วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ฟังเป็นเห็นสุข

๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา

ฟังเป็นเห็นสุข

สุสฺสุสา  สุตวฑฺฒนา,     ปญฺญาย  วฑฺฒนํ  สุตํ;
ปญฺญาย  อตฺถํ  ชานนฺติ,     ญาโต  อตฺโถ  สุขาวโห.

การตั้งใจฟัง ทำให้ความรู้พัฒนา,  ความรู้ที่พัฒนาทำให้ปัญญาเจริญ;  บุคคลย่อมรู้อรรถได้ด้วยปัญญา,   อรรถที่รู้ดีแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๒๘, โลกนีติ ๒๑, มหารหนีติ ๖๓, กวิทัปปณนีติ ๘๘, นรทักขทีปนี ๑๑)

ศัพท์น่ารู้ :

สุสฺสูสา (ความปรารถนาเพื่อฟัง, การอยากจะฟัง) √สุ+ส+อ+อา > สุสฺสูสา+สิ (ลง ส ปัจจัยในอรรถว่าปรารถนาเพื่อสิ่งนั้น)

สุตวฑฺฒนา (ความเจริญด้วยสุตตะ, -ปัญญา, -ความรู้) สุต+วฑฺฒนา > สุตวฑฺฒนา+สิ,

ปญฺญาย (ด้วยปัญญา) ป+√ญา+อ+อา > ปญฺญา+นา

วฑฺฒนํ (เจริญ, พัฒนา) √วฑฺฒ+ยุ > วฑฺฒน+สิ,

สุตํ (การฟัง, สิ่งที่ฟังแล้ว) สุต+สิ

อตฺถํ (ซึ่งอรรถ, -เนื้อความ, ประโยชน์) อตฺถ+อํ

ชานาติ (ย่อมรู้, -ทราบ) √ญา+นา+ติ แปลง ญา เป็น ชา § ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔)

ญาโต (ถูกรู้แล้ว) √ญา+ต > ญาต+สิ

อตฺโถ (อรรถ, ประโยชน์, เนื้อความ) อตฺถ+สิ

สุขาวโห (นำมาซึ่งความสุข, เป็นเหตุนำสุขมาให้) สุข+อาวห > สุขาวห+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะการหมั่นสดับ ความรู้จึงเจริญ และความรู้ย่อมเจริญขึ้นได้ด้วยปัญญา อาศัยปัญญาจึ่งจะรู้จักประโยชน์ ประโยชน์ที่รู้แล้ว จักนำสุขมาให้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะตั้งใจเรียนดี จึงมีความรู้ดี  เพราะมีปัญญาดี จึงมีความรู้  เพราะมีปัญญา จึงรู้เหตุผลถ่องแท้  จึงมีสุขได้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์  ,   2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: