วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

ถ้ามีศีลไม่บกพร่อง ใจก็สงบได้ง่าย

ถ้ามีศีลไม่บกพร่อง ใจก็สงบได้ง่าย

“ถ้าบุคคลใด มี “ศีล” โดยปกติในสันดาน ไม่มีบกพร่อง เป็นศีลชนิดที่..พระอริยเจ้าชื่นชมพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าบุคคลนั้นได้ “ความสงบ” อันแท้จริง ในขั้นต้น เขามีโอกาสก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไปคือ “สมาธิ” ได้โดยง่าย เพราะเมื่อกาย วาจา สงบดี ไม่มีโทษรบกวนแล้ว ใจ..ก็สงบได้ง่าย” -พุทธทาสภิกขุ จากหนังสือ : “เสียงแห่งความสงบ”

ศีลเปรียบเหมือนปฐพี

ศีล เหมือนปฐพี เป็นที่ดำรงแห่งเหล่าพฤกษชาติ “เหล่าพฤกษชาติย่อมงอกงาม ผลิดอก ออกผล แก่มวลมนุษย์ โดยดำรงอยู่ในปฐพีนี้ ฉันใด ศีลก็เหมือนปฐพีอันเป็นที่ดำรงแห่งเหล่าพฤกษชาติ อันเหมือนกับการเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น ” (ที่มา : สํ. มหา. ๑๙/๑๕๐/๔๔)

ในคัมภีร์ “เนตติปกรณ์” ได้กล่าวถึงศีลว่ามีอยู่ ๕ ประเภท คือ... (๑). “ปกติศีล” ศีลโดยปกติ คือศีลที่บุคคลรักษาโดยมิได้สมาทาน ด้วยเห็นว่าศีล ๕ เป็นปกติของชาวโลก ไม่ว่าจะสมาทานหรือไม่ก็ตาม ถ้างดเว้นจากการผิดศีลย่อมได้รับผลดี ถ้าล่วงละเมิดก็ได้รับผลไม่ดี ศีลประเภทนี้เนื่องด้วยพระอริยบุคคลเป็นพิเศษ ท่านย่อมไม่ละเมิดศีลทั้งในภพนี้และภพต่อไป จนถึงเวลาที่ดับขันธ์ปรินิพพาน 

(๒). “สมาทานศีล” ศีลโดยการสมาทาน โดยรับเอาจากพระภิกษุ หรือสมาทานหน้าพระพุทธรูป หรือตั้งใจว่าจะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯ เป็นต้นด้วยตนเอง (๓). “จิตตปสาทะ” ความผ่องใสแห่งจิต คือศีลที่เกิดขึ้นในขณะฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งจิตผ่องใสปราศจากนิวรณ์ (๔). “สมถะ” ศีลที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสมถภาวนา (๕). “วิปัสสนา” ศีลที่เกิดขึ้นในขณะเจริญวิปัสสนาภาวนา

ที่มา : ธรรมะเพื่อทางพ้นทุกข์ โดย ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ



post written by:

Related Posts

  • ความเร่าร้อนเกิดจากเหตุ ๔ ประการ คือความเร่าร้อนเกิดจากเหตุ ๔ ประการ คือ๑. ตราบใดที่เรายังต้องเดินทางไกลอยู่ ตราบนั้นเรายังต้องประสบกับความเร่าร้อนอยู่  ทางไกลนั้นมี ๒ อย่าง คือ ๑. ทางไกลอันก… Continue Reading
  • ผู้ที่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ในกาลทุกเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ว่า  “ผู้ใดพึงเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ในกาลทุกเมื่อว่า   “ถ้าในอดีต กรรมกิเลสไม่พึงมีแก่เรา  ในปัจจุบัน  อั… Continue Reading
  • “ขอให้ไปดีมาดี หรืออยู่ก็ดี”“ขอให้ไปดีมาดี หรืออยู่ก็ดี”ท้าวสักกะจอมเทพกราบทูลเป็นคาถา แด่พระตถาคตเจ้า ดังนี้ว่า “ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกั… Continue Reading
  • โรคร้าย ๓ ชนิด คือโรคร้าย ๓ ชนิด คือ๑. โรคความอยาก (อิจฺฉา)  ๒. โรคความหิว (อนสนํ)  ๓. โรคชรา (ชรา)เพราะฉะนั้น คำว่า “โรค” หมายถึง ความอยาก ๑ ความอดอยาก ๑ ความทรุดโทรม … Continue Reading
  • “อวิชชา” คืออะไร? “อวิชชา” คืออะไร?   “อวิชชา” มิใช่ความโง่เขลาทั่วๆไป“พระพุทธองค์ตรัสว่า “อวิชชา” คือ ความไม่รู้ “อริยสัจ ๔” ได้แก่ ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ เหตุเกิดของท… Continue Reading

0 comments: