วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ?

ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ?

ได้แก่ คนที่มีลักษณะดังนี้ คือ

๑. มีจิตฟุ้งซ่าน ใจไม่สงบ

๒. ถือตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตน

๓. โลเล ไม่เป็นหลักเป็นฐาน ไม่อยู่กับร่องกับรอย

๔. ปากกล้า ปากจัดเถียงเก่ง พูดไม่เกรงกลัวใคร

๕. พูดพร่ำเพรื่อเกินขอบเขตบ่อยๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ ไม่สำรวมถ้อยคำ

๖. หลงลืมสติ มีสติฟั่นเฟือนไป

๗. ไม่มีสัมปชัญญะ ชอบเผลอตัว

๘. มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่มีจิตเป็นสมาธิ

๙. มีจิตกวัดแกว่ง ตื่นเตลิด

๑๐. ไม่สำรวมอินทรีย์ มีอินทรีย์อันเปิดเผย ไม่สำรวมกิริยามารยาท

นี้เรียกว่า “บุคคลที่ประมาณได้ง่าย”

เพราะฉะนั้น จงอย่าเป็นคนแบบนี้ เพราะจะกลายเป็นผู้ที่เขาคาดหมายไว้ในทางที่ไม่ดี

สาระธรรมจากอัปปเมยยสูตร ตติยปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ,  16/5/65

อาปายิกสูตรตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

"พระนอน" วัดดอนขนาก จ.นครปฐม

ประดิษฐานพระนอนปางไสยาสน์ ขนาด 19 เมตร รวมทั้งมีประติมากรรมวิจิตรงดงาม เช่น บันไดนาค วังพญานาค ลอดถ้ำ ลอดโบสถ์เก่า 100 ปี พื้นที่กว้างใหญ่ มีสระน้ำ บรรยากาศร่มรื่น มีร้านอาหาร กาแฟ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

บัณฑิตชนในครั้งพุทธกาลท่านศึกษาในอธิศีล

บัณฑิตชนในครั้งพุทธกาลท่านศึกษาในอธิศีล (คือรักษาอธิศีล อธิศีลในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ ซึ่งเรียกว่าอธิศีลเพราะเทียบกับศีล ๕) ชอบฟังพระสัทธรรม และปฏิบัติบำรุงพระสงฆ์ จึงไปสู่สุคติง่าย ฯ

สมดังที่พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้กับหัตถกเทพบุตรดังนี้ว่า “หัตถกะ ธรรมประจำตัวของท่านเมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน บัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวท่านบ้างไหม”

หัตถกเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมประจำตัวของข้าพระองค์เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวของข้าพระองค์ และธรรมที่ไม่ได้มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้กลับมีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัจจุบันนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่รายล้อมไปด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แม้ฉันใด  ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รายล้อมไปด้วยเทพบุตรทั้งหลายอยู่ พวกเทพบุตรพากันมาจากถิ่นไกลด้วยตั้งใจว่าจักฟังธรรมในสำนักของหัตถกเทพบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่มยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการก็จุติเสียก่อน (สมัยก่อนข้าพเจ้าทำบุญรักษาศีลไม่มีบริวาร แต่ตอนนี้กลับมีบริวารมาก แต่การเฝ้าพระพุทธเจ้าการฟังพระสัทธรรมและการบำรุงสงฆ์ข้าพเจ้าไม่เคยอิ่มเลย)

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว

๒. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว

๓. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการนี้แล ก็จุติเสียแล้ว" ดังนี้ ฯ

หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า   “ความอิ่ม ในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค ๑ ในการฟังสัทธรรม ๑ ในการบำรุงพระสงฆ์ ๑ จักมีในกาลไหนๆ เป็นแน่แท้ (ต้องมีสักวันหนึ่ง)

(แต่ข้าพระองค์) ผู้เป็นหัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีลอยู่เลย ยังยินดีในการฟังสัทธรรม ยังไม่อิ่มธรรม ๓ ประการ ก็ไปสู่พรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว (ไปเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว) ดังนี้  ฯ

เพราะฉะนั้น จงอย่ารู้อิ่มการเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ด้วยการไหว้พระสวดมนต์ การฟังพระสัทธรรมหรือการเรียนธรรม และการอุปถัมภ์บำรุงหมู่แห่งภิกษุผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยเถิด

สาระธรรมจากหัตถกสูตร ตติยปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

17/5/65




ការធ្វើដំណើររបស់ដួងវិញ្ញាណក្រោយមរណកាល

ការធ្វើដំណើររបស់ដួងវិញ្ញាណក្រោយមរណកាល 

ដំណើរត្រាច់រង្គត់របស់ដួងវិញ្ញាណចាត់ជារឿងសកលក្នុងវដ្ដសង្សារ ។ ការស្លាប់គ្រាន់តែជាការចប់ទៅនៃជីវិតក្នុងភពមួយប៉ុណ្ណោះ បន្ទាប់ពីនោះ ដួងវិញ្ញាណក៏ធ្វើដំណើរទៅកាន់សុគតិភព ឬ ទុគ្គតិភពតទៅទៀត ហេតុនោះ​ ទោះអ្នកស្លាប់នោះជាជនជាតិអ្វី សាសនាអ្វី ប្រទេសអ្វី ឬ ពូជអម្បូរអ្វីក៏ដោយ ក៏ត្រូវស្ថិតនៅក្រោមច្បាប់កម្មផលទាំងអស់ ។ 

ស្លាប់បាន ៧ ថ្ងៃ នៅតែស្ថិតក្នុងភពមនុស្ស និង ដឹងខ្លួនថា ស្លាប់  

លុះស្លាប់ទៅហើយ ដួងវិញ្ញាណក៏របូតចេញពីកាយសាច់នេះទៅ  ក្នុងកំលុង ៧ ថ្ងៃនេះ ដួងវិញ្ញាណរបស់អ្នកស្លាប់នៅតែវិលវល់ក្នុងភពមនុស្សនេះនៅឡើយ  វិលវល់នៅម្ដុំផ្ទះសម្បែង កន្លែងធ្វើការ ទីកន្លែងដែលធ្លាប់ស្គាល់ ជាដើម ព្យាយាមធ្វើទំនាក់ទំនងជាមួយគ្រួសារ សាច់ញាតិ ឬ មិត្តភក្តិ ក៏ប៉ុន្តែ​នៅពេល​និយាយប្រាស្រ័យ​ជាមួយនឹង​នរណាម្នាក់​ ក៏​គ្មាន​នរណា​យល់ដឹង​ ព្រោះនៅភពផ្សេងគ្នា ក៏ដឹងខ្លួនឯងថាស្លាប់ហើយ ។ កំលុង 7 ថ្ងៃនេះ ចាត់ជាពេលវេលារង់ចាំផលបុណ្យ ឬ ផលបាប  ជាកំលុងពេលដែលធ្វើឲ្យអ្នកស្លាប់នៅមានឱកាសទទួលផលបុណ្យពីសាច់ញាតិ ឬ មិត្រភក្តិ ដែលធ្វើបុណ្យឧទ្ទិស​ទៅឲ្យបាន ព្រោះហេតុនោះ ពិធីបុណ្យ ​៧ ​ថ្ងៃ ​ទើបត្រូវបានធ្វើឡើងជានិច្ចដើម្បីឧទ្ទិស​ចំណែកបុណ្យកុសល​ដល់​អ្នក​ស្លាប់ទៅហើយនោះ ។ នៅពេល​ទទួល​ផលបុណ្យដែលញាតិមិត្រឧទ្ទិសទៅឲ្យរួចហើយ​ អ្នកស្លាប់នោះក៏នឹង​ធ្វើដំណើរទៅកាន់សុគតិភពតាមអំណាច​បុណ្យដែលខ្លួនមាននិងទទួលបាន ដោយមិនទៅកាន់យមលោកទេ ។ 

៧ ថ្ងៃ ដល់ ៥០ ថ្ងៃ កំលុងពេលរង់ចាំសេចក្ដីវិនិច្ឆ័យបាបបុណ្យឯយមលោក 

សម្រាប់បុគ្គលដែលនឹករលឹកបុណ្យមិនបាន ឬ មិនមានញាតិមិត្រធ្វើបុណ្យឧទ្ទិសទៅឲ្យ នៅពេលគ្រប់ ៧ ថ្ងៃហើយ ភ្នាក់ងារយមលោក(កុម្ភណ្ឌ) ក៏នាំដួងវិញ្ញាណរបស់អ្នកស្លាប់នោះទៅកាន់យមលោក ដើម្បីរង់ចាំសេចក្ដីវិនិច្ឆ័យបាបបុណ្យដែលបានធ្វើកំលុងនៅមានជីវិត ។ រយៈពេល ៥០ ថ្ងៃនេះ ដួងវិញ្ញាណរបស់អ្នកស្លាប់នៅតែអាចទទួលចំណែកបុណ្យពីភពមនុស្សបាន ។ 

កំលុង ៥១ ដល់ ១០០ ថ្ងៃ ត្រូវបានស្ដេចយមរាជវិនិច្ឆ័យបាបបុណ្យ 

ស្ដេចយមរាជដែលជាទេព្ដាជាន់ចាតុម្មហារាជិកាក៏សួរដេញដោលកិរិយាប្រព្រឹត្តរបស់អ្នកស្លាប់ខណៈនៅមានជីវិតរស់ ដោយមានសុវណ្ណលេខាស្ដាំជាអ្នកលាតត្រដាងបញ្ជីបុណ្យ និង សុវានលេខាឆ្វេងជាអ្នកលាតត្រដាងបញ្ជីបាប ដើម្បីវិនិច្ឆ័យឲ្យដួងវិញ្ញាណទៅកើតក្នុងទុគ្គតិភព គឺ នរក ប្រេត អសុរកាយ តិរច្ឆានជាដើម ឬ សុគតិភព គឺ ភពមនុស្សជាដើម តាមកម្លាំងបុណ្យ និង បាបដែលបានធ្វើក្នុងអតីតជាតិ ។

ក្នុងកំលុង ៥១ ដល់ ១០០ ថ្ងៃនេះ ញាតិមិត្រនៅអាចធ្វើបុណ្យឧទ្ទិសទៅឲ្យដួងវិញ្ញាណរបស់អ្នកស្លាប់បាន បន្ទាប់ពីនោះ ស្ដេចយមរាជក៏វិនិច្ឆ័យទៅតាមកម្លាំងបុណ្យនិងបាបរបស់អ្នកស្លាប់តទៅ ហើយក៏បញ្ជាឲ្យភ្នាក់ងារយមរាជប្រគល់ទឹកបំភ្លេចអតីតជាតិដល់អ្នកដែលត្រូវទៅកើតទៀតផង ៕ 

ប្រភព ៖ ជីវិតបរលោកនិងអដ្ឋកថា

អ្នកសិក្សាស្រាវជ្រាវ ព្រះមហាភិរម្យ

វត្តបឹងព្រីង ស្រុកថ្មគោល ខេត្តបាត់ដំបង

២១ ឧសភា ២០២២


วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อาปายิกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ)

อาปายิกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ (ถ้า) ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก

บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารี

๒. บุคคลที่ตามกำจัดท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยกรรมที่ไม่มีมูลอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์

๓. บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามไม่มี” แล้วถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล (ถ้า) ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก” ดังนี้ ฯ

ในอาปายิกสูตรนั้นท่านพระอรรถกถาจารย์อธิบายเนื้อความไว้ดังต่อไปนี้

๑. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาปายิกา เพราะจะไปสู่อบาย

๒. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เนรยิกา เพราะจะไปสู่นรก

๓. บทว่า “ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้” คือ ไม่ละกรรมชั่วทั้ง ๓ มีการปฏิญาณตนว่า “เป็นพรหมจารี” เป็นต้นนี้

๔. บทว่า “บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี” ได้แก่ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เทียม หรือผู้มีปฏิญาณอย่างนี้ว่า “แม้เราก็เป็นพรหมจารี” โดยไม่ละอากัปกิริยา(ที่ชั่ว)ของพวกเขา

๕. บทว่า “ตามกำจัด” คือ ด่า บริภาษ ติเตียน

๖. บทว่า “โทษในกามไม่มี” คือ ผู้ซ่องเสพกิเลสกามและวัตถุกามโดยคิดว่า “มันไม่มีโทษ” (อันที่จริงกิเลสกามและวัตถุกามมีโทษมาก)

๗. บทว่า “แล้วถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย” คือ ถึงความเป็นผู้จะต้องดื่ม ถึงความเป็นผู้จะต้องบริโภค ถึงความเป็นผู้จะต้องดื่มกิน เหมือนการดื่มน้ำของผู้กระหายน้ำ ด้วยจิตปราศจากความรังเกียจ (ในกามทั้งหลาย)

๘. บทว่า “บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้” คือ บุคคลที่มีวาทะและทิฏฐิในลัทธิที่มีความเชื่อถือผิดๆ

๙. ในพระสูตรนี้ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว คือบุคคลที่ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก ต้องเวียนวายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอย่างยาวนาน ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอาปายิกสูตร ตติยปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 15/5/65

ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ?เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

2,300 years old Standing Buddha paintings in Dhammachakra mudra in Pitalkhora Buddhist caves.

The Pitalkhora Buddhist Caves, in the Satmala range of the Western Ghats of Maharashtra, India, are an ancient Buddhist site consisting of 14 rock-cut cave monuments which date back to the third century BCE, making them one of the earliest examples of rock-cut architecture in India. 









ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ?

ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ?

วันนี้อัญเชิญพระพุทธพจน์ในทุติยปาปณิกสูตร (พระสูตรว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๒) ในปฐมปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย มาให้ท่านอ่านและได้พิจารณาเนื้อความแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

“ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในโภคทรัพย์

องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ พ่อค้าในโลกนี้

๑. มีตาดี   ๒. มีธุรกิจดี   ๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย

๑. พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร ?

คือ พ่อค้าในโลกนี้รู้จักสินค้าว่า “สินค้านี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จักมีมูลค่าประมาณเท่านี้ มีกำไรเท่านี้” พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล

๒. พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างไร ?

คือ พ่อค้าเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างนี้แล

๓. พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร ?

คือ คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก ย่อมรู้จักพ่อค้าในโลกนี้อย่างนี้ว่า “พ่อค้าผู้นี้แลมีตาดี มีธุรกิจดี และสามารถที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้ทั้งใช้คืนให้แก่พวกเราได้ตามกำหนดเวลา” คหบดีหรือบุตรคหบดีเหล่านั้นย่อมเชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคทรัพย์ว่า “นับแต่นี้ไป ท่านจงนำโภคทรัพย์ไปเลี้ยงดูบุตรภรรยา และใช้คืนให้พวกเราตามกำหนดเวลา” พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล

พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ ฉันใด

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. มีตาดี  ๒. มีธุระดี ๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย

๑. ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล

๒. ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างนี้แล

๓. ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม” ดังนี้  ฯ

สาระธรรมจากทุติยปาปณิกสูตร ปฐมปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 11/5/65

เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

“อุโบสถเงินหลังแรกของโลก” วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่

อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ตั้งอยู่บนถนนวัวลาย ย่านทำเครื่องเงินเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างจากแรงพลังศรัทธาของชาวบ้านชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องเงินท้องถิ่น

ตัวอุโบสถสร้างด้วยโลหะเงินและดีบุก ทั้งภายในและภายนอก เป็นอุโบสถทรงล้านนาที่มีความละเอียดงดงามของลวดลาย เป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน “พระพุทธปาฏิหาริย์ หรือ "พระพุทธปาฏิหาริย์”









เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม

เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม

“ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้  เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด

กรรมที่ถูกโลภะโทสะโมหะครอบงำ เกิดจากโลภะโทสะโมหะ มีโลภะโทสะโมหะเป็นเหตุ และมีโลภะโทสะโมหะเป็นแดนเกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล” ดังนี้เป็นอาทิ ฯ

๑.โลภะ คือความโลภที่มีความอยากได้และความละโมบเป็นต้นเหตุ

๒.โทสะ คือความโกรธที่มีความดุร้ายและความประทุษร้ายเป็นต้นเหตุ

๓.โมหะ คือความหลงที่มีความหลงและความงมงายเป็นต้นเหตุ

อกุศลกรรมที่บุคคลทำแล้วด้วยโลภจิต หรือกรรมที่บุคคลผู้ถูกความโลภครอบงำจนเกิดละโมบแล้วทำลงไป ชื่อว่ากรรมที่เกิดจากความโลภ แม้ในอกุศลกรรมที่ทำด้วยโทสจิตและโมหจิตก็เช่นเดียวกัน

สาระธรรมจากนิทานสูตร ปฐมปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ,  12/5/65

การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกันอามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

“อุโบสถเงินหลังแรกของโลก” วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่

อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ตั้งอยู่บนถนนวัวลาย ย่านทำเครื่องเงินเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างจากแรงพลังศรัทธาของชาวบ้านชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องเงินท้องถิ่น

ตัวอุโบสถสร้างด้วยโลหะเงินและดีบุก ทั้งภายในและภายนอก เป็นอุโบสถทรงล้านนาที่มีความละเอียดงดงามของลวดลาย เป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน “พระพุทธปาฏิหาริย์ หรือ "พระพุทธปาฏิหาริย์”








ภาษาคนภาษาธรรม

ภาษาคนภาษาธรรม

ภาษาคนคำว่า "ว่าง" ก็หมายถึงไม่มีอะไรเลย  

แต่คำว่า "ว่าง" ภาษาธรรมนั้น  ทุกสิ่งทุกอย่าง คงมีอยู่ตามเดิม  หากแต่ว่าไม่มีความรู้สึกว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นตัวเป็นตน  เป็นตัวเราเป็นของเรา เท่านั้น จึงเรียกว่าทุกสิ่งว่าง

มีคนโง่ๆ ตั้งหลายคน พอได้ยินคำว่า "ว่าง" ของพระพุทธเจ้า ก็เข้าใจเอาว่าไม่มีอะไรไปหมด เลยไม่เข้าใจคำว่า "จิตว่าง" คือ จิตที่ไม่ใด้ยึดถือสิ่งใดไว้โดยความเป็นตัวตนของตน คือว่างจากการยึดถือ ไปเข้าใจในภาษาคนในเสียว่า เมื่อจิตว่างแล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกคิดนึกอะไรเลย ดังนี้เป็นต้น

อีกคำหนึ่ง เช่น คำว่า ความเกิด ในภาษาคน หมายถึงเกิดจากท้องแม่ แต่ในภาษาธรรมนั้น หมายถึงการเกิดของความรู้สึกที่ยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู เป็นของกู เท่านั้นเอง. มันแตกต่างกันถึงกับว่า ความเกิดในภาษาธรรมนี้ เป็นทุกข์แน่ๆ และเกิดได้วันละหลายครั้ง หลายสิบ หลายร้อยครั้ง เกิดทีไรเป็นทุกข์ทุกที ส่วนการเกิดในภาษาคนนั้น คนหนึ่งมีครั้งเดียว เกิดจากท้องแม่ครั้งเดียว และไม่เป็นทุกข์เลย จนกว่าจะไปยึดถือความเกิดนั้น เป็นของเราเสียก่อน มันจึงจะเป็นทุกข์ ดังนั้นก็เป็นเพราะไปเกิดใหม่ในภาษาธรรมเข้านั่นเอง คือไปยึดถือว่า ความเกิดนั้นเป็นของเรา มันจึงเป็นทุกข์ขึ้นมา

ความเกิดในภาษาธรรม หมายถึงการเกิดแห่งอุปาทาน ยึดมั่นว่าตัวเรา ของเรา ทำให้มีอะไรเกิดเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราขึ้นมา จึงได้เป็นทุกข์ ส่วนความเกิดหรือแม้แต่ ความแก่ ความตาย ตามธรรมชาดินั้น หาได้เป็นทุกข์ไม่ ต่อเมื่อใดไปยึดมั่นเอาความเกิด ความแก่ ความตาย นั้นว่าเป็นของเราขึ้นมา มันจึงจะเป็นทุกข์

เพราะฉะนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า "สงฺขิเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา" เมื่อจะกล่าวโดยสรุปความแล้ว เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน นั้นแหละเป็นตัวทุกข์ ดังนี้

เบญจขันธ์ ธรรมดาหาได้เป็นทุกข์ไม่ เบญจขันธ์ประกอบด้วยอุปาทานขึ้นมา ก็เมื่อเกิดอุปาทานขึ้นมาในใจ ทำให้ยึดถือขันธ์เหล่านั้น ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ตาม ว่าเป็นตัวฉัน หรือเป็นฉัน มันจึงเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจึงเกิดได้ทุกคราวที่มีการยึดมั่นด้วยอุปาทาน อันมาจากตัณหา และมาจากเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น เป็นต้น

ธรรมเทศนาโดย พุทธทาสภิกขุ ,  อบรมพระธรรมฑูต ในสวนโมกขพลาราม พ.ศ. ๒๕๑๐ , อนุรักษ์ต้นฉบับเดิม (น.๙๔)

___

สิ่งล่วงแล้ว แล้วไป อย่าใฝ่หา  ที่ไม่มา ก็อย่าพึง คนึงหวัง

อันวันวาน ผ่านพ้น ไม่วนวัง  วันข้างหน้า หรือก็ยัง ไม่มาเลย

ผู้ใดเฟ้น เห็นชัด ปัจจุบัน  เรื่องนั่นนั้น แจ่มกระจ่าง อย่างเปิดเผย

ไม่แง่นง่อน คลอนคลั่ง ดั่งเช่นเคย  รู้แล้วเลย ยิ่งเร้า ให้ก้าวไป

วันนี้เอง เร่งกระทำ ซึ่งหน้าที่  อันวันตาย แม้พรุ่งนี้ ใครรู้ใด้

เพราะไม่อาจ บอกปัด หรือผัดไว้  ต่อความตาย และมหา เสนามัน

ผู้มีเพียร เวียนเป็น อยู่เช่นนี้  ทั้งทิพา ราตรี แข็งขยัน

นั่นแหละผู้ "ภัทเท - กรัตต์" อัน สัตตบุรุษ ผู้รู้, ท่าน กล่าวกันเอย.

"สิริวยาส" แปลและประพันธ์ ,  ภัทเทกรัตต์ , เขาผู้ซึ่ง แม้มีชีวิตเพียงวันเดียว ก็น่าสรรเสริญ

ชุมนุมบทประพันธ์ ของสิริวยาส , (นามปากกาหนึ่งของ พุทธทาสภิกขุ) , อนุรักษ์ต้นฉบับเดิม (น.๔๖)

Credit: สโมสรธรรมทาน สวนโมกข์กรุงเทพ

วัดดอกคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่






ธมฺมจารี สุขํ เสติ  - ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

เสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕   ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล พรุ่งนี้วันพระพุทธเจ้า

ว่าด้วยการประพฤติธรรม

ธมฺมจารี สุขํ เสติ.   “ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข”  

(ขุ.ธ. ๒๕/๓๗,๓๘, ขุ.อุ. ๒๕/๓๖๖)

ผู้ประพฤติธรรม  หมายถึง  ผู้ดำรงตนอยู่บนหลักของศีลธรรม ดำเนินชีวิต ประกอบวิชาชีพ ภายใต้กรอบของศีลธรรมอันดี ไม่ละเมิดข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม และกระทำตามหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้กระทำเพราะเป็นทางแห่งความเจริญ

เมื่อว่าโดยความหมายที่สูงขึ้นไป  ผู้ประพฤติธรรม หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ดำเนินตามวิถีแห่งอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นหนทางที่จะนำผู้ดำเนินหรือผู้ปฏิบัติเข้าสู่ทางแห่งความพ้นทุกข์ คือเป็นหนทางที่จะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

บุคคลที่ประพฤติธรรม  จะเป็นบุคคลที่ละเว้นความชั่ว สร้างสมอบรมแต่กรรมดี หมั่นทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนา อันเป็นหนทางแห่งการสร้างบารมีและเข้าสู่ความพ้นทุกข์

เมื่อเป็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้  คือใช้ชีวิตด้วยการประพฤติธรรม ใช้หลักธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เขาย่อมห่างไกลจากอบายมุขคือทางแห่งความเสื่อมทุกประเภท และหันหน้าเข้าสู่ความสุขความเจริญโดยส่วนเดียว

บุคคลผู้ที่ประพฤติตามธรรมอยู่เสมอ  จึงเป็นบุคคลที่ห่างจากความทุกข์ มีความสุขเป็นผลที่จะได้รับ เพราะการกระทำของเขา เป็นสาเหตุแห่งความสุขโดยส่วนเดียว

ไม่ใช่แต่เพียงผู้ประพฤติธรรมเท่านั้นที่จะอยู่เป็นสุข  แม้แต่บริวารชน หรือบุคคลทั้งหลายที่คอยห้อมล้อมหรือคบค้าสมาคมกับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมได้รับอานิสงส์ไปด้วย คือพลอยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบสุขร่มเย็นไปด้วย

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การประพฤติธรรม มีอานิสงส์เป็นความสุข ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

ใจสั่งมา

Credit: ชาญ สร้อยสุวรรณ

___

ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม , ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขคนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ ,  'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ ,  เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม ,  ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ,  ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม ,  เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ , การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร , มลทินที่ร้ายแรงที่สุด

วัดระหาน หรือ วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพ : นักรบตะวันออก