วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผู้มิใช่บัณฑิต

ผู้มิใช่บัณฑิต

สเฐน   มิตฺตํ   กลุเสน   ธมฺมํ,
ปโรปตาเปน   สมิทฺธิภาวํ;
สุเขน   วิชฺชํ   ผรุเสน   นารึ,
อิจฺฉนฺติ   เย   เต   น   เจว   ปณฺฑิตา.

ชนเหล่าใดอยากมีมิตรด้วยการโอ้อวด ๑   อยากมีธรรมด้วยการทำชั่ว ๑   อยากมีความสำเร็จด้วยเบียดเบียนคนอื่น ๑   อยากมีวิชาด้วยความมักง่าย ๑ และ อยากมีภริยาด้วยความหยาบคาย ๑   ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเลย.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๗, มหารหนีติ ๑๑๒)

ศัพท์น่ารู้ :

สเฐน (ฉ้อฉล, ปลอม, โอ้อวด) สฐ+นา

มิตฺตํ (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+อํ

กลุเสน (บาป, ความไม่บริสุทธิ์; ขุ่น, สกปรก, ไม่สะอาด) กลุส+นา

ธมฺมํ (ธรรมะ, ความดี) ธมฺม+อํ

ปโรปตาเปน (ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน) ปร+ปตาป > ปโรปตาป+นา ลง โอ อาคมได้บ้าง  กฺวจิ โอ พฺยญฺชเน. (รู ๔๗)

สมิทฺธิภาวํ (ความสำเร็จ, สมิทธิภาวะ, สมิทธิภาพ) สมิทฺธิ+ภาว > สมิทฺธิภาว+อํ

สุเขน (ความสุข, ความสบาย, มักง่าย, สะเพร่า) สุข+นา

วิชฺชํ (วิชา, ความรู้) วิชฺชา+อํ

ผรุเสน (หยาบคาย, กล้าแข็ง, ดุร้าย) ผรุส+นา

นารึ (นารี, สตรี, ผู้หญิง) นารี+อํ

อิจฺฉนฺติ (ปรารถนา, ต้องการ) √อิสุ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง  อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)

เย (เหล่าใด) ย+โย สัพพนาม

เต (เหล่านั้น) ต+โย สัพพนาม

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

เจว (ก็นั่นเทียว) นิบาต

ปณฺฑิตา (เหล่าบัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+โย.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ชนเหล่าใด ต้องการเป็นมิตรโดยวิธีอวดตัว  ต้องการธรรมโดยวิธีลามก ต้องการความสำเร็จประโยชน์โดยวิธีให้ผู้อื่นเดือนร้อน  ต้องการวิชาโดยวิธีสะเพร่า ต้องการนางสาว  ด้วยวิธีหยาบคาย ชนเหล่านั้นไม่เป็นบัณฑิตเสียเลย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนเหล่าใด แสวงหามิตรด้วยวิธีอวดตัว  แสวงหาความเป็นธรรมด้วยวิธีอันลามก  แสวงหาความสำเร็จด้วยวิธีเบียดเบียนคนอื่น  แสวงหาวิชาความรู้ด้วยวิธีสะเพร่า  และแสวงหญิงสาวด้วยวิธีอันหยาบคาย  ผู้นั้นเป็นบัณฑิตไม่ได้เลย.

จบปัญญากถา

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ







Previous Post
Next Post

0 comments: