วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง

ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง

คุณโทเสสุเนเกน,      อตฺถิ  โกจิ  วิวชฺชิโต;
สุขุมาลปทุมสฺส,     นฬํ  ภวติ  กกฺขฬํ.

ในคุณและโทษทั้งหลาย ไม่มีใคร  ที่จะเว้นขาดโดยส่วนเดียว,  ดอกบัวที่ละเอียดอ่อน   ก็ยังมีก้านที่แข็งขรุขระ.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๑, มหารหนีติ ๓๗)

ศัพท์น่ารู้ :

คุณโทเสสุเนเกน ตัดบทเป็น คุณโทเสสุ+อเนเกน, คุณ+โทส > คุณโทส+สุ = คุณโทเสสุ (ในโทษและคุณ ท.) . น+เอก > อเนก+นา = อเนเกน (น+เอเกน) แปลรวมกันว่า „เป็นอเนก, เยอะแยะ, มิใช่หนึง“ (แต่ถ้าแปลแยกกัน ต้องแปลว่า „โดยส่วนหนึ่ง หาไม่ได้“) ....ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยชี้แนะด้วยเถิด.

อตฺถิ (มีออยู่) √อส+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

โกจิ (บางอย่าง, สิ่งไรๆ) กึ+สิ > โก+จิ = โกจิ, กึ ศัพท์ที่มี จิ ศัพท์ต่อท้ายจะกล่าวอรระว่าน้อย.

วิวชฺชิโต (เว้น, งดเว้น,​ ละ) วิ+√วชฺช+อิ+ต > วิวชฺชิต+สิ

สุขุมาลปทุมสฺส (ของดอกปทุมที่บอบบาง) สุขุมาล (ละเอียดอ่อน, บอบบาง) + ปทุม (ดอกบัว, บัวหลวง, ดอกปทุม) > สุขุมาลปทุม+ส

นฬํ (ต้นอ้อ, หลอด, ท่อ, กล้อง, ก้าน) นฬ+สิ

ภวติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น) √ภู+อ+ติ ภูวาทิ.​ กัตตุ.

กกฺขฬํ (หยาบ, กระด้าง, ดุร้าย, กักขฬะ) กกฺขฬ+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในคุณและโทษ ใคร ๆ จะเว้นขาดเสีย  ส่วนหนึ่งไม่มีเลย ดอกปทุมอันเป็นของละ  เอียดอ่อน ยังมีก้านของมันเป็นส่วนกระด้าง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในคุณและโทษ จะหาใครสักคนที่จะเว้นได้เป็นไม่มีเลย  ดอกปทุมเป็นชนิดที่ละเอียดอ่อน  แต่อย่างนั้น ก้านปทุมก็กลับขรุขระ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ





Previous Post
Next Post

0 comments: