วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บัณฑิต ๓ ประเภท

บัณฑิต ๓ ประเภท

ตโยว  ปณฺฑิตา  สตฺเถ,    อหเมวาติ  วาทิจ;
อหมปิติ  วาทีจ,    นาหนฺติ  จ  อิเม  ตโย.

ในตำราบัณฑิตมีอยู่ ๓ ประเภทนี้ คือ   ๑. พวกที่มักกล่าวว่า เราเท่านั้น   ๒. พวกที่มักกล่าวว่า เราบ้าง และ   ๓. พวกที่มักกล่าวว่า ไม่ใช่เรา  รวมแล้วมี ๓ เหล่านี้แล.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๒,  มหารหนีติ ๑๐๘)

ศัพท์น่ารู้ :

ตโยว ตัดบทเป็น ตโย+เอว (สามนั่นเทียว, สามเท่านั้น)

ปณฺฑิตา (บัณฑิต ท.) ปณฺฑิต+โย แปลง โย เป็น อา § สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)

สตฺเถ (คัมภีร์, หนังสือ, ตำรา, กองเกวียน, ศัสตรา, หอก, มีด) สตฺถ+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง § สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)

อหเมวาติ ตัดบทเป็น อหํ+เอว+อิติ แปลว่า „ว่า..เราเท่านั้น, เรานั่นเทียว, ฉันเอง..ดังนี้“

วาทิ = วาที (ผู้มีวาทะ, ผู้กล่าว) วาที+สิ หรือ วาที+โย ก็ได้.

จ (ด้วย, และ) นิบาตรวบรวมพากย์

อหมปิติ ตัดบทเป็น อหํ+อปิ+อิติ แปลว่า „ว่า..แม้เรา, เราบ้าง, เราด้วย..ดังนี้“

วาที จ (ผู้มีวาทะด้วย, และผู้กล่าว)

นาหนฺติ ตัดบทเป็น น+อหํ+อิติ แปลว่า „ว่า..ไม่ใช่เรา, เราหามิได้..ดังนี้“

จ (ดัวย, และ) นิบาต

อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม

ตโย (สาม) ติ+โย สังขยา-สัพพนาม.

ข้อควรทราบ : หลักสัมพันธ์ อิติ ศัพท์(ในการสอบบาฬีสนามหลวง) ใช้ในอรรถ ๙ อย่าง คือ

๑.  แปลว่า ว่า..ดังนี้ เข้ากับกิริยา ชื่อว่า อาการ  ๒.  แปลว่า ว่า..ดังนี้ เข้ากับนาม ชื่อว่า สรูป   ๓.ปลว่า ว่า..ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า อาทฺยตฺถ  ๔. แปลว่า ชื่อว่า.. เข้ากับศัพท์ภายใน อิติ ชื่อว่า สญฺญาโชตก   ๕. แปลว่า ด้วยประการดังนี้ (ปล่อย) ชื่อว่า ปการตฺถ  ๖. แปลว่า เพราะเหตุนั้น (ในรูปวิเคราะห์) ชื่อว่า เหตฺวตฺถ   ๗. แปลว่า เพราะเหตุนี้ สรุปข้อความ ชื่อว่า นิทสฺสน  ๘. แปลว่า ดังนี้แล แสดงการจบข้อความ ชื่อว่า สมาปนฺน หรือ ปริสมาปนฺน   ๙. แปลว่า คือ เข้ากับศัพท์หลัง อิติ ชื่อว่า สรูป

(จากหนังสือ วากยสัมพันธ์ บทที่ ๑๑ เรียบเรียงโดยพระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ, หรืออาจารย์มหาต่วน)

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในคัมภีร์มีบัณฑิตอยู่สามพวก คือ   ๑) พวกที่อาจพูดว่า „ฉันเอง“    ๒) พวกที่อาจพูดว่า „ฉันด้วย“   ๓) พวกที่อาจพูดว่า „มิใช่ฉัน“   ทั้งนี้จึงเป็นสาม.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในตำรา ท่านว่ามีบัณฑิตอยู่ ๓ ประเภท  

๑.  ประเภทที่พูดว่าฉันเอง  ๒.  ประเภทที่พูดว่าฉันด้วย และ  ๓.  ประเภทที่พูดว่า มิใช่ฉัน  รวมเป็น ๓ ด้วยกัน.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

"สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว" จ.พิษณุโลก

ที่ วัดนางพญา อ.เมือง มีพระพิมพ์นางพญาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีที่หาได้ยากในปัจจุบัน ภายในอุโบสถมี ""สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว" เป็นพระประธาน มีซุ้มเรือนแก้วประดับงดงาม




Previous Post
Next Post

0 comments: