วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เมื่อบัณฑิตเห็นภัย

เมื่อบัณฑิตเห็นภัย

อนาคตํ  ภยํ  ทิสฺวา,     ทูรโต  ปริวชฺชเย;
อาคตญฺจ  ภยํ  ทิสฺวา,     อภีโต  โหติ  ปณฺฑิโต.

ผู้มีปัญญา เห็นภัยที่ยังมาไม่ถึง  ย่อมหลีกเว้นได้แต่ที่ไกล,  แต่ครั้นเห็นภัยที่มาถึงแล้ว  ย่อมเป็นผู้ไม่สะดุ้งกลัว.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๒๙, โลกนีติ ๑๔๒, กวิทัปปณนีติ ๑๓๕)

ศัพท์น่ารู้ :

อนาคตํ (อนาคต, ที่ยังมาไม่ถึง) น+อาคต > อนาคต+อํ

ภยํ (ภัย, ความกลัว) ภย+อํ

ทิสฺวา (เห็นแล้ว, เพราะเหตุ) √ทิส+ตฺวา+สิ, ลง ตฺวา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า “ปุพฺพกาเลกตฺตุกานํ ตุน-ตฺวาน-ตฺวา วา.“ (รู ๖๔๐) = √ทิส+ตฺวา, แปลง ตฺวา เป็น สฺวาน, สฺวา และลบที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า “ทิสา สฺวานสฺวานฺตโลโป จ. (รู ๖๔๔) = ทิ+สฺวา, ลง สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า “สิ โย, อํ โย, ฯ. (รู ๖๓) = ทิ+สฺวา+สิ, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า สพฺพาสมาวุโสปสคฺคนิปาตาทีหิ จ. (รู ๒๘๒) ทิ+สฺวา, รวมสำเร็จรูป = ทิสฺวา

ทูรโต (แต่ที่ไกล) ทูร+โต, ลง โต ปัจจัยในอรรถปัญจมีวิภัตติได้บ้าง § กฺวจิ โต ปญฺจมฺยตฺเถ. (รู ๒๖๐)

ปริวชฺชเย (เว้นรอบ) ปริ+√วชฺช+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.

อาคตญฺจ ตัดบทเป็น อาคตํ+จ (ที่มาแล้วด้วย, และปัจจุบันด้วย) อา+คมุ+ต > อาคต+อํ

อภิโต, อภีโต (ผู้ไม่กลัว, ไม่สะดุ้ง) น+ภีต > อภีต+สิ

โหติ (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เห็นภัยที่ยังไม่มาถึง  พึงหลีกเลื่ยงแต่ไกล   แต่ครั้นประสพภัยที่มาถึงเข้า  บัณฑิตย่อมไม่หวาดหวั่น.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บัณฑิตเมื่อเห็นภัยที่ยังมาไม่ถึง  ย่อมหลีกให้ไกล  แต่เมื่อประสบภัยเฉพาะหน้า  ก็ตั้งท่าสู้โดยไม่เกรงกลัวแต่อย่างใดเลย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali  

๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 

File Photo: Wat Roi Phra Putthabat Phu Manorom is a Buddhist temple in Mukdahan Province, Thailand.

วัดภูมโนรมย์ หรือ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร






Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: