วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มิตรภาพมั่นคง

มิตรภาพมั่นคง

ตสฺมา  นาภิกฺขณํ  คจฺเฉ,    น  จ  คจฺเฉ  จิราจิรํ;
กาเลน  ยาจํ  ยาเจยฺย,    เอวํ  มิตฺตา  น  ชียเร.

เหตุนั้น จึงไม่ควรไปมาหากันพร่ำเพรื่อ  แต่ก็ไม่ควรเหินห่างกันจนเกินไป
และขอสิ่งที่ควรขอตามกาลอันควร  อย่างนี้ มิตรทั้งหลายย่อมไม่จืดจาง.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๓, มหารหนีติ ๑๕๓, ขุ. ชา. ๒๘/๕๕ มหาโพธิชาดก)

ศัพท์น่ารู้ :

ตสฺมา  (เพราะเหตุนั้น, เพราะฉะนั้น) ต+สฺมา เป็นสัพพนาม

นาภิกฺขณํ  ตัดบทเป็น น+อภิกฺขณํ (เนื่อง ๆ, บ่อย ๆ, พร่ำเพรื่อ หามิได้) อภิกฺขณ+อํ = อภิกฺขณํ

คจฺเฉ  (พึงไป, ควรไป) √คมุ+อ+เอยฺย แปลง ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ. (รู ๔๔๒)

น  (ไม่, หามิได้) จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต,

คจฺเฉ  (ควรไป) √คมุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

จิราจิรํ  (นานแสนนาน, นานเกิน, เนิ่นนาน) จิร+อจิร > จิราจิร+อํ

กาเลน (ตามกาล) กาล+นา

ยาจํ  (สิ่งที่ควรขอ) ยาจ+อํ หรือ ยาจนฺต+สิ = ยาจํ (ขออยู่, เมื่อขอ)

ยาเจยฺย (พึงขอ, ควรขอ) √ยาจ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

เอวํ  (อย่างนี้) นิบาต

มิตฺตา  (มิตร, เพื่อน ท.) มิตฺต+โย

  (ไม่, หามิได้)

ชียเร  (ย่อมแก่, หง่อม, จืดจาง, แหนงหน่าย) √ชร+อ+อนฺติ แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เหตุนั้น ไม่ควรไปหากันให้บ่อยนักแลไม่พึงเหินห่าง กันเนิ่นนาน 

พึงขอกันตามเวลาอันควร อย่างนี้  ความเป็นมิตรจึ่งจะไม่จืดจาง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ไม่ควรไปมาหาสู่กันบ่อยเกินไป  แต่ก็ไม่ควรเหินห่างให้เนิ่นนานนัก

ควรขอกันในคราวที่ควรขอ  อย่างนี้ความเป็นเพื่อนก็จะไม่จึดจางไป.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 






วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้

เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้

เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้  อย่าหาสุขไกล จงหาสุขใกล้ หากรักษาจิตมิให้ตกไปในอารมณ์ตามอำนาจกิเลส ก็พอจะมีความสุขได้ในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่

มีพระพุทธพจน์ว่า

สุทุทฺทสํ  สุนิปุณํ        ยตฺถ  กามนิปาตินํ
จิตฺตํ  รกฺเขถ  เมธาวี   จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวหนฺติ ฯ

แปลความว่า

“ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,  (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้” ดังนี้ ฯ

ท่านพระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า

บทว่า  “ที่เห็นได้แสนยาก” ได้แก่ ยากที่จะเห็นได้ด้วยดี.  บทว่า “ละเอียดยิ่งนัก” คือ ละเอียดที่สุด ได้แก่ ละเอียดอย่างยิ่ง.   บาทพระคาถาว่า “มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่” คือ มักไม่พิจารณาดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น (ของตน) แต่ตกไป (ตรึกไป) ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะที่ตนพึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร

บาทพระคาถาว่า “ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต” คือ คนอันธพาลผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าสามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี เขาเป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย,  ส่วนผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิตเท่านั้น ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้

เพราะเหตุนั้น จงคุ้มครองจิตไว้ให้ได้  เพราะว่า  จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.

________

สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรค (เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 

28/6/65

ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใดจิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง

พุทธอุทยานมาฆบูชาอนุสรณ์ สวนพุทธชยันตี จ.นครนายก

ตั้งอยู่ใกล้กับน้ำตกสาลิกา บนพื้นที่ 53 ไร่ มีจุดเด่น คือ พระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์องค์ใหญ่ ล้อมรอบด้วยเหล่าอรหันต์สาวก 1,250 รูป มาประชุมกันพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชาMāgha Pūjā Dayสาระสำคัญของวันมาฆบูชา , 








วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing

Mangala Sutta Chanting: The greatest blessing

Buddhist Meditation Mantra for Positive Energy:  Mangala Sutta Chanting: The greatest blessing

I heard these words of the Buddha one time when the Lord was living in the vicinity of Savatthi at the Anathapindika Monastery in the Jeta Grove. Late at night, a deva appeared whose light and beauty made the whole Jeta Grove shine radiantly. After paying respects to the Buddha, the deva asked him a question in the form of a verse:

“Many gods and men are eager to know 

what are the greatest blessings

which bring about a peaceful and happy life.

Please, Tathagata, will you teach us?”


(This is the Buddha’s answer):


“Not to be associated with the foolish ones,

to live in the company of wise people,

honoring those who are worth honoring —

this is the greatest happiness.


“To live in a good environment,

to have planted good seeds,

and to realize that you are on the right path —

this is the greatest happiness.


“To have a chance to learn and grow,

to be skillful in your profession or craft,

practicing the precepts and loving speech —

this is the greatest happiness.


“To be able to serve and support your parents,

to cherish your own family,

to have a vocation that brings you joy —

this is the greatest happiness.


“To live honestly, generous in giving,

to offer support to relatives and friends,

living a life of blameless conduct —

this is the greatest happiness.


“To avoid unwholesome actions,

not caught by alcoholism or drugs,

and to be diligent in doing good things —

this is the greatest happiness.


“To be humble and polite in manner,

to be grateful and content with a simple life,

not missing the occasion to learn the Dharma —

this is the greatest happiness.


“To persevere and be open to change,

to have regular contact with monks and nuns,

and to fully participate in Dharma discussions —

this is the greatest happiness.


“To live diligently and attentively,

to perceive the Noble Truths,

and to realize Nirvana —

this is the greatest happiness.


“To live in the world

with your heart undisturbed by the world,

with all sorrows ended, dwelling in peace —

this is the greatest happiness.


“For he or she who accomplishes this,

unvanquished wherever she goes,

always he is safe and happy —

happiness lives within oneself.”

The word "Mangala" means "blessing", "auspicious sign" or "good omen". In ancient India, people wanted to know what constituted a real blessing that makes life happy for them.

This issue was even raised among deities (devas) in the heavenly planes. For twelve years the deities argued, debated and discussed about it. Some referred "blessing" as what is pleasurable to the senses - things that are pleasing to the eyes, ears, nose, tongue and body.

However, no satisfactory answer could be obtained.

Then devas of Tavatimsa heavenly realm approached Sakka, the leader of the devas, for his views. Sakka advised the devas to consult the Buddha. Thus in the middle of the night, a certain deity with his surpassing splendour, came to visit the Buddha at the monastery of Anāthapindika in Jeta’s Grove near Sāvatthi. He asked the Buddha for the true meaning of

"blessing". In response, the Buddha delivered a discourse known as Mangala Sutta, in which thirty-eight highest blessings were enumerated. Mangala Sutta is customarily chanted for blessings on auspicious occasions. Besides, these

thirty-eight blessings are ethical and spiritual in nature, providing a step-by-step training on the journey of life. It contains Buddha’s advice and guidance for the ‘novice’ of life, and ultimately leads one to liberation from suffering.

Highest blessings , มงคลสูตร , อุดมมงคล , มงคลที่ ๓๘ จิตอันเกษม เป็นอุดมมงคล

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom







วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มิตรภาพจืดจาง

มิตรภาพจืดจาง

สจฺจาภิกฺขณสํสคฺคา,     อสโมสรเณน  จ;
เอเตน  มิตฺตา  ชิรนฺติ,    อกาเล  ยาจเนน  จ.

จริงอยู่ มิตรทั้งหลายย่อมแหนงหน่ายกัน  เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ :  เพราะคลุกคลีกันมากเกินไป ๑  เพราะไม่ไปมาหาสู่กันบ้าง ๑ และ เพราะขอกันในเวลาอันไม่สมควร ๑.

(ธรรมนีติ ๑๐๒ มิตตกถา, มหารหนีติ ๑๕๒ ขุ. ชา. ๒๘/๕๕ มหาโพธิชาดก)

ศัพท์น่ารู้ :

สจฺจาภิกฺขณสํสคฺคา  (เพราะการเกี่ยวข้องบ่อยเกินไป, เพราะคลุกคลีแล้วเนื่อง ๆ -บ่อยๆ) อภิกฺขณ (บ่อย ๆ, เนือง ๆ) + สํสคฺค (เกี่ยวข้องแล้ว, คลุกคลีแล้ว) > อภิกฺขณสํสคฺค+สฺมา (สํสคฺค มาจาก สํ+√สชฺช+ต แปลง ต กันที่สุดธาตุเป็น คฺค § ภนฺชโต คฺโค จ. (รู ๖๒๘) เป็น สชฺ-คฺค ลบ ลบ ชฺ ด้วย จ ศัพท์ ในสูตรว่า พฺยญฺชโน จ วิสญฺโญโค. (รู ๕๖) รวมเป็น สํสคฺค)

อสโมสรเณน  (เพราะไม่สโมสรณ์, ไม่ประชุมกัน, ไม่มาหากัน) น+สโมสรณ (สํ+อว+√สร+ยุ) > อสโมสรณ+นา

(ด้วย, และ) นิบาตรวบรวมพากย์

เอเตน (ด้วยเหตุนั้น) ต+นา สัพพนาม

มิตฺตา (เพื่อน, มิตร ท.) มิตฺต+โย

ชิรนฺติ,  ชีรนฺติ  (ย่อมแก่, ชรา, เสื่อม, จาง, จึดจาง, แหนงหน่าย) √ชร+อ+อนฺติ ภูวาทิ.​ กัตตุ. แปลง ชร เป็น ชีร ได้บ้าง § ชร-มรานํ ชีร-ชียฺย-มียฺยา วา. (รู ๔๘๒)

อกาเล  (ในไม่ใช่กาล, มิใช่กาล, ไม่เหมาะกับเวลา) น+กาล > อกาล+สฺมึ

ยาจเนน  (เพราะการขอ, การอ้อนวอน) ยาจน+นา

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เป็นความจริง เพราะเหตุที่เกี่ยวข้องจู้จี้กันก็ดี  เพราะเหินห่างเสียทีเดียวก็ดี 

เพราะไม่ขอเป็นเวลาก็ดี ด้วยเหตุสามนี้ มิตรทั้งหลายย่อมจางกันได้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เป็นความจริง เพราะเกี่ยวข้องกับใกล้ชิดเกินไปก็ดี  เพราะเหตุที่เหินห่างเกินกันก็ดี  

เพราะขอไม่เป็นเวลาก็ดี  ด้วยเหตุทั้งสามนี้ เพื่อนก็จืดจางได้.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

วัดหายโศก​ จังหวัดอุดรธานี

เป็นวัดที่สร้างอุโบสถและเสนาสนะต่างๆด้วยศิลาแลงเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น สวยงาม ตั้งอยู่ที่บ้านหายโศก ต.หนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี





ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด มารย่อมรังควานบุคคลผู้ประมาทได้ฉันนั้น

ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด มารย่อมรังควานบุคคลผู้ประมาทได้ฉันนั้น

บุคคลผู้ประมาท คือคนที่ขาดความรอบคอบหรือขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตัว

๑. ขาดความรอบคอบ เพราะมักตามเห็นอารมณ์ว่างามอยู่เสมอ (ติดอยู่ในกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ)

๒. ขาดความระมัดระวัง ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลายเพราะทะนงตัว (ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)

๓. ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่พิจารณาก่อนรับประทานอาหาร บริโภคเพื่อสนุกสนานหรือมัวเมา

๔. เกียจคร้านไม่อยากทำงาน คือมักอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เวลาเย็นแล้ว ยังเช้าอยู่ หิวนัก ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน และมีความเพียรเลวเป็นคนเห็นแก่การดื่มกิน เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน เกียจคร้านเห็นแก่นอน คบคนชั่วเป็นมิตร

สมดังพระพุทธพจน์ว่า 

สุภานุปสฺสึ  วิหรนฺตํ    อินฺทฺริเยสุ  อสํวุตํ

โภชนมฺหิ  อมตฺตญฺญุํ   กุสีตํ  หีนวีริยํ

ตํ  เว  ปสหตี  มาโร   วาโต  รุกฺขํว  ทุพฺพลํ ฯ

มารย่อมรังควานคนที่ตามเห็นอารมณ์ว่างามอยู่ ผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ผู้เกียจคร้านมีความเพียรเลว เหมือนลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพ (ต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง) ได้ฉะนั้น ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรค

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 

25/6/65

จิตประณีตเริ่มจากคุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง





จิตประณีตเริ่มจาก…

จิตประณีตเริ่มจาก…

ฌาน คือภาวะจิตที่สงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก เกิดจากการเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ หรือสมาธิที่เจริญตามแนวของสัมมาสมาธิเป็นการตั้งจิตมั่นชอบ

องค์ฌานมี ๕ คือ

๑. วิตก (ตรึก)  

๒. วิจาร (ตรอง)  

๓. ปีติ (อิ่มใจ)  

๔. สุข (สบายใจ) 

๕. เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)

ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)  

๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)

๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)  

๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา)

ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่างฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ

๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)

๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)

ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ

สาระธรรมในจรณะ ๑๕ ในส่วนของฌาน ๔ (ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์หรือการเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

24/6/65

คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก...“บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง



วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565

บุคคลหาได้ยาก (๑๐)-จบ

บุคคลหาได้ยาก (๑๐)-จบ

ผมเขียนเรื่อง “บุคคลหาได้ยาก” ติดต่อกันมา ๙ ตอน โดยยึดเอาบุคคลหาได้ยาก ๔ คู่ ที่ผู้รู้ท่านแสดงไว้เป็นเค้าโครง คือ -

๑ บิดามารดากับบุตรธิดา

๒ ครูบาอาจารย์กับศิษยานุศิษย์

๓ พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร

๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธศาสนิกชน

เบื้องหลังของบทความชุดนี้ก็คือ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินี ผมแต่งกลอนถวายพระพรโพสต์ในเฟซบุ๊ก ตั้งอารมณ์ว่าขอแสดงความจงรักภักดีตามหน้าที่ของพสกนิกรเท่าที่พอจะมีสติปัญญา

เป็นที่รู้กันโดยเปิดเผยว่า เวลานี้มีคนที่แสดงตัวชัดเจนว่า “ไม่เอาสถาบัน” คนที่คิดเช่นนี้ไม่ได้คิดอยู่คนเดียวเงียบๆ แต่ได้เคลื่อนไหวแสดงแนวคิดและชักจูงคนอื่นๆ ให้คิดเหมือนตนด้วย

การคิดเช่นนั้น และแม้แต่การเคลื่อนไหวเช่นว่านั้นหากอยู่ในกรอบขอบเขต ก็ถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่ากัน

แนวคิดและการแสดงความจงรักภักดีดังที่ผมได้กระทำไปด้วยการแต่งกลอนถวายพระพรโพสต์ในเฟซบุ๊ก ก็ถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน และไม่ควรจะ “ว่า” กันด้วยเช่นกัน

แต่ผู้ที่คิดไม่เป็นเห็นไม่ได้ตามแนวเหตุผลดังว่านี้ เมื่อได้เห็นการแสดงความจงรักภักดีเช่นนั้น อาจรู้สึกว่า ผู้ที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันเป็นพวกโง่เง่างมงาย ใช้คำตามที่เคยนิยมใช้กันก็ว่า-พวกไดโนเสาร์ เต่าล้านปี

เหตุผลของคนที่ “ไม่เอาสถาบัน” เท่าที่ฟังมาก็คือ สถาบันไม่มีอะไรที่น่าศรัทธาเลื่อมใส สถาบันไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้ว

ผมก็เลยตั้งคำถามขึ้นในใจว่า การทำหน้าที่ในฐานะกตัญญูกตเวทีจะต้องมีเงื่อนไขด้วยหรือไม่?

คนที่เราจะกตัญญูกตเวทีจะต้องเป็นคนที่น่าศรัทธาเลื่อมใส และเป็นคนที่มีประโยชน์ เราจึงควรจะกตัญญูกตเวที-เช่นนั้นหรือ?

พูดชัดๆ -

พ่อแม่ต้องทำตัวให้ดีก่อน ลูกจึงควรนับถือ  ถ้าพ่อแม่ทำตัวไม่ดี ลูกก็ไม่จำเป็นจะต้องนับถือ   ครูบาอาจารย์ต้องทำตัวให้ดีก่อน ศิษยานุศิษย์จึงควรนับถือ  ถ้าครูบาอาจารย์ทำตัวไม่ดี ศิษยานุศิษย์ก็ไม่จำเป็นจะต้องนับถือ

คนในสถาบันต้องทำตัวให้ดีก่อน พสกนิกรจึงควรนับถือ   ถ้าคนในสถาบันทำตัวไม่ดี พสกนิกรก็ไม่จำเป็นจะต้องนับถือ  พระสงฆ์ต้องทำตัวให้ดีก่อน พุทธศาสนิกชนจึงควรนับถือ  ถ้าพระสงฆ์ทำตัวไม่ดี พุทธศาสนิกชนก็ไม่จำเป็นจะต้องนับถือ  เราจะเอากันแบบนี้หรือ?

ตามวิธีคิดของผม ผมไม่ได้คิดแบบนี้   ขอให้ลองคิดในทางกลับกันดู   ลูก พอเกิดมาก็จะต้องเป็นคนดี พ่อแม่จึงจะเลี้ยงดูให้เติบใหญ่   ถ้าลูกไม่เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่เลี้ยงดู   นักเรียนพอฝากตัวเป็นศิษย์ ก็จะต้องเป็นเด็กดี   ถ้าเป็นเด็กเกเร ครูบาอาจารย์จะไม่สั่งสอนวิชาความรู้ให้ ประชาชนต้องเป็นคนดีเท่านั้น พระมหากษัตริย์จึงจะบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้

ถ้าเป็นประชาชนที่ไม่ดี พระมหากษัตริย์จะไม่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้   พุทธศาสนิกชนต้องเป็นคนดีเท่านั้น พระสงฆ์จึงจะแสดงธรรมบอกทางสวรรค์นิพพานให้

ถ้าพุทธศาสนิกชนเป็นคนไม่ดี พระสงฆ์ก็จะไม่แสดงธรรมโปรด   ผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นบุพการีเคยตั้งเงื่อนไขแบบนี้บ้างไหม?

ลูกจะเป็นคนเลวอย่างไร พ่อแม่ก็เลี้ยงดูทั้งสิ้น ลูกบางคนโตแล้วฆ่าพ่อฆ่าแม่ พ่อแม่ก็ยังเลี้ยงมาจนโต  ศิษย์จะเป็นคนเลวอย่างไร ครูบาอาจารย์ก็สั่งสอนวิชาความรู้ให้ทั้งสิ้น ศิษย์หลายคนคิดล้างครูทำร้ายครู ครูก็ยังเต็มใจสอน  

พสกนิกรจะดีจะชั่วอย่างไร พระมหากษัตริย์ก็บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ทั่วหน้า 

มีคำกล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินไม่เคยตำหนิประชาชน มีแต่ประชาชนที่ตำหนิพระเจ้าแผ่นดิน

พุทธศาสนิกชนจะเป็นคนชนิดไหน พระสงฆ์ก็มีแต่เมตตาไมตรี แม้แต่คนต่างศาสนาไม่ได้ศรัทธาเลื่อมใสท่านก็ยังมีเมตตา

บุพการีบุคคลท่านไม่เคยตั้งเงื่อนไขเอากับกตัญญูกตเวทีบุคคล

แต่กตัญญูกตเวทีบุคคลกำลังจะตั้งเงื่อนไขเอากับบุพการีบุคคล

วิธีคิดของผมก็คือ ใครเป็นบุพการี  (พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า > พระสงฆ์) มีหน้าที่อะไร ก็ให้ท่านทำหน้าที่ของท่านไป เป็นเรื่องของท่าน ไม่ใช่ธุระของเราที่จะไปกำหนดกฎเกณฑ์ให้ท่านต้องทำอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ เราจึงจะเคารพนับถือท่าน

ใครอยู่ในฐานะกตัญญูกตเวที (บุตรธิดา ศิษยานุศิษย์ พสกนิกร พุทธศาสนิกชน) มีหน้าที่อะไร ก็ทำหน้าที่ของเราไป เป็นเรื่องของเรา เป็นหน้าที่ของเรา 

บุพการีท่านจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ท่านจะเป็นอย่างไรหรือไม่เป็นอย่างไร ไม่ต้องยกเอามาเป็นเงื่อนไข เงื่อนไขมีข้อเดียวคือเมื่อท่านอยู่ในฐานะเป็นบุพการีของเรา เราก็ทำหน้าที่ต่อท่าน อย่าให้บกพร่อง เท่านั้นพอ

หลักก็คือ ใครอยู่ในฐานะเป็นบุพการี ใครอยู่ในฐานะเป็นกตัญญูกตเวที ก็ศึกษาเรียนรู้หน้าที่ของตนให้เข้าใจ แล้วทำหน้าที่ของตนให้ดี อย่าให้บกพร่อง

หากเห็นว่าฝ่ายใดบกพร่องด้วยประการใดๆ ก็ทักท้วงเตือนติงกันเมตตาไมตรี หวังดีหวังเจริญต่อกัน ไม่ใช่เห็นกันเป็นศัตรูคู่อริที่จะต้องเหยียบกันให้แหลกไปข้างหนึ่ง

ผมเชื่อว่า ถ้าทุกฝ่ายดำรงอยู่ในหลักเช่นนี้อย่างมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างกันก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นสงบสุข

แง่คิดปิดท้ายในเรื่องนี้อยู่ที่คำว่า “หาได้ยาก” นั่นเอง

ในคัมภีร์อรรถกถาท่านขยายความว่า --

บุพการีบุคคลหาได้ยาก เพราะถูก “ตัณหา” ครอบงำ หมายความว่า คนไม่อยากบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นก็เพราะยังอยากที่จะทำอะไรเพื่อตัวเองมากกว่า เมื่ออยากทำเพื่อตัวเองก็ยากที่จะทำเพื่อผู้อื่น

ส่วนกตัญญูกตเวทีบุคคลหาได้ยาก เพราะถูก “อวิชชา” ครอบงำ หมายความว่า คนส่วนมากคิดไม่เป็นเห็นไม่ได้ว่าตนได้รับประโยชน์ในชีวิตมาจากใคร เมื่อคิดไม่ได้ก็ยากที่จะกตัญญูกตเวที

คำว่า “หาได้ยาก” จึงเป็นคำที่ท้าทายพอสมควรทีเดียว 

ท่านบอกว่า  หาได้ยาก   ไม่ใช่หาไม่ได้   หาได้ แต่ยาก

ท้าทายตรงที่-เราจะเป็นคนแบบไหน  เป็นคนที่หาได้ง่าย หรือเป็นคนที่หาได้ยาก  เป็นคนที่หาได้ง่าย ก็ไม่ต้องทำอะไร ลอยตามน้ำไปวันๆ เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่คน

เป็นคนที่หาได้ยาก ก็ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ของคน-คือหน้าที่ของผู้ที่มีบุญที่ได้เกิดมาเป็น “คน”   เมื่อถึงเวลาควรจะทำประโยชน์ให้แก่โลก ก็ตั้งใจทำ นั่นคือหน้าที่ของบุพการี 

เมื่อถึงเวลาควรจะแทนคุณให้แก่โลก ก็ตั้งใจทำ นั่นคือหน้าที่ของกตัญญูกตเวที  ทำได้ดังนี้ บุคคลหาได้ยากก็หาได้ไม่ยาก เพราะอยู่ในตัวของเรานี่เอง

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ , ๑๙:๑๑

บุคคลหาได้ยาก (๑) , บุคคลหาได้ยาก (๒) , บุคคลหาได้ยาก (๓) , บุคคลหาได้ยาก (๔) , บุคคลหาได้ยาก (๕) บุคคลหาได้ยาก (๖) , บุคคลหาได้ยาก (๗) , บุคคลหาได้ยาก (๘) , บุคคลหาได้ยาก (๙) , บุคคลหาได้ยาก (๑๐)