วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา

ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา

คุณสมฺปนฺนลงฺกาโร,   สพฺพสตฺตหิตาวโห;
ปรตฺตตฺถํ  น  จเรยฺย,   กุโต  โส  ปณฺฑิโต  ภเว.

ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นเครื่องประดับ   อาจนำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งมวลได้,
ถ้าไม่ประพฤติประโยชน์เพื่อตนและผู้อื่นเสียแล้ว  เขาจะพึงเป็น บัณฑิต ได้อย่างไรเล่า.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๗, มหารหนีติ ๕๔)

ศัพท์น่ารู้ :

คุณสมฺปนฺนลงฺกาโร (ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณเป็นเครื่องประดับ) คุณ+สมฺปนฺน+อลงฺการ > คุณสมฺปนฺนลงฺการ+สิ

สพฺพสตฺตหิตาวโห (ผู้นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่สัตว์ทั้งปวง) สพฺพ+สตฺต >สพฺพสตฺต, หิต+อาวห > หิตอาวห = สพฺพสตฺต+หิตาวห > สพฺพสตฺตหิตาวห+สิ

ปรตฺตตฺถํ (ซึ่งประโยชน์ของเพื่อและเพื่อผู้อื่น) ปร+อตฺต+อตฺถ > ปรตฺตตฺถ+อํ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

จเรยฺย (ประพฤติ, จรไป) จร+อ+เอยฺย ภูวาทิง กัตตุ.

กุโต (แต่ที่ไหน, อย่างไรเล่า?) กึ+โต ปัจจัย, อัพยยศัพท์ (อ.)

โส (นั้น, เชา) ต+สิ สัพพนาม

ปณฺฑิโต (บัณฑิต,​ ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

ภเว (เป็น, อยู่, คือ) ภู+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้มีความสะพรั่งพร้อมด้วยคุณเป็นเครื่องประดับ   เป็นผู้อาจนำมาซึ่งประโยชน์แก่สรรพสัตว์

แต่ไม่ประพฤติประโยชน์ให้แก่ตนแลผู้อื่น  ดั่งฤาจะนับเป็นบัณฑิตได้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้ประดับประดาตนด้วยคุณธรรม  เป็นผู้ทำประโยชน์แก่สรรพสัตว์ได้  แต่ถถ้าไมทำประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน   จะจัดว่าเป็นบัณฑิตได้อย่างไร.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

“พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ” พระมหาธาตุเจดีย์ ประจำรัชกาลที่ 9

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ แห่งวัดทางสาย ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระมหาธาตุเจดีย์แห่งในหลวง รัชกาลที่ 9 ยิ่งใหญ่สวยงามสง่าสมพระเกียรติ







Previous Post
Next Post

0 comments: