วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

บวชได้ แต่อยู่ยาก เพราะอะไร ?

บวชได้ แต่อยู่ยาก เพราะอะไร ?

เพราะต้องประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ คือ

๑. เป็นผู้เชื่อฟัง  ๒. เป็นผู้ฆ่าได้  ๓. เป็นผู้รักษาได้  ๔. เป็นผู้อดทนได้   ๕. เป็นผู้ไปได้

จึงเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

มีอรรถาธิบายในโสตสูตร ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า

(๑) ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรมในเมื่อผู้อื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล 

(๒) ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตก (ความตรึกในทางกาม) ที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ฯลฯ ไม่รับพยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) ที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับ วิหึงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) ที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล

(๓) ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุเป็นผู้รักษาได้เป็นอย่างนี้แล

(๔) ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิวกระหาย อดทนต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายที่รบกวน อดทนต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันจะพรากชีวิต  ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล

(๕) ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน  ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนี้.

ในอรรถกถาท่านอธิบายคำว่า “ทิศ” ไว้ว่า “พระนิพพานพึงทราบว่า ชื่อว่าทิศ ในคำว่า “ยา สา ทิสา” เพราะปรากฏเห็นชัดในธรรม มีธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นต้น แต่เพราะเหตุที่สังขารทั้งปวงอาศัยพระนิพพานนั้น จึงถึงความระงับ ฉะนั้น จึงตรัสเรียกพระนิพพานนั้นว่า “ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง”

สาระธรรมจากโสตสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ




เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๕ ประการ คือ

เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๕ ประการ คือ

๑. ความกำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา  ๒. ความขัดเคืองอย่าเกิดขึ้นแก่เรา  

๓. ความหลงอย่าเกิดขึ้นแก่เรา  ๔. เป็นผู้มีเมตตากรุณาและมุทิตาต่อผู้อื่น

๕. เป็นผู้มีอุเบกขาคือดำรงตนอยู่ในสภาวะที่เป็นกลางในสัตว์และสังขารทั้งปวง

เพราะนั้น ภิกษุจึงทำสัญญา คือความจำได้หมายรู้ หรือความกำหนดหมายในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) โดยอาการ ๕ ประการเหล่านี้ คือ

๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่า “ปฏิกูล” ในสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควร 

หมายถึง มีความกำหนดหมายในอารมณ์ ๖ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่น่าปรารถนาว่า “เป็นสิ่งไม่งาม” หรือพิจารณาเห็นว่า “เป็นสิ่งไม่เที่ยง” เพื่อมิให้ราคะคือความกำหนัดเกิดขึ้นแก่ตน

๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่า “ไม่ปฏิกูล” ในสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร 

หมายถึง มีความกำหนดหมายในอารมณ์ ๖ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ แม้ที่ไม่น่าปรารถนาว่า “เป็นสิ่งที่ควรแผ่เมตตา” หรือพิจารณาเห็นว่า “เป็นเพียงธาตุ ๔” เพื่อมิให้โทสะคือความโกรธเกิดขึ้นแก่ตน

๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่า “ปฏิกูล” ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร 

หมายถึง มีความกำหนดหมายในอารมณ์ ๖ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่น่าปรารถนาก็ดี ที่ไม่น่าปรารถนาก็ดีว่า “เป็นสิ่งไม่งาม” หรือพิจารณาเห็นว่า “เป็นสิ่งไม่เที่ยง” เพื่อมิให้ราคะคือความกำหนัดเกิดขึ้นแก่ตน หรือเพื่อมิโทสะะคือความโกรธเกิดขึ้นแก่ตน

๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่า “ไม่ปฏิกูล” ในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควร 

หมายถึง มีความกำหนดหมายในอารมณ์ ๖ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ แม้ที่น่าปรารถนาก็ดี ที่ไม่น่าปรารถนาก็ดีว่า “เป็นสิ่งที่ควรแผ่เมตตา” หรือพิจารณาเห็นว่า “เป็นเพียงธาตุ ๔” เพื่อมิให้โทสะคือความโกรธเกิดขึ้นแก่ตน หรือเพื่อมิให้ราคะคือความกำหนัดเกิดขึ้นแก่ตน

๕. ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ตามกาลอันควร 

หมายถึง ดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง กล่าวคือมีปกติภาวะที่บริสุทธิ์ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในอารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา)  เพื่อมิให้ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัดในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแก่ตน และเพื่อมิให้ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแก่ตน และเพื่อมิให้ความหลงในธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแก่ตน ดังนี้แล.

สาระธรรมจากติกัณฑกีสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ




เหล่าชนผู้มีทรัพย์

เหล่าชนผู้มีทรัพย์

อิตฺถีนญฺจ  ธนํ  รูปํ,   ปุริสานํ  ธนํ  กุลํ;
อุรคานํ  ธนํ  วิสํ,   ภูปาลานํ  ธนํ  พลํ;
ภิกฺขูนญฺจ  ธนํ  สีลํ,   พฺรหฺมณานํ  ธนํ  วิชฺชา.

สตรีมีรูปเป็นทรัพย์,  บุรุษมีตระกูลเป็นทรัพย์,  งูมีพิษเป็นทรัพย์,  พระราชามีพระราชอำนาจเป็นทรัพย์,  ภิกษุมีศีลเป็นทรัพย์,  พราหมณ์มีวิชา(เวท)เป็นทรัพย์.

(ธรรมนีติ ธนกถา ๗๖, กวิทัปปณนีติ ๓๐๐, โลกนีติ ๙๕)

ศัพท์น่ารู้ :

อิตฺถีนญฺจ ตัดบทเป็น อิตฺถีนํ+จ (ของหญิง, สตรี ท. + ด้วย) อิตฺถี+นํ = อิตฺถีนํ; ส่วน จ ศัพท์เป็นนิบาต แปลว่า ด้วย, และ ใช้ในอรรถวากยสมุจจยัตถะ (รวมรวมพากย์)

ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ, ของมีค่า) ธน+สิ

รูปํ (รูป, ลักษณะ, ทรวดทรง) รูป+สิ

ปุริสานํ (ของบุรูษ, ชาย ท.) ปุริส+นํ

กุลํ (ตระกูล, สกุล

อุรคานํ (แห่งผู้ไปด้วยอก, งู, นาค ท.) อุรค+นํ

วิสํ (พิษ) วิส+สิ

ภูปาลานํ (แห่งผู้รักษาผินดิน, พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา ท.) ภู+ปาล > ภูปาล+นํ

พลํ (กำลัง, พลัง, อำนาจ) พล+สิ

ภิกฺขูนญฺจ ตัดบทเป็น ภิกฺขูนํ+จ (ของภิกษุ ท. + ด้วย) ภิกฺขุ+นํ = ภิกฺขูนํ; จ ศัพท์เป็นนิบาต

สีลํ (ศีล, ปกติ) สีล+สิ

พฺรหฺมณานํ (ของพราหมณ์ ท.) พฺรหฺมณ+นํ

วิชฺชา (วิชา, ความรู้, พระเวท) วิชฺชา+สิ

ส่วนในโลกนีติและกวิทัปปณนีติ คาถานี้มีเพียง ๔ บาท ดังนี้ :

อิตฺถีนญฺจ  ธนํ  รูปํ,  ปุริสานํ  วิชฺชา  ธนํ,

ภิกฺขูนญฺจ  ธนํ  สีลํ,   ราชานญฺจ  ธนํ  พลํ.

สตรีมีรูปเป็นทรัพย์,  ชายมีวิชาเป็นทรัพย์,  พระภิกษุมีศีลเป็นทรัพย์,  พระราชามีพระราชอำนาจเป็นทรัพย์.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

รูปเป็นทรัพย์สำหรับหญิง  สกุลเป็นทรัพย์สำหรับชาย   พิษเป็นทรัพย์สำหรับงู  พลนิกายเป็นทรัพย์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน   ศีลเป็นทรัพย์สำหรับภิกษุ  วิชา (เวท) เป็นทรัพย์สำหรับพราหมณ์.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

รูปเป็นทรัพย์ของหญิง  สกุลเป็นทรัพย์ของชาย  พิษเป็นทรัพย์ของงู  พลนิกายเป็นทรัพย์ของพระเจ้าแผ่นดิน  ศีลเป็นทรัพย์ของภิกษุ และ  วิชาเป็นทรัพย์ของพราหมณ์(ครู).

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ






อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

๖. ธนกถา - แถลงทรัพย์ - อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

สทฺธาธนํ  สีลธนํ,    หิริโอตฺตปฺปิยํ  ธนํ;
สุตธนญฺจ  จาโค  จ,    ปญฺญา  เว  สตฺตมํ  ธนํ.

อริยทรัพย์มี ๗ ประการ คือ :  ๑. ทรัพย์คือศรัทธา ๒. ทรัพย์คือศีล  ๓. ทรัพย์คือหิริ ๔. ทรัพย์คือโอตตัปปะ;  ๕. ทรัพย์คือสุตะ ๖. ทรัพย์คือจาคะ และ  ๗. ทรัพย์คือ ปัญญา.

(ธรรมนีติ ธนกถา ๗๕, กวิทัปปณนีติ ๑๗๖, องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕)

ศัพท์น่ารู้ :

สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา, -ความเชื่อ) สทฺธา+ธน > สทฺธาธน+สิ วิ. สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า สัทธาธนะ) อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส.

สีลธนํ (ทรัพย์คือศีล) สีล+ธน > สีลธน+สิ วิ. สีลํ เอว ธนํ สีลธนํ (ทรัพย์คือศีล ชื่อว่า สีลธนะ) อวธารณบุพพบท กัมม.

หิรี (หิริ, ความละอายต่อบาป) หิริ+สิ

โอตฺตปฺปิยํ (โอตตัปปะ, ความเกรงกลัวต่อบาป) โอตฺตปฺปิย+สิ

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

สุตธนญฺจ ตัดบทเป็น สุตธนํ+จ (และทรัพย์คือสุตะ, พหูสูตร) สุต+ธน > สุตธน+สิ

จาโค (การสละ, การให้) จาค+สิ

จ (ด้วย, และ) นิ.

ปญฺญา (ปัญฺญา, ความรู้ทั่ว, รู้ตามเป็นจริง) ปญฺญา+สิ

เว (แล) นิ. ทำบทให้เต็ม (ปทปูรณ)

สตฺตมํ (ทีเจ็ด) สตฺตม+สิ

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ทรัพย์คือความเชื่อ ความสงบการวาจา  ความละอาย ความเกรงกล้ว แลความเผื่อแผ่  รวมทั้งปัญญาด้วย เป็นทรัพย์ประเสริฐสุด.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ ๑. ศรัพท์ ความเชื่อ ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย  ๓. หิริ ความละอายใจ ๔. โอตัปปะ ความกลัวผิด ๕. สุตะ ความเรียนรู้ ๖. จาคะ ความเผื่อแผ่  ๗. ปัญญา ความรอบรู้ ทั้ง ๗ นี้ เป็นทรัพย์อันประเสริฐแท้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ


วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565

ปากเป็นนาย

ปากเป็นนาย

หตฺถปาทา  สิโร  ปิฎฺฐิ    กุจฺฉิ  ปญฺจ  อิเม  ชนา 
มุขเมวูปเสวนฺติ              สทาว  อนุสาสิตา 

ชนทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ มือ ๑ เท้า ๑  ศีรษะ ๑ หลัง ๑ และท้อง ๑  ย่อมเข้าไปคบหาปากและ  คอยรับคำสั่งอยู่ทุกเมื่อเทียว.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๔)

ศัพท์น่ารู้ :

หตฺถปาทา (มือและเท้า) หตฺถ+ปาท > หตฺถปาท+โย = หตฺถปาทา

สิโร (ศีรษะ, หัว) สิร+สิ

ปิฎฺฐิ (หลัง) ปิฏฺฐิ+สิ

กุจฺฉิ (ท้อง) กุจฺฉิ+สิ

ปญฺจ (ห้า, ๕) ปญฺจ+โย สังขยาคุณนาม

อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม

ชนา (ชน, คน ท.) ชน+โย แปลง โย เป็น อา § สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)

มุขเมวูปเสวนฺติ ตัดบทเป็น มุขํ+เอว+อุปเสวนฺติ (ย่อมเข้าไปเสพ ซึ่งปาก นั่นเทียว, ประจบปาก) อุป+√เสว+อ+อนฺติ = อุปเสวนฺติ (คบหา, ซ่องเสพ) ภุวาทิ. กัตตุ.

สทาว ตัดบทเป็น สทา+เอว (ในกาลทุกเมื่อนั่นเทียว) สพฺพ+ทา = สทา

อนุสาสิตา (อนุศาสน์, ตามสอนแล้ว, ถูกตามสอนแล้ว, รับใช้ปาก) อนุ+√สาส+อิ+ต > อนุสาสิต+โย = อนุสาสิตา กิริยากิตก์

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ชนทั้งห้านี้ คือ นายมือ นายเท้า  นายศีรษะ นายหลัง นายท้อง

จะต้องเข้าไปคบประจบนายปาก  ต้องรับใช้นายปากในกาลทุกเมื่อ ฯ

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนทั้ง ๕ พวกนี้ คือนายมือ นายเท้า นายหัว นายหลัง นายท้อง

จะต้องประจบประแจงนายปากทั้งนั้น ต้องอาสารับใช้นายปากตลอดไป.

กถากถา นิฏฺฐิตา  -  จบแถลงถ้อยคำ

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดมณีวงศ์ จังหวัดนครนายก

วัดมณีวงศ์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครนายก โดดเด่นด้วยความมีชื่อเสียงของถ้ำพญานาค ซึ่งภายในถ้ำมีความงดงาม​ตระการตา สุดอลังการมาก 








ปากเป็นเอก

ปากเป็นเอก

อิจฺฉิตพฺเพสุ   กมฺเมสุ,      วาจาย  กุสลํ  มูลํ;
วาจาย  กุสเล  นฏฺเฐ,    อิจฺฉิตพฺพํ  น  สิชฺฌติ.

ความฉลาดในการเจรจาเป็นเบื้องต้น  (แห่งความสำเร็จ)ในการงานที่ปรารถนา  เมื่อไม่มีความฉลาดในการเจรจา  สิ่งที่ปรารถนา ย่อมไม่สำเร็จ.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๓ )

ศัพท์น่ารู้ :

อิจฺฉิตพฺเพสุ (ที่ควรถูกปรารถนา, ที่พึงถูกต้องการ) √อิสุ+อิ+ตพฺพ > อิจฺฉิตพฺพ+สุ แปลงที่สุด อิสุ ธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)

กมฺเมสุ (ในกรรม, การงาน, กิจการ ท.) กมฺม+สุ

วาจาย (ในวาจา, คำพูด) วาจา+ส หรือ วาจา+สฺมึ ก็ได้ หลัง อาการันต์ในอิตถีลิงค์ แปลง ส เป็น อาย § ฆโต นาทีนํ. (รู ๑๗๙)

กุสลํ (ความฉลาด, กุศล) กุสล+สิ

มูลํ (มูล, ราก, ฐาน) มูล+สิ

วาจาย (วาจา, คำพูด)

กุสเล (เมื่อกุศล,​ ความฉลาด) กุสล+สฺมึ

นฏฺเฐ (ฉิบหาย, พินาศ, ไม่มีแล้ว) นส+ต > นฏฺฐ+สฺมึ

อิจฺฉิตพฺพํ (ที่ถูกปรารถนา, ที่ถูกต้องการ) √อิส+อิ+ตพฺพ > อิจฺฉิตพฺพ+สิ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สิชฺฌติ (สำเร็จ, สมหวัง) √สิธ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ความฉลาดแห่งวาจา  เป็นมูลรากในกิจการที่ตนปรารถนา

เมื่อความฉลาดสำหรับพูดไม่มีแล้ว  ที่ปรารถนาไว้ก็ย่อมไม่สำเร็จ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ความฉลาดพูด เป็นมูลฐานในกิจการที่ตนปรารถนา

เมื่อไม่ฉลาดพูดสิ่งที่ปรารถนาไว้ก็ไม่สำเร็จ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี , 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดมณีวงศ์ จังหวัดนครนายก

วัดมณีวงศ์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครนายก โดดเด่นด้วยความมีชื่อเสียงของถ้ำพญานาค ซึ่งภายในถ้ำมีความงดงาม​ตระการตา สุดอลังการมาก 







มีครบแต่จบไม่สวย หรือมีครบทั้งจบลงด้วยดีก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุใด ?

มีครบแต่จบไม่สวย หรือมีครบทั้งจบลงด้วยดีก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุใด ?  คือ  

๑. บุคคลมีอายุยืนยาวนานก็ดี  

๒. มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมากก็ดี  

๓. มีฐานะดีก็ดี  

๔. มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก ทั้งทรงจำอรรถธรรมไว้ได้จนคล่องปากขึ้นใจก็ดี

แต่จะปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มากได้หรือไม่นั้น เพราะเหตุอะไร ?

ในข้อนั้นมีอธิบายว่า

บุคคลเป็นผู้มีอายุยืนยาวนาน เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก มีฐานะดี เป็นผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก ทั้งทรงจำอรรถธรรมไว้ได้จนคล่องปากขึ้นใจ แต่ถ้าบุคคลนั้นมิได้แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ คือเธอเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริต ก็ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก แต่เธอย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลและเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะว่าบุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากสัทธรรม แต่ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม แม้คนหมู่มากพากันทำตามอย่างเธอแล้วก็ย่อมประสบทุกข์โดยส่วนเดียว นี้เรียกว่ามีครบแต่จบไม่สวย.

ส่วนบุคคลที่มีอายุยืนยาวนาน เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก มีฐานะดี เป็นผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก ทรงจำอรรถธรรมไว้ได้จนคล่องปากขึ้นใจ ทั้งมีสัมมาทิฐิ คือมีความเห็นชอบและไม่วิปริต ย่อมทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม และให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม คนหมู่มากพากันทำตามอย่างเธอแล้วย่อมประสบความสุข นี้เรียกว่ามีครบทั้งจบลงด้วยความดี ประพฤติเป็นประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ดังนี้แล.

สาระธรรมจากเถรสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) 





You Protect Yourself

You Protect Yourself.

—Venerable K. Sri Dhammananda Mahathera

'Protecting oneself one protects others' 
'Protecting others one protects oneself.'
Once the Blessed One told His monks the following story:

'There was once a pair of jugglers who did their acrobatic feats on a bamboo pole. One day the master said to his apprentice: 'Now get on my shoulders and climb up the bamboo pole.' When the apprentice had done so, the master said: 'Now protect me well and I shall protect you. By watching each other in that way, we shall be able to show our skill, we shall make a good profit and you can get down safely from the bamboo pole.' But the apprentice said: 'Not so, master. You! O Master, should protect yourself, and I too shall protect myself. Thus self-protected and self-guarded we shall safely do our feats."

'This is the right way,' said the Blessed One and spoke further as follows:

'It is just as the apprentice said: 'I shall protect myself,' in that way the Foundation of Mindfulness should be practised. 'I shall protect others,' in that way the Foundation of Mindfulness should be practised. Protecting oneself one protects others; protecting others one protects oneself.

'And how does one, in protecting oneself, protect others? By the repeated and frequent practice of meditation.

'And how does one, by protecting others, protect oneself? By patience and forbearance, by a non-violent and harmless life, by loving kindness and compassion.' (Satipatthana, Samyutta, No:19)

'Protecting oneself one protects others' 

'Protecting others one protects oneself'

These two sentences supplement each other and should not be taken (or quoted) separately.

Nowadays, when social service is so greatly stressed, people may for instance, be tempted to quote, in support of their ideas, only the second sentence. But any such one-sided quotation would misrepresent the Buddha's statement. It has to be remembered that, in our story the Buddha expressly approved the words of the apprentice, which is that one has first to carefully watch one's own steps if one wishes to protect others from harm. He who is sunk in the mire himself cannot help others out of it. In that sense, self-protection is not selfish protection. It is the cultivation of self-control, and ethical and spiritual self-development.

Protecting oneself one protects others?the truth of this statement begins at a very simple and practical level. At the material level, this truth is so self-evident that we need not say more than a few words about it. It is obvious that the protection of our own health will go far in protecting the health of our closer or wider environment, especially where contagious diseases are concerned. Caution and circumspection in all our doings and movements will protect others from harm that may come to them through our carelessness and negligence. By careful driving, abstention from alcohol, by self-restraint in situations that might lead to violence?in all these and many other ways we shall protect others by protecting ourselves.

We come now to the ethical level of that truth. Moral self-protection will safeguard others, individual and society, against our own unrestrained passions and selfish impulses. If we permit the Three Roots of everything evil, Greed, Hate and Delusion, to take a firm hold in our hearts, then that which grows from those evil roots will spread around like the jungle creeper which suffocates and kills the healthy and noble growth. But if we protect ourselves against these Three Roots of Evil, fellow beings too will be safe from our reckless greed for possession and power, from our unrestrained lust and sensuality, from our envy and jealousy. They will be safe from the disruptive, or even destructive and murderous, consequences of our hate and enmity, from the outburst of our anger, from our spreading an atmosphere of antagonism and quarrelsomeness which may make life unbearable for those around us. But the harmful effects of our greed and hate on others are not limited to cases when they become the passive objects or victims of our hate, or their possession the object of our greed. Greed and hate have an infectious power, which can multiply the evil effects. If we ourselves think of nothing else than to crave and grasp, to acquire and possess, to hold and cling, then we may rouse or strengthen these possessive instincts in others too. Our bad example may become the standard of behavior of our environment for instance among our own children, our colleagues, and so on. Our own conduct may induce others to join us in the common satisfaction of rapacious desires; or we may arouse feelings of resentment and competitiveness in others who wish to beat us in the race. If we are full of sensuality we may kindle the fire of lust in others. Our own hate may cause the hate and vengeance of others. It may also happen that we ally ourselves with others or instigate them to common acts of hate and enmity.

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom






Wat Koh-Pha-Doh is a beautiful Buddhist temple in Mae Tuen Subdistrict, Omkoi District, Chiang Mai Province, Thailand.