วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ใกล้เกลือกินด่าง

ใกล้เกลือกินด่าง

วสุํ  คณฺหนฺติ  ทูรฎฺฐา,     ปพฺพเต  รตโนจิเต;
น  มิลกฺขา  สมีปฎฺฐา,      เอวํ  พาลา  พหุสฺสุเต.

ณ ภูเขาอันดารดาษไปด้วยแก้ว  อริยกชนอยู่ไกลย่อมถือเอาแก้วไป  แต่มิลักขชนถึงอยู่ใกล้ย่อมถือเอาไม่ได้   เปรียบเหมือนคนพาลย่อมไม่รับเอา   ความรู้ในปราชญ์ผู้คงแก่เรียน ฉะนั้น.

(ธรรมนีติ สุตกถา ๕๙, มหารหนีติ ๔๕)

ศัพท์น่ารู้ :

วสุํ (ทรัพย์, สมบัติ, แก้ว) วสุ+อํ

คณฺหนฺติ (ย่อมถือ, จับ, รับเอา, คว้าเอา, เลือกเอา) √คห+ณฺหา+อนฺติ คหาทิ. กัตตุ. ลง ณฺหา ปัจจัย § คหาทิโต ปฺป-ณฺหา. (รู ๕๑๗) ลบ ห อักษรของธาตุ ในเพราะ ณฺหา ปัจจัย § หโลโป ณฺหามฺหิ. (รู ๕๑๘)

ทูรฎฺฐา (ผู้ยืนอยู่ในที่ไกล, ผู้ดำรงอยู่ ณ ที่ไกล, คนอยู่ไกล)

ปพฺพเต (บนผู้เขา, ทีบรรพต) ปพฺพต+สฺมึ

รตโนจิเต (ที่เต็มไปด้วยรัตนะต่าง ๆ) รตน+โอจิต > รตโนจิต+สฺมึ, คำนี้พบคำอธิบายในชาตกัฏฐกถา เล่มที่ ๘ ข้อ ๓๑๒ (ชาตกัฏฐกถา ๘/๓๑๒) ท่านให้ความหมายคำนี้ไว้ว่า รตโนจิตนฺติ นานารตเนหิ โอจิตํ ปริปณุณํ ฯ (เต็มแล้วคือบริบูรณ์แล้ว ด้วยนานารัตนะทั้งหลาย ชื่อว่า รตโนจิตะ)

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

มิลกฺขา (ชาวมิลักขะ) มิลกฺข+โย, (ชาวมิลักขะ ตรงข้ามกับชาวอริยกะ หาดูจากพระบาฬีวินัยปิฏกเล่ม ๑ เถิด)

สมีปฎฺฐา (ผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้, ผู้ดำรงอยู่ ณ ที่ใกล้, คนอยู่ใกล้) สมีป+ฐ (ติฏฺฐติ) > สมีปฏฺฐ+โย

เอวํ (ฉันนั้น, อย่างนั้น) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ

พาลา (คนพาล, คนโง่ ท.) พาล+โย

พหุสฺสุเต (พหูสูตร, ผู้คงแก่เรียน) พหุสฺสุต+สฺมึ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เมื่อแลกแก้วกันบนภูเขา  คนอริยกะอยู่ไกลยังเลือกเอาแก้วไป  แต่ชาติมิลักขะแม้อยู่ใกล้ก็ไม่ต้องการสัญชาติพาล  ในนักปราชญ์ผู้มีความรู้มาก ก็อุปมาฉั้นนั้น.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เมื่อเลือกแก้วในภูเขา คนอริยกะถึงอยู่ไกล  ก็เลือกเอาแก้วไปได้   แต่คนมิลักขะแม้อยู่ใกล้ก็ไม่ได้แก้ว  สัญชาติพาลอยู่ใกล้ท่านผู้มีความรู้ดีก็เปรียบดังนั้น.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้👇

63. น้ำลึกไหลนิ่ง ,   62. กบในกะลา - The Frog Under the Coconut Shell ,   61. ผู้เจริญเหมือนโคถึก ,    60.  ประโยชน์อะไร? ,  59. ใกล้เกลือกินด่าง ,  58. ควรเลือกครูก่อนเรียน

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์  ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

"หลวงพ่อทองดำ" วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก

"หลวงพ่อทองดำ" พระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก ณ วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณในยุคสุโขทัย ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาวเมืองพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างมานาน 1,000 ปีเศษ ในวิหารหลวงพ่อทองดำ วัดราชบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก





Previous Post
Next Post

0 comments: