วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ควรฝึกตนเองก่อน

ควรฝึกตนเองก่อน

อตฺตนา  ยทิ  เอเกน,      วินิเถน  มหาชนา;
วินยํ  ยนฺติ  สพฺเพปิ,      โกธํ  นาเสยฺย  ปณฺฑิโต.

หากว่ามีใครคนหนึ่งฝึกตนเองได้   แม้เหล่าชนทั้งหมดย่อมประพฤติตามกฏระเบียบ   บัณฑิต พึงกำจัดความโกรธเสียเถิด.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๖, มหารหนีติ ๒๔, กวิทัปปณนีติ ๕๓)

ศัพท์น่ารู้ :

อตฺตนา (ตน, ตัวตน) อตฺต+นา

ยทิ (หากว่า, ผิว่า) นิบาต

เอเกน (ผู้เดียว, คนเดียว) เอก+นา

วินิเถน (....?) วินิถ+นา

มหาชนา (มหาชน, คนจำนวนมาก ท.) มหนฺต+ชน > มหาชน+โย

วินยํ (ช้อควรแนะนำ, วินัย, ข้อปฏิบัติ, ข้อบังคับ) วินย+อํ

ยนฺติ (ย่อมถึง, ลุถึง, บรรลุ) √ยา+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

สพฺเพปิ (แม้ทั้งปวง) สพฺเพ+อปิ

โกธํ (ความโกรธ) โกธ+อํ

นาเสยฺย (ให้ทำลาย, ให้ฉิบหาย) √นส+เณ+เอยฺย ทิวาทิ. เหตุกัตตุ.

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

ในคัมภีร์มหารหนีติ และกวิทัปปณนีติ มีข้อความแตกต่างกันออกไปอีกดังนี้

อตฺตนา  ยทิ  เอเกน,       วินเตน  มหาชนา;

วินยํ  ยนฺติ  สพฺเพปิ,     โก  ตํ  นาเสยฺย  ปณฺฑิโตฯ  (มหารหนีติ ๒๔)

อตฺตาว  ยทิ  วินีโต,      นิชสฺสิตา  มหาชนา;

วินีตํ  ยนฺติ  สพฺเพปิ,     โก  ตํ  นาเสยฺย  ปณฺฑิโตฯ  (กวิทัปปณนีติ ๕๓)

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

หากว่าตนผู้เดียวแนะนำไปแล้ว   มหาชนทั้งหมดก็ไปตามที่แนะนำ  บัณฑิตพึงระงับความโกรธเสีย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

หากว่านตผู้เดียวแนะนำไปแล้ว   คนทั้งหลายทำตามคำแนะนำ   บัณฑิตก็ควรละความโกรธให้เด็ดขาด.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 

ภาพ :  "วิหารเทพวิทยาคม" จ.นครราชสีมา

ที่ วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ) อ.ด่านขุนทด ชมผลงานปั้นที่สร้างสรรค์อย่างวิจิตรแฝงคติธรรม อาทิ เศียรช้างเอราวัณขนาดมหึมา พญานาค 19 เศียร จำนวน 2 ตน สื่อถึงมงคล 38 ประการตามหลักพุทธศาสนา 






Previous Post
Next Post

0 comments: