วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ภัยในอนาคต ๕ ประการ คือ

ภัยในอนาคต ๕ ประการ คือ

๑. ความแก่   ๒. อาพาธ  ๓. ภิกษาหาได้ยาก

๔. สมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วน ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัยก็มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน

๕. สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย

เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ และเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเถิด

สมดังพระพุทธพจน์ในทุติยอนาคตภยสูตร ปัญจกานิบาต อังคุตตรนิกายว่า

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ในปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่ก็จักอยู่สบาย’

๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อยมีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง  ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จักอยู่สบาย’

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีสมัยที่ภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตได้ยาก จึงไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ เมื่อภิกษาหาได้ยาก คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่มีอาหารดี ที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยากก็จักอยู่สบาย’

๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ คนทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัย คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่ปลอดภัย ที่นั้นย่อมมีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในสมัยที่มีภัยก็จักอยู่สบาย’

๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ สงฆ์พร้อมเพรียงกันชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน อยู่ผาสุกก็จริง  ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในเมื่อสงฆ์แตกแยกกัน ก็จักอยู่สบาย’ ดังนี้เป็นอาทิ

เพราะฉะนั้น แม้ยังเป็นหนุ่มสาว ยังไม่มีโรคในกาย ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์ คนทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน และสงฆ์ยังพร้อมเพรียงกันชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน อยู่กันอย่างผาสุกก็จริง แต่ไม่ควรประมาท รีบทำความเพียร อุทิศกายและใจ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ และเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเถิด.

สาระธรรมจากทุติยอนาคตภยสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

15/12/64



บุคคลเช่นไร ชื่อว่าเป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุดในชีวิต ?

บุคคลเช่นไร ชื่อว่าเป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุดในชีวิต ?

บุคคลผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ คือ

๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)  ๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)

๓. สุตะ (การสดับตรับฟังหาความรู้)  ๔. จาคะ (การเสียสละ)  ๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

จึงชื่อว่าเป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุดในชีวิต

สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในปฐมวัฑฒิสูตร (พระสูตรว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ) ว่า 

“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย (แห่งชีวิตนี้) ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)  ๒. ศีล (การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย)  

๓. สุตะ (การสดับฟังหาความรู้) ๔. จาคะ (การเสียสละ)  ๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกายได้ ดังนี้”

(มีพระคาถาประพันธ์ไว้ว่า)

อริยสาวกใด เจริญด้วยศรัทธา  ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา  

อริยสาวกนั้น เป็นสัตบุรุษ  มีปัญญาเห็นประจักษ์

ชื่อว่าถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้ ในโลกนี้ทีเดียว ดังนี้แล.

สาระธรรมจากปฐมวัฑฒิสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

14/12/64





"สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก..."

สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ความระลึกได้ ความจำได้ ที่บุคคลเจริญหรือทำให้มากแล้วมีผลมากมีอานิสงส์มากและมีพระนิพพานเป็นที่พึ่งพิง คือ การกำหนดหมายในใจว่า 

๑. สังขารไม่เที่ยง

๒. ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

๓. ความตายจะต้องมาถึงเป็นธรรมดา

๔. อาหารเป็นของปฏิกูล

๕. ในโลกไม่มีอะไรที่น่าเพลิดเพลิน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด  สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)

๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)

๓. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)

๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด” ดังนี้  ฯ

สาระธรรมจากปฐมสัญญาสูตร ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) 

13/12/64



"คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก"

"คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก"   

แท้จริงปฏิปทา (ทางบุญซึ่งมีทานและศีลเป็นต้น) อันเป็นไปเพื่ออิฐผล (ผลเป็นที่พอใจ ๕ ประการ คืออายุ วรรณะ สุข ยศ และสวรรค์) ที่บุคคลผู้มีปัญญาปฏิบัติแล้วเพื่อให้ได้อิฐผลนั้น ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่ประมาทในการทำบุญเท่านั้น  ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลิน

พึงทราบเนื้อความโดยพิสดารในอิฏฐสูตรว่า

“ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า

“คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

๒. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

๓. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

๔. ยศที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

๕. สวรรค์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก เรามิได้กล่าวว่า “จะพึงได้เพราะความอ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนา” ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก จักได้เพราะการอ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนาในโลกนี้แล้ว ใครเล่าจะพึงเสื่อมจากอะไรได้

อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุเพราะอายุเป็นเหตุ แท้จริงปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกนั้นย่อมได้อายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะเพราะวรรณะเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขเพราะสุขเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศเพราะยศเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

คหบดี อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์เพราะสวรรค์เป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์อันอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์

(มีคาถาประพันธ์ไว้ว่า)

ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ เกียรติยศ

สวรรค์ การเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ

พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น

บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ

บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้

คือประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า

ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า “บัณฑิต”

เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้นแล้ว ดังนี้แล.

สาระธรรมจากอิฏฐสูตร (ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา) ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 

12/12/64




 Do It Yourself

 

Do It Yourself.

—Venerable K. Sri Dhammananda Mahathera

Self confidence plays an important part in every aspect of man's life.

Knowing that no external sources, no faith or rituals can save him, the Buddhist feels the need to rely on his own efforts. He gains confidence through self-reliance. He realizes that the whole responsibility of his present life as well as his future life depends completely on himself alone. 

Each must seek salvation for himself. Achieving salvation can be compared to curing a disease: if one is ill, one must go to a doctor. The doctor diagnose the ailment and prescribes medicine. 

The medicine must be taken by the person himself. He cannot depute someone else to take the medicine for him. No one can be cured by simply admiring the medicine or just praising the doctor for his good prescription.

In order to be cured, he himself must faithfully follow the instructions given by the doctor with regard to the manner and frequency in taking his medicine, his daily diet and other relevant medical restraints. Likewise, a person must follow the precepts, instructions or advice given by the Buddha (who gives prescriptions for liberation)by controlling or subduing one's greed, hatred and ignorance. 

No one can find salvation by simply singing praises of the Buddha or by making offerings to Him. Neither can one find salvation by celebrating certain important occasions in honour of the Buddha. 

Buddhism is not a religion where people can attain salvation by mere prayer or begging to be saved. They must strive hard by controlling their selfish desires and emotions in order to gain salvation.

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom






Everything is Changeable

Everything is Changeable.

—Venerable K. Sri Dhammananda Mahathera

What exists is changeable and what is not changeable does not exist.

Looking at life, we notice how it changes and how it continually moves between extremes and contrasts. We notice rise and fall, success and failure, loss and gain; we experience honor and contempt, praise and blame; and we feel how our hearts respond to all that happiness and sorrow, delight and despair, disappointment and satisfaction, fear and hope. These mighty waves of emotion carry us up, fling us down, and no sooner we find some rest, then we are carried by the power of a new wave again. How can we expect a footing on the crest of the waves? Where shall we erect the building of our life in the midst of this ever-restless ocean of existence?

This is a world where any little joy that is allotted to beings is secured only after many disappointments, failures and defeats. This is a world where scanty joy grows amidst sickness, desperation and death. This is a world where beings who a short while ago were connected with us by sympathetic joy are at the next moment in want of our compassion. Such a world as this needs equanimity. This is the nature of the world where we live with our intimate friends and the next day they become our enemies to harm us.

The Buddha described the world as an unending flux of becoming. All is changeable, continuous transformation, ceaseless mutation, and a moving stream. Everything exists from moment to moment. Everything is a recurring rotation of coming into being and then passing out of existence. Everything is moving from birth to death. The matter or material forms in which life does or does not express itself, are also a continuous movement or change towards decay. This teaching of the impermanent nature of everything is one of the main pivots of Buddhism. Nothing on earth partakes of the character of absolute reality. That there will be no death of what is born is impossible. Whatever is subject to origination is subject also to destruction. Change is the very constituent of reality.

In accepting the law of impermanence or change, the Buddha denies the existence of eternal substance. Matter and spirit are false abstractions that, in reality, are only changing factors (Dhamma) which are connected and which arise in functional dependence on each other.

Today, scientists have accepted the law of change that was discovered by the Buddha. Scientists postulate that there is nothing substantial, solid and tangible in the world. Everything is a vortex of energy, never remaining the same for two consecutive moments. The whole wide world is caught up in this whirl and vortex of change. One of the theories postulated by scientists is the prospect of the ultimate coldness following upon the death or destruction of the sun. Buddhists are not dismayed by this prospect. The Buddha taught that universes or world cycles arise and pass away in endless succession, just as the lives of individuals do. Our world will most certainly come to an end. It has happened before with previous worlds and it will happen again.

'The world is a passing phenomenon. We all belong to the world of time. Every written word, every carved stone, every painted picture, the structure of civilization, every generation of man, vanishes away like the leaves and flowers of forgotten summers. What exists is changeable and what is not changeable does not exist.'

Thus all gods and human beings and animals and material forms -- everything in this universe -- is subject to the law of impermanence. Buddhism teaches us:

'The body like a lump of foam;

The feelings like a water bubble;

Perception like a mirage;

Volitional activities like a plantain tree;

And Consciousness like jugglery.' (Samyutta Nikaya)

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom




"เสียงที่ควรฟังจากหลวงพ่อพยอม"

"เสียงที่ควรฟังจากหลวงพ่อพยอม"

วันนี้ท่านมหาสมปอง เข้าไปกราบลาหลวงพ่อพยอมเพื่อลาสิกขา โบราณว่า ฟ้าจะร้อง คนจะคลอด พระจะสึก ห้ามไม่ได้   ท่านสมปอง และก่อนหน้านี้คือท่านไพรวัลย์ได้เลือกทางชีวิตของตนเองแล้ว

เสียงแว่วจากวัดสวนแก้ว กับข้อกังวลของหลวงพ่อพยอม คือ อาจเกิดปรากฎการณ์เลือดไหลในวงการสงฆ์ 

โดยส่วนตัวผมค่อนข้างเชื่อสิ่งที่หลวงพ่อพยอมพูด ไม่ใช่ว่าคนพูดคือหลวงพ่อพยอม แต่เพราะผมเองก็วิเคราะห์ปรากฎการณ์มาตลอด ก็เห็นเช่นเดียวกันนั้น

สิ่งที่ผมเชื่อว่าพระสงฆ์รุ่นใหม่ๆ หัวก้าวหน้า คงจะขอเลือกทางเลือกที่มีคุณค่ากับชีวิตตนเองมากกว่าการอยู่ในคณะสงฆ์ คือ

1. การพยายามส่งเสียง เพื่อให้เกิดการรับฟังถึงปัญหา นอกจากไม่ได้รับการรับฟังจากผู้ใหญ่แล้ว ยังถูกมองเป็นพวกก้าวร้าว พูดความจริงมาก ยิ่งทำให้ได้รับผลกระทบมาก ท่านไพรวัลย์ เป็นบทเรียนที่ชัดเจน

2. การพยายามปรับตัว แต่ถูกกดทับให้อยู่แบบอนุรักษ์แบบเก่า พระสงฆ์รุ่นใหม่จำนวนมาก สามารถปรับตัวได้กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ใช้ความร่วมสมัยในการเผยแพร่ธรรมตามลีลาและโวหารที่ตนถนัด กรณีนี้นอกจากจะไม่ได้รับการชื่นชมแล้ว ยังกลายเป็นแกะดำในวงการไปซะอีก ท่านมหาสมปอง เป็นบทเรียนที่ชัดเจน

3. การมองไม่เห็นหนทางก้าวหน้าในทางคณะสงฆ์ที่คาดหวังจากการศึกษา สมัยก่อน จบ ป.ธ.๙ คือบันไดขั้นแรกที่จะก้าวหน้าในวงการคณะสงฆ์  คณะสงฆ์ยกย่องผู้สอบผ่านบาลีขั้นสูงสุด ตำแหน่งทางคณะสงฆ์แม้ไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถือกันเป็นจารีตว่าต้องเปิดทางให้ ป.ธ.๙ เขาได้เจริญก้าวหน้าก่อน แต่ปัจจุบันนี้ดูย้อนแย้งกับในอดีต  เมื่อไม่เห็นหนทางก้าวหน้า ก็คงต้องหาทางเลือกอื่น

4. ความระแวงต่อภัยจากกระบวนการใช้อำนาจรัฐ ผมคิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาเถระระดับกรรมการ มส. น่าจะเป็นฝันร้ายของพระสงฆ์  การจับสึกไว้ก่อน มาตอนหลังศาลพิพากษาไม่มีความผิด วันนี้จึงอยู่กันแบบระแวง

5. ความไม่รู้สึกอบอุ่นดังเดิม วงการสงฆ์นั้นถือหลักเคารพกันตามอาวุโส และความเป็นศิษยานุศิษย์ แม้จะขุ่นเคืองกันบ้าง แต่ไม่ฟาดฟันกันแบบเอาเป็นเอาตาย แต่ปัจจุบันบรรยากาศที่ว่ามามันเจือจางแบบอธิบายไม่ถูก

จากปัจจัยที่ผมกล่าวมา  ผมจึงเชื่อแบบหลวงพ่อพยอม เลือดจะไหลจากคณะสงฆ์อีกมากมาย

Credit: Boonlert Chuaythanee





วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

หลักการพูด

หลักการพูด

นาติเวลํ  ปภาเสยฺย,     น  ตุณฺหี  สพฺพทา  สิยา;
อวิกิณฺณํ  มิตํ วากฺยํ,     ปตฺตกาเล  อุทีรเย.

ไม่ควรพูดให้เกินขอบเขต   ไม่ควรนิ่งเฉยในกาลทุกเมื่อ   เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม   ควรพูดแต่พอดีอย่าพร่ำเพรื่อ.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๒, ๓๐๖, ขุ. ชา. ๒๘/๙๖๖ วิธุรชาดก)

ศัพท์น่ารู้ :

นาติเวลํ ตัดบทเป็ฯ น+อติเวลํ

ปภาเสยฺย (ควรพูด, กล่าว, ประภาษ, ตรัส, รับสั่ง, บอก) ป+√ภาส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ตุณฺหี (นิ่ง, เงียบ, ไม่มีเสียง, ดุษฎี, ดุษณี) ตุณฺหี+สิ (เดิมเป็น ตุณฺหิ รัสสะ ได้แก้เป็น ตุณฺหี ให้ตรงกับพระบาฬี)

สพฺพทา (ทุกเมื่อ, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา ปัจจัย

สิยา (พึงเป็น) √อส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ลบ อ ต้นธาตุ ได้บ้าง  สพฺพตฺถาสสฺสาทิโลโป จ. (รู ๔๙๖) แปลง เอยฺย, เอยฺยุํ เป็น อิยา, อิยุํ  กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘) รวมสำเร็จเป็น สิยา สิยุํ ตามลำดับ

อวิกิณฺณํ (ไม่กระจัดกระจาย, ไม่พร่ำเพรื่อ) น+วิกิณฺณ (วิ+กิร+ต) อวิกิณฺณ+สิ

มิตํ (กำหนด, พอประมาณ) √มา+อิ+ต > มิต+สิ ?

วากฺยํ (คำพูด, พากย์) วากฺย+สิ, (พระบาฬีเป็น วาจํ ทั้งสองฉบับ)

ปตฺตกาเล (กาลอันถึงแล้ว) ปตฺต+กาล > ปตฺตกาล+สฺมึ (พระบาฬีเป็น ปตฺเต กาเล)

อุทีรเย (พึงกล่าว, พูด, เปล่งเสียง) อุ+ท อาคม+√อีร+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. (ฉบับสยามรัฐเป็น อุทีริเย)

ขอนำคาถานี้จากพระบาฬีฉบับสยามรัฐ (๒๘/๙๖๖ วิธุรชาดก) มาเทียบไว้ เพื่อการศึกษาร่วมกัน ดังนี้.

นาติเวลํ  ปภาเสยฺย,    น  ตุณฺหี  สพฺพทา  สิยา;

อวิกิณฺณํ  มิตํ  วาจํ,    ปตฺเต  กาเล  อุทีริเยฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ไม่ควรพูดให้เกินเวลาไป  แต่ก็ไม่พึงเฉยในเวลาทั้งปวง  พึงพูดถ้อยคำที่น่านับถือไม่โปรยปรายเป็นเล่น ในเมื่อถึงเวลาพูด.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ไม่ควรพูดให้เกิดเวลา  แต่ไม่ควรนิ่งตลอดเวลา  ควรพูดแต่คำที่น่านับถือ  ไม่โปรยปรายเป็นเล่นในเวลาพูด.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้



อย่าพูดมาก

อย่าพูดมาก

สตฺถกาปิ  พหุวาจา,    นาทรา  พหุภาณิโน;
โสปการมฺปฺยุทาสีนํ,     นนุ  ทิฎฺฐํ  นทีชลํ.

คนพูดมาก ชอบเจรจายืดเยื้อ  แม้มีประโยชน์ ก็ไม่คนเชื่อถือ  ขนาดน้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการะมาก  พวกทาสีตักน้ำจะมองเห็นบ้างไหมหนอ.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๑, มหารหนีติ ๑๑, กวิทัปปณนีติ ๔๕)

ศัพท์น่ารู้ :

สตฺถกาปิ ตัดบทเป็น สตฺถกา+อปิ

พหุวาจา (วาจามาก) พหุ+วาจา >

นาทรา (ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่อาทร) น+อาทร > นาทร+โย

พหุภาณิโน (พูดมาก, พูดเก่ง) พหุ+ภาณี > พหุภาณี+โย

โสปการมฺปฺยุทาสีนํ ตัดบทเป็น โสปการํ+อปิ+อุทาสีนํ, โสปากรํ (มีอุปการะ) สห+อุปการ > โสปการ+สิ; อปิ (แม้) นิบาต; อุทาสีนํ (วางเฉย, ไม่เอาใจใส่) อุทาสีน+สิ (ศัพท์ว่า อุทาสีน นี้พบในพจนานุกรมบาลี-ไทย ของชวินร์ สระคำ และรศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก)

นนุ (มิใช่หรือ) นิบาตบอกคำถาม

ทิฎฺฐํ (เห็นแล้ว) ทิส+ต > ทิฏฺฐ+สิ

นทีชลํ (น้ำในแม่น้ำ) นที+ชล > นทีชล+สิ

ส่วนในกวิทัปปณนีติ มีข้อความต่างกันบ้างนิดหน่อย ดังนี้.

สตฺถกาปิ  พหูวาจา,    นาทรา  พหุภาณิโน;

โสปการมุทาสินา,  นนุ  ทิฎฺฐํ  นทีชลํฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนพูดมาก ถึงถ้อยคำยืดยาว จะมีประโยชน์ ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ  ดูเถิด น้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการมาก  พวกทาสีตักน้ำจะเห็น (อุปการ) บ้างไหม.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนพูดมากถึงจะพูดดีมีประโยชน์อย่างไร  ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ, ดูแต่น้ำในแม้น้ำเถิด  มีจะมีประโยชน์มากมายเท่าไรก็ตาม  พวกทาสีตักน้ำจะเห็นคุณบ้างไหมหนอ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ




“บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม ย่อมถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ได้”

“บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม ย่อมถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ได้”

หากจะพึงมีคำถามว่า “บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม” ในปัญหากรรมนี้ คือบุคคลเช่นไร ?

พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ในอรรกถาปัตตกัมมสูตรว่า  “อริยธมฺเม  ฐิโตติ  ปญฺจสีลธมฺเม  ปติฏฺฐิโต” แปลความว่า “บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม” ได้แก่บุคคลผู้มีศีล ๕ และมีกัลยาณธรรม ๕ ประการ คือ (๑) เมตตากรุณา คือความรักความปรารถนาดี (๒) สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพสุจริต (๓) กามสังวร คือการสำรวมในกาม (๔) สัจจะ คือการพูดความจริง ไม่หักรานประโยชน์ผู้อื่น และ (๕) สติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้และความรู้ตัว

คำว่า “โภคทรัพย์” คือทรัพย์สิ่งของที่ใช้อุปโภคบริโภค อันตนแสวงหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม (ได้มาโดยธรรม คือไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการได้มาแล้ว)

ถามว่า “ประโยชน์อะไรบ้าง ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์นั้น ?”

พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอาทิยสูตรว่า  “ดูกรคหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ ประการนี้ ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ

๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข โดยชอบ ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๑

๒. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข โดยชอบ ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๒

๓. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้ปลอดภัย  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓

๔. อริยสาวกย่อมทำพลี ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ (๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสียภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔

๕. อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณาอันมีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดี (คือทำอารมณ์อันดีคือของวิเศษ ๑๐ ประการมีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด) ในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ผู้ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ผู้ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๕

ดูกรคหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล”

อนึ่ง หากมีผู้สงสัยว่า “โภคทรัพย์ที่เขาใช้จ่ายไปด้วยเหตุ ๕ ประการนั้น ไม่หมดสิ้นไปหรือ ?” ก็ตอบตามตรงว่าหมดสิ้นไปเหมือนกัน แต่อริยสาวกมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง และโภคทรัพย์กล่าวคืออริยทรัพย์ภายใน (มีศรัทธาเป็นต้น) ของเขาก็เพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีก

เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสคาถาประพันธ์ไว้ในอาทิยสูตรว่า

“นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า

‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว  คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว

อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว  ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว

และพลี ๕ อย่าง เราได้ทำแล้ว ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว

ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ

กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’  จึงชื่อว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม”

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้

เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้.

สาระธรรมจากอาทิยสูตร (ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์) ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

11/12/64




“สทฺธา  สาธุ  ปติฏฺฐิตา - ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ”

มีพระพุทธพจน์ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรคว่า “สทฺธา  สาธุ  ปติฏฺฐิตา” แปลความว่า  “ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ”

ถามว่า “ศรัทธาที่ตั้งมั่น เปรียบประดุจอะไร ?”

ตอบว่า “ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วนั้น เปรียบประดุจขุนเขาหิมพานต์ เพราะเป็นศรัทธาที่ตั้งมั่นอันมาแล้วด้วยมรรค หรือประกอบด้วยองค์มรรค ๘ มีความเห็นชอบเป็นต้น”

ถามว่า “ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จได้อย่างไร ?”

ตอบว่า  “บุคคลผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ คือ

๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)  ๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)  ๓. สุตะ (การสดับตรัสฟังหาความรู้)  

๔. จาคะ (การเสียสละ)  ๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

ความเจริญแห่งคุณธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยศรัทธาที่ตั้งมั่นดีแล้ว ประดุจต้นไม้อาศัยขุนเขาสูงจึงเติญโตเป็นต้นไม้ใหญ่ได้ฉะนั้น”

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาสาลปุตตสูตร (พระสูตรว่าด้วยต้นสาละใหญ่กับกุลบุตร) ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน  ๒. เปลือก  ๓. สะเก็ด  ๔. กระพี้  ๕. แก่น

ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้ ฉันใด

ชนภายใน (ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงภรรยา บุตร ธิดา) อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน

ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)  ๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)  ๓. สุตะ (การสดับตรับฟังหาความรู้)   ๔. จาคะ (การเสียสละ)   ๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้ ดังนี้”

(มีพระคาถาประพันธ์ไว้ว่า)

“ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด

บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมงอกงามในโลกนี้

ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล จาคะ และสุจริต (ความประพฤติดี) ของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้วย่อมทำตาม

บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา ย่อมบันเทิงในเทวโลก ดังนี้แล.

สาระธรรมจากมหาสาลปุตตสูตร (ว่าด้วยต้นสาละใหญ่กับกุลบุตร) ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) 

10/12/64