วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ให้ ปชช.มี "สติปัญญา" ตามรอยพระบาท พระธรรมเทศนา "สมเด็จพระสังฆราช" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ให้ ปชช.มี "สติปัญญา" ตามรอยพระบาท พระธรรมเทศนา "สมเด็จพระสังฆราช" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

สมเด็จพระสังฆราชแสดงพระธรรมเทศนา พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙ ขอประชาชนตามรอยพระบาทในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีสติและปัญญา ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ทำคุณประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ย่อมทำให้พระองค์ทรงอิ่มพระราชหฤทัย

วันนี้ (26 ต.ค.) ที่พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ถวายพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขและผู้แทนรัฐ พระบรมวงศานุวงศ์ มีใจความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงดำรงพระชนมชีพด้วยพรหมวิหารธรรม คือมีพระเมตตากรุณาต่อพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ และอาณาประชาราชโดยไม่แบ่งแยก ตามพระปฐมพระบรมราชโองการ หากทรงทราบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุ้มครองประชาชนโดยธรรม และประชาชนน้อมนำพระปัญญาของพระองค์มาปฏิบัติ สามารถพึ่งพาตนเอง มีสติปัญญาและคุณธรรมคงความผาสุก ย่อมอิ่มพระราชหฤทัย

พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังแสดงพระธรรมเทศนาอีกว่า สังขารเปรียบเหมือนบ้านเรือน เป็นของสวยงามแตกต่างกัน นอกจากธรรมะไม่มีอะไรที่จะแบ่งสรีระให้ดีชั่วสูงต่ำได้ หากผู้ครองสังขารเป็นผู้มีธรรมะ สังขารก็จะเป้นบ้านเรือนของผู้ประเสริฐ สำหรับธรรมะที่จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้คือ สติปัญญา หากขาดสติปัญญา สังขารย่อมปรุงแต่งจิตให้เป็นจิตแห่งความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นมูลเหตุในการพูดและกระทำความชั่วทุกชนิดในทันที และปัญญาจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีสติเกิดด้วยทุกครั้ง ดังนั้น การรู้แจ้งอริยสัจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้น ต้องเป็นเรื่องของสติและปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นไปเพื่อการรู้ระลึกสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระสติระลึกรู้ จึงทรงดำรงพระชนมชีพอย่างสง่าทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยปัญญา สรุปประมวลได้ว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทในชีวิต พระบุญญาธิการจึงไพบูลย์ ประชาชนควรตามรอยพระยุคลบาทให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทและทำประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อพระผู้เสด็จจากไปจักได้ทรงอิ่มพระราชหฤทัยว่า กิจอันต้องกระทำ ได้กระทำเสร็จแล้ว และย่อมทรงบันเทิงทิพยารมณ์อย่างไม่ต้องสงสัย สมดังนัยยะพระพุทธภาษิตที่ว่า บุคคลผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมยินดี คือย่อมยินดีในโลกทั้งสอง ย่อมยินดีว่าบุญเราได้ทำไว้แล้ว ครั้นไปสู่สุคติแล้วก็ย่อมยินดีกว่านี้อีกด้วยประการฉะนี้

พระธรรมเทศนาพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพีระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แม้เสด็จสวรรคตล่วงลับไปกว่า 1 ปีแล้ว ก็เหมือนยังทรงสำแดงพระองค์ให้ปรากฏแก่ผู้รำลึกถึง ในเวลาคำนึงถึงพระราชคุณูปการ จะรู้สึกเหมือนได้รับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง เฉกเช่นบัณฑิตผู้ทรงความปรีชาย่อมปรารภความอย่างเดียวกัน สรรเสริญพระบรมศาสดา แม้พระองค์เสด็จปรินิพพานนานมาแล้ว ก็ดุจปรากฏอยู่โดยความเป็นอตีตารมณ์ คือคำนึงเห็นแม้ล่วงไปแล้วยังอยู่ด้วยพระคุณทั้งหลาย อันจะพึงรู้สึกได้ด้วยใจ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงถนอมอุปการะพระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา ตามหน้าที่แห่งสมเด็จพระราชบุพการีตลอดมา พระทายาทที่ทรงพระเจริญแล้ว พอจะทรงพระอุเบกขาได้ ก็ยังมีพระราชหฤทัยจดจ่อด้วยพระเมตตากรุณา สมด้วยพระพุทธภาษิตว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร มารดาบิดาชื่อว่าเป็นพรหมของบุตร ก็พรหมมีเมตตากรุณาเป็นธรรมะเครื่องอยู่ฉันใด พระองค์ย่อมทรงพระเมตตาปรารถนาสุขและทรงพระกรุณาวิตกวิจารณ์จากเรื่องทุกข์ของพระทายาทฉันนั้น แต่พรหมวิหารธรรมของพระองค์หาได้เผื่อแผ่จำกัดเฉพาะแก่ในเฉพาะประยูรญาติเท่านั้น แม้พระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังเผื่อแผ่ไปด้วย และเผื่อแผ่ตลอดโดยตรงถึงอาณาประชาราชทุกหมู่เหล่าทุกเชื้อชาติศาสนา ทุกเพศและทุกวัย ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ บรรดาที่ควรจะทรงสงเคราะห์ได้ด้วยสถานใดๆ ก็ทรงสงเคราะห์ด้วยสถานนั้นๆ กล่าวอย่างสั้นคือ ทรงดำรงพระชนมชีพเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวไทยและชาวโลก ต้องตามพระปฐมพระบรมราชโองการทุกประการ

หากทรงทราบด้วยพระญาณวิถี เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงรับสิริราชสมบัติจะทรงคุ้มครองประชาชนโดยธรรม และหากทรงทราบโดยพระญาณวิถีว่า ประชาชนที่พระองค์ทรงห่วงนั้น จะสามารถน้อมนำพระปัญญาญาณไปบันดาลชีวิตของตนให้อยู่ดีมีสุข พึ่งพาตนเองได้ เป็นพลเมืองดี มีสติปัญญาและคุณธรรมพรั่งพร้อมยังคงความผาสุขร่มเย็นอย่างยั่งยืน ย่อมทรงอิ่มพระราชหฤหัย ดุจดังพระบรมศาสดา ทรงกระทำพุทธกิจแก่พระสาวก ทรงอิ่มพระพุทธกมลแล้วเปล่งพระวาจาว่า กิจใดศาสดาผู้กรุณาแสวงหาประโยชน์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกท่านทุกประการดังนี้

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ประทานพระปัจฉิมโอวาทว่า "หนฺททานิ ภิกฺขเว อามันฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ" ความว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำประโยชน์ต่อตนและผู้อื่นให้ล้นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท

สังขารหรือสภาพแห่งร่างกายและจิตใจอันถูกปรุงแต่งขึ้น เปรียบเหมือนบ้านเรือน เป็น "อัพยากตธรรม" ไม่จัดเป็นบุญเป็นบาป อย่างดีเพียงที่ปรากฏและเห็นอยู่ภายนอก เป็นของสวยของงามแตกต่างกันบ้างก็เท่านั้น ความสำคัญอยู่ที่ผู้อยู่ในบ้านเรือนนั้นต่างหากว่าเป็นใคร ถ้าเป็นผู้ประเสริฐบ้านนั้นก็เป็นบ้านของผู้ประเสริฐ เช่น ถ้าเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม สถานที่นั้นก็เป็นพระราชวังอันพึงเคารพ ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นที่อยู่ของโจรผู้ร้าย สถานที่นั้นก็เป็นที่น่ารังเกียจไม่น่าเข้าใกล้ สังขารหรือสรีระก็เช่นเดียวกัน นอกจากธรรมะ ไม่มีอะไรที่จะแบ่งสรีระให้ดีชั่วสูงต่ำได้ แม้ยังยึดมั่นในตัวเราของเราอยู่ก็พึงทำตัวเราหรือผู้ครองนั้นให้เป็นผู้มีธรรมะ อบรมคุณธรรมให้สมบูรณ์ รู้จักเกื้อกูลผู้อื่น ทำชีวิตให้มีสาระ ไม่เสียเปล่า เพื่อให้สมควรแก่การครองอัตภาพที่มีแต่ความเสื่อมสลายแตกดับไปทั้งสิ้นตามธรรมดาของสังขาร ที่จะพึงสามารถเอาสาระประโยชน์จากธรรมดา มาเป็นของหลีกพ้นจากทุกข์ได้ แล้วธรรมะใดเล่าจะเป็นของที่จะนำไปพ้นจากทุกข์ได้

ธรรมะที่จะทำให้เกิดพ้นจากทุกข์ได้คือ สติปัญญา โดย "สติ" คือ ความระลึกได้ที่จะเป็นเครื่องช่วยอุปการะให้มีปัญญหา หากบุคคลขาดสติปัญญาเสียแล้ว สังขารย่อมปรุงแต่งจิตให้เป็นจิตแห่งความโลภ จิตแห่งความโกรธ และจิตแห่งความหลง อันเป็นมูลเหตุในการพูดและกระทำความชั่วทุกชนิดในทันที สติย่อมเกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติจึงมีหลายระดับขั้น ทั้งที่เป้นไปในการให้ทาน ในการรักษาศีล และในการอบรมความสงบของจิต กระทั่งก้าวไปสู่มหาสติในการอบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นสภาพทุกข์ที่กำลังปรากฏ ซึ่งล้วนเกิดเพราะเหตุปัจจัยและดับไป ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน พลันประจักษ์ความว่างจากตัวตน สัตว์ บุคคลเราเขาได้อย่างเป็นธรรมชาติในทุกขณะ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็จำเป็นต้องมีสติเกิดด้วยทุกครั้ง ดังนั้น การรู้แจ้งอริยสัจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้น ต้องเป็นเรื่องของสติและปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นไปเพื่อการรู้ระลึกสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระสติระลึกรู้ จึงทรงดำรงพระชนมชีพอย่างสง่าทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยปัญญา สรุปประมวลได้ว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทในชีวิต พระบุญญาธิการจึงไพบูลย์ควรที่เราทั้งหลายผู้ยังอยู่เบื้องหลังจะเคร่งทำประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาทให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท เพื่อพระผู้เสด็จจากไปจักได้ทรงอิ่มพระราชหฤทัยว่า "กะตัง กะระณียัง" กิจอันต้องกระทำ ได้กระทำเสร็จแล้ว และย่อมทรงบันเทิงทิพยารมณ์อย่างไม่ต้องสงสัย สมดังนัยยะพระพุทธภาษิตที่ว่า บุคคลผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมยินดี คือย่อมยินดีในโลกทั้งสอง ย่อมยินดีว่าบุญเราได้ทำไว้แล้ว ครั้นไปสู่สุคติแล้วก็ย่อมยินดีกว่านี้อีกด้วยประการฉะนี้









ที่มา : mgronline , ที่มาของภาพ : พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม ชี้เเจง คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ สั่งทุบเทวรูป เป็นเเค่ข่าวลือ

เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม ชี้เเจง คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ สั่งทุบเทวรูป เป็นเเค่ข่าวลือ

เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม ศูนย์รวมเทวรูปขนาดใหญ่ ที่มีชื่ออันดับต้นๆ ของประเทศ และโด่งดังไปไกลในระดับโลก แจงสื่อเป็นครั้งแรก หลังมีกรณีมีกระแสข่าวลือในเรื่องคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่มีคำสั่งให้ทุบเทวรูป ชี้ชาวพุทธมองคำสอนพระศาสดาให้ลึกซึ้ง ระบุ “พระพุทธเจ้าตรัสให้บูชาในสิ่งที่ควรบูรชาได้

วันที่ 23 ต.ค. 60 เวลา 15.00 น. พระประชาธรรมนาถ เจ้าคณะอำเภอท่าตะเกียบ และ อ.แปลงยาว เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 ม.11 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวเปิดเผยเป็นครั้งแรกต่อสื่อ ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวลือสะพัดในช่วงก่อนหน้านี้ว่า ทางคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่มีคำสั่งให้ทุบเทวรูป ที่ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณวัดต่างๆ หรือให้ย้ายออกไปให้พ้นบริเวณวัดนั้นว่า เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือเท่านั้น

เนื่องจากยังไม่ได้มีมติจาก มส. หรือมีคำสั่งใดๆ ออกมาจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่อย่างเป็นทางการ โดยมีเพียงคำสั่งห้ามมิให้มีการติดแผ่นป้ายโฆษณา หรือมีการจัดจำหน่ายวัตถุมงคลภายในบริเวณโบสถ์เท่านั้น ส่วนคำสั่งไม่ให้มีการตั้งเทวรูปสูงข่ม หรือสูงกว่าพระพุทธรูปนั้น พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายนอกอาคารบริเวณวัดสมานรัตนารามแห่งนี้นั้น ก็ได้มีการประดิษฐานตั้งไว้สูงอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว โดยมีแท่นวางหรือแท่นบูชาที่อยู่สูงเหนือกว่าฐานที่ใช้ประดิษฐานองค์เทวรูปต่างๆ ภายในบริเวณวัดอยู่แล้ว

ส่วนการกราบไหว้หรือบูชาเทวรูปของนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปนั้น ก็ไม่ได้ผิดไปจากคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เคยตรัสเอาไว้ว่า “ให้บูชาในสิ่งที่ควรบูรชา” เช่น การกราบไหว้บูชาบิดา-มารดา การกราบไหว้บุคคลที่ประกอบคุณงามความดี หรือเป็นผู้ที่กระทำความดีมาก่อน เช่น พระมหากษัตริย์

และการบูชาก็ควรอยู่ในลำดับหรือขอบเขตของการบูชา เช่น เราชาวพุทธ ก็ควรกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงค่อยกราบไหว้บูชาพระธรรม และพระสงฆ์ ตามลำดับ ก่อนที่จะไปบูชาบุคคล หรือเทพและเทวรูป ตามความเชื่อความศรัทธาของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร และจะไปห้ามไม่ให้บุคคลใดไปเชื่อไปศรัทธา หรือไปบูชาสิ่งที่บุคคลนั้นๆ เชื่อไม่ได้

ซึ่งการสั่งห้ามนั้น เป็นการสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องบูชาภายในบริเวณเขตพระอุโบสถ หรือโบสถ์ และไม่ได้ให้ทุบทำลายสิ่งอื่นใดที่อยู่ภายนอกเขตเสมา ซึ่งหากอยู่ใกล้เคียงก็ให้ย้ายออก ที่ผ่านมานั้นมีเพียงแค่ข่าวลือเท่านั้นว่า ให้ทุบทำลาย จึงทำให้ประชาชนเกิดความสับสน

ส่วนพระสงฆ์นั้นก็ไม่ได้มีการกราบไหว้หรือบูชาองค์เทวรูปแต่อย่างใด จึงไม่ผิดหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา แต่ข่าวลือที่ออกมานั้นก็ได้ทำให้มีผลกระทบต่อประชาชนหรือนักท่องเที่ยวให้เกิดความสับสนอยู่บ้าง จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวลดลงไปบ้างประมาณร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ภายในบริเวณวัดที่มีการนำหุ่นยนต์ หรือรูปปั้นตัวการ์ตูนในนิยายของต่างประเทศมาวางไว้อยู่ทั่วไปภายในบริเวณวัดนั้น ก็เป็นเพียงกุศโลบาย ที่ใช้ในการดึงดูดให้เด็กๆ สนใจที่จะเข้าวัด หรือติดตามพ่อ-แม่ ผู้ปกครองเดินทางมาวัด เพื่อให้ได้ซึมซับเอาขนบธรรมเนียม และสิ่งดีงามที่ผู้ใหญ่เดินทางเข้ามาทำบุญปฏิบัติธรรมภายในวัด ให้เด็กๆ เยาวชนได้เห็นได้เรียนรู้ในทางพระศาสนา ดีกว่าปล่อยให้เด็กๆ ไม่ยอมเข้ามาในวัดเลย แล้วหันไปทำอย่างอื่น หรือกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบ้านเมือง

จนอาจถึงขั้นไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด จึงได้นำหุ่นปั้นการ์ตูนเหล่านี้มาใช้ในการดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ไปตามยุคสมัยเท่านั้น เพราะหากจะให้เด็กเข้ามาในวัดแล้วมานั่งฟังแต่พระสวดมนต์เพียงอย่างเดียว พวกเขาก็คงจะไม่อยากเข้ามา หรือสนใจที่จะติดตามมาเข้าวัด แต่หากคิดในแง่อกุศลก็อาจมองได้ว่าเป็นการเอาสิ่งเหล่านี้มาล่อลวงหลอกเด็กๆ ให้เข้าวัด จึงอยากให้สังคมที่มองอย่างสุดโต่ง ให้มองในแง่บวกบ้าง ถ้าการที่จะให้เด็กเข้าวัดมาฟังธรรมเพียงอย่างเดียวสมัยนี้เป็นไปได้หรือไม่ การเข้าวัดมาท่องเที่ยว มาพูด มาคุย มาสนทนาธรรมกันแล้วทำให้คนมาเข้าวัดจะดีกว่าหรือไม่

การเข้ามาที่วัดแห่งนี้ ไม่ได้มีการล่อลวงหรือมีคนมาคอยเรียกให้เข้ามาทำบุญ ให้ผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวมาทำบุญตามกำลังศรัทธา มีตู้บริจาคไว้คอยรองรับ ซึ่งหากไม่ศรัทธาจะไม่ทำเลยก็ได้ มาท่องเที่ยวมาถ่ายรูปแล้วกลับไปก็ได้ ไม่มีใครไปว่าอะไร แต่การเกิดขึ้นจากพลังศรัทธาของวัดแห่งนี้ก็ได้สร้างคน ได้สร้างชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม เพราะวัดได้พัฒนาชุมชนทำให้ชุมชนเข้มแข็ง จากเดิมในพื้นที่ชาวบ้านไม่มีงานทำ หรือบางคนมีเวลาว่างมาก ก็จะไปเกี่ยวข้องกับการพนัน เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หรือยาเสพติด คนในพื้นที่ต้องออกไปทำงานที่อื่น

แต่เมื่อมีวัดแห่งนี้มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมา จากแรงศรัทธาต่างๆ ก็ได้ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีการค้าการขาย และนำข้าวของมาวางขายภายในบริเวณวัดให้แก่นักท่องเที่ยว โดยที่ทางวัดก็ไม่ได้เก็บเงินค่าเช่าที่อีกด้วย ขณะเดียวกันยังทำให้ทางจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว ได้ประโยชน์ในแง่ของทางมูลค่าเศรษฐกิจมวลรวมของจังหวัด และเกิดความเข้มแข็งมั่นคงอบอุ่นของสถาบันครอบครัว เพราะคนในพื้นที่ไม่ต้องออกไปทำงานยังนอกพื้นที่เหมือนในอดีต ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น

ขณะที่ทางวัดเองก็ยังคงเดินหน้าในการสร้างเสริมความเข้มแข็งทางด้านสุขภาพ และยังเป็นการรองรับการขยายตัวของ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ ด้วยการสร้างโรงพยาบาลมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ ให้แก่พุทธศาสนิกชนให้ได้เข้ามาปฏิบัติธรรมได้ฟรี โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากแรงศรัทธาของนักท่องเที่ยว ด้วยเงินทำบุญเหล่านี้ทั้งสิ้นพระประชาธรรมนาถกล่าว

ที่มา : workpointnews







วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ไม่ใช่หลักพุทธ! พระมหาไพรวัลย์ดึงสติคนแห่ชม “ครูบาน้อย” อยู่ถ้ำ 3 ปี ห่วงถูกพาผิดทาง !!

ไม่ใช่หลักพุทธ! พระมหาไพรวัลย์ดึงสติคนแห่ชม “ครูบาน้อย” อยู่ถ้ำ 3 ปี ห่วงถูกพาผิดทาง !!

นับได้ว่าเป็นความเชื่อ และความศรัทธาของประชาชน ที่ได้มาต้อนรับและขอพรนมัสการ พระญาณวิไชย ภิกขุ หรือ “ครูบาน้อย” แห่งพุทธสถานถ้ำเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ภายหลังจาก “ครูบาน้อย” ได้เข้ากรรมฐานภายในถ้ำเป็นระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน

พระญาณวิไชย หรือ “ครูบาน้อย” เข้ากรรมฐานภายในถ้ำเชตวัน ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2557 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ.2560 เป็นระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ขณะบำเพ็ญกรรมฐาน “ครูบาน้อย” ฉันผลไม้และน้ำเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อวานที่ผ่านมา (15 ต.ค.60) เวลาประมาณ 13.30 น. เป็นวันที่ “ครูบาน้อย” ครบกำหนดออกจากการบำเพ็ญพระกรรมฐาน ทางศิษย์ยานุศิษย์ ได้จัดงานน้อมรับ “ครูบาน้อย” ออกจากการบำเพ็ญพระกรรมฐานในวันเวลาดังกล่าว ณ พุทธสถานถ้ำเชตวันฯ

โดยภายในบริเวณวัด ตั้งแต่ปากถ้ำเชตวันฯ มีการประดับตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา และตามความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างสวยงาม เมื่อถึงเวลา “ครูบาน้อย” ได้นั่งอยู่บนเสลี่ยงแท่นธรรมมาสน์โดยมีลูกศิษย์ และชาวบ้านแต่งนุ่งขาวห่มขาวค่อย ๆ เคลื่อนขบวน ซึ่งนำขบวนด้วยกลองยาว ที่ไปต้อนรับออกจากถ้ำ ผ่านคลื่นลูกศิษย์ที่ศรัทธา พร้อมได้สนทนากับลูกศิษย์ ตลอดทางจนถึงศาลาการเปรียญ

จากนั้นได้เข้ากราบนมัสการรูปถ่ายของอาจารย์ของ “ครูบาน้อย” ที่ละสังขาร พร้อมเข้ากราบนมัสการพระเถระชั้นผู้ใหญ่ตามลำดับ เสร็จแล้วจึงเข้าสูพิธีปลงผม ทั้งนี้ “ครูบาน้อย” ได้เทศนาธรรมเป็นครั้งแรก หลังจากออกจากถ้ำ ซึ่งธรรมที่เทศนาเป็นการเทศน์เรื่องความกตัญญูต่อพ่อแม่ พร้อมกับบอกให้อยู่กับตัวเองให้มากที่สุด เนื่องจากหากอยู่กับคนหมู่มาก มักจะมองเห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น

แต่ถ้าหากอยู่คนเดียวจะไม่มีเวลาคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีของตัวเอง พร้อมกับเทศน์ให้เป็นคนกตัญญู และรู้จักเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ  และอย่าหวังสิ่งของตอบแทน โดย “ครูบาน้อย” ได้ขอบคุณญาติโยมที่มารับออกจากถ้ำ และช่วงเวลานั้นมีพระอาทิตย์ทรงกลดเป็นเวลานาน มีก้อนเมฆมาบดบังแสงอาทิตย์ สร้างความอัศจรรย์ของผู้มาร่วมงานอย่างยิ่ง

ทางด้าน พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักเทศน์นักคิด วัดสร้อยทอง ได้เปิดเผยว่า ในทางพระพุทธศาสนา การบำเพ็ญในลักษณะดังกล่าวไม่มี มีแต่นักบวชนอกศาสนา ซึ่งศาสนาพุทธนั้นจะมีการเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึง การเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ โดยจะไม่ฉัน เป็นเวลา 7 วัน

สำหรับการปฏิบัติของ “ครูบาน้อย” ที่อ้างว่าเข้าถ้ำไม่มีการปลงผม ฉันแต่ผลไม้ วิธีดังกล่าว เป็นวิธีปฏิบัติของนักบวช ฤาษี เพราะในแนวทางของพระพุทธศาสนา พระวินัยกำหนดชัดเจนว่า พระภิกษุจะต้องปลงผมให้หมด หนวดเคราไม่ปล่อยให้ขึ้นรกรุงรัง และในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็เคยหาทางพ้นทุกข์ด้วยการทรมานร่างกาย แต่พบว่าไม่ใช่แนวทางพ้นทุกข์ ก่อนค้นพบทางสายกลาง แนวทางของพระพุทธเจ้าจะไม่ใช้วิธีสุดโต่ง

สำหรับกรณีนี้ จึงชวนให้อาตมาตั้งข้อสงสัยเช่นกันว่า ผิดไปจากแนวทางพระพุทธศาสนา เพราะการปฏิบัติกับความเป็นพระต้องไปด้วยกัน พระภิกษุสงฆ์สามารถเข้าไปบำเพ็ญเพียรในถ้ำได้ แต่เมื่อถึงเวลาเช้า ต้องออกบิณฑบาต เมื่อถึงวันพระต้องปลงผม พระต้องไม่อวดอ้างว่ามีคุณวิเศษเด็ดขาด

ส่วนในวันที่ออกจากถ้ำ ได้มีชาวบ้านที่ให้ความศรัทธา กับการปฏิบัติตัวของ “ครูบาน้อย” และมารอรับจำนวนมาก พระมหาไพรวัลย์ มีความเห็นว่า ชาวบ้านอาจจะมอง และยึดติดเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ มองว่า “ครูบาน้อย” เป็นผู้วิเศษ อยู่ในถ้ำเป็นเวลาถึง 3 ปี ฉันแต่ผลไม้ จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา อย่างไรก็ตามพระมหาไพรวัลย์ ยังเป็นห่วงว่า การที่ชาวบ้านยึดติด ชื่นชอบสิ่งที่ดูมีคุณวิเศษ ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกหลอกทั้งนั้น

ที่มา : Amarintv




6. หมวดบัณฑิต - The Wise

6. หมวดบัณฑิต - The Wise

๑. ฉินฺท  โสตํ  ปรกฺกมฺม    กาเม  ปนูท  พฺราหฺมณ 
    สงฺขารานํ  ขยํ  ญตฺวา   อกตญฺญูสิ  พฺราหฺมณ ฯ๓๘๓ฯ


พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา)  และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย 
เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)

Strive and stop the stream of craving, Discrad, O brahmana, sense-desires. 
Knowing conditioned things, brahmana, You will know the Unconditioned.

๒. ยทา  ทฺวเยสุ  ธมฺเมสุ    ปารคู  โหติ  พฺราหฺมโณ 
    อภสฺส  สพฺเพ  สํโยคา   อฏฺฐํ  คจฺฉนฺติ  ชานโต ฯ๓๘๔ฯ


เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา) 
เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป

When depending on the twofold means, A brahmana has reached the Other Shore, 
Then of that one who knows, All fetters remain no more.

๓. ยสฺส  ปารํ  อปารํ  วา,  ปาราปารํ  น  วิชฺชติ; 
    วีตทฺทรํ  วิสญฺญุตฺตํ,   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๘๕ฯ

ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

For whom there exists Neither the Hither nor the Father Shore, Nor both the Hither and the Farther Shore, He who is undistressed and unbound-Him do I call a brahmana.

๔. ฌายึ  วิรชมาสีนํ  กตกิจฺจํ  อนาสวํ 
    อุตฺตมตฺถํ  อนุปฺปตฺตํ  ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๘๖ฯ


ผู้ใดบำเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทำ หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

Meditative, dwelling alone, Free from passion taint, Having done what should be done, 
Devoid of all corruptions, And having reached the Highest Goal-Him do I call a brahmana

๕. ทิวา  ตปติ  อาทิจฺโจ     รตฺติมาภาติ  จนฺทิมา 
    สนฺนทฺโธ  ขตฺติโย  ตปติ   ฌายี  ตปติ  พฺราหฺมโณ 
    อถ  สพฺพมโหรตฺตึ  พุทฺโธ   ตปติ  เตชสา ฯ๓๘๗ฯ


พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน พระจันทร์ สว่างกลางคืน นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน

By day the sun shines. By night the moon is bright. Armoured shines the warrior.
In meditation the brahmana glows. But all day and all night, The Buddha shines in splendour.

๖. พาหิตปาโป  หิ  พฺราหฺมโณ           
    สมจริยา  สมโณติ  วุจฺจติ 
    ปพฺพาชยมตฺตโน  มลํ  
    ตสฺมา  ปพฺพชิโตติ  วุจฺจติ ฯ๓๘๘ฯ

ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้ ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้

Without evil he is called a brahmana. He who lives in peace is called a samana. 
With all impurities gone, A pabbajita is he called.

๗. น  พฺราหฺมณสฺส  ปหเรยฺย  นาสฺส  มุญฺเจถ  พฺราหฺมโณ 
    ธิ  พฺราหฺมณสฺส  หนฺตารํ   ตโต  ธิ  ยสฺส  มุญฺจติ ฯ๓๘๙ฯ


ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช) และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตำหนิ แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตำหนิกว่า

One should not strike a brahmana, Nor such a brahmana vent his wrath on him. 
Woe to him who strikes a brahamana. More woe to him who gives way to his wrath.

๘. น  พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ  เสยฺโย       
    ยทา  นิเสโธ  มนโส  ปิเยหิ 
    ยโต  ยโต  หึสมโน  นิวตฺตติ      
    ตโต  ตโต  สมฺมติเมว  ทุกฺขํ ฯ๓๙๐ฯ

ไม่มีอะไรจะดีสำหรับพราหมณ์ เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์ เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ

Naught is better for a brahmana. Than restraint of mind from what is dear. 
Whenever his ill will has been put aside, Then and then only his sorrow subsides.

๙. ยสฺส  กาเยน  วาจาย   มนสา  นตฺถิ  ทุกฺกฏํ 
    สํวุตํ  ตีหิ  ฐาเนหิ     ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๑ฯ


ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ สำรวมระวังทั้งสามทวาร ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He in whom there is no evil done, Through body speech or mind, 
He who is restrained in the three ways-Him do I call a brahmana.

๑๐. ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยฺย   สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ 
    สกฺกจฺจํ  ตํ  นมสฺเสยฺย    อคฺคิหุตฺตํว  พฺราหฺมโณ ฯ๓๙๒ฯ


เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง จากบุคคลใด ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ

From whom one knows the Truth Sublime Which the Awakened One proclaimed, 
Devotedly should one revere him, As a brahmana tends the sacrificial fire.

๑๑. น  ชฏาหิ  น  โคตฺเตน   น ชจฺจา  โหติ  พฺราหฺมโณ 
     ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม  จ   โส  สุจี  โส  จ  พฺราหฺมโณ ฯ๓๙๓ฯ


มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร มิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม ย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์

Not by matted hair, nor by clan, nor by birth, Does one become a brahmana. 
In whom there are truth and righteouseness, Pure is he, a brahmana is he.

๑๒. กึ  เต  ชฏาหิ  ทุมฺเมธ  กึ  เต  อชินสาฏิยา 
    อพฺภนฺตรํ  เต  คหณํ      พาหิรํ  ปริมชฺชสิ ฯ๓๙๔ฯ


เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์ จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเจ้า ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง

What use of your matted hair, O foolish one? And what of your entelope-garment? 
Full of impurities is your mind, You embellish only the outside.

๑๓. ปํสุกูลธรํ  ชนฺตุํ    กิสํ  ธมนิสนฺถตํ 
    เอกํ  วนสฺมึ  ฌายนฺตํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๕ฯ


ผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น บำเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว เราเรียกว่า พราหมณ์

Clad in rag-robes and lean, With body overspread by veins, 
Meditationg in the forest alone-Him do I call a brahmana.

๑๔. น  จาหํ  พฺราหฺมณํ  พฺรูมิ   โยนิชํ  มตฺติสมฺภวํ 
    โภวาที  นาม  โส  โหติ     ส  เว  โหติ  สกิญฺจโน 
    อกิญฺจนํ  อนาทานํ     ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๖ฯ


เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์ หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์ เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์ หากเขายังมีกิเลสอยู่ เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

I do not call him a brahmana Merely because he is born of a womb 
Or sprung from a brahmani. If he is full of impediments, He is merely a brahmana by name. 
He who is free from impediments and clinging-Him do I call a brahmana.

๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ  เฉตฺวา   โย  เว  น  ปริตสฺสติ 
    สงฺคาติคํ  วิสํยุตฺตํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ๓๙๗ฯ

ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ เป็นอิสระจากเครื่องจองจำคือกิเลส ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who has cut off all bonds, He who trembles not, 
He who is free and unbound-Him do I call a brahmana.

๑๖. เฉตฺวา  นทฺธึ  วรตฺตญฺจ   สนฺทานํ  สหนุกฺกมํ 
    อุกฺขิตฺตปลิฆํ  พุทฺธํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๘ฯ


ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา) เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has cut off the strap (of hatred), The thong (of craving), 
The rope (of heresies), Together with all tendencies: He who has thrown up the cross-bar 
(ignorance) And has realized the Truth- Him do I call a brahmana.

๑๗. อกฺโกสํ  วธพนฺธญฺจ      อทุฏฺโฐ  โย  ติติกฺขติ 
    ขนฺติพลํ  พลานีกํ              ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ๓๙๙ฯ


ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า และการลงโทษจองจำ มีขันติเป็นกำลังทัพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who is not wrathful Bears reviling, blows and bonds, Whose power, the potent army, is patience-Him do I call a brahmana.

๑๘. อกฺโกธนํ  วตวนฺตํ  สีลวนฺตํ  อนุสฺสทํ 
    ทนฺตํ  อนฺติมสารีรํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๐ฯ


ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต หมดกิเลสฝึกฝนตน มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์

He who is free from anger, He who is dutiful and righteous, He who is without craving, and controlled; And he who bears his final body-Him do I call a brahmana.

๑๙. วาริ  โปกฺขรปตฺเตว    อารคฺเคริว  สาสโป 
    โย  น  ลิปฺปติ  กาเมสุ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๑ฯ


ผู้ใดไม่ติดในกาม เหมือนหยาดน้ำไม่ติดใบบัว และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

Like water on a lotus leaf, Like a mustard seed on a needle's point, 
He who clings not to sensual pleasures-Him do I call a brahmana.

๒๐. โย  ทุกฺขสฺส  ปชานาติ    อิเธว  ขยมตฺตโน 
    ปนฺนภารํ  วิสํยุตฺตํ  ตมหํ   พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ๔๐๒ฯ


ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้ หมดภาระแบกหามกิเลส เป็นอิสระจากกิเลส เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has realized in this world. The destruction of his own ill, 
Who has put aside the burden and is freed-Him do I call a brahmana.

๒๑. คมฺภีรปญฺญํ  เมธาวึ    มคฺคามคฺคสฺส  โกวิทํ 
    อุตฺตมตฺถํ  อนุปฺปตฺตํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๓ฯ


ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม เราเรียกว่า พราหมณ์

He whose wisdom is deep, Who is wise and skilled. In the right and wrong means, Who has reached the Highest Goal- Him do I call a brahmana.

๒๒. อสํสฏฺฐํ  คหฏฺเฐหิ   อนาคาเรหิ  จูภยํ 
    อโนกสารึ  อปฺปิจฺฉํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๔ฯ


ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย คือคฤหัสถ์และบรรพชิต จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย เราเรียกว่า พราหมณ์

He who is not intimate With both householder and homeless, 
Who with no fixed abode Wanders, wanting but little- Him do I call a brahmana.

๒๓. นิธาย  ทณฺฑํ  ภูเตสุ   ตเสสุ  ถาวเรสุ  จ 
    โย  น  หนฺติ  น  ฆาเตติ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๕ฯ


ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has given up harming creatures, Whether feeble or strong, 
Who neither kills nor causes to kill-Him do I call a brahmana.

๒๔. อวิรุทฺธํ  วิรุทฺเธสุ   อตฺตทณฺเฑสุ  นิพฺพุตํ 
    สาทาเนสุ  อนาทานํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๖ฯ


ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์

Friendly among the hostile, Peaceful among the violent, 
Ungrasping among the grasping-Him do I call a brahmana.

๒๕. ยสฺส  ราโค  จ  โทโส  จ   มาโน  มกฺโข  จ  ปาติโต 
    สาสโปริว  อารคฺคา   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหมณํ ฯ๔๐๗ฯ


ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

In whom lust, hatred, pride And detraction are fallen off, 
As a mustard seed from the needle's point-Him do I call a brahmana.

๒๖. อกกฺกสํ  วิญฺญาปนึ   คิรํ  สจฺจํ  อุทีรเย 
    ยาย  นาภิสเช  กญฺจิ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๘ฯ


ผู้พูดถ้อยคำนิ่มนวล แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง ไม่กระทบกระทั่งใคร เราเรียกว่า พราหมณ์

He who utters words Gentle, instructive and true, 
He who gives offence to none Him do I call a brahmana.

๒๗. โยธ  ทีฆํ  วา  รสฺสํ  วา   อณุํ  ถูลํ  สุภาสุภํ 
    โลเก  อทินฺนํ  นาทิยติ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๙ฯ


ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น ไม่ว่าสั้นหรือยาว เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who in this world Takes not what is not given, Be it long or short, Small or great, fair or foul-Him do I call a brahmana.

๒๘. อาสา  ยสฺส  น  วิชฺชนฺติ   อสฺมึ  โลเก  ปรมฺหิ จ 
    นิราสยํ  วิสํยุตฺตํ       ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๐ฯ


ผู้ใดไม่มีความอยาก ในโลกนี้และโลกหน้า หมดกิเลส เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who has no longing Either for this world or nexto world, 
Who is detached and emancipated-Him do I call a brahmana.

๒๙. ยสฺสาลยา  น  วิชฺชนฺติ   อญฺญาย อกถํกถี 
    อมโตคธํ  อนุปฺปตฺตํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๑ฯ


ผู้ใดหมดตัณหา หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง ลุถึงอมตนิพพานแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who has no more longing, Who through knowledge is free from doubts, 
Who has plunged deep into the Deathless- Him do I call a brahmana.

๓๐. โยธ  ปุญฺญญฺจ  ปาปญฺจ   อุโภ  สงฺคํ  อุปจฺจคา 
    อโสกํ  วิรชํ  สุทฺธํ   ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๒ฯ

ผู้ละบุญละบาปได้ พ้นกิเลสผูกพัน ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์ เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has passed beyond Good and bad and attachment, Who is sorrowless, stainless and pure-Him do I call a brahmana.

๓๑. จนฺทํว  วิมลํ  สุทฺธํ   วิปฺปสนฺนํ  อนาวิลํ 
    นนฺทิภวปริกฺขีณํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๓ฯ

ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ ผ่องใส หมดความพอใจในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์

He who is pure as the spotless moon, He who is serene and clear, 
He who has ended delight in existence-Him do I call a brahmana.

๓๒. โย  อิมํ  ปลิปถํ  ทุคฺคํ   สํสารํ  โมหมจฺจคา 
    ติณฺโณ  ปารคโต  ฌายี   อเนโช  อกถํกถี 
    อนุปาทาย  นิพฺพุโต   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๔ฯ

ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้ ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน 
หมดตัณหา หมดความสงสัย หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has passed beyond This quagmire, this difficult path, The ocean (of life) and delusion, Who has crossed and gone beyond, 
Who is meditative, desireless and doubtless, Who, clinging to nought, has attained Nibbana- Him do I call a brahmana.

๓๓. โยธ  กาเม  ปหตฺวาน    อนาคาโร  ปริพฺพเช 
    กามภวปริกฺขีณํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ฯ

ผู้ละกามารมณ์ ออกบวชไม่มีเรือน หมดความใคร่ในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์

He who, giving up sensual pleasures, Would renounce and become a homeless one, 
Who has removed the lust of becoming-Him do I call a brahmana.

๓๔. โยธ  ตณฺหํ  ปหตฺวาน   อนาคาโร ปริพฺพเช 
    ตณฺหาภวปริกฺขีณํ  ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๖ฯ

ผู้ละตัณหา ออกบวชไม่มีเรือน หมดความอยากในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์

He who, giving up craving, Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-Him do I call a brahmana.

๓๕. หิตฺวา  มานุสกํ  โยคํ    ทิพฺพํ  โยคํ  อุปจฺจคา 
    สพฺพโยควิสํยุตฺตํ      ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ๔๑๗ฯ

ผู้ละเครื่องผูกพัน ทั้งของมนุษย์และเทวดา  หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์

He who, discarding human ties, And transcending celestial ties, Is completely freed from all ties-Him do I call a brahmana.

๓๖. หิตฺวา  รติญฺจ  อรติญฺจ   สีติภูตํ  นิรูปธึ 
    สพฺพโลกาภิภุํ  วีรํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๘ฯ

ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส) อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล เราเรียกว่า พราหมณ์

He who has given up delight and aversion, Who is cooled and without attachments,
Strenuous and victorious over the world-Him do I call a brahmana.

๓๗. จุตึ  โย  เวทิ  สตฺตานํ   อุปปตฺติญฺจ  สพฺพโส 
        อสตฺตํ  สุคตํ  พุทฺธํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๙ฯ

ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์

He who perfectly understands The rise and fall of all beings, 
Who is detached, well-hone and enlightened-Him do I call a brahmana.

๓๘. ยสฺส  คตึ  น  ชานนฺติ     เทวา  คนฺธพฺพมานุสา 
    ขีณาสวํ  อรหนฺตํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๐ฯ

เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ทราบทางไปของผู้ใด ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He whose way is unknown To hods, gandharvas and men, Who has destroyed all defilements 
And who has become enlightened-Him do I call a brahmana.

๓๙. ยสฺส  ปุเร  จ  ปจฺฉา  จ   มชุเฌ  จ  นตฺถิ  กิญฺจนํ 
    อกิญฺจนํ  อนาทานํ    ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๑ฯ

ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต) ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่ที่สุด (อนาคต) ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์

He who clings not to the past, The present and the future, too, 
Who has no clinging and grasping- Him do I call a brahmana.

๔๐. อุสภํ  ปวรํ  วีรํ   มเหสึ  วิชิตาวินํ 
    อเนชํ  นหาตกํ  พุทฺธํ   ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ๔๑๒ฯ

มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า ชำนะ ปราศจากตัณหา บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์

The fearless, the noble, the hero, The great sage, the conqueror, 
The desireless, the pure, the enlightened-Him do I call a brahmana.

๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ  โย  เวทิ   สคฺคาปายญฺจ  ปสฺสติ 
    อโถ  ชาติกฺขยํ  ปตฺโต     อภิญฺญาโวสิโต  มุนิ 
    สพฺพโวสิตโวสานํ     ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๓ฯ

มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน เห็นสวรรค์และอบาย ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป รู้แจ้งเห็นจริง บำเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์

The sage who knows his previous births, Who sees heaven and hell, 
Who has reached the end of births, Who has attained to insight-wisdom, 
Who has completed his holy life- Him do I call a brahmana.

ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก
ที่มา : dhammathai

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA





วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5. หมวดคนพาล - THE FOOL

5. หมวดคนพาล - THE FOOL

1. ทีฆา  ชาครโต  รตฺติ    ทีฆํ  สนฺตสฺส  โยชนํ
    ทีโฆ  พาลาน  สํสาโร   สทฺธมฺมํ  อวิชานตํ ฯ60ฯ


ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม

Long is the night to the wakeful, Long is the Yojana to the weary, Long is Samsara to the foolish Who know not the true doctrine.

2. จรญฺเจ  นาะคจฺเฉยฺย   เสยฺยํ  สทิสมตฺตโน
    เอกจริยํ  ทฬฺหํ  กยิรา   นตฺถิ  พาเล  สหายตา ฯ61ฯ


หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน หรือเพื่อนที่เสมอกับตน ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล

If, as he fares, he finds no companion Who is better or equal, Let him firmly pursue his solitary course; There is no fellowship with the foot.

3. ปุตฺตา  มตฺถิ*  ธนมตฺถิ   อิติ  พาโล  วิหญฺญติ
    อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นตฺถิ    กุโต  ปุตฺตา  กุโต  ธนํ ฯ62ฯ  
*ปุตฺตมตฺถิ  ธนมตฺถิ (ก.)

คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร

'I have some, I have wealth'; So thinks the food and is troubled. He himself is not his own. How then are sons, how wealth?

4. โย  พาโล  มญฺญติ  พาลฺยํ   ปณฺฑิโต  วาปิ  เตน  โส
    พาโล  จ  ปณฺฑิตามานี    ส  เว  พาโลติ  วุจฺจติ ฯ63ฯ


คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่ ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่โง่แล้ว อวดฉลาด นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้

A fool aware of his stupidity Is in so far wise, But the fool thinking himself wise Is called a fool indeed.

5. ยาวชีวมฺปิ  เจ  พาโล     ปณฺฑิตํ   ปยิรุปาสติ 
    น  โส  ธมฺมํ  วิชานาติ    ทพฺพี  สูปรสํ  ยถา ฯ64ฯ


ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง

Though through all his life A fool associates with a wise man, He yet understands not the Dhamma,
As the spoon the flavour of soup.

6. มุหุตฺตมฺปิ  เจ  วิญฺญู   ปณฺฑิตํ  ปยิรุปาสติ
    ขิปฺปํ  ธมฺมํ  วิชานาติ   ชิวฺหา  สูปรสํ  ยถา ฯ65ฯ


ปัญญาชน คบบัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม เหมือนลิ้นรู้รสแกง

Though, for a moment only, An intelligent man associates with a wise man, Quickly he understands the Dhamma, As the tongue the flavour of soup.

7. จรนฺติ  พาลา  ทุมฺเมธา   อมิตฺเตเนว  อติตนา
    กโรนฺตา  ปาปกํ  กมฺมํ   ยํ  โหติ  กฎุกปฺผลํ ฯ66ฯ


เหล่าคนพาล ปัญญาทราม ทำตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง
เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน

Fools of little wit Behave to themselves as enemies, Doing evil deeds The fruits wherof are bitter.

8. น  ตํ  กมฺมํ  กตํ  สาธุ   ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
    ยสฺส  อสฺสุมุโข  โรทํ   วิปากํ  ปฏิเสวติ ฯ67ฯ


กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง อีกทั้งทำให้ร้องไห้น้ำตานอง รับสนองผลของการกระทำ
กรรมนั้นไม่ดี

That deed is not well done, After doing which one feels remorse And the fruit whereof is received
With tears and lamentations.

9. ตญฺจ  กมฺมํ  กตํ  สาธุ    ยํ  กตฺวา  นานุตปฺปติ
    ยสฺส  ปตีโต  สุมโน     วิปากํ  ปฏิเสวติ ฯ68ฯ


กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง ทั้งผู้กระทำก้เบิกบานสำราญใจ ได้เสวยผลของการกระทำ
กรรมนั้นดี

Well done is that deed which, done, brings no regret; The fruit whereof is received The fruit whereof is received With delight and satisfaction.

10. มธุวา  มญฺญตี  พาโล   ยาว  ปาปํ  น  ปจฺจติ
     ยทา  จ  ปจฺจตี  ปาปํ   อถ  (พาโล)  ทุกฺขํ  นิคจฺฉติ ฯ69ฯ


ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปหวานปานน้ำผึ้ง เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์

An evil deed seems sweet to the fool so long as it does not bear fruit; but when it ripens,
The fool comes to grief.

11. มาเส​  มาเส  กุสคฺเคน   พาโล  ภุญฺเชถ  โภชนํ
     น  โส  สงฺขาตธมฺมานํ   กลํ  อคฺฆติ  โสฬสึ ฯ70ฯ


คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดืน การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม

Month after month the fool may eat his food With the tip of Kusa srass; Nonetheless he is not worth the sixteenth part Of those who have well understood the Truth.

12. น  หิ  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ   สชฺชุขีรํว  มุจฺจติ
      ฑหนฺติ  พาลมเนฺวติ   ภสฺมาจฺฉนฺโนว  ปาวโก ฯ71ฯ


กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด เหมือนนมรีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที
แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง หมือนไฟไหม้แกลบ

An evil deed committed Does not immediately bear fruit, Just as milk curdles not at once;
Smouldering life covered by ashes, It follows the fool.

13. ยาวเทว  อนตฺถาย   ญตฺตํ  พาลสฺส  ชายติ
      หนฺติ  พาลสฺส  สุกฺกํสํ    มุทฺธมสฺส  วิปาตยํ ฯ72ฯ


คนพาลได้ความรู้มา เพื่อการทำลายถ่ายเดียว ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป

The fool gains knowledge Only for his ruin; It destroys his good actions And cleaves his head.


14. อสนฺตํ  ภาวมิจฺเฉยฺย   ปุเรกฺขารญฺจ  ภิกฺขุสุ
    อาวาเสสุ  จ  อิสฺสริยํ    ปูชา  ปรกุเลสุ  จ ฯ73ฯ


ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด อยากเป็นเจ้าอาวาส อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย

A foolish monk desires undue reputation, Precedence among monks, Authority in the monasteries,
Honour among other families.

15. มเมว  กตมญฺญนฺตุ   คิหี  ปพฺพชิตา  อุโภ
    มเมว  อติวสา  อสฺสุ     กิจฺจาจฺเจสุ  กิสฺมิจิ
    อิติ  พาลสฺส  สงฺกปฺโป   อิจฺฉา  มาโน  จ  วฑฺฒติ ฯ74ฯ


"ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต จงสำคัญว่า เราเท่านั้นทำกิจนี้ ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล้ก" ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้ ความทะเยอทะยาน และวามหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น

'Let both laymen and monks think, By me only was this done; In every work, great or small, Let them refer to me .' Such is the ambition of the fool; His desire and pride increase.

16. อญฺญา  หิ  ลาภูปนิสา   อญฺญา  นิพฺพานคามินี
    เอวเมตํ  อภิญฺญาย     ภิกฺขุ  พุทฺธสฺส  สาวโก
    สกฺการํ  นาภนนฺเทยฺย   วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ75ฯ


ทางหนึ่งแสวงหาลาภ ทางหนึ่งไปนิพพาน รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก ไม่ควรไยดีลาภสักการะ
ควรอยู่อย่างสงบ

One is the way to worldly gain; To Nibbana another leads. Clearly realizing this, The bhikkhu, disciple of the Buddha, Should not delight in worldly favour, But devote himself to solitude.

ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก

ที่มา : dhammathai

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

“พระมหาไพรวัลย์” มองจัดระเบียบพระ “อย่าตึงไป-ตามโลกให้ทันด้วย”

“พระมหาไพรวัลย์” มองจัดระเบียบพระ “อย่าตึงไป-ตามโลกให้ทันด้วย” 

พระมหาไพรวัลย์ มองการจัดระเบียบพระสงฆ์อย่าให้ตึงไป ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง ชี้ ถ้าระเบียบการปกครองช่วยให้การปฏิบัติตามพระวินัยเข้มข้นขึ้นก็เห็นสมควร 

รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสข่าวเรื่องมหาเถรสมาคม พระเถระ และเจ้าคณะชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ต่าง ๆ ออกคำสั่งที่ระบุข้อห้าม และข้อกำชับให้ดูแลพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัยหลายข้อได้รับความสนใจจากชาวพุทธ 

คำสั่งและข้อกำชับมีทั้งห้ามวัดปล่อยปละละเลยให้จัดแผงพระ วัตถุมงคล พุ่มมงคล ภายในบริเวณต่าง ๆ ห้ามติดแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดสร้างจัดทำวัตถุมงคลภายในบริเวณวัด งดขึ้นป้ายงานพุทธาภิเษก พร้อมละเว้นการเรี่ยไร 

ตรวจสอบพฤติกรรมและลงโทษพระภิกษุสามเณรในปกครองที่วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงตนกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสงบสุขของประชาชน หรือส่อไปในทางยั่วยุ ปลุกปั่น ทำลาย ก้าวร้าวรุนแรง และไม่สร้างสรรค์

เจ้าคณะชั้นผู้ใหญ่บางพื้นที่ออกคำสั่งให้งดเว้นการเล่นสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดัง โดยห้ามโพสต์ภาพ ข้อความวิจารณ์ต่าง ๆ และ กดแชร์ 

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า เบื้องต้นต้องพิจารณาคำสั่งต่าง ๆ ว่าเป็นการประกาศห้ามใช้ หรือปรามเฉพาะการใช้งานที่หมิ่นเหม่ ส่วนตัวมองว่า น่าจะเป็นกรณีหลังมากกว่า โดยมองว่าต้องดูไปถึงกรณีตัวอย่างว่าเทียบเคียงกับอะไรเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น กรณีไหนเรียกว่าเป็นการวิจารณ์ที่กระทบต่อความมั่นคง กรณีไหนไม่กระทบ

ถ้ามองโดยรวม คิดว่ามีพระส่วนน้อยที่กระทำพฤติกรรมที่กระทบต่อความมั่นคง ถ้าจะตีความก็เป็นการตีความได้กว้างมาก คิดว่าอาจต้องมีกรณีเปรียบเทียบว่าแบบไหนเข้าข่าย โดยปกติแล้วไม่ว่าฝ่ายไหนวิจารณ์ ต่างฝ่ายต่างวิจารณ์กันก็มักจะอ้างว่าหวังดีต่อประเทศ” 

สำหรับกรณีการขึ้นป้ายโฆษณา ชักชวนการปลุกเสก เครื่องรางของขลัง พระมหาไพรวัลย์ ระบุว่า คิดว่าที่ผ่านมาคณะสงฆ์ถูกวิจารณ์พอสมควรจึงจำเป็นต้องออกคำสั่ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จำเป็นสำหรับกรณีขึ้นป้ายโฆษณาที่เป็นสิ่งมอมเมาต่าง ๆ 

เมื่อสอบถามถึงกรณี การแสดงกิริยาที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดจากภิกษุสามเณร พระมหาไพรวัลย์ แสดงความคิดเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วต้องไปอยู่ในขั้นอุปสมบท อุปชา อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านแสดงออกและมีภาพที่เกิดความเสียหายออกไป บางครั้งเป็นการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมต่อภาพสมณะ เช่นใช้ย่ามที่มีสีสัน ทาปาก ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ควบคุมหรือหาทางแก้จะเป็นกรณีที่ทำให้ศาสนายุ่งเหยิง บั่นทอนศรัทธา การที่จะออกกฎก็เห็นว่าเป็นการสมควร

โดยรวมแล้ว การบังคับใช้ควรคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่ให้ตึงไป ท่าทีในการบังคับใช้ก็ควรใช้ลักษณะพระคุณ มากกว่าพระเดช” พระมหาไพรวัลย์ กล่าว

สำหรับกรณีการชำระระเบียบพระสงฆ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พระมหาไพรวัลย์ อธิบายว่า พระวินัยไม่สามารถบัญญัติเพิ่มเติมได้ แต่คณะสงฆ์มีอำนาจในการปกครอง การออกกฎระเบียบของคณะสงฆ์จะต้องสอดคล้องกับพระวินัย ถ้าดูแล้วช่วยให้การทำตามพระวินัยเข้มข้นขึ้นก็คิดว่าไม่เสียหาย

คิดว่าการออกกฎก็ต้องตามโลกาภิวัฒน์ให้ทัน ตามให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในโลก” พระมหาไพรวัลย์ กล่าว 

ที่มา : gmlive