วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ชนที่ไม่ควรถือโทษ

ชนที่ไม่ควรถือโทษ

พาเล  จุมฺมตฺตเก  ภูเป,     คุรุมาตาปิตูสฺวปิ;
สงฺเฆ  เชฏฺเฐ  จ  ภาตริ,    น  โทสา  กริยา  พุธา.

ผู้รู้ทั้งหลายไม่ควรถือโทษในคนพาล  คนบ้า พระเจ้าแผ่นดิน  ครูอาจารย์ มารดา บิดา ในพระสงฆ์ พี่ชาย และน้องชาย.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๔, มหารหนีติ ๕๖)

ศัพท์น่ารู้ :

พาเล (ในคนพาล) พาล+สฺมึ

จุมฺมตฺตเก ตัดบทเป็น จ+อุมฺมตเก (และในคนบ้า) อุมฺมตฺตก+สฺมึ ส่วน จ ศัพท์เป็นนิบาตบท

ภูเป (ในพระราชา, ผู้รักษาแผ่นดิน,พระเจ้าแผ่นดิน) ภูป+สฺมึ

คุรุมาตาปิตูสฺวปิ ตัดบทเป็น คุรุมาตาปิตูสุ+อปิ (แม้ในครู มารดา และบิดา ท.), คุรุ+มาตุ+ปิตุ > คุรุมาตาปิตุ+สุ, อปิ ศัพท์เป็นอุปสัค หรือนิบาตก็ได้

สงฺเฆ (ในพระสงฆ์) สงฺฆ+สฺมึ

เชฏฺเฐ (ในพี่ชาย, ผู้เจริญที่สุด) เชฏฺฐ+สฺมึ

จ (ด้วย, และ) นิบาต

ภาตริ (ในน้องชาย, พี่ชายและน้องชาย) ภาตุ+สฺมึ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

โทสา (โทษ, ความขุ่นเคืองใจ) โทสา+โย ศัพท์นี้ควรเป็น โทสํ สัมพันธ์เป็นกรรมในประโยคเข้ากับกิริยา

กริยา (พึงกระทำ) กร+ยิร+เอยฺย เคยเห็นแต่ กยิรา หลังจาก ยิร ปัจจัย แปลง เอยฺย เป็น อา ได้บ้าง และลบ ร อักษรที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘) อนึ่ง ศัพท์ว่า กริยา อาจจะมีใช้ในก็ได้ หากท่านผู้ท่านใด เคยเห็นมาก็ขอได้โปรดกรุณาให้แจ้งให้ทราบด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ.

พุธา (ผู้รู้ ท. ผู้มีปัญญา, บัณฑิต) พุธ+โย ศัพท์ก็ควรเป็น พุโธ เพราะกิริยาเป็นเอกวจนะ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ทวยปราชญ์ไม่พึงทำความขุ่นเคืองในคนพาล  แลคนบ้า ในพระเจ้าแผ่นดิน ในครู มารดา  บิดา แลในสงฆ์ ในพี่ชาย ในน้องชาย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

นักปราชญ์ทั้งหลาย ไม่ควรทำความขุ่นเคืองในคนพาล คนบ้า พระเจ้าอยู่หัว ครู พ่อแม่ พระภิกษุสงฆ์  และน้องชายเลย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ 

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ :  นักรบตะวันออก

วัดป่าพรหมยาน จ.ฉะเชิงเทรา

วัดป่าพรหมยาน อยู่ในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพระพุทธรูป สมเด็จองค์ปฐมเรืองแสง ณ ลานธรรมพุทธจักรวาล








Previous Post
Next Post

0 comments: