วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น

สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น

คณฺฐิฐาเน  เอกปเท,    นาติมญฺเญยฺย  ปณฺฑิโต;
กิมกฺโก  เวฬุปพฺภาโร,    ติมหาทีปภานุโท.

ในฐานะแห่งคัณฐีเพียงบทเดียว  นักปราชญ์ก็ไม่ควรดูหมิ่น  พระอาทิตย์ถึงมีป่าไผ่บดบังไว้  ยังส่องแสงแก่มหาทวีปทั้งสามมิใช่หรือ!

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๐, มหารหนีติ ๓๖)

ศัพท์น่ารู้ :

คณฺฐิฐาเน (ที่ตั้งแห่งคำที่เป็นดุจปม, -คำพูดที่มีเงื่อนงำ, -คำพูดที่คลุมเครือ) คณฺฐิ+ฐาน > คณฺฐิฐาน+สฺมึ, คัมภีร์อธิบายพระบาฬี มีตามลำดับคือ อรรถกถา, ฏีกา, อนุฏีกา, โยชนา, คัณฐี ๆ หมายถึงคัมภีร์ที่อธิบายคำที่ยังไม่ชัดเจน ยังมีเงื่อนงำอยู่.

เอกปเท (ในบทหนึ่ง, ในบทเดียว) เอก+ปท > เอกปท+สฺมึ

นาติมญฺเญยฺย ตัดบทเป็น น+อติมเญยฺย (ไม่ควรดูหมิ่น), น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ,​ อติมญฺเญยฺย (ดูหมิ่น, ดูถูก, เหยียดหยาม) อติ+√มน+ย+เอยฺย ทิวาท. กัตตุ.

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ

กิมกฺโก ตัดบทเป็น กึ+อกฺโก (พระอาทิตย์เทียวหรือ) กึ ใช้ในอรรถการถาม, ส่วน อกฺโก (พระอาทิตย์, ต้นดอกรัก) อกฺก+สิ

เวฬุปพฺภาโร (เนินลาดแห่งป่าไผ่, เงื้อมเขาแห่งป่าไผ่) เวฬุ+ปพฺภาร > เวฬุปพฺภาร+สิ

ติมหาทีปภานุโท (ที่ให้แสงสว่างตลอดมหาทวีปสาม) ติ+มหาทีป > ติมหาทีป+ภานุท > ติมหาทีปภานุท+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในฐานที่เป็นปราชญ์ร้อยกรองไว้แม้บทเดียว  บัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น พระอาทิตย์ที่ส่องสว่าง  ตลอดสามมหาทวีป จะกลายเป็นข้อไม้ไผ่เทียวหรือ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในฐานะที่นักปราชญ์ท่านร้อยกรองไว้ แม้เพียงบทเดียว  บัณฑิตท่านก็ไม่ดูหมิ่น  พระอาทิตย์ที่ส่องแสงได้ในสามมหาทวีป  จะกล่าวใยถึงซุ้มไม้ไผ่.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ :  "วัดพระสิงห์" จ.เชียงใหม่

วัดศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่มีหอธรรมงดงามที่สุดในภาคเหนือ ผสมผสานระหว่างศิลปะรัตนโกสินทร์และศิลปะล้านนา ประดิษฐาน "พระสิงห์" หรือ" พระพุทธสิหิงค์" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: