วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

“อย่าปล่อยให้หวั่นไหวจนกลายเป็นอื่น เพราะพระรัตนตรัยมีคุณอย่างสูงสุด”

“อย่าปล่อยให้หวั่นไหวจนกลายเป็นอื่น เพราะพระรัตนตรัยมีคุณอย่างสูงสุด”

เพราะความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ แม้ธาตุ ๔ อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในในพระพุทธ ในพระธรรม และในพระสงฆ์แล้ว จักไม่แปรเป็นอย่างอื่น คือจักไม่ถือกำเนิดในนรก ในสัตว์เดรัจฉาน หรือในแดนเปรตเลย

สมดังเนื้อความในนิเวสกสูตร (พระสูตรว่าด้วยการชักชวนให้ตั้งมั่นในฐานะ) ว่า

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า  “อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตรอำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการ

ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า   “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”

๒. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า   “พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

๓. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า   “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”

มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ(ธาตุลม) อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือพระอริยสาวกนั้นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ จักถือกำเนิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต

อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตรอำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการนี้แล ดังนี้ ฯ

ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่า

๑. ปฐวีธาตุ ที่เป็นธาตุมีอาการเข้มแข็ง ในโกฏฐาส ๒๐ อย่าง พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้

๒.อาโปธาตุ ที่เป็นน้ำ เป็นธาตุเกาะกุม ในโกฏฐาส ๑๒ อย่าง พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้

๓. เตโชธาตุที่เป็นธาตุแผดเผาในโกฏฐาส ๔ อย่าง พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้

๔. วาโยธาตุที่เป็นธาตุพัดผัน ในโกฏฐาส ๖ อย่าง พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้

พระอานนทเถระเจ้าแสดงว่า “จริงอยู่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ เหล่านี้พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะเข้าถึงความเป็นอัญญมัญญปัจจัย แต่สำหรับพระอริยสาวกไม่มีความเป็นอย่างอื่นไปได้เลย

ก็ในพระสูตรนี้ บทว่า อญฺญถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นอย่างอื่นโดยความเลื่อมใส และความเป็นอย่างอื่นโดยคติ เพราะว่าทั้ง ๒ อย่างนั้นไม่มีแก่พระอริยสาวก มีแต่ความเป็นอย่างอื่นโดยสภาพ (มีตายแล้วเกิดใหม่ได้ แต่ความเลื่อมใสและการได้เกิดในสุคติภูมิไม่เปลี่ยนเลย)

พระอริยสาวกที่เป็นมนุษย์ไปเป็นเทวดาก็มี ไปเป็นพรหมก็มี แต่ความเลื่อมใสของพระอริยสาวกนั้นจะไม่ขาดตอน (เปลี่ยนแปลง) ในระหว่างภพ ทั้งจะไม่ถึงความเป็นอย่างอื่นโดยคติ กล่าวคือไม่ไปสู่อบายคติเลย ดังนี้แล ฯ

สาระธรรมจากนิเวสกสูตร ในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 20/2/65

ภาพ : นักรบตะวันออก

Wat Tham Krabok is a beautiful Buddhist temple in the Phra Phutthabat District of Saraburi Province, Thailand.

"พระหินลาวา" วัดถ้ำกระบอก ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหิน แล้วนำมาหล่อด้วยความร้อนสูง จนละลายกลายเป็นลาวา และขึ้นรูปเป็นพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่กลางเทือกเขา มีพระอิริยาบถต่างๆ มากมายหลายองค์ให้กราบสักการะ








ทรัพย์ช่วยได้

ทรัพย์ช่วยได้

น  รูปํ  น  จ  ปญฺญาณํ,   น  จ  กุลญฺจ  สมฺภโว;
กาลวิปฺปตฺติสมฺปตฺเต,     ธนเมว  วิเสสกํ.

รูปหรือความมีหน้ามีตาก็ช่วยไม่ได้  ตระกูลหรือชาติกำเนิดก็ช่วยไม่ได้  เมื่อถึงกาลวิบัติขึ้นมา  ทรัพย์เท่านั้น วิเศษที่สุด.  (ธรรมนีติ ธนกถา ๗๗ โลกนีติ ๑๖๗)

ศัพท์น่ารู้ :

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

รูปํ (รูป, ร่างกาย) รูป+สิ

ปญฺญาณํ (ความรู้ทั่ว, ความปรากฏ, เครื่องปรากฏ) ปญฺญาณ+สิ

กุลญฺจ ตัดบทเป็น กุลํ+จ (และตระกูล) กุล+สิ

สมฺภโว (ความเกิด, ความเจริญ, น้ำกามของผู้ชาย) สมฺภว+สิ

กาลวิปฺปตฺติสมฺปตฺเต (ในกาลวิบัติถึงพร้อมแล้ว, เวลาถึงกาลวิบัติ, เมื่อถึงยามวิบัติแล้ว) กาล+วิปตฺติ+สมฺปตฺต > กาลวิปตฺติสมฺปตฺต+สฺมึ

ธนเมว ตัดบทเป็น ธนํ+เอว (ทรัพย์นั่นเทียว, ทรัพย์เท่านั้น) ธน+สิ, เอว เป็นนิบาต

วิเสสกํ (เป็นสิ่งที่พิเศษ) วิเสสก+สิ

คาถานี้ในโลกนีติ คาถาที่ ๑๖๗ มีข้อความคล้ายกันกันดังนี้

นีจํ  กุลํ  นิปญฺญํ  วา,   นิรูปํ  นิพลํ  สมํ;

อิมํ  กาลํ  ฉุตฺตกาลํ,  ธนเมว  วิเสสกํ.

จะมีสกุลต่ำ หรือไร้ปัญญา  รูปไม่งาม หรือไร้อำนาจ ก็เหมือนกัน  เพราะยุคสมัยมันเสื่อมแล้ว  ทรัพย์เท่านั้น เป็นสิ่งวิเศษสุด

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

รูปก็ช่วยไม่ได้ ความสง่าผ่าเผยก็ช่วยไม่ได้  สกุลก็ช่วยไม่ได้ เมื่อถึงยามวิบัติแล้ว ทรัพย์  อย่างเดียวเป็นของวิเศษแท้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ถึงยามวิบัติ รูปก็ช่วยไม่ได้  ความสง่ามีหน้ามีตาก็ช่วยไม่ได้   คนมีทรัพย์เท่านั้นมีสง่า  ทรัพย์เป็นสหายในโลก.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

Wat Wirachot Thammaram is a beautiful Buddhist temple in Khlong Luang Phaeng SubDistrict,  Mueang Chachoengsao District, Chachoengsao Province, Thailand.

วัดวีระโชติธรรมาราม ตำบลคลองหลวงแพ่ง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา,  บรรยากาศรอบๆ วัดร่มรื่น เงียบสงบ แวดล้อมด้วยทุ่งนา ภายในวัดมีองค์หลวงพ่อโสธรขนาดใหญ่ วิหารแก้วพระราชพรหมยาน






วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อารามบอย

อารามบอย

ไม่ใช่แค่คนหิ้วย่ามตามหลังพระ  “อารามบอย” เป็นภาษาปากที่แปลงมาจากคำว่า “เด็กวัด” ,   เด็ก = boy ,  วัด = อาราม

“เด็กวัด” หมายถึง เด็กชายที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน พ่อแม่หรือผู้ปกครองนำไปฝากให้พระสงฆ์อบรมสั่งสอนและพักอาศัยอยู่ในวัด นอกจากเล่าเรียนวิชาตามที่พระจะเป็นผู้สอนให้แล้วก็ทำหน้าที่รับใช้พระและช่วยทำกิจต่างๆ ของวัดไปด้วย

ต่อมาเมื่อทางบ้านเมืองตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นและกำหนดให้เด็กต้อง “เข้าโรงเรียน” โรงเรียนจึงทำหน้าที่อบรมสั่งสอนแทนวัด 

โรงเรียนในสมัยแรกมักตั้งอยู่ในวัด เด็กชายส่วนหนึ่งที่บ้านอยู่ไกลจึงยังคงพักอาศัยอยู่ในวัดด้วยในฐานะ “เด็กวัด”

ต่อมาแม้โรงเรียนและสถานศึกษาระดับต่างๆ จะขยายตัวออกไปจากวัดมากขึ้น นักเรียนชายส่วนหนึ่งที่อยู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีญาติอยู่ในเมือง เมื่อเข้าไปศึกษาในตัวเมืองหรือในเมืองหลวงก็ยังนิยมพักอาศัยตามวัดต่างๆ ในฐานะเป็น “เด็กวัด” และต้องทำกิจต่างๆ ตามที่วัดกำหนด เช่นไหว้พระสวดมนต์และรับใช้พระในโอกาสต่างๆ เช่นเดียวกับ “เด็กวัด” สมัยก่อน เพียงแต่หน้าที่หลักคือไปเรียนหนังสือ 

ลักษณะเช่นนี้จึงมีผู้กล่าวว่า เด็กวัดสมัยหลังนี้อาศัยวัดเป็นเสมือนหอพักเท่านั้น ไม่ได้มีชีวิตเป็น “เด็กวัด” ที่แท้จริงเหมือนในสมัยก่อน

อย่างไรก็ตาม สถานะของเด็กวัดในสายตาของคนทั่วไปมักต่ำต้อย เด็กที่ถูกเรียกว่า “เด็กวัด” มักรู้สึกมีปมด้อย ไม่เทียมหน้าเทียมตาเด็กทั่วไป 

คำว่า “เด็กวัด” จึงมีความหมายในทางไม่น่าชื่นชม และมักถูกมองอย่างเหยียดๆ หรือดูถูกดูหมิ่นเอาด้วยซ้ำ 

คำว่า “อารามบอย” จึงเกิดขึ้นคล้ายกับต้องการจะหลบเลี่ยง-หรือไม่ก็มีเจตนาจะล้อเลียน-คำว่า “เด็กวัด” นั่นเอง

ปัจจุบัน วัดต่างๆ แทบจะหาเด็กวัดไม่ได้แล้ว เด็กไทยสมัยใหม่มีช่องทางศึกษาหรือใช้ชีวิตแบบอื่นที่ไม่ต้องอาศัยวัดอีกต่อไป 

“เด็กวัด” หรือ “อารามบอย” กำลังกลายเป็นตำนานสำหรับเล่าขานว่า ครั้งหนึ่งสังคมไทยเคยมีคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในวัดในฐานะ “เด็กวัด” ก่อนที่จะเติบโตขึ้นไปเป็นใครต่อใครอยู่ในสังคม-ตั้งแต่คนระดับที่เอ่ยชื่อแล้วคนรู้จักกันทั่วประเทศหรือแทบทั่วโลก ไปจนถึงคนที่ไม่มีใครจำชื่อได้แม้แต่คนเดียว

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ,  ๑๑:๐๐






ศึกษาคำว่า "การเกิดขึ้น" ให้เข้าใจก่อน.

ศึกษาคำว่า "การเกิดขึ้น" ให้เข้าใจก่อน.

เมื่อพูดถึงคำว่า ผัสสะ บางคนก็ว่าเข้าใจแล้ว เข้าใจแล้ว นี้มันแน่นอน ก็มีคนเข้าใจเรื่องผัสสะ แต่ก็เข้าใจต่างๆ กันไป เข้าใจมากบ้างน้อยบ้าง บางคนเข้าใจไปในทางเถลไถลไปในทางอื่นก็มี แล้วแต่ว่าคนๆ นั้นเขาเคยได้ยินได้ฟังคำๆ นี้มาในลักษณะอย่างไร นี่แหละคือความจำเป็นที่ต้องเอามาพูดกันใหม่ ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ ให้ดียิ่งขึ้นไป จนมองเห็นชัดลงไปทีเดียวว่ามันเป็นเพียงสิ่งเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งต้นของการเกิดของสิ่งทุกสิ่ง

เมื่อพูดถึงคำว่า เกิดขึ้น นี้ก็อย่างเดียวกันอีก บางคนก็คิดว่าเข้าใจ แต่แล้วมันก็ยังเข้าใจน้อยเกินไป คือคนส่วนมากไม่เข้าใจว่า ทุกสิ่งมีการเกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลา แม้แต่สิ่งที่เรียกกันว่าโลกนี้

เมื่อพูดคำว่า โลกนี้เกิดและดับอยู่ตลอดเวลา บางคนไม่เข้าใจเอาเสียเลยทีเดียว แล้วยังจะหาว่าเป็นคำพูดที่บ้าๆ บอๆ หรือเป็นคำพูดที่แกล้งพูดล้อกันเล่น หรือว่าเป็นการใช้สำนวนโวหารมากเกินไป นี่ถ้าผู้ใดไม่มองเห็นโดยประจักษ์ชัดว่า แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า โลก โลกนี้ มีการเกิด - ดับๆ อยู่ตลอดเวลาแล้ว คนนั้นยังไม่รู้ธรรมะ ที่เป็นชั้น ก ข ก กา ในพุทธศาสนา

พุทธศาสนาสอนให้เห็นว่า ทุกอย่างมีการ เกิด และ ดับอยู่เสมอ จะช้าเร็วเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับจิตที่มีความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ นี้คนที่เขาไม่เคยเล่าเรียน และเป็นคนที่มองกันแต่ในแง่วัตถุ ก็จะไม่เชื่อ เพราะเขามองเห็นแผ่นดินโลกนี้มีอยู่ตลอดเวลา แล้วก็เรียนกันมาว่า ไม่รู้กี่แสน ก็ล้าน กี่ล้านล้านปีมาแล้ว มันก็มีแล้วอย่างนี้ จะเรียกว่า เกิด - ดับ อย่างไร ?  นี่ทางพุทธศาสนาพูดว่ามัน เกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลา ไปตามขณะจิต ที่รู้สึกต่อสิ่งนี้

นี่ขอให้พิจารณาดู ว่ามันเป็นคนละเรื่องกันถึงขนาดนี้ เป็นคนละอย่าง คนละแนว คนละความหมาย เดี่ยวนี้เรา จะเรียนเรื่องพุทธศาสนา เราจึงต้องเรียนตามหลักของพุทธศาสนา ไม่ใช่เรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นดิน ที่จะเรียนว่า แผ่นดินนี้มันมีอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ มา เป็นเวลานานเป็นล้านๆ ปีมาแล้ว

ทำไมต้องแยกกันเรียนอย่างนี้ ? เพราะว่าเรียนอย่างโน้น มันดับความทุกข์ไม่ได้ ถ้าเรียนอย่างนี้ อย่างพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า โลกมันเกิดดับอยู่ตลอดเวลา นี้มันดับความทุกข์ได้ เมื่อเราอยากจะเรียนอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ก็เพื่อจะให้ดับทุกข์ได้นั่นเอง

คนที่เรียนเรื่องโลกมาอย่างไร ย่อมมีผลเกิดขึ้นตามสมควรแก่การที่ตนเล่าเรียนมาอย่างนั้น เช่น เรียนมาในรูปที่ว่า โลกนี้มันเที่ยง หรือเป็นรูปธรรมที่เทียงแท้ ก็มีผลให้คนๆ นั้นยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่เรียกว่าโลกนั้นๆ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า เบ็นคนติดอยู่กับโลก ติดแน่นอยู่กับโลก หมุนไปตามโลก ออกมาไม่ได้ มันก็ต้องล้มลุกคลุกกลานไปตามโลก

ทีนี้คนหนึ่งเขาเรียนมาในลักษณะที่ตรงกันข้าม ใหรู้ตามที่เป็นจริงว่า โลกนี้เบ็นอย่างไร ? มีการ เกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลาอย่างไร ? ความรู้ชนิดนี้ ไม่ทำให้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในโลก คือไม่ต้องติดไปตามโลก มีจิตใจที่แยกออกมาได้จากโลก ก็ไม่ต้องล้มลุกคลุกคลานไปตามโลก นี่มันต่างกันอย่างที่เรียกว่าตรงกันข้าม หรือยิ่งกว่าตรงกันข้าม

ถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งนั้นๆ พอ ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นๆ แล้วก็จะต้องทุลักทุเลไปตามสิ่งนั้นๆ แม้แต่สังขารร่างกายนี้ เราไปเห็นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นของตน มันก็ยึดมั่นถือมั่น แล้วมันก็จะต้องหนักอกหนักใจ ต้องขึ้นๆ ลงๆ หรือว่าส่วนใหญ่มันจะต้องมีความทุกข์ เพราะสังขารนี้มันจะต้องเปลี่ยนแปลงไป ตามเรื่องของมัน

เรื่องข้างนอกก็เหมือนกัน เรื่องทรัพย์สมบัติ เรื่องเกียรติยศชื่อเสียง เรื่องอะไรต่างๆ เหล่านี้ แม้แต่ชีวิตความตายอะไร ก็ล้วนแต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของมัน ตามเหตุตามบัจจัยของมัน ถ้าไปยึดมั่นมันเข้าให้เป็นของเที่ยง หรือเป็นของของตน มันก็เป็นไปไม่ได้ มันก็ต้องร้องไห้ มันก็ต้องหวาดเสียว ต้องสะดุ้ง ต้องเป็นไปต่างๆ นานา

นี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า มีความรู้ รู้อย่างไร มันก็จะต้องมีจิตใจไปตามอำนาจหรือตามแนวของความรู้นั้น ๆ นี้ใครจะเอาอย่างไหนก็ได้ ไม่มีใครว่า มันเป็นสิ่งที่เลือกเอาได้ แต่เชื่อว่าทุกคนคงจะเลือกเอา ในฝ่ายที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ แต่แล้วจะเลือกเป็นหรือไม่เป็น เลือกถูกหรือไม่ถูก นั้มันก็อีกอย่างหนึ่ง มันขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า คนๆ นั้นรู้จักความทุกข์หรือไม่ ? บางคนบอกว่าจะดับทุกข์ พอถามว่าเป็นทุกข์อย่างไร ? ก็ไม่รู้ โง่ถึงขนาดน้ คือ เอาความทุกข์มาให้ดูไม่ได้ แล้วก็มาขอให้ช่วยแนะวิธีดับทุกข์ มันก็คนบัา คือไม่มีความทุกข์ที่รู้สึกอยู่จริง แล้วก็มาขอให้ดับทุกข์

ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ได้ ต้องเป็นความรู้ที่รู้จริงไปตั้งแต่ตัวปัญหา ที่มันมีปัญหาอยู่จริง เช่นมีความทุกข์อยู่จริง จึงจะหาทางที่จะดับทุกข์ได้จริงเหมือนกัน ฉะนั้นการเรียนรู้เรื่องโลกในแง่ของความทุกข์นี้ เป็นความจำเป็น คือจะช่วยให้รู้จักความทุกข์ที่แท้จริง เพราะปัญหามันอยู่ที่ความทุกข์ ปัญหามันตั้งต้นขึ้นมาด้วยเรื่องของความทุกข์ ถ้าไม่มีความทุกข์เราก็ไม่มีปัญหาอะไร มองดูข้อนี้กันเสียก่อน เดี๋ยวนี้มันทนอยู่ไม่ได้ เพราะมันมีความทุกข์ และเป็นปัญหา

พอมีความทุกข์เป็นปัญหา มันก็ดูง่ายต่อไปอีกว่า มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ? ในที่สุดมันก็ไปเข้ารูปกันกับข้อที่ว่ามันมาจากสิ่งที่เรียกว่าผัสสะ จึงเรียกว่าเป็นเรื่อง ก ข ก กา คือเป็นจุดตั้งต้นของเรื่องทั้งหมดจริงๆ แต่ก็อธิบายได้หลายแง่หลายมุม เรื่อง ผัสสะ คำเดียวเท่านั้นอธิบายได้มากแง่มากมุม ซึ่งจะได้พูดกันเรื่อยๆ ไป จนกว่าจะจบจะสิ้นที่เกี่ยวกับ ก ข ก กา ของพระพุทธศาสนา

ก ข ก กา ของการศึกษาพุทธศาสนา (น.๙๐), ธรรมโฆษณ์ l พุทธทาสภิกขุ

Credit: สโมสรธรรมทาน สวนโมกข์กรุงเทพ





วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Modern Religion

Modern Religion.

—Venerable K. Sri Dhammananda Maha Thera

Buddhism is strong enough to face any modern views which pose a challenge to religion.

Buddhist ideas have greatly contributed to the enrichment of both ancient and modern thought. Its teaching of causation and relativism, its doctrine of sense data, its pragmatism, its emphasis on the moral, its non-acceptance of a permanent soul, its unconcern about external supernatural forces, its denial of unnecessary rites and religious rituals, its appeal to reasoning and experience and its compatibility with modern scientific discoveries all tend to establish its superior claim to modernity.

Buddhism is able to meet all the requirements of a rational religion that suit the needs of the future world. It is so scientific, so rational, so progressive that it will be a pride for a man in the modern world to call himself a Buddhist. In fact, Buddhism is more scientific in approach than science; it is more socialistic than socialism.

Among all the great founders of religion, it was the Buddha alone who encouraged the spirit of investigation among His followers and who advised them not to accept even His Teaching with blind faith. Therefore, it is no exaggeration to say that Buddhism can be called a modern religion.

Buddhism is a well-elaborated scheme of how to lead a practical life and a carefully thought-out system of self-culture. But more than that, it is a scientific method of education. This religion is best able in any crisis to restore our peace of mind and to help us to face calmly whatever changes the future may have in store.

Without sensual pleasure, would life be endurable? Without belief in immortality, can man be moral? Without resorting to divinity, can man advance towards righteousness? YES, is the answer given by Buddhism. These ends can be attained by knowledge and by the purification of the mind. Knowledge is the key to the higher path. Purification is that which brings calmness and peace to life and renders man indifferent to and detached from the vagaries of the phenomenal world.

Buddhism is truly a religion suited to the modern, scientific world. The light which comes from nature, from science, from history, from human experience, from every point of the universe, is radiant with the Noble Teachings of the Buddha.

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom







วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามโลกไปทุกเรื่อง

ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามโลกไปทุกเรื่อง

ปีนี้ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ เลยวันวาเลนไทน์มา ๒ วัน   
เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์-วันวาเลนไทน์ ไม่ได้ยินใครพูดถึงมาฆบูชา
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์-วันมาฆบูชา ได้ยินใครพูดถึงวันแห่งความรักบ้างหรือเปล่า

ปีไหนวันมาฆบูชาตรงกับวันวาเลนไทน์ หรือเฉียดกันสักวัน เราก็จะได้ยินนักอธิบายธรรมอธิบายโอวาทปาติโมกข์ให้เป็นหลักธรรมแห่งความรักกันอย่างมั่นอกมั่นใจ

เวลานี้ ค่านิยม “วันแห่งความรัก” มาอยู่ใกล้กับวันมาฆบูชา ก็อธิบายโอวาทปาติโมกข์ให้เป็นหลักธรรมแห่งความรัก   อีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า ในช่วงวันมาฆบูชา ถ้าสังคมเขาเปลี่ยนไปนิยมเรื่องเสรีภาพ ก็คงจะมีคนอธิบายโอวาทปาติโมกข์ให้เป็นหลักธรรมแห่งเสรีภาพ  และอีก ๓๐๐ ปีข้างหน้า ในช่วงวันมาฆบูชา ถ้าสังคมเขาเปลี่ยนไปนิยมเรื่องการเกษตร ก็คงจะมีคนอธิบายโอวาทปาติโมกข์ให้เป็นหลักธรรมแห่งการเกษตร

แปลว่า ในช่วงวันมาฆบูชา สังคมเขานิยมเรื่องอะไร เราก็ต้องอธิบายโอวาทปาติโมกข์ให้เป็นหลักธรรมแห่งเรื่องนั้นๆ ไปด้วยอย่างนั้นหรือ?   แล้วจริงๆ แล้ว โอวาทปาติโมกข์เป็นหลักธรรมแห่งอะไรกันแน่?

ขออนุญาตยกข้อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “โอวาทปาติโมกข์” มาเสนอไว้ในที่นี้เพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้

โอวาทปาติโมกข์  [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูปผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ เป็นเวลา ๒๐ พรรษาก่อนที่จะโปรดให้สวดปาติโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),

คาถาโอวาทปาติโมกข์ มีดังนี้

สพฺพปาปสฺส  อกรณํ  กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํ  เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ

ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา

นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา

น  หิ  ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี

สมโณ  โหติ  ปรํ  วิเหฐยนฺโต ฯ

อนูปวาโท  อนูปฆาโต  ปาติโมกฺเข  จ  สํวโร

มตฺตญฺญุตา  จ  ภตฺตสฺมึ  ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ

อธิจิตฺเต  จ  อาโยโค  เอตํ  พุทฺธาน  สาสนํ ฯ

แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑   การบำเพ็ญแต่ความดี ๑  การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง,   พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็นบรมธรรม,  ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,   ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ  การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑   ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑   ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑   ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

เรื่องหนึ่งที่นักอธิบายธรรมของเราอาจจะไม่รู้ หรือรู้ แต่ไม่นำมาอธิบายบอกกันให้รู้ ก็คือ ที่ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ บอกไว้ว่า “อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ เป็นเวลา ๒๐ พรรษาก่อนที่จะโปรดให้สวดปาติโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา”  หมายความว่า ในสมัยพุทธกาล แต่เดิมการประชุมสงฆ์สวดปาติโมกข์ยังไม่มี พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ด้วยพระองค์เอง เป็นเช่นนั้นอยู่ ๒๐ พรรษา จึงเกิดเหตุ

เหตุที่เกิดก็คือ คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับที่บุพพารามเมืองสาวัตถี (คงจำกันได้ว่า นางวิสาขาเป็นผู้สร้างอารามแห่งนี้) ถึงวันที่กำหนดทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ภิกษุก็ประชุมกันพร้อมแล้ว แต่พระพุทธเจ้าไม่เสด็จไปทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ตรัสว่า “บริษัทไม่บริสุทธิ์”

คำว่า “บริษัทไม่บริสุทธิ์” หมายถึงมีภิกษุทุศีลนั่งอยู่ในที่ประชุมสงฆ์ด้วย

พระมหาโมคคัลลานะตรวจดู พบตัวแล้วจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นออกไปเสียจากที่ประชุม ขอร้องดีๆ ๓ ครั้ง  ตามวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป “ตติยมฺปิ” หรือ ครั้งที่ ๓ ถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีครั้งที่ ๔ คือต้องจัดการให้แตกหักเด็ดขาดกันไป

พระมหาโมคคัลลานะท่านจึงใช้อำนาจลากตัวภิกษุทุศีลรูปนั้นออกไป แล้วไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “บริษัทบริสุทธิ์แล้ว” 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป พระองค์จะไม่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่ที่ประชุมสงฆ์อีกต่อไป ขอให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันสวดปาติโมกข์คือสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นแทน

นี่เป็นแง่มุมหนึ่งของโอวาทปาติโมกข์ที่เราส่วนมากไม่ค่อยได้รับรู้กัน  ในคัมภีร์ท่านแสดงไว้ว่า -

อิมา  ปน  สพฺพพุทฺธานํ  ปาฏิโมกฺขุทฺเทสคาถา  โหนฺติ.   คาถาเหล่านี้เป็นคาถาแสดงหัวข้อธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง

นั่นคือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะตรัสโอวาทปาติโมกข์เป็นข้อความเดียวกันเช่นนี้   และนั่นก็คือ โอวาทปาติโมกข์เป็นหลักการของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว

ถ้าประสงค์จะแสดงหลักธรรมแห่งความรักคล้อยตามค่านิยมของสังคม ก็ควรจะค้นคว้าหาหลักธรรมที่ว่าด้วยความรักหรือหลักธรรมที่ทำให้เกิดความรักที่มีแสดงไว้ตรงๆ ในพระไตรปิฎกหรือในคัมภีร์ยกมาแสดงน่าจะเหมาะสมกว่า

อย่างเช่นคาถา - ปุพฺเพว  สนฺนิวาเสน ... ที่นักเรียนบาลีเรียนกันมาตั้งแต่ชั้นเปรียญต้นๆ นี่ก็ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความรักตรงๆ

หรือหลักสาราณียธรรม ๖ นี่ท่านก็บอกไว้ตรงๆ ว่าเป็น  “ปิยกรณ” คือทำให้เป็นที่รัก (endearing)  หรือถ้าอยากจะยกหลักธรรมครอบจักรวาลกันจริงๆ ก็-อัปปมาทะนั่นอย่างไร ท่านอุปมาเป็นรอยเท้าช้างรวมรอยเท้าไว้ได้ทั้งหมด อธิบายให้เป็นหลักธรรมแห่งความรักหรือแห่ง-อะไรได้ทุกเรื่องอยู่แล้ว

ถ้าปีนี้ค้นคว้ามาแสดงไม่ทันก็ไม่เป็นไร ปีหน้าวันวาเลนไทน์ก็มีอีก และปีหน้าวันมาฆบูชาก็ยังมีอีก มีเวลาเตรียมตัวตั้งปีหนึ่งเต็มๆ  แต่ถ้าจะให้ดี ไม่ต้องรอวันพิเศษแบบนั้นเลย เราสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้และนำมาเผยแผ่ให้แพร่หลายได้ทุกวันอยู่แล้วมิใช่หรือ

นอกจากไม่ต้องเอาโอวาทปาติโมกข์ไปซุกใต้ปีกวันวาเลนไทน์แล้ว ยังเป็นการปลดแอกค่านิยม-สนใจอะไรๆ กันแค่วันเดียว อย่างที่คนไทยกำลังนิยมกันอยู่นี่ด้วย

ให้กำลังใจกันและกันนะครับ

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕,  ๑๙:๔๕










วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Is Buddhism a Theory or a Philosophy?

Is Buddhism a Theory or a Philosophy?

—Venerable K. Sri Dhammananda Maha Thera

The enlightenment of the Buddha is not a product of mere intellect.

During the time of the Buddha there were many learned men in India who pursued knowledge simply for its own sake. These people were full of theoretical knowledge. Indeed, some of them went from city to city challenging anyone to a debate and their greatest thrill was to defeat an opponent in such verbal combats. But the Buddha said that such people were no nearer to the realization of the truth because in spite of their cleverness and knowledge they did not have true wisdom to overcome greed, hatred and delusion. In fact, these people were often proud and arrogant. Their egoistic concepts disturbed the religious atmosphere.

According to the Buddha, one must first seek to understand one's own mind. This was to be done through concentration which gives one a profound inner wisdom or realization. And this insight is to be gained not by philosophical argument or worldly knowledge but by the silent realization of the illusion of the Self.

Buddhism is a righteous way of life for the peace and happiness of every living being. It is a method to get rid of miseries and to find liberation. The Teachings of the Buddha are not limited to one nation or race. It is neither a creed nor a mere faith. It is a Teaching for the entire universe. It is a Teaching for all time. Its objectives are selfless service, good-will, peace, salvation and deliverance from suffering.

Salvation in Buddhism is an individual affair. You have to save yourself just as you have to eat, drink and sleep by yourself. The advice rendered by the Buddha points the Way to liberation; but His advice was never intended to be taken as a theory or philosophy. When He was questioned as to what theory He propounded, the Buddha replied that He preached no theories and whatever he did preach was a result of His own experience. Thus His Teaching does not offer any theory. Theory cannot bring one nearer to spiritual perfection. Theories are the very fetters that bind the mind and impede spiritual progress. The Buddha said, 'Wise men give no credence to passing theories. They are past believing everything they see and hear.'

Theories are product of the intellect and the Buddha understood the limitations of the human intellect. He taught that enlightenment is not a product of mere intellect. One cannot achieve emancipation by taking an intellectual course. This statement may seem irrational but it is true. Intellectuals tend to spend too much of their valuable time in study, critical analysis and debate. They usually have little or no time for practice.

A great thinker(philosopher, scientist, metaphysician, etc.) can also turn out to be an intelligent fool. He may be an intellectual giant endowed with the power to perceive ideas quickly and to express thoughts clearly. But if he pays no attention to his action and their consequences, and if he is only bent on fulfilling his own longings and inclinations at any cost then, according to the Buddha, he is an intellectual fool, a man of inferior intelligence. Such a person will indeed hinder his won spiritual progress.

The Buddha's Teaching contains practical wisdom that cannot be limited to theory or to philosophy because philosophy deals mainly with knowledge but it is not concerned with translating the knowledge into day-to-day practices.

Buddhism lays special emphasis on practice and realization. The philosopher sees the miseries and disappointments of life but, unlike the Buddha, he offers no practical solution to overcome our frustrations which are part of the unsatisfactory nature of life. The philosopher merely pushes his thoughts to dead ends. Philosophy is useful because it has enriched our intellectual imagination and diminished dogmatic assurance which closes the mind to further progress. To that extent, Buddhism values philosophy, but it has failed to quench spiritual thirst.

Remember that the chief aim of a Buddhist is to attain purity and enlightenment. Enlightenment vanquishes ignorance which is the root of birth and death. However, this vanquishing of ignorance cannot be achieved except by the exercise of one's confidence. All other attempts, especially mere intellectual attempts are not very effective. This is why the Buddha concluded: 'These [metaphysical]questions are not calculated to profit; they are not concerned with the Dhamma; they do not lead to right conduct, or to detachment, or to purification from lusts, or to quietude, or to a calm heart, or to real knowledge, or to higher insight, or to Nibbana.' (Malunkyaputta Sutta - Majjhima Nikaya) In place of metaphysical speculation, the Buddha was more concerned with teaching a practical understanding of the Four Noble Truths that he discovered: what Suffering is: what the origin of Suffering is; what the cessation of Suffering is; how to overcome Suffering and realize final Salvation. These Truths are all practical matters to be fully understood and realized by anyone who really experiences emancipation.

Enlightenment is the dispelling of ignorance; it is the ideal of the Buddhist life. We can now clearly see that enlightenment is not an act of the intellect. Mere speculation has something alien to it and does not come so intimately into contact with life. This is why the Buddha placed great emphasis on personal experience. Meditation is a practical scientific system to verify the Truth that comes through personal experience. Through meditation, the will tries to transcend the condition it has put on itself, and this is the awakening of consciousness. Metaphysics merely ties us down in a tangled and matted mass of thoughts and words.

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom