เมื่อรู้สึกอ่อนพลียด้วยทำการงานหรือเหนื่อย ท่านกล่าวว่า "มักทำให้เกิดความวิตกสงสัย เกียจคร้าน ประมาท วอกแวกเขว่ไขว่ฟุ้งซ่าน และทำเกินพอดีไป"
เพราะฉะนั้น เราต้องรู้จักปรับตัวให้พอดี คือ
๑. อย่าเชื่ออะไรมากเกินไป เพราะเชื่อมากก็หลงงมงายกลายเป็นคนโลภอยากได้มาก หรือเมื่อขยันแล้วไม่ได้สมปรารถนาก็จะเกิดความโกรธจนเป็นกลายเป็นคนพยาบาทปองร้ายคนอื่นได้
๒. อย่าอวดว่าฉลาดมากกว่าคนอื่น เพราะเมื่ออวดฉลาดก็จะทำคนเดียวจนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เหตุเพราะไม่ยอมเชื่อใจใคร ไม่ไว้วางใจใครๆ จนเกิดความลังเลสงสัยไปเสียทุกอย่าง
๓. อย่าขยันมากจนไม่รู้จักวิธีการผ่อนพักกายใจของตน สุดท้ายเห็นอะไรๆก็ไม่เข้าตา คำพูดใดๆก็ไม่ถูกหูไปเสียหมด มีแต่ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจตลอดเวลา
๔. เมื่อมีปัญหาไม่ยอมแก้ไข ด้วยไม่กล้าเสี่ยงตัดสิ้นใจ จนกลายเป็นคนซึมเศร้าง่วงเหงาและท้อแท้ เกียจคร้านในที่สุด
ท่านจึงสอนให้เราใช้สติคือกำหนดการรับรู้จากน้อยไปหามาก จนเกิดความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในทาน ในศีล ในภาวนา ในพระนิพพาน มีความเข้าใจในเหตุผลตามกฏพระไตรลักษณ์คือความเป็นอนิจจัง ทกขัง อนัตตามากขึ้น ทำการทุกสิ่งแต่ไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่าน เมื่อทำได้อย่างนี้ก็จะไม่เกิดความรู้สึกอ่อนพลียด้วยทำการงานหรือเหนื่อย ทั้งไม่ขี้เกียจ ไม่ท้อแท้ ไม่เบื่อในการทำการงาน
ขอให้ทุกท่านมีกำลังกายกำลังใจสู้งานต่อไป
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ), 8/4/64
0 comments: