วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม คือ

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม คือ

๑. ไม่อ้างตนหรือคนอื่นเพื่อทำบาป
๒. ไม่แสวงหาความสำเร็จโดยไม่เป็นธรรม

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมนั้น จึงต้องเป็นคนศีล มีปัญญา และประกอบด้วยธรรม คือมีธรรมเป็นที่พึ่งจริงๆ
ดังพระพุทธพจน์ว่า

น  อตฺตเหตุ  น  ปรสฺส  เหตุ 

น  ปุตฺตมิจฺเฉ  น  ธนํ  น  รฏฺฐํ

น  อิจฺเฉยฺย  อธมฺเมน  สมิทฺธิมตฺตโน

ส  สีลวา  ปญฺญวา  ธมฺมิโก  สิยาติ ฯ

แปลว่า

“บัณฑิต ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน, ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น

บัณฑิต ไม่พึงปรารถนาบุตร, ไม่พึงปรารถนาทรัพย์, ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น, ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จ เพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม

บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา (และ) ตั้งอยู่ในธรรม” ดังนี้ ฯ

อธิบายความ

๑. บัณฑิต ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตนหรือเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น  คือ  ไม่ยอมทำบาปเพื่อให้ตนเองหรือคนที่ตนรักมีความสุข

๒. บัณฑิต ไม่พึงปรารถนาแม้ความสำเร็จเพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม  คือ  ไม่ยอมทำบาปแม้เพราะเหตุแห่งความสำเร็จ  บัณฑิตจึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรมจริงๆ คือ ไม่พึงเป็นอย่างอื่นจากนี้

ฉะนั้น บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม รักความยุติธรรม เที่ยงธรรม เที่ยงตรง จึงหาได้ยากมากในโลกนี้

______

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรค (เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

22/8/65

สิ่งมีค่าคือบุญ ประดุจสิ่งของที่ใช้สอย เมื่อไม่รู้จักถนอม ก็มีแต่เสียหายนิทานเรื่อง “นิโรธสมาบัติ” , คติธรรม.. นำชีวิต , ทุกข์เกิดเพราะตัณหา , วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ , ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) , ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด , คนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ

"วัดคีรีวงศ์"  จ.นครสวรรค์

เป็นที่ตั้งของ "พระจุฬามณีเจดีย์" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครสวรรค์ บนยอดเขาดาวดึงส์ โดยสร้างบนฐานเจดีย์เก่าแก่สมัยสุโขทัย มีทั้งหมด 4 ชั้น นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และชมวิวเมืองนครสวรรค์

นจฺจชาตกํ - เหตุที่ยังไม่ให้ลูกสาว

นจฺจชาตกํ - เหตุที่ยังไม่ให้ลูกสาว

รุทํ  มนุญฺญํ  รุจิรา  จ  ปิฏฺฐิ, 
เวฬุริยวณฺณูปนิภา [1]  จ  คีวา;
พฺยามมตฺตานิ  จ  เปขุณานิ, 
นจฺเจน  เต  ธีตรํ  โน  ททามีติฯ

"เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่านก็ยาวตั้งวา, เราจะไม่ให้ลูกสาวของเราแก่ท่านด้วยการรำแพนหาง."

1) [วณฺณูปฏิภา (สฺยา.), วณฺณสนฺนิภา (ก.)]

อรรถกถานัจจชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารทรงปรารภภิกษุผู้มีภัณฑะมากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  รุทํ  มนุญฺญํ  ดังนี้.

เรื่องเป็นเช่นกับเรื่องที่กล่าวไว้ในเทวธรรมชาดกในหนหลังนั่นแหละ.

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า „ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้มีภัณฑะมากจริงหรือ ? „ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า „พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ“.

พระศาสดาตรัสถามว่า „เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก ?“ ภิกษุนั้นพอได้ฟังพระดำรัสมีประมาณเท่านี้ก็โกรธจึงทิ้งผ้านุ่ง ผ้าห่ม คิดว่า บัดนี้ เราจักเที่ยวไปโดยทำนองนี้แลแล้วได้ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์. 

คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า „น่าตำหนิ น่าตำหนิ“. ภิกษุนั้นหลบไปจากที่นั้น แหละแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว (คือสึก). ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุม กันในโรงธรรมสภา พากันกล่าวโทษของภิกษุนั้นว่า กระทำกรรมเห็นปานนี้เบื้องพระพักตร์ชื่อของพระศาสดา.

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า „ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ ?“ 

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ชื่อภิกษุนั้นละหิริและโอตตัปปะ เป็นคนเปลือยเหมือนเด็กชาวบ้านในท่ามกลางบริษัท ๔ เบื้องหน้าพระองค์ ผู้อันคนทั้งหลายรังเกียจอยู่ จึงเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เสื่อมจากพระศาสนา ดังนั้นข้าพระองค์ทั้งหลายจึงนั่งประชุมกันด้วยการกล่าวโทษมิใช่คุณของภิกษุนั้น“. 

พระศาสดาตรัสว่า „ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเสื่อมจากศาสนาคือพระรัตนะในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้เสื่อมแล้วจากอิตถีรัตนะเหมือนกัน“, แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า :- 

ในอดีตกาลครั้งปฐมกัป สัตว์ ๔ เท้าทั้งหลายได้ตั้งราชสีห์ให้เป็นราชา, พวกปลาตั้งปลาอานนท์ให้เป็นราชา, พวกนกได้ตั้งสุวรรณหงส์ให้เป็นราชา. 

ก็ธิดาของพระยาสุวรรณหงส์นั้นนั่นแล เป็นลูกหงส์มีรูปงาม พระยาสุวรรณหงส์นั้นได้ให้พรแก่ธิดานั้น. 

ธิดานั้นขอ(เลือก) สามีตามชอบใจของตน. พระยาหงส์ให้พรแก่ธิดานั้นแล้วให้นกทั้งปวงในป่าหิมพานต์ประชุมกัน หมู่นกนานาชนิดมีหงส์และนกยูงเป็นต้น มาพร้อมกันแล้ว ประชุมกันที่พื้นหินใหญ่แห่งหนึ่งพระยาหงส์เรียกธิดามาว่า „จงมาเลือกเอาสามีตามชอบใจของตน“. 

ธิดานั้นตรวจดูหมู่นกได้เห็นนกยูงมีคอดังสีแก้วมณี มีหางงามวิจิตรจึงบอกว่า „นกนี้จงเป็นสามีของดิฉัน“. 

หมู่นกทั้งหลายจึงเข้าไปหานกยูงแล้วพูดว่า „ท่านนกยูงผู้สหาย ราชธิดานี้เมื่อจะพอใจสามีในท่ามกลางพวกนกมีประมาณเท่านี้ได้ยังความพอใจให้เกิดขึ้นในท่าน“. 

นกยูงคิดว่า แม้วันนี้พวกนกก็ยังไม่เห็นกำลังของเราก่อน จึงทำลายหิริโอตตัปปะเพราะความดีใจยิ่งนัก เบื้องต้นได้เหยียดปีกออกเริ่มจะรำแพนในท่ามกลางหมู่ใหญ่ได้เป็นผู้รำแพน (อย่างเต็มที่) ไม่มีเงื่อนงำปิดบังไว้เลย. 

พระยาสุวรรณหงส์ละอายกล่าวว่า „นกยูงนี้ ไม่มีหิริอันมีสมุฏฐานตั้งขึ้นภายในเลย,  โอตตัปปะอันมีสมุฏฐานดังขึ้นในภายนอกจะมีได้อย่างไร? เราจักไม่ให้ธิดาของเราแก่นกยูงนั้นผู้ทำลายหิริโอตตัปปะ“, แล้วกล่าวคาถานี้ในท่ามกลางหมู่นกว่า .- 

„เสียงของท่านก็เพราะ, หลังของท่านก็งาม, คอของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์และหางของท่านก็ยาวตั้งวา, เราจะไม่ให้ลูกสาวของเราแก่ท่านเพราะการรำแพนทาง“. 

บทว่า  รุทํ  มนุญฺญํ ในคาถานั้นท่านแปลง ต อักษร เป็น ท อักษร. อธิบายว่า เสียงเป็นที่น่าจับใจคือเสียงร้องไพเราะ.  บทว่า  รุจิรา  จปิฏฺฐิ  ความว่า แม้หลังของท่านก็วิจิตรงดงาม.   บทว่า  เวฬุริยวณฺญูปฏิภา  แปลว่า เช่นกับสีแก้วไพฑูรย์.  บทว่า  พฺยามมตฺตานิ  แปลว่า มีประมาณ๑ วา.  บทว่า  เปกฺขุณานิ  ได้แก่ กำหาง. 

บทว่า  นจฺเจน  เต ธีตรํ  โน  ททามิ  ความว่า พระยาหงส์กล่าวว่า เราจะไม่ให้ธิดาของเราแก่ท่านผู้ไม่มีความละอายเห็นปานนี้ เพราะท่านทำลายหิริโอตตัปปะแก้วรำแพนนั่นแหละแล้วได้ให้ธิดาแก่ลูกหงส์ผู้เป็นหลานของตน ในท่ามกลางบริษัทนั้นนั่นเอง. 

นกยูงไม่ได้ธิดาหงส์ก็ละอายจึงบินหนีไป. ฝ่ายพระยาหงส์ก็ไปยังที่อยู่ของตนนั่นแล.

พระศาสดาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ทำลายหิริโอตตัปปะแล้วเสื่อมจากศาสนาคือรัตนะ ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้, แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้เสื่อมแล้ว แม้จากรัตนะคือหญิงเหมือนกัน“. 

พระองค์ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นกยูงในครั้งนั้นได้เป็นภิกขุผู้มีภัณฑะมาก ส่วนพระยาหงส์ในครั้งนั้นได้เป็นเราตลาคตแล. 

จบนัจจชาดกที่ ๒

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali

31. ว่าด้วยการเสียสละ30. ว่าด้วยลักษณะของผู้มีอายุยืน , 29. ว่าด้วยผู้เอาการเอางาน , 28. ว่าด้วยการพูดดี , 27. ว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ , 26. ว่าด้วยการเสี้ยมสอน , 25. ว่าด้วยการเบื่อเพราะซ้ำซาก , 24. ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก 23. ว่าด้วยม้าสินธพอาชาไนย , 22. ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21. ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20. เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด , 19. ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18. ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14. ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. ว่าด้วยการเลือกคบ , 11. ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 9. ว่าด้วยเทวทูต , 8. ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 7. ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ ,  6. ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 5. ว่าด้วยราคาข้าวสาร,  4. ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 3. ว่าด้วยเสรีววาณิช , 2. ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 1. ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ 

"พระปางถวายเพลิง" จ.พระนครศรีอยุธยา

ที่ วัดกลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเพลิง สร้างตามพระไตรปิฎกในการถวายเพลิงสรีระของพระพุทธเจ้า ลักษณะเป็นพระบาทพระพุทธเจ้าโผล่ยื่นออกมานอกโลง มีพระกัสสัปปะยืนไหว้พระบาท




เมื่อเพียรภาวนาเนืองๆ ถึงจะวัดไม่ได้ว่ากิเลสลดไปเท่าใด แต่ตัวเองก็จะรู้อยู่ว่าลดลงไปเรื่อยๆ

เมื่อเพียรภาวนาเนืองๆ ถึงจะวัดไม่ได้ว่ากิเลสลดไปเท่าใด แต่ตัวเองก็จะรู้อยู่ว่าลดลงไปเรื่อยๆ

[ณ กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับเหล่าภิกษุว่า]

พ:  ภิกษุทั้งหลาย แม้จะมีรอยนิ้วมือปรากฏให้เห็นบนด้ามมีด แต่ช่างไม้ก็ไม่รู้หรอกว่า วันนี้ด้ามมีดเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านั้น รู้แต่ว่าด้ามมีดสึกลงไปทุกวัน

ฉันใดฉันนั้น ภิกษุที่เพียรภาวนาอยู่เนืองๆ ถึงแม้จะไม่รู้ว่าวันนี้กิเลสเราลดไปเท่านี้ เมื่อวานลดไปเท่านั้น แต่ก็จะรู้ว่ากิเลสลดไปเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือที่เขาผูกด้วยเชือก แช่อยู่ในน้ำฤดูหนาวมา 6 เดือน พอลากขึ้นบก เชือกที่ถูกลมพัด แดดเผา ฝนชะ ก็จะเปื่อยผุได้ไม่ยาก ฉันใด ภิกษุที่เพียรภาวนาอยู่เนืองๆ กิเลสที่ผูกรัดไว้ก็จะเสื่อมสิ้นไปได้ไม่ยาก ฉันนั้น

_______

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 27 (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ภาค 3 วาสิชฏสูตร ข้อ 262), 2559, น.331-332

Credit: เพจ  พระพุทธเจ้าพูดอะไร

ปัญญาเป็นตัวพาให้หลุดพ้น ไม่ใช่อิทธิฤทธิ์คำอธิบาย ‘ปฏิจจสมุปบาท’ จากพระพุทธเจ้า , ศีล ศรัทธา ปัญญา บุญ , อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสแล้ว , ผู้มีปัญญาย่อมไม่ห่วงใยชีวิต , รถสู่นิพพาน ผลของการมีสติรู้ตัวทุกลมหายใจ ใบไม้หนึ่งกำมือ , เมื่อไม่ยึดติดยินดีในสิ่งใดแม้แต่ชีวิตและร่างกาย ก็จะไม่ทุกข์ , ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ไปได้ , 'ความอยาก' ทำให้เราเวียนว่ายไม่จบสิ้น , อะไรที่จะทำให้เราอยู่อย่างเป็นสุข? , อะไรที่ทำให้จิตเศร้าหมอง?

"วัดกวิศรารามราชวรวิหาร" จ.ลพบุรี

ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยที่งดงาม สร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในพระอุโบสถตกแต่งด้วยภาพเขียนลายประดับเต็มทั่วผนังและเสาทุกต้น มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

คนพาลสำคัญผิด

คนพาลสำคัญผิด

กาลกฺเขเปน  หาเปติ,    ทานสีลาทิกํ  ชโฬ;
อถิรํปิ  ถิรํ  มญฺเญ,    อตฺตานํ  สสฺสตีสมํ.

คนพาลย่อมยังคุณมีทานศีลเป็นต้น  ให้เสื่อมเสียไป โดยใช้เวลาให้ผ่านไปเปล่า
เขาสำคัญแม้สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง  และสำคัญตนเองว่าเที่ยงอยู่เสมอ.

(ธรรมนีติ ๑๑๓ ทุชชนกถา, มหารหนีติ ๑๑๕)

ศัพท์น่ารู้ :

กาลกฺเขเปน (โดยการสิ้นไปแห่งกาล) กาล+เขปน > กาลกฺเขปน+นา

หาเปติ (ให้สิ้นไป, ให้เสื่อมไป) √หา+ณาเป+ติ ภูวาทิ.​ เหตุกัตตุ.

ทานสีลาทิกํ (กุศลกรรมมีทานและศีลเป็นต้น) ทาน+สีล+อาทิก > ทานสีลาทิก+อํ

ชโฬ (โง่,​ เขลา, เชื่องช้า, ทึบ) ชฬ+สิ

ในสัททนีติ ธาตุมาลา ท่านรวมศัพท์ที่หมายถึงคนพาล รวม ๑๙ ศัพท์ ไว้ดังนี้

พาโล  อวิทฺวา  อญฺโญ  จ,    อญฺญาณี  อวิจกฺขโณ;

อปณฺฑิโต  อกุสโล,    ทุมฺเมโธ  กุมติ  ชโฬฯ

เอฬมูโค  จ  นิปฺปญฺโญ,    ทุมฺเมธี  อวิทู  มโค;

อวิญฺญู  อนฺธพาโล  จ,    ทุปฺปญฺโญ  จ  อวิทฺทสุฯ

ศัพท์น่ารู้ :

อถิรํปิ (แม้ที่ไม่มั่นคง) อถิรํ+อปิ, น+ถิร > อถิร+อํ, อปิ เป็นนิบาต

ถิรํ (ที่มั่นคง) ถิร+อํ

มญฺเญ (พึงสำคัญ, พึงรู้สึก) √มน+ย+เอยฺย ทิวาทิ. กัตตุ. แปลง นฺย เป็น ญ แล้วซ้อน ญฺ, แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง รวมเป็น มญฺเญ.

อตฺตานํ (ซึ่งตน, ตัวเอง) อตฺต+นํ

สสฺสตีสมํ (ที่เสมอด้วยความเที่ยง, -ไม่เปลื่นแปลง -ไม่แปรผัน) สสฺสติ+สม > สสฺสตีสม+อํ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนโง่ย่อมยังทานศีลแลความดีอื่น ๆ ให้เสื่อมไป  โดยเวลาล่วงไปเปล่า เขาสำคัญเห็นแม้คนมั่นคง  ว่าเป็นคนเหลวไหล แต่ตัวเขาเอง เขาสำคัญว่า  เป็นคนมั่นคง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนโง่ ย่อมทำความดีต่าง ๆ มีทาน ศีลเป็นต้น  ให้เสื่อมไปตามเวลาที่ล่วงไปเปล่า  เขาเห็นคนที่มั่นคงว่าไม่มั่นคง  แต่เห็นตัวเขาเองที่ไม่มั่นคงเลย ว่ามั่นคง.

______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

"วัดขุนอินทประมูล"  จ.อ่างทอง

ประดิษฐานพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ภายในวัดมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว และศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล

สิ่งมีค่าคือบุญ ประดุจสิ่งของที่ใช้สอย เมื่อไม่รู้จักถนอม ก็มีแต่เสียหาย

สิ่งมีค่าคือบุญ ประดุจสิ่งของที่ใช้สอย เมื่อไม่รู้จักถนอม ก็มีแต่เสียหาย

ส่วนคนไม่กลัวบาปกรรม  สั่งสมบาปไปแม้ทีละน้อยๆ  เมื่อบาปพอกพูนมากขึ้น  ก็จมอยู่กับทุกข์ไม่รู้จักสิ้นฉะนั้น.
ดังพระพุทธพจน์ว่า

มาวมญฺเญถ ปาปสฺส     น มตฺตํ อาคมิสฺสติ

อุทพินฺทุนิปาเตน         อุทกุมฺโภปิ ปูรติ

อาปูรติ พาโล ปาปสฺส   โถกํ โถกํปิ อาจินนฺติ ฯ

แปลว่า

“บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ‘บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง’ แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด  ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรค (เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

28/8/65

_______

นิทานเรื่อง “นิโรธสมาบัติ” , คติธรรม.. นำชีวิตทุกข์เกิดเพราะตัณหา , วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ , ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) , ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด , คนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ  ,  จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้ , ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม , ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ

"พระมงคลมิ่งเมือง" จ.อำนาจเจริญ

ที่ พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง อ.เมือง ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้และบึงบัว ประดิษฐานพระมงคลมิ่งเมือง หรือ พระใหญ่ มีพุทธลักษณะงดงาม ถ่ายแบบมาจากพระพุทธชินราช เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง


Thai Buddhist Monk visit ancient Buddhist site, Pakistan.



วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ  :  จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้"

"จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ  :​  จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้"

พระบรมศาสดาตรัสว่า “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์อะไรๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก” ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ทุนฺนิคฺคหสฺส  ลหุโน    ยตฺถ  กามนิปาติโน

จิตฺตสฺส  ทมโถ  สาธุ    จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหนฺติ ฯ

แปลว่า

“การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรค (เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

25/8/65

_______

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม , ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ ,  'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ ,  เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม ,  ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ,  ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม ,  เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร , มลทินที่ร้ายแรงที่สุด










“คติธรรม.. นำชีวิต”

“คติธรรม.. นำชีวิต”

* อะไรที่ไม่แน่นอน  -  อย่าไปตั้งความหวัง

* อะไรที่ไม่จริงจัง  -  อย่าไปตั้งใจรอ

* สิ่งใดที่ปรารถนา แต่รู้ว่าเขาไม่ให้  -  อย่าไปเอ่ยปากขอ 

* เรื่องอะไรที่ดีๆ  -  ให้ทำต่อไป

* เรื่องอะไรที่จะบรรลัย  -  ให้รีบตัด

* ทำสิ่งใดๆให้โลกเขาอึ้งกับความดี  -  อย่าให้เขาร้องยี้กับความเลว

* มีดีอยู่ในตัวแล้วอวด  -  ดีกว่าไปคุยโม้โอ้อวดโดยไม่มีดี 

* ใส่รองเท้าผิดข้างยังพอทน  -  แต่ใส่ใจผิดคนเสียเวลา 

* รู้จักคนง่าย.. แต่..รู้ใจคนยาก !

——ธ.พุทธินันทะ

ทุกข์เกิดเพราะตัณหา คือวัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ , ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) , ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด , คนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ 

พระกกุสันโธ วัดไผ่โรงวัว พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นวัดที่มีชื่อเสียงคนไทยนิยมมากราบไหว้ 

ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 43 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี

วัดไผ่โรงวัว หรือวัดโพธาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปเที่ยวชมกันอย่างไม่ขาดสาย 

ด้วยมีพุทธวัตถุและโบราณสถานสำคัญให้เยี่ยมชมได้มากมายหลายจุด เช่น "พระพุทธโคดม" พระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) 

นอกจากนี้ยังมี "สังเวชนียสถาน 4 ตำบล" คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน มีส่วนที่แสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ สวรรค์ภูมิ 

ส่วน "พระกะกุสันโธ" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้านหน้าพระพุทธรูปมี "ฆ้อง และบาตร" ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน รวมทั้ง "พระวิหารร้อยยอด" และ "พระธรรมจักร" 

ซึ่งหล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อีกมากมาย จนขึ้นชื่อเป็นวัดที่ใครมาเยือนสุพรรณบุรีแล้วต้องไม่พลาด 




วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

นิทานเรื่อง “นิโรธสมาบัติ”

นิทานเรื่อง “นิโรธสมาบัติ”

แนวคิดเรื่อง “นิโรธสมาบัติ”  เป็นความพิเศษของพระพุทธศาสนา คือ ความสามารถของพระอริยบุคคลที่ดับนามขันธ์ ๔ และรูปขันธ์ (บางส่วน) ได้ โดยที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปัญจโวการภูมิที่ตนได้สำเร็จฌานนั้น ๆ (ไม่เหมือนการดับนามขันธ์ ของพวกอสัญญสัตตพรหม ที่ต้องสิ้นชีวิตก่อนแล้ว จึงไปเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ ไม่มีนามขันธ์ มีแต่รูปขันธ์, และไม่เหมือนพวกอรูปพรหมทั้งหลายที่ดับรูปขันธ์ได้เมื่อตายแล้วไปเกิดในอรูปภูมิ มีแต่นามขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์)

แนวคิดเรื่องการดับ รูป – นาม  นั้น เป็นแนวคิดของนักคิดค้นหาทางออกจากทุกข์ ด้วยคิดว่า นาม – รูป นั้น เป็นตัวทุกข์ เป็นต้นเหตุของทุกข์…(ว่าตามความจริงแล้ว ก็มาถูกทาง แต่เมื่อบุญ-บารมียังไม่พอ ก็เลยทำให้แฉลบนอกทางได้) ทฤษฎีการดับนาม-รูป มีก่อนพุทธกาลและร่วมสมัยกับพุทธกาล ดังที่ปรากฎในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา

ทฤษฎีเรื่องการดับนามขันธ์  ก็คือแนวคิดของพวกอสัญญสัตตพรหม ด้วยเข้าใจว่า นามขันธ์ เป็นตัวรับรู้ทุกข์ในลักษณะต่าง ๆ เมื่อเจริญฌานจนถึง จตุตถฌาน (จตุกกนัย), หรือปัญจมฌาน (ปัญจกนัย) แล้ว มีแนวคิดเบื่อหน่ายในนามขันธ์ จึงเจริญฌานที่เรียกว่า “สัญญาวิราคภาวนา” คือภาวนาเพื่อคลายความยินดีพอใจในสัญญา (นามขันธ์) เมื่อได้สำเร็จฌานนั้น… สิ้นชีวิตลง ก็ไปเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ในอสัญญสัตตภูมิ…ฯ

ทฤษฎีเรื่องการดับรูปขันธ์  ก็เป็นแนวคิดอีกอย่างหนึ่งของนักแสวงหาธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากทุกข์ (โมกษะ) ด้วยเข้าใจว่า รูปขันธ์นั้นพัวพันด้วยกามและเป็นเหตุของความทุกข์ต่าง ๆ จึงเกิดความเบื่อหน่าย และได้ค้นพบวิธีดับรูปขันธ์ได้สำเร็จ คือฌานที่เรียกว่า “รูปวิราคภาวนา” (ภาวนาที่คลายความยินดีพอใจในรูป) โดยอาศัยการเพิกรูปปัญจมฌานที่มีกสิณ ๙ เป็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนได้แล้วนั่นเองเป็นบาท ทำอากาสานัญจายตนฌานให้เกิดขึ้น…ฯลฯ… จากนั้นเมื่อสิ้นชีวิต ก็ไปเกิดในภูมิที่ไม่มีรูปขันธ์ มีเพียงนามขันธ์ ๔ เท่านั้น…ฯ

แนวคิดเรื่องการดับรูปขันธ์  คือได้อรูปฌาน นี้ มีเจ้าลัทธิที่ปรากฎในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา โดยชื่อของ “อาฬารดาบส กาลามโคตร, และอุทกดาบส รามบุตร” ดาบสทั้ง ๒ สามารถทำอรูปฌานที่ ๓ (และอรูปฌานที่ ๔ คือ อากิญจัญญายตนฌาน, และเนวสัญญานาสัญญายตนะ) ให้เกิดขึ้นได้ ตามลำดับ (ตำราฝ่ายมหายาน กล่าวว่า “ดาบสทั้งสอง ได้เพียงอรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานเท่านั้น” แต่อุทกดาบส สามารถบอกแนวทางให้กับพระโพธิสัตว์ทำได้ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ, ตำราฝ่ายเถรวาท กล่าวเป็นนัยว่า อุทกดาบส ทำได้ถึงอรูปฌานที่ ๔) หลังจากสิ้นชีวิตแล้ว ดาบสทั้งสองก็ไปเกิดในอรูปภูมิ …ฯ

อรูปฌานทั้ง ๔  สามารถดับรูปขันธ์ได้ทั้งหมด, อนึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น คล้าย ๆ จะมีความพยายามที่จะดับนามขันธ์ คือสัญญา (จริง ๆ ก็หมายเอานามขันธ์ทั้ง ๔) ด้วย จนได้ชื่อว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” คือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่จริง ๆ แล้วยังมีสัญญา มีนามขันธ์ ๔ ที่ละเอียด…ยังมีตัวรู้อยู่…ไม่ใช่ทางที่หลุดพ้นอย่างแท้จริง ซึ่งในข้อนี้ พระโพธิสัตว์ ถกเถียงกับอุทกดาบสมาแล้ว…โดยพระโพธิสัตว์ ให้ความเห็นว่า “นิพพาน หรือโมกษะจริง ๆ ต้องดับอายตนะ คือ มนายตนะและธัมมายตนะ คือ ตัวรู้ (จิต-เจตสิก) จึงจะเรียกว่าถึงความดับ (ทุกข์ดับ) คือ นิพพานอย่างแท้จริง … (ขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์) ตราบใดที่ยังมีตัวรู้ คือนามขันธ์อยู่ นั่นไม่ใชทุกข์ดับอย่างแท้จริง เพราะ “นิพพาน คือ ภาวะที่ไม่มีกิเลสและขันธ์ ๕”

แนวคิดหรือทษฤฎีในทางพุทธศาสนา ก็คือ ว่า

ฌานระดับโลกียะ  คือรูปปัญจมฌาน ที่มีสัญญาวิราคภาวนาเป็นอารมณ์ สามารถดับนามขันธ์ ๔ ได้ ด้วยกำลังแห่งฌาน (เป็นแนวคิดของพวกอสัญญีสัตว์)

แนวคิดของลัทธิรูปวิราคภาวนา ให้สำเร็จการดับรูปขันธ์ได้ ด้วยกำลังแห่งฌาน และเมื่อถึงอากิญจัญญายตนะ ซึ่งมีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ มีพยายามที่จะดับสัญญา (ตัวรู้) ก็เพ่งอากิญจัญญายตนะฌานของตนที่ดับไปแล้ว และสำเร็จฌานใหม่ขึ้นมาอีกโดยชื่อว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ”

เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานลาภีบุคคล  เข้าใจว่า “ตนบรรลุโมกษะสิ้นสุดแล้ว จึงพอใจอยู่ในอารมณ์และเสวยสิ่งนั้นตามความเข้าใจผิดของตนเอง”

*แนวคิดทั้ง ๒ ค่ายดังกล่าวมานี้ ดับนาม และดับรูปได้ ด้วยกำลังแห่งฌาน ซึ่งเป็นการดับที่ปลายเหตุ (แต่ก็ถือว่าชั้นยอด)

แนวคิดของพระโพธิสัตว์พุทธเจ้า เห็นว่า  “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” นั้น ไม่ใช่โมกษะอันเป็นอันติมะ เพราะมีตัวรู้ (นามขันธ์ ๔) อยู่ แนวคิดของพระองค์คือ “ต้องดับทั้งนามและรูป” และแล้ว ปฏิปทาเพื่อดับนามและรูป จึงเกิดขึ้น คือต้องคลายความยินดีพอใจทั้งนามและรูป (นามรูปวิราคภาวนา) ภาวนาเพื่อคลาย เพื่อสำรอก…ฉันทราคะ (ตัณหา) ซึ่งเป็นต้นเหตุ เป็นมูลราก (สมุทัย) ของนามและรูป (เป็นการดับที่ต้นเหตุของนาม-รูปอย่างแท้จริง)

เมื่อพระโพธิสัตว์พุทธเจ้าทำสำเร็จ คือบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงได้นามว่า “สัพพัญญุตญาณสัมมาสัมพุทธ” แล้ว เพื่อแสดงให้ชาวโลกและเจ้าลัทธิต่าง ๆ ได้รู้ว่านี่ คือนิพพาน อันเป็นอันติมะสิ้นสุดทุกข์อย่างแท้จริง ก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง คือนิโรธสมาบัติ (สามารถดับจิตได้จริง ๆ) เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็ยังดำรงชีวิตอยู่ มาเล่าประสบการณ์การเข้านิโรธสมาบัติให้ชาวโลกและเจ้าลัทธิต่าง ๆ ฟังได้… แต่ถ้านิพพานจริง ๆ คือดับขันธปรินิพพาน … ก็ไม่มีโอกาสกลับมาเล่าถึงนิพพานแบบ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้อีกแล้ว…. //

ข้อสังเกต 

“นิโรธสมาบัติ”  เกิดต่อจากเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานจิตกุศล-กริยา คือ เนวสัญญาณาสัญญายตนะ…นั้น จิตก็จวนเจียนจะดับอยู่แล้ว คือ พอขณะที่สองของเนวสัญญายตนะกุศล หรือ กริยา…ดับลง ไม่มีจิตเกิดต่ออีก คือ จิตขาดช่วงไป จะเป็นระยะสั้น ๆ เป็นนาที, เป็นชั่วโมง, เป็นวัน, เป็น ๗ วัน ก็ตาม ก็ถือว่าจิตไม่ได้เกิดติดต่อกันและขาดหายไปหลายขณะจนนับไม่ได้ว่ากี่แสน กี่ล้านขณะ…, สมมติว่าจิตจะเกิดต่อจากเนวสัญญา… จิตนั้นควรจะเป็นจิตอะไร ? ก็ต้องตอบว่า “อนาคามิผล-อรหัตตผลจิต” รู้ได้อย่างไร? ก็รู้ได้ตรงที่ เมื่อพ้นจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็มี อนาคามิผล-อรหัตตผลจิต ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น (แล้วแต่ผู้ใดเข้านิโรธสมาบัติว่าเป็นพระอนาคามีหรือเป็นพระอรหันต์) (ในข้อนี้ตรงตามนัยของ “มิคปทวลัญชนัย” นัยที่อุปมาดุจนายพรานตามรอยเท้าของเนื้อไป เมื่อเนื้อวิ่งอยู่บนแผ่นดิน ก็เห็นรอยเท้าได้ชัดเจน แต่เมื่อเนื้อวิ่งข้ามแผ่นหินไป ไม่มีรอยเท้าปรากฎให้เห็น นายพรานจะรู้ว่าเนื้อไปทางไหน ก็ไปเดินดูรอบ ๆ ของแผ่นหิน เมื่อเนื้อวิ่งพ้นแผ่นหิน ก็ต้องเหยียบลงที่แผ่นดิน รอยเท้าก็จะปรากฏให้นายพรานได้เห็น) อุปมาฉันใด…อุปไมยก็ฉันนั้น ฯ

สรุปว่า  “จิตที่ไม่เกิด คืออนาคามิผล- หรือ อรหัตตผล” (คือถึงคิวของตนเองที่จะเกิดต่อจากเนวสัญญา…แต่ไม่เกิด) เมื่อไม่เกิด ก็เลยพูดว่า “จิตดับ” (นิโรธ) เมื่อพูดว่า จิตดับ ก็คงมีหลายท่านที่คิดว่า เนวสัญญานา…กุศลหรือกริยานั่นแหละดับ เพราะเป็นดวงสุดท้ายก่อนที่จิตจะขาดช่วงไป, จริง ๆ จิตทุกดวง ก็เกิด-ดับ ๆ อยู่แล้ว…แต่การเกิด-ดับ โดยปกติของจิตทั้งปวง ก็เกิด-ดับติดต่อกันไป ไม่มีช่วงระยะเวลาที่จิตดวงก่อนดับไปแล้ว จิตดวงต่อมาที่จะเกิดต่อ ต้องรอเวลานาน ๆ เหมือนนิโรธสมาบัติ…ฯ

(ไม่ควรจะกล่าวว่า “จิตทั้งหมด ดับ” จริง ๆ จิตเกิดได้ทีละดวงอยู่แล้ว)

(เรื่อง “นิโรธสมาบัติ” เป็นเรื่องของ พระอนาคามี,และพระอรหันต์ ผู้มีอธิการอันได้กระทำไว้แล้ว…ปุถุชน ก็เพียงรับรู้และเชื่อตาม…เท่านั้น, แต่เพียงแค่เชื่อ อย่างมีเหตุผล และทำจิตให้เลื่อมใส…ก็ได้บุญกุศลมหาศาลแล้ว…)

———

นิติเมธี  – เขียน

๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

ที่มา:  http://dhamma.serichon.us

ปัญญาเป็นตัวพาให้หลุดพ้น ไม่ใช่อิทธิฤทธิ์คำอธิบาย ‘ปฏิจจสมุปบาท’ จากพระพุทธเจ้า , ศีล ศรัทธา ปัญญา บุญ , อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสแล้ว , ผู้มีปัญญาย่อมไม่ห่วงใยชีวิต , รถสู่นิพพาน ผลของการมีสติรู้ตัวทุกลมหายใจ ใบไม้หนึ่งกำมือ , เมื่อไม่ยึดติดยินดีในสิ่งใดแม้แต่ชีวิตและร่างกาย ก็จะไม่ทุกข์ , ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ไปได้ , 'ความอยาก' ทำให้เราเวียนว่ายไม่จบสิ้น , อะไรที่จะทำให้เราอยู่อย่างเป็นสุข? , อะไรที่ทำให้จิตเศร้าหมอง?

"พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย" จ.ลำพูน

ที่ วัดมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เป็นพระมหาเจดีย์สีทองเด่นตระหง่าน มองเห็นได้จากหน้าทางเข้าวัด มีรูปทรงคล้ายเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า เป็นศิลปะล้านนาที่สร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์และมีขนาดใหญ่

ทุกข์เกิดเพราะตัณหา คือ

ทุกข์เกิดเพราะตัณหา คือ

๑. เพราะยังมีความโลภ หรือความอยากได้ที่ไม่สามารถให้อิ่มได้

๒. เพราะยังไม่ได้ทำความดีไว้ มัวแต่เพลิดเพลินสนุกสนาน

๓. เพราะยังมีเครื่องพัวพัน หรือยังมีเครื่องผูกรัด เช่นความยึดถือว่ากายหรือตัวว่าเป็นของตนอยู่เป็นต้น

๔. เพราะมีความกลัวตาย เหตุเพราะไม่สามารถพ้นจากความตายไปได้

๕. เพราะยังมีการตั้งความปรารถนาที่ชื่อว่า ภวเนตฺติ (ธรรมชาตินำไปสู่ภพ) สัตว์ทั้งหลายนั้นอาศัยความสำราญจึงเป็นผู้แสวงหาความสุข เมื่อเสวงหาความสุขก็ปรารถนาความยั่งยืน แต่กลับเป็นผู้เข้าถึงชาติชราและมรณะอันเป็นทุกข์ในวัฏฏะที่ยาวนาน ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงถูกตัณหานี้นำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้วๆ เหมือนโคทั้งหลายที่ถูกเชือกผูกคอไว้ถูกนำไปสู่ที่ฆ่าฉะนั้น

เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงประสพทุกข์เพราะตัณหา แม้ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกได้ เหมือนต้นไม้ที่ยังมีรากสมบูรณ์ฉะนั้น

ดังพระพุทธพจน์ว่า

ยถาปิ  มูเล  อนุปทฺทเว  ทเฬฺห

ฉินฺโนปิ  รุกฺโข  ปุนเรว  รูหติ

เอวมฺปิ  ตณฺหานุสเย  อนูหเต

นิพฺพตฺตติ  ทุกฺขมิทํ  ปุนปฺปุนนฺติ ฯ

แปลว่า

“ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงบุคคลตัดแล้ว ก็ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด, ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรค (เรื่องนางลูกสุกร)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

19/8/65

วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) , ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด , คนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ 


"วัดเขาช่องกระจก" จ.ประจวบคีรีขันธ์

ตั้งอยู่บนยอดเขาช่องกระจก ริมอ่าวประจวบ มีบันไดทางขึ้น 396 ขั้น ด้านหลังศาลากลางจังหวัด ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระบรมสารีริกธาตุ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์เมืองประจวบได้ทั้งสามอ่าว