมาะพอดี จงเข้าใจและปฏิบัติตามนี้.   ส:  จะปฏิบัติตามที่ท่านสอน

[หลังจากนั้นไม่นาน พระโสณะก็บรรลุอรหันต์ในที่สุด]

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 จัมมขันธกะ เรื่องโสณโกฬวิสะออกบวชปรารถความเพียรจนเท้าแตก และเรื่องพุทธอุปมาความเพียรกับสายพิณ), 2559, น.4-8

ที่มาของคู่สาวกพระพุทธเจ้า,  ให้ได้พบธรรมที่ดี,  ที่มาของอุปัชฌายะ (ผู้คอยสอดส่องเอาใจใส่)ที่มาของการเข้าพรรษาที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก,  ที่มาของการห้ามรับเงินทอง,  ไม่คิดแพ้ชนะ,  ทำเขาไว้อย่างไร ก็โดนคืนอย่างนั้น,  บาปและบุญคือเงาตามตัวไปโลกหน้าวิธีดึงให้หันมาหาแก่นแท้









อลีนจิตฺตชาตกํ - ว่าด้วยกัลยาณมิตร


อลีนจิตฺตชาตกํ - ว่าด้วยกัลยาณมิตร

"อลีนจิตฺตํ  นิสฺสาย,     ปหฏฺฐา  มหตี  จมู;

โกสลํ  เสนาสนฺตุฏฺฐํ,    ชีวคฺคาหํ  อคาหยิ ฯ

เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง ได้จับเป็นพระเจ้าโกศลผู้ไม่ทรงอิ่มพระทัยด้วยราชสมบัติของพระองค์ ฉันใด."

"เอวํ  นิสฺสยสมฺปนฺโน,     ภิกฺขุ  อารทฺธวีริโย;

ภาวยํ  กุสลํ  ธมฺมํ,       โยคกฺเขมสฺส  ปตฺติยา;

ปาปุเณ  อนุปุพฺเพน,    สพฺพสํโยชนกฺขยนฺติ ฯ

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่พึ่งอาศัย ปรารภความเพียร เจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็ฉันนั้น."

อรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖ 

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุคลายความเพียรรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  อลีนจิตฺตํ  นิสฺสาย  ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในสังวรชาดกในเอกาทสกนิบาต. ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า „ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอคลายความเพียรจริงหรือ?“ กราบทูลว่า „จริง พระเจ้าข้า.“   ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า „ดูก่อนภิกษุ เมื่อก่อนเธอได้ทำความเพียรยึดเอาราชสมบัติในกรุงพาราณสีประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายราชกุมารหนุ่มเช่นกับชิ้นเนื้อมิใช่หรือ. เหตุไรในบัดนี้ เธอบวชในพระศาสนาเห็นปานนี้ จึงคลายความเพียรเสียเล่า“ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า :-

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสีได้มีบ้านช่างไม้อยู่ไม่ห่างจากกรุงพาราณสี. พวกช่างไม้ ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น พวกเขาเดินเรือขึ้นเหนือน้ำแล้วพากันเข้าไปในป่า.   ตัดฟันไม้เครื่องเรือนปรุงปราสาทต่างชนิด มีพื้นชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น ณ ที่นั้นเองแล้วทำเครื่องหมายไว้ในไม้ทุกชิ้น ตั้งแต่เสา ขนไปยังฝั่งแม่น้ำ บรรทุกเรือล่องมาถึงพระนครตามกระแสน้ำ ผู้ใดต้องการเรือนชนิดใด ก็ปรุงเรือนชนิดนั้นแก่ผู้นั้นแล้วรับเอากหาปณะกลับไป ขนเครื่องเรือนในที่นั้นมาอีก.

เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างนี้ คราวหนึ่งเมื่อเขาตั้งค่ายตัดฟันไม้อยู่ในป่า ในที่ไม่ไกลนักมีช้างตัวหนึ่งเหยียบตอตะเคียนเข้า. ตอได้แทงเท้าช้างเข้า มันเจ็บปวดเป็นกำลัง. เท้าบวมกลัดหนอง.  ช้างได้รับทุกขเวทนาสาหัสได้ยินเสียงตัดฟันไม้ของพวกช่างไม้ จึงหมายใจว่า เราจักมีความสวัสดีเพราะอาศัยพวกช่างไม้เหล่านี้แล้วเดินสามเท้าเข้าไปหาเขาหมอบลงใกล้ ๆ.

ช่างไม้เห็นช้างมีเท้าบวม จึงตรงเข้าไปใกล้พบตออยู่ที่เท้าแล้วใช้มีดที่คมกรีดรอบตอ ใช้เชือกดึงตอออก บีบหนอง เอาน้ำอุ่นชะ ไม่นานนักที่พวกเขารักษาแผลให้หายด้วยใช้ยาที่ถูกต้อง.   ช้างหายเจ็บปวดจึงคิดว่า เราได้ชีวิต เพราะอาศัยช่างไม้เหล่านี้เราควรช่วยเหลือตอบแทนเขา. ตั้งแต่นั้นมาเมื่อช่างไม้นำไม้มาถาก ช้างก็ช่วยพลิกให้ส่งเครื่องมือมีมีดเป็นต้นให้กับพวกช่างไม้. มันใช้งวงพันจับปลายเชือกสายบรรทัด.

ในเวลาบริโภคอาหาร พวกช่างไม้ต่างก็ให้ก้อนข้าวแก่มันคนละปั้นให้ถึง ๕๐๐ ปั้น. อนึ่งช้างนั้นมีลูกขาวปลอด เป็นลูกช้างอาชาไนย. เพราะเหตุนั้น มันจึงคิดว่า เวลานี้เราก็แก่เฒ่าเราควรให้ลูกแก่ช่างไม้เหล่านี้. เพื่อทำงานแทนเราแล้วเข้าป่าไป.

ช้างนั้นมิได้บอกแก่พวกช่างไม้เข้าป่านำลูกมากกล่าวว่า ช้างน้อยเชือกนี้เป็นลูกของข้าพเจ้า พวกท่านได้ช่วยชีวิตของข้าพเจ้าไว้ข้าพเจ้าขอให้ลูกนี้เป็นบำเหน็จค่าหมอของพวกท่านตั้งแต่นี้ไปลูกนี้จักทำการงานให้พวกท่านแล้วจึงสอนลูกว่า „ดูก่อนเจ้าลูกน้อย ตั้งแต่นี้ไปเจ้าจงทำการงานแทนเรา“ ครั้นมอบลูกน้อยให้พวกช่างไม้แล้ว ตัวเองก็เข้าป่าไป.   ตั้งแต่นั้นมา ลูกช้างก็ทำตามคำของพวกช่างไม้ เป็นสัตว์ว่า นอนสอนง่าย กระทำกิจการทั่วไป. แม้พวกช่างไม้ก็เลี้ยงดูลูกช้างน้อยด้วยอาหาร ๕๐๐ ปั้นลูกช้างน้อยทำงานเสร็จแล้วก็ลงแม่น้ำอาบเล่นแล้วก็กลับ. พวกเด็กช่างไม้ก็จับลูกช้างน้อยที่งวงเป็นต้น เล่นกับลูกช้างทั้งในน้ำและบนบก.

ธรรมดาชาติอาชาไนยทั้งหลาย จะเป็นช้างก็ตามม้าก็ตาม คนก็ตามย่อมไม่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะลงในน้ำ เพราะฉะนั้น ลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ฝนตกลงมาเหนือแม่น้ำ. ลูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี.

ครั้งนั้น พวกควาญช้างของพระราชานำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยประสงค์จะให้อาบน้ำ. ช้างเหล่านั้นได้กลิ่นคูถของช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียวชูหางพากันหนีไปทั้งหมด. พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นายหัตถาจารย์.   พวกเขาคิดกันว่า ในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความสะอาดน้ำเห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ ก็รู้ว่า นี่เองเป็นเหตุในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รด จนทั่วตัวช้างทั้งหลาย. ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม. ช้างเหล่านั้นจึงลงอาบน้ำกันได้.   นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชาแล้วกราบทูลว่า „ขอเดชะพระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้นนำมาเถิดพระเจ้าข้า.“

พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่นไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้. ลูกช้างกำลังเล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้. พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชาแล้วกราบทูลว่า „ขอเดชะหากพระองค์มีพระประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรงส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า.“   พระราชารับสั่ง „นี่แน่พนาย เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอกแต่เรามาเพื่อต้องการช้าง เชือกนี้.“ พวกช่างไม้กราบทูลว่า „ขอเดชะโปรดให้จับไปเถิดพระเจ้าข้า.“ ลูกช้างไม่ปรารถนาจะไป.   พระราชารับสั่งถามว่า „ช้างจะให้ทำอย่างไรเล่า พนาย.?“ พวกเขากราบทูลว่า „ขอเดชะช้างจะให้พระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้พระเจ้าข้า.“

พระราชารับสั่งว่า ตกลงพนายแล้วโปรดให้วางกหาปณะลงที่เท้าช้างทั้ง ๔ ข้าง ที่งวงและที่หางแห่งละแสนกหาปณะ แม้เพียงนี้ช้างก็ไม่ไป ครั้นพระราชทานผ้าคู่แก่ช่างไม้ทั้งหมด พระราชทานผ้าสาฎกสำหรับทั้งนุ่งแก่ภรรยาช่างไม้ แม้เพียงนี้ก็ไม่ไป ต่อเมื่อพระราชทานเครื่องบริหารสำหรับเด็กแก่เด็กชายหญิงที่เล่นอยู่ด้วยกัน ลูกช้างจึงเหลียวไปดูพวกช่าง เหล่าสตรีและพวกเด็กแล้วเดินไปกับพระราชา.

พระราชาทรงพาไปถึงพระนคร รับสั่งให้ประดับพระนครและโรงช้างทรงให้ช้างกระทำปทักษิณพระนครแล้วให้เข้าไปโรงช้างทรงประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวงทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชพาหนะทรงตั้งไว้ในฐานะเป็นสหายของพระองค์ พระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่งแก่ช้างได้ทรงกระทำการเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์.

ตั้งแต่ช้างมา ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระราชาทั้งสิ้นเชิง. ครั้นกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้น.  ในเวลาที่พระนางทรงครรภ์แก่ พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว. หากพญาช้างพึงรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว หัวใจของพญาช้างก็จะต้องแตกทำลายไป ณ ที่นั้นเอง. ดังนั้นพวกคนเลี้ยงช้างจึงบำรุงมิให้พญาช้างรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.

ฝ่ายพระเจ้ากรุงโกศล ซึ่งมีพระราชอาณาจักรใกล้เคียงกันทรงสดับข่าวว่า พระราชาสวรรคตแล้วทรงดำริว่า นัยว่า ราชสมบัติกรุงพาราณสีว่างผู้ครอง จึงยกกองทัพใหญ่ล้อมพระนคร.   ชาวพระนครพากันปิดประตูเมือง ส่งสาส์นถวายพระเจ้ากรุงโกศลว่า พระอัครมเหสีของพระราชาของพวกข้าพเจ้าทรงครรภ์แก่. พวกโหรทำนายว่า จากนี้ไปเจ็ดวันพระอัครมเหสีจักคลอดพระโอรส พวกข้าพเจ้าจักขอรบในวันที่เจ็ด จักไม่มอบราชสมบัติให้ ขอได้โปรดทรงรอไว้ชั่วเวลาเพียงเท่านี้. พระเจ้ากรุงโกศลทรงรับว่า ตกลง

ครั้นถึงวันที่เจ็ด พระเทวีประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานพระนาม มหาชนได้ขนานพระนามพระโอรสว่า อลีนจิตตราชกุมาร เพราะพระโอรสทรงบันดาลให้จิตท้อแท้ของมหาชนมีขวัญดีขึ้น.   ตั้งแต่วันที่เจ็ดพระโอรสประสูติ ชาวพระนครของพระองค์ก็สู้รบกับพระเจ้ากรุงโกศล. เพราะขาดผู้นำ แม้จะมีกำลังต่อสู้มากมายเพียงไรเมื่อต่อสู้ไปก็ถอยกำลังลงทีละน้อย ๆ.

พวกอำมาตย์พากันกราบทูลความนั้นแด่พระเทวีแล้วทูลถามว่า „ข้าแต่พระแม่เจ้าเมื่อกำลังลดถอยลงอย่างนี้ พวกข้าพเจ้าเกรงว่า จะแพ้สงคราม. มงคลหัตถีสหายของพระราชา มิได้รู้ว่า พระราชาสวรรคต พระโอรสประสูติพระเจ้ากรุงโกศลเสด็จมาทำสงคราม. พวกข้าพเจ้าจะบอกให้พญาช้างนั้นรู้ดีไหมพระเจ้าข้า.“

พระเทวีรับสั่งว่า „ดีแล้ว“ จึงตกแต่งพระโอรสให้บรรทมเหนือพระอู่บุด้วยภูษาเนื้อดี เสด็จลงจากปราสาท มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จถึงโรงพญาช้างให้พระโพธิสัตว์บรรทมใกล้ ๆ พญาช้างแล้วตรัสว่า „ดูก่อนพญามงคลหัตถี พระสหายของท่านสวรรคตเสียแล้ว พวกข้าพเจ้ามิได้บอกเพราะเกรงว่า ท่านจะหัวใจแตกทำลาย นี่คือพระราชโอรสแห่งพระสหายของท่านพระเจ้าโกศลเสด็จมาล้อมพระนคร ต่อสู้กับพระโอรสของท่านไพร่พลหย่อนกำลังท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของท่านตายเสียเลย จงยึด ราชสมบัติถวายแก่เธอเถิด.“

ขณะนั้นพญามงคลหัตถีก็เอางวงลูบคลำพระโพธิสัตว์แล้วยกขึ้นประดิษฐานไว้เหนือกระพองร้องไห้คร่ำครวญแล้วางวางพระโพธิสัตว์ให้บรรทมบนพระหัตถ์ของพระเทวีแล้วออกจากโรงช้างไป หมายใจว่า จักจับพระเจ้ากรุงโกศล.   ลำดับนั้น พวกอำมาตย์จึงสวมเกราะ ตกแต่งพญาช้างเปิดประตูพระนคร พากันห้อมล้อมพญาช้างนั้นออกไป.

พญามงคลหัตถีครั้นออกจากพระนครแล้ว ก็แผดเสียงโกญจนาถยังมหาชนให้หวาดสะดุ้งพากันหนีทำลายค่ายข้าศึก คว้าพระเมาลีพระเจ้ากรุงโกศลไว้ได้แล้วพามาให้หมอบลง ณ บาทมูลของพระโพธิสัตว์ครั้นหมู่ทหารเข้ารุมล้อมเพื่อฆ่าพระเจ้ากรุงโกศลพญาช้างก็ห้ามเสียแล้วถวายโอวาทว่า „ตั้งแต่นี้ไปพระองค์อย่าประมาท อย่าสำคัญว่า พระกุมารนี้ยังเป็นเด็ก“ แล้วจึงกลับไป.

ตั้งแต่นั้นมาราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระโพธิสัตว์. ขึ้นชื่อว่าข้าศึกปัจจามิตรอื่น ๆไม่สามารถจะเผชิญได้เลย. พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกในเมื่อพระชนม์ได้ ๗ พระพรรษาทรงพระนามว่าอลีนจิตตราชทรงปกครองราชสมบัติโดยธรรมทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์จนวาระสุดท้ายพระชนม์ชีพ.  พระศาสดาทรงนำอดีตนี้มา เมื่อทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

„เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริงได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติ ฉันใด.“ 

„ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่ พึ่งอาศัย ปรารภความเพียรเจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็ฉันนั้น.“

ในบทเหล่านั้น บทว่า  อลีนจิตฺตํ  นิสฺสาย  ได้แก่ อาศัยพระอลีนจิตราชกุมาร.    บทว่า  ปหฏฺฐา  มหตี  จมู  ความว่า เสนา หมู่ใหญ่ต่างพากันรื่นเริงยินดีว่า เราได้ราชสมบัติสืบสายราชประเพณีคืนมาแล้ว.   บทว่า  โกสลํ  เสนาสนฺตฺฏฺฐํ  พระเจ้ากรุงโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติของพระองค์ เสด็จมาด้วยทรงโลภในราชสมบัติของผูอื่น.   บทว่า  ชีวคาหํ  อคาหยิ  ความว่า เสนานั้นขอให้พญาช้างจับเป็นพระราชาอย่าฆ่า.

บทว่า  เอวํ  นิสฺสยสมฺปนฺโน  ความว่า เสนานั้น ฉันใด กุลบุตรแม้อื่นซึ่งสมบูรณ์ด้วยนิสัยได้กัลยาณมิตรซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี สาวกของพระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ให้เป็นที่พึ่งอาศัยก็ฉันนั้น.   บทว่า  ภิกขุ  นี้เป็นชื่อของผู้บริสุทธิ์.   บทว่า  อารทฺธวีริโย  ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร คือประกอบด้วยความเพียรอันปราศจากโทษสี่ประการ.   บทว่า  ภาวยํ  กุสลํ  ธมฺมํ  ความว่า เมื่อเจริญธรรมอันเป็นกุศล คือ ไม่มีอาลัย ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.  บทว่า  โยคกฺเขมสฺส  ปตฺติยา  ได้แก่ เจริญธรรมนั้นเพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔.

บทว่า  ปาปุเณ  อนุปุพฺเพ  สพฺพสํโยชนกฺขยํ  ความว่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยอันเป็นกัลยาณมิตรนั้น เมื่อเจริญกุศลธรรมนี้ ตั้งแต่การเห็นแจ้งอย่างนี้ ก็จะบรรลุวิปัสสนาญาณโดยลำดับและมรรคผลเบื้องต่ำ ในที่สุดย่อมบรรลุพระอรหัต กล่าวคือการสิ้นสังโยชน์ทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปของสังโยชน์ ๑๐.   อนึ่งเพราะสังโยชน์ทั้งหมดสิ้นไป เพราะอาศัยพระนิพพาน ฉะนั้น พระนิพพานนั้นก็เป็นอันสิ้นสังโยชน์ทั้งหมด. อธิบายว่า ภิกษุย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด อันได้แก่ พระนิพพานด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรวบยอดแห่งพระธรรมเทศนาด้วยอมตมหานิพพาน ด้วยประการฉะนี้ แล้วจึงทรงประกาศสัจธรรมให้ยิ่ง ๆขึ้นไปแล้วจึงทรงประชุมชาดก. ในเมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้คลายความเพียรได้บรรลุพระอรหัต.

พระมารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระมหามายา. พระบิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. พญาช้างซึ่งช่วยให้ได้ราชสมบัติได้เป็นภิกษุผู้คลายความเพียรรูปนี้. บิดาของพญาช้างได้เป็นสาริบุตร. ส่วนอลีนจิตตราชกุมารได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.   จบอรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali




"พระพุทธองค์ทรงรอเราอยู่"

"พระพุทธองค์ทรงรอเราอยู่"

คุณอย่าไปคิดว่าโอ้ พระพุทธเจ้าไปนิพพาน นิพพานไปเสียแล้ว รออะไร อยู่ที่ไหน นี่มันจะโง่หนักขึ้นไปอีก ถ้าคุณจะคิดว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้รอเราอยู่ ท่านนิพพานเสียแล้ว แต่ขอบอกให้คนโง่ที่สุดว่า พระพุทธเจ้ายังรออยู่ ยังรออยู่ ยังรอคอยท่านทั้งหลายเหล่านี้ มีความรู้ในข้อนี้ ปฏิบัติได้ในข้อนี้ ท่านยังรอเราอยู่ รอวินาทีสุดท้าย รอตลอดนิรันดรนั้น รออยู่ตลอดนิรันดรว่าเมื่อไรสัตว์เหล่านี้มันจะรู้จักพระนิพพานคือความมิใช่อารมณ์ ความไม่มีอารมณ์

ไปหาดูชิที่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้าไม่ได้รออยู่ ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นผู้ที่รู้จักพระพุทธเจ้า รู้จักพระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์แล้ว ก็จะรู้สึกว่า มีอาการเหมือนท่านรออยู่ รอเราอยู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีอาการเหมือนกับรอเราอยู่ว่า เมื่อไรสัตว์เหล่านี้มันจะมา เมื่อไรสัตว์เหล่านี้มันจะรู้เรื่องนี้ จะรู้เรื่องพระนิพพานน่ะ ท่านรออยู่อย่างนี้ จะรู้เรื่องพระนิพพานน่ะ ท่านรออยู่อย่างนี้ นี่ก็จะมัวประมาทกันอยู่ได้อย่างไร ข้อนี้ไม่มีทางแก้ตัวหรอก พระพุทธเจ้ายังรออยู่ตลอดเวลา นิรันดร นิรันดร ตลอดกาล นิรันดร ยังรอเราอยู่ว่า เมื่อไรสัตว์เหล่านี้จะรู้ธรรม นี่ข้อแรก

หรือจะให้กว้างกว่านั้นก็ เมื่อไหร่โลกนี้จะมีสันติภาพ โลกไม่มีธรรมะ ไม่รู้จักพระนิพพาน โลกไม่มีสันติภาพ โลกกี่พันล้านคน พันล้านล้านคน ก็ไม่มีสันติภาพ เพราะมันดีแต่ที่จะเห็นแก่ตัวดี  มันดีแต่ที่จะเอาเปรียบกัน ดีแต่สะสมแต่กามารมณ์ ทั้งโลก ทั้งโลก ทั้งพระ ทั้งฆราวาส ทั้งพุทธ และทั้งมิใช่พุทธ มีแต่เรื่องกามารมณ์ มันจะรู้พระนิพพานได้อย่างไร

ขอให้มองเห็น ให้เชื่อถึงที่สุดว่า พระพุทธเจ้ายังรอเราอยู่ รอตลอดกาลนิรันดร เมื่อไรสัตว์เหล่านี้จะมีธรรมะ เมื่อไรสัตว์เหล่านี้จะรู้สึกพระนิพพาน รู้แจ้งพระนิพพาน ท่านรอเราอยู่ ท่านรอเราอยู่ ท่านรอเราอยู่

ในทางปริยัติก็ท่านรอเราว่า เมื่อไรมันจะเรียนรู้เรื่องนี้เสียที ในทางปฏิบัติก็ท่านรอเราว่าเมื่อไรมันจะปฏิบัติเรื่องนี้กันได้เสียทีในทางปฏิเวธก็ท่านรอเราอยู่ว่าเมื่อไรมันจะรู้เรื่องพระนิพพานนี้เสียที มันเหลืออยู่แต่คำพูดคำเดียวว่า ถ้ารู้เรื่อง ไม่มีอารมณ์ มิใช่อารมณ์นั่นแหละรู้เรื่องพระนิพพาน ปริยัติก็ดี ปฏิเวธก็ดี สรุปรวมเข้าไปอยู่ในเรื่องพระนิพพานทั้งหมด

หัวใจนิพพาน : พุทธทาสภิกขุ (น.๑๓๓)  อ่าน e-book ได้ที่ :  https://www.pagoda.or.th/buddhis.../2019-04-17-14-08-39.html

Credit: สโมสรธรรมทาน - co dhamma space


มีเสียงหวานไพเราะเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้าได้อย่างไร ?

มีเสียงหวานไพเราะเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้าได้อย่างไร ?

(ทำอย่างไรจึงจะมีคุณค่าสูงสุดในตัว โดยมิต้องแต่งแต้มสีสัน)

พระโมฆราชเถระ เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ๑ ใน ๑๖ คนที่ถูกอาจารย์ส่งไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์

ในบรรดามาณพทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพนับว่าเป็นผู้มีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งหมด จึงคิดที่จะทูลถามปัญหาเป็นคนแรก แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามว่า  “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงรอให้มาณพคนอื่น ๆ ถามก่อนเถิด” จึงได้มีโอกาสทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ โดยกราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุดังนั้น จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้มีปรีชาญาณเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดาตรัสพยากรณ์ว่า “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า จงถอนความเห็นว่ามีตัวตนของเราเสีย ทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น”

โมฆราชมาณพได้บรรลุธรรม และอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยนับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนา พระโมฆราชเถระนั้น เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านมีใจยินดีในการครองจีวรเศร้าหมอง ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่า  “เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง”

พระโมฆราชเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า

“ข้าพเจ้านำน้ำผึ้งรวงที่ไม่มีโทษ (มีตัวผึ้งออกแล้ว) ใส่เต็มหม้อแล้ว ใช้มือทั้ง ๒ ข้างประคอง น้อมถวายพระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

พระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียรมาก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงรับด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ พระผู้มีพระภาคผู้สัพพัญญู ครั้นเสวยน้ำผึ้งนั้นแล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่นภากาศ

ฯลฯ

ข้าพเจ้าละโยคะที่เป็นของมนุษย์ได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพันคือภพได้แล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ” ดังนี้เป็นต้น.

พระโมฆราเถระแม้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง แต่ก็เป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ปรารถนาแห่งมหาชนทั้งปวง ดังน้ำผึ้งเดือนห้ามีสีตามธรรมชาติตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล แต่มีความใสไม่ขุ่นทึบ เป็นที่ต้องการแห่งมหาชน เพราะอุดมไปด้วยสรรคุณทั้งปวง ดังนี้แล.

สาระธรรมจากโมฆราชเถราปทาน

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

29/9/64

มีเสียงหวานไพเราะเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้าได้อย่างไร ? ,    พระโมฆราชเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง 










พระโมฆราชเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

พระโมฆราช เกิดในตระกูลพราหรมณ์ ชาวเมืองสาวัตถี เมื่อมีอายุพอสมควรแก่การ ศึกษาศิลปะวิทยาตามประเพณีพราหมณ์ จึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็น ปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าปเสนทิโกศล

ต่อมา พราหมณ์พาวรี เบื่อหน่ายชีวิตการครองเรือน จึงได้กราบทูลลา พระเจ้าปเสนทิโกศล ออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตตามประเพณีพราหมณ์ ตั้งสำนักอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ำโคธาวารี ระหว่างเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ตัวเองเป็นเจ้าสำนักและเป็นอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ทั้งรับและอบรมสั่งสอนไตรเพทแก่ศิษย์ทั่วไป โมฆราชมาณพ พร้อมกับเพื่อศิษย์อีก หลายคนได้ออกบวชติดตามด้วยพราหมณ์พาวรี แม้จะบวชเป็นฤาษีชฎิลเช่นเดียวกับตระกูล กัสสปะ ๓ พี่น้อง แต่คนทั่วไปก็นิยมเรียก “พราหมณ์พาวรี” อยู่เช่นเดิม ไม่นิยมเรียกว่า “ชฎิล” เหมือนตระกูลกัสสปะ

ทรงสอบการตรัสรู้

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนศากยราชา ผู้ครองนคร กบิลพัสดุ์ เสด็จออกบรรพชาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเที่ยวสั่งสอนเวไนยสัตว์ ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ติดตามพระองค์มากมาย พราหมณ์พาวรี ได้ทราบข่าวเป็นลำดับ แต่ก็ยังเคลือบแคลงใจในการตรัสรู้ขององค์พระสัพพัญญโคดมเจ้า จึงตั้ง ปัญหาขึ้น ๑๖ หมวด แล้วมอบให้ศิษย์ ๑๖ คน นำไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งขณะนั้น ประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ และโมฆราชมาณพก็เป็นหนึ่งในจำนวนศิษย์เหล่านั้น อชิตมาณพ ผู้เป็นหัวหน้าได้พาคณะศิษย์อีก ๑๕ คน คือ

๑. ติสสเมตเตยยะ ๒. ปุณณกะ ๓. เมตตคู ๔. โธตกะ ๕. อุปสีวะ ๖. นันทกะ ๗. เหมกะ ๘. โตเทยยะ  ๙. กัปปะ ๑๐. ชตุกัณณี ๑๑. ภัทราวุธะ ๑๒. อุทยะ ๑๓. โปสาละ ๑๔. ปิงคิยะ และ ๑๕. โมฆราช   รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๖ คน พากันไปเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาเพื่อทูลถามปัญหา ณ ปาสาณเจดีย์แห่งหนึ่ง

กราบทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕

ในบรรดามาณพทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพ นับว่าเป็นผู้มีปัญญาดีกว่ามาณพทั้ง หมด จึงคิดที่จะทูลถามปัญหาเป็นคนแรก แต่เห็นว่าอชิตมาณพอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าผู้นำมา จึงเปิดโอกาสให้ถามเป็นคนแรก เมื่ออชิตะ ทูลถามจบแล้ว โมฆราชมาณพ ปรารถนาจะถาม เป็นคนที่ ๒ แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามว่า

“ดูก่อนโมฆราช ท่านจงรอให้มาณพคนอื่น ๆ ถามก่อนเถิด”

เมื่อมาณพคนอื่น ๆ ถามไปโดยลำดับถึงคนที่ ๘ โมฆราชมาณพ ก็แสดงความประสงค์ จะทูลถามเป็นคนที่ ๙ พระพุทธองค์ก็ตรัสห้ามไว้อีกครั้ง จนถึงลำดับคนที่ ๑๔ ผ่านไปแล้ว โมฆราชมาณพ จึงได้มีโอกาสทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ โดยกราบทูลถามว่า:-

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุดังนั้น จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ ผู้มีปรีชาญาณเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน พระเจ้าข้า”

(ใจความของปัญหาข้อนี้ ก็คือจะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะ แลไม่เห็น คือตามไม่ทัน)

พระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ว่า:-

“ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็น ว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ท่านพิจารณาเห็นโลก อย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น”

เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพ จบลงแล้วโมฆราชมาณพ พร้อมด้วยชฎิลทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสวกิเลสทุกคนเว้นแต่ปิดคิยมาณพผู้เดียว เพราะมัวแต่คิดถึงอาจารย์พราหมณ์พาวรีผู้เป็นลุง จึงได้เพียงญาณหยั่งเห็นในธรรมเท่านั้น มาณพทั้ง ๑๖ คน กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุ อุปสัมปทา ได้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พร้อมบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์ ส่วนพระปิงคิยเถระกราบทูลลากลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรี แสดงธรรมตามที่พระพุทธ องค์ทรงแก้ปัญหาทั้ง ๑๖ ข้อ ให้ฟังแล้วยังพราหมณ์พาวรี ให้บรรลุธรรมาพิสมัยชั้น เสขภูมิ

พระโมฆราชนั้น เมื่ออุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษยินดีเฉพาะการ ใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง ๓ ประการ คือ

๑. ผ้าเศร้าหมอง  ๒. ด้ายเย็บผ้าเศร้าหมอง  ๓. น้ำย้อมผ้าเศร้าหมอง

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง 

ท่านโมฆราชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน 

ประวัติ พระโมฆราชเถระ

บุพกรรมในอดีต

ท่านพระโมฆราชเถระ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัวหนึ่ง ในกรุงหัสวดี ต่อมากำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่ง เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ทรงจีวรปอน ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก

ในสมัยก่อน แต่พระกัสสปพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ท่านถือปฏิสนธิในเรือนอำมาตย์ ในนครกัฏฐวาหนะ ต่อมาเจริญวัย เฝ้าบำรุงพระเจ้ากัฏฐวาหนะ ก็ได้ตำแหน่งอำมาตย์ เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้ว พระเจ้ากัฏฐวาหนะทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก จึงส่งท่านซึ่งเป็นอำมาตย์นั้น ไปนิมนต์พระศาสดา มายังแว่นแคว้นของพระองค์ แต่ท่านไปฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้วก็บวช ได้กระทำสมณธรรมอยู่ ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ท่านมีศีลบริบูรณ์ เมื่อมรณภาพ แล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวโลก และพรหมโลก

สมัยพุทธกาล

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระโมฆราชเถระ มาบังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยาตามประเพณีพราหมณ์

ออกบวชเป็นชฏิลตามพราหมณ์พาวรี

ครั้นพราหมณ์พาวรีมี ความเบื่อหน่ายในฆราวาส ได้ทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกจากตำแหน่งปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์

โมฆราชมาณพ พร้อมกับมาณพสิบห้าคน ออกออกบวชติดตามไปอยู่ด้วย และอยู่ในมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหา ให้ไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบห้า

โมฆราชมาณพ ต้องการจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่สอง เพราะถือว่าตนเอง เป็นคนมีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งสิบหกคน คิดจะทูลถามปัญหาก่อน แต่เห็นว่าอชิตมาณพ เป็นผู้ใหญ่กว่า และเป็นหัวหน้า จึงยอมให้ทูลถามปัญหาก่อน

พระบรมศาสดา จึงตรัสห้ามว่า โมฆราช ท่านรอให้มาณพอื่น ได้ทูลถามปัญหาก่อนเถิด โมฆราชก็หยุดอยู่ แต่หลังจากที่มาณพคนอื่น ๆ ได้ทูลถามปัญหาเป็นลำดับ ๆ กันถึงแปดคนแล้ว โมฆราชมาณพ ปรารภจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่เก้าอีก พระบรมศาสดาก็ทรงห้ามไว้ โมฆราชก็เลยต้องนิ่งอยู่ รอให้มาณพอื่นทูลถามถึงสิบสี่คนแล้ว จึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบห้าว่า

"ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ไม่ทรงแก้ประทาน แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินว่า ถ้าทูลถามถึงสามครั้งแล้ว พระองค์จะทรงแก้ จึงได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบห้าว่า โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลก กับเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้ จึงมีปัญหาถึงพระองค์ ผู้ทรงพระปรีชา เห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้า พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช (ความตาย) จึงไม่แลเห็น คือจะตามไม่ทัน"

พระบรมศาสดา ทรงตอบว่า ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่า ตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะพ้นจากมัจจุราชได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล มัจจุราชจะไม่แลเห็น

บรรลุอรหัตตผล และอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ในที่สุดแห่งการปุจฉา-วิสัชนาปัญหา โมฆราชมาณพได้บรรลุพระอรหัตผล เมื่อพระบรมศาสดา ทรงตอบปัญหาที่ปิงคิยมาณพ ถามจบลงแล้ว โมฆราชมาณพ พร้อมด้วยมาณพสิบห้าคนทูล ขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

ท่านพระโมฆราช เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ท่านยินดีในผ้าบังสุกุลจีวรที่ประกอบด้วยความเศร้าหมอง ๓ อย่าง คือ เศร้าหมองด้วยผ้า เศร้าหมองด้วยด้าย เศร้าหมองด้วยเครื่องย้อม ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (ลูขจีวรธรานํ) 

ที่มา : http://www.thammapedia.com/sankha/bhikkhu_mokaraja.php

มีเสียงหวานไพเราะเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้าได้อย่างไร ? ,    พระโมฆราชเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง 




วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

The Big Buddha (Hong Kong)

The Big Buddha (Hong Kong)

The Big Buddha is a large bronze statue of Buddha Amoghasiddhi, completed in 1993, and located at Ngong Ping, Lantau Island, in Hong Kong. The statue is sited near Po Lin Monastery and symbolises the harmonious relationship between man and nature, people and faith. It is a major centre of Buddhism in Hong Kong, and is also a tourist attraction.

Description

The statue's base is a model of the Altar of Heaven or Earthly Mount of Tian Tan, the Temple of Heaven in Beijing. One of the five large Buddha statues in China, it is enthroned on a lotus on top of a three-platform altar. Surrounding it are six smaller bronze statues known as "The Offering of the Six Devas" that are posed offering flowers, incense, lamp, ointment, fruit, and music to the Buddha. These symbolise the Six Perfections of generosity, morality, patience, zeal, meditation, and wisdom, all of which are necessary for enlightenment.

The statue's base is a model of the Altar of Heaven or Earthly Mount of Tian Tan, the Temple of Heaven in Beijing. One of the five large Buddha statues in China, it is enthroned on a lotus on top of a three-platform altar. Surrounding it are six smaller bronze statues known as "The Offering of the Six Devas" that are posed offering flowers, incense, lamp, ointment, fruit, and music to the Buddha. These symbolise the Six Perfections of generosity, morality, patience, zeal, meditation, and wisdom, all of which are necessary for enlightenment.

The statue is 34 metres (112 ft) tall, weighs over 250 metric tons (280 short tons), and was constructed from 202 bronze pieces. In addition to the exterior components, there is a strong steel framework inside to support the heavy load. Reputedly the figure can be seen across the bay from as far away as Macau on a clear day. Visitors have to climb 268 steps to reach the Buddha, though the site also features a small winding road for vehicles to accommodate the handicapped. The Buddha's right hand is raised, representing the removal of affliction, while the left rests open on his lap in a gesture of generosity. He faces north, which is unique among the great Buddha statues, as all others face south.

There are also three floors beneath the statue: the halls of the Universe, of Benevolent Merit and of Remembrance. One of the most renowned features inside is a relic of Gautama Buddha, consisting of some of his alleged cremated remains. Only visitors who purchase an offering for the Buddha are allowed to see the relic, entering to leave it there. There is a huge carved bell inscribed with images of Buddhas in the show room. It was designed to ring every seven minutes, 108 times a day, symbolising the release of 108 kinds of human vexations.

History

The Big Buddha was constructed beginning in 1990, and was finished on 29 December 1993, which the Chinese reckon as the day of the Buddha's enlightenment. When the statue was completed, monks from around the world were invited to the opening ceremony. Distinguished visitors from mainland China, Hong Kong, Taiwan, India, Japan, Korea, Thailand, Malaysia, Singapore, Sri Lanka, and the United States all took part in the proceedings.

On 18 October 1999, the Hong Kong Post Office issued a definitive issue of landmark stamps, of which the HK$2.50 value depicts The Big Buddha. On 22 May 2012, it was also featured on the HK$3 value of the Five Festival set, this one celebrating the birth of Sakyamuni Buddha. The MTR corporation has also issued a souvenir ticket featuring a photograph of the statue.

Source: Wikipedia

The Big Buddha Phuket













______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom