วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

ว่าด้วยการทำเกินประมาณ (คาถาเป่าสังข์)

"ธเม ธเม นาติธเม,  อติธนฺตญฺหิ ปาปกํ;   ธนฺเตนาธิคตา โภคา, เต ตาโต วิธมี ธมนฺติ ฯ   ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณเป็นการชั่วช้าของพวกเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่าสังข์ได้ ฉิบหายไป เพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ"

สังขธมนชาดกอรรถกถา

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภภิกษุว่า ยากเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธเม ธเม ดังนี้. 

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนเป่าสังข์. เมื่อมีงานในกรุงพาราณสีอย่างเอิกเกริก ก็พาบิดาไปทำการเป่าสังข์ได้ทรัพย์ ในเวลากลับก็กล่าวห้ามบิดาผู้ทำการเป่าสังข์อยู่ไม่ขาดระยะ ใกล้ ๆ ดงโจร. บิดากลับพูดว่า „จักไล่พวกโจรให้หนีไปด้วยเสียงสังข์“ แล้วเป่าเรื่อยไปไม่ขาดระยะ. พวกโจรก็พากันมารุมแย่งทรัพย์ไปหมด ทำนองเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละพระโพธิสัตว์กล่าวคาถา โดยนัยเดียวกับเรื่องก่อน ความว่า :-   „ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าจน เกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าพวกเรา, โภคะที่หาได้มาเพราะการเป่าสังข์ได้ฉิบหายไปเพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ“. 

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ตาโต วิธมีธมํ ความว่า บิดาของเราเป่าสังข์บ่อย ๆ เลยเป่าเอาทรัพย์ที่ได้ไว้เพราะการเป่าสังข์ทั้งนั้น หมดไป พินาศไป. พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาด้วยทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ ส่วนบุตรในครั้งนั้นได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali 




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: