วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

"ให้รู้ ค ว า ม อ ย า ก ใ น ก า ม และละวาง ค ว า ม อ ย า ก นั้นเสีย"

"ให้รู้  ค ว า ม อ ย า ก ใ น ก า ม และละวาง ค ว า ม อ ย า ก นั้นเสีย"

[ณ บ้านกลันทะ ไม่ไกลจากกรุงเวสาลี มีลูกเศรษฐีคนหนึ่งชื่อสุทินน์ ซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุมาช่วงหนึ่ง พ่อแม่พยายามพูดหลายครั้งให้สึกแต่ก็ไม่ยอมสึก จนมาวันหนึ่งแม่ได้ พ า ภ ร ร ย า เ ก่ า ที่คบกันมาก่อนบวช (ปุราณทุติยิกา) มาหาพระสุทินน์ในป่ามหาวัน]

แม่: ตระกูลเรามีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ถ้าเจ้าไม่สึกออกมาดูแลสมบัติ เจ้าก็ควรมีลูกสืบสกุลไว้หน่อย สมบัติเราจะได้ไม่ถูกกษัตริย์ลิจฉวียึดไป

พระสุทินน์: ถ้าเป็นเรื่อง มี ลู ก น่าจะพอทำให้แม่ได้

[พระสุทินน์จึง  จั  บ แ ข น ภ ร ร ย า เ ก่ า เ ข้ าไ ป ใ น ป่ า เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยห้ามไว้ หลังจากนั้น น า ง ก็ ท้  อ  ง แต่พระสุทินน์กลับเกิดความรู้ สึ ก ห ด หู่ เ ศ ร้ า  ห ม อ ง ทุกข์ใจที่ไม่สามารถทำตัวให้บริสุทธิ์ได้จนพระรูปอื่นทักว่าเปลี่ยนไป พระสุทินน์จึงเล่าให้ฟัง จนเรื่องไปถึงพระพุทธเจ้า]

พระพุทธเจ้า:  สุทินน์ ข่าวว่า เ ธ อ เ ส. พ   เ  ม  ถ  ุ น (ม  ี  เ  พ.  ศ  ส  ั ม  พ  ัน  ธ์) กั บ  ภ ร ร ย  า เ  ก่  า  นี่ จริงหรือ?

พระสุทินน์:  เป็นเรื่องจริงท่าน

พระพุทธเจ้า:  เธอทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควร ใช้ไม่ได้ เธอบวชแล้ว ทำไมทำตัวให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ธรรมะที่เราบอก เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ให้ละวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่นี่เธอกลับมีความกำหนัด อยากได้

เราเคยบอกไม่ใช่หรือว่าให้รู้  ค ว า ม อ ย า ก ใ น ก า ม และละวางค ว า ม อ ย า ก  นั้นเสีย

การกระทำของเธอมีโทษ เธอเป็นคนแรกที่ทำอกุศล ทำให้คน เ ข า เ สื่ อ มศรัทธา จากนี้เราจะบัญญัติข้อวินัยว่า ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก (ประเภทของโทษในการทำผิดวินัยขั้นหนักที่สุด คือ ขาดจากความเป็นพระทันที คำว่าปาราชิก แปลว่าผู้พ่ายแพ้ คือพ่ายแพ้ตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติตามวินัยได้)

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 1 (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เล่ม 1 ปฐมปาราชิกกัณฑ์), 2559, น.351-369



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: