วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564

มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายนี้ ต้องมีความเป็นไทย เป็นไทยจากความบีบคั้นของกิเลส

มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายนี้ ต้องมีความเป็นไทย เป็นไทยจากความบีบคั้นของกิเลส นี้เป็นความเป็นไทยที่แท้จริง หรือสูงสุด

คำว่า " ความเป็นไทย " นี้มันมีอยู่ ๒ ความหมาย คือความเป็นคนไทย นี้ความหมายหนึ่ง แล้วก็ " ความเป็นไทย " คือเป็นผู้ที่อิสระ อีกความหมายหนึ่ง ความหมายหลังนี้ กว้างขวางมาก หมายได้ไกลกระทั่งถึงความเป็นอิสระจากกิเลส ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องมี หมายความว่า มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายนี้ ต้องมีความเป็นไทย เป็นไทยจากความบีบคั้นของกิเลส นี้เป็นความเป็นไทยที่แท้จริง หรือสูงสุด

ความเป็นไทย ของบรมธรรมนั้น มันมีความหมายลึกซึ้งสูงสุดเฉพาะในตัวมันเอง คือสิ่งที่เรียกว่า บรมธรรมนั้นต้องมีความเป็นไทย ถ้าเป็นทาสแล้วจะเป็นบรมธรรม หรือสูงสุดไปได้อย่างไร ตามทางพุทธศาสนา บรมธรรมเล็งถึงนิพพาน ก็เป็นไทยอย่างยิ่ง เป็นไทยจากกิเลส จากความทุกข์ทุกๆ อย่าง แม้จะเล็งถึงจริยธรรมสากล บรมธรรมตามหลักจริยธรรมสากล มันก็เล็งถึงความเป็นไทย

พุทธทาสภิกขุ , ธรรมโฆษณ์ l บรมธรรม ภาคปลาย , บรมธรรม กับ ความเป็นไทย (น.447)

ที่มา : line ปันบุญ ปันธรรม




post written by:

Related Posts

  • กุศล คืออะไร?กุศล คืออะไร?"กุศล" แปลว่า สร้างเหตุให้เกิดสิทธิ เพื่อมีโอกาสได้รับการชี้แนะเกิดปัญญา แล้วนำไปวิเคราะห์พิจารณา แก้ไขปัญหา แก้ทุกข์ต่างๆ ได้.  กุศลนี้ทำให้เ… Continue Reading
  • “นับถือสองศาสนา บาปใหม?”“นับถือสองศาสนา บาปใหม?” ผู้ถามไม่ระบุแน่ชัดว่านับถือศาสนาอะไรบ้าง? คาดเดาเอาว่า คงเป็นศาสนาพุทธ กับอีกศาสนาหนึ่ง…ว่าในทางพุทธ “เพียงแค่บอกว่า กิริยาอาการนับถือ… Continue Reading
  • "กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ”"กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ” อันมีเนื้อ ความดังนี้คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึก… Continue Reading
  • เรื่อง “ศีล เป็นมหาทาน”เรื่อง “ศีล เป็นมหาทาน” อันมีเนื้อความดังนี้ในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาลทันที เช่น เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๑ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชี… Continue Reading
  • “นิโรธ กับ นิพพาน” เหมือน หรือต่างกันอย่างไร?“นิโรธ กับ นิพพาน” ตามรูปศัพท์ มีความต่างกัน แต่โดยความหมาย ก็เหมือนกัน คือ“นิโรธ” แปลว่า “ดับ” ซึ่งหมายถึง ดับกิเลส และดับขันธ์ ๕“นิพพาน” (นิ+วาน) แปลว่า ออกจา… Continue Reading

0 comments: