วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บัณฑิตกับคนพาล

บัณฑิตกับคนพาล

ปณฺฑิโต  อปุฏฺโฐ  เภรี,   ปชฺชุนฺโน  โหติ  ปุจฺฉิโต;
พาโล  ปุฏฺโฐ  อปุฏฺโฐปิ,   พหุํ  วิกตฺถเต  สทา.

บัณฑิตเมื่อไม่ถูกถามจะเป็นเหมือนกลอง,  แต่ถ้าถูกถามจะเป็นเหมือนฝนห่าใหญ่;  
ส่วนคนพาลถูกถามหรือไม่ถูกถามก็ตาม,  ย่อมพูดพล่ามได้ตลอดเวลา.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๖, โลกนีติ ๑๒, มหารหนีติ ๕๓, กวิทัปปณนีติ ๑๑๒)

ศัพท์น่ารู้ :

อปุฏฺโฐ (ไม่ถูกถาม) ปุจฺฉ+ต > ปุฏฺฐ, น+ปุฏฺฐ > อปุฏฺฐ+สิ = อปุฏฺโฐ, แปลง ต ปัจจัยกับที่สุดธาตุเป็น ฏฺฐ ได้บ้าง  สาทิสนฺตปุจฺฉภนฺชหํสาทีหิ ฏฺโฐ. (รู ๖๒๖), ในตัปปุริสสมาส แปลง น เป็น อ  อตฺตํ นสฺส ตปฺปุริเส. (รู ๓๔๔)

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

เภรี, เภริ (กลอง) เภรี+สิ

ปชฺชุนฺโน (เมฆฝน, ห่าฝน, ฝนตกใหญ่, เจ้าแห่งฝน) ปชฺชุนฺน+สิ

โหติ (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. วุทธิ อุ เป็น โอ   อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔)

ปุจฺฉิโต (ถูกถาม, ถูกสัมภาษณ์) ปุจฺฉ+อิ+ต > ปุจฺฉิต+สิ,

พาโล (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ

อปุฏฺโฐปิ ตัดบทเป็น อปุฏฺโฐ+อปิ( แม้ไม่ถูกถาม)

พหุํ (มาก, หลาย, เยอะ) พหุ+อํ

วิกตฺถเต ( กล่าว, พูด, บ่น, พ่น, ยกย่อง) วิ+√กตฺถ+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.

สทา (ในกาลทั้งปวง, ทุกเมื่อ, ทุกเวลา, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา ในเพราะ ทา ปัจจัย ให้แปลง สพฺพ เป็น ส ได้บ้าง  สพฺพสฺส โส ทามฺหิ วา. (รู ๒๗๗)

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บัณฑิตไม่ถูกถามก็เหมือนกลอง  ครั้นถูกถามเข้า ย่อมเป็นเหมือนฝนหลั่ง  คนพาลถูกถามหรือไม่ถูกถามก็ตาม  ย่อมเป็นคนพูดพร่ำในกาลทุกเมื่อ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บัณฑิตไม่ถูกถามก็เหมือนกลอง  แต่เมื่อถูกถามก็เป็นเหมือนฝน   ส่วนคนพาลจะถูกถามหรือไม่ถูกถาม  ก็พูดพล่ามตลอดกาล.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ



Previous Post
Next Post

0 comments: