วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

เพื่อนไม่จริง

เพื่อนไม่จริง

อสหาโย  สมตฺโตปิ,    เตชสี  กึ  กริสฺสติ;
นิวาตสณฺฐิโต  อคฺคิ,   สยเมวูปสมฺมติ.

คนไม่ใช่เพื่อนกัน ถึงจะเก่ง   มีอำนาจ จักไปทำอะไรให้ได้  

เปรียบดั่งไฟที่ก่อไว้ในที่อับลม  ย่อมจะดับไปเองนั่นเทียว.

(ธรรมนีติ นิสสยกถา ๙๔, มหารหนีติ ๒๒๗)

ศัพท์น่ารู้ :

อสหาโย (ไม่ใช่สหาย​, ไม่ใช่เพื่อน) น+สหาย > อสหาย+สิ

สมตฺโตปิ ตัดบทเป็น สมตฺโต+อปิ (แม้จบ, แม้บริบูรณ์) สมตฺต+สิ = สมตฺโต (ในที่นี้ขอแปลว่า ผู้มีความสามารถ), อปิ ศัพท์เป็นนิบาตบท

เตชสี (ผู้มีเดช, ผู้มีอำนาจ) เตชสี+สิ วิ. เตโช อสฺส อตฺถี, ตสฺมึ วา วิชฺชตีติ เตชสี, เตชสฺสี (เขา ชื่อว่า เตชสี เพราะอรรถว่า เขามีอำนาจ, หรือว่า ในตัวเขามีอำนาจ) เตช+สี ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต ลง สี ปัจจัย หลัง ตป ศัพท์เป็นต้น § ตปาทิโต สี. (รู ๓๙๙)

กึ (อะไร,​ ประโยชน์อะไร, หรือ) กึ+อํ สัพพนาม

กริสฺสติ (จักกระทำ, จักสร้าง) √กร+โอ+อิ+สฺสติ ตนาทิ. กัตตุ. หรือ √กร+อิ+สฺสติ ภูวาทิ. กัตตุ.

นิวาตสณฺฐิโต (ตั้งอยู่ในที่มีลมออกแล้ว, -ที่ปราศจากลม, -ที่ไม่มีลม) นิวาต (ไม่มีลม) + สณฺฐิต (ตั้งไว้แล้ว, ดำรง, ยืนแล้ว) > นิวาตสณฺฐิต+สิ

อคฺคิ (ไฟ, อัคคี) อคฺคิ+สิ

สยเมวูปสมฺมติ ตัดบทเป็น สยํ+เอว+อุปสมฺมติ, สยํ (เอง, ด้วยตนเอง), เอว (นั่นเทียว,​ เท่านั้น) นิบาตบท. ส่วน อุปสมฺมติ (ย่อมเข้าไปสงบ, ย่อมดับ) อุป+√สมุ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้ที่มิใช่เพื่อน แม้เป็นผู้สามารถมีอำนาจจักทำอะไร  ให้ได้ เสมือนไฟที่ก่อไว้ในที่อับลม ก็จะต้องดับไปเอง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ผู้ที่ไม่ใช่เพื่อน ถึงจะมีความสามารถสักเท่าไร  ก็ทำอะไรให้ไม่ได้ เหมือนไฟที่ก่อในที่อับลม  ก็ต้องดับไปเองฉะนั้น.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ศิลปินเดี่ยวดังยาก , นายที่ไม่น่าคบ , เพื่อนที่ไม่น่าคบ , หลักการบูชา , คนที่ไม่ควรคบ , พึงอาศัยคนดี เพื่อนไม่จริง , ไม้มีผล คนมีบุญ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย

Wat Tham Krabok is a beautiful Buddhist temple in the Phra Phutthabat District of Saraburi Province, Thailand.

"พระหินลาวา" วัดถ้ำกระบอก ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหิน แล้วนำมาหล่อด้วยความร้อนสูง จนละลายกลายเป็นลาวา และขึ้นรูปเป็นพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่กลางเทือกเขา มีพระอิริยาบถต่างๆ มากมายหลายองค์ให้กราบสักการะ

ภาพ : นักรบตะวันออก






มลทินคือความมัวหมอง

มลทินคือความมัวหมอง

พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมลสูตร (พระสูตรว่าด้วยมลทิน) ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มลทิน (ความมัวหมอง) ๘ ประการนี้ มลทิน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน

๒. เรือนมีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน

๓. ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน

๔. ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน

๕. สตรีมีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน

๖. ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน

๗. บาปอกุศลธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

๘. มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา

ภิกษุทั้งหลาย มลทินมี ๘ ประการนี้แล” ดังนี้เป็นต้น ฯ

ส่วนในอรรถกถามลสูตรท่านอธิบายไว้ว่า “การไม่ทำการสาธยายมนต์ที่ตนเรียนแล้ว ชื่อว่าเป็นมลทินแห่งมนต์, ส่วนความไม่ขยันหมั่นเพียรชื่อว่าเป็นมลทินแห่งเรือน, ความเกียจคร้านเป็นมลทินผิวพรรณของกาย, ความประมาทเป็นมลทินแห่งรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นสมบัติของตน, ส่วนอวิชชาคือความมืดบอดหนาแน่น กล่าวคือมูลแห่งวัฏฏะอันเป็นความไม่รู้ในฐานะ ๘ เป็นมลทินอย่างยิ่งกว่ามลทินคืออกุศลธรรมที่เหลือนั้น เพราะฉะนั้น มลทินอื่นที่ชื่อว่ายิ่งกว่าอวิชชานั้นไม่มี” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมโดยย่อจากมลสูตร อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 30/4/65

เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี



วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

ถ้าเป็นใหญ่เหนือตน

ถ้าเป็นใหญ่เหนือตน 

ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใครเป็นใหญ่เหนือใคร  นานมาแล้ว ผมเขียนบาลีวันละคำ ดูเหมือนจะมีคำว่า “อิสระ” อยู่ในคำนั้นด้วย   ภาษาไทย “อิสระ”  ภาษาบาลีเป็น “อิสฺสร” แปลว่า เป็นใหญ่ 

เขียนแล้วก็ลงท้าย - ดูก่อนภราดา! ตามสไตล์คนเขียน 

ดูก่อนภราดา!  ถ้าเป็นใหญ่เหนือตน  ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใครเป็นใหญ่เหนือใคร

มีญาติมิตรที่ติดตามอ่านแสดงความข้องใจว่า ข้อความตามที่เขียนไว้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ จงอธิบาย

ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายครับ

ในสมัยพุทธกาล ภิกษุรูปหนึ่งรู้สึกว่าสิกขาบท (ศีล) ที่ภิกษุจะต้องรักษา (รักษา = ปฏิบัติตาม) มีมากมายเหลือที่จะปฏิบัติได้ จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลว่าจะขอลาสิกขาไปเป็นฆราวาส เพราะรักษาศีลหลายข้อไม่ไหว 

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า ถ้าเช่นนั้นรักษาข้อเดียวได้ไหม 

ภิกษุทูลถามว่า รักษาอะไรพระเจ้าข้า 

ตรัสตอบว่า "รักษาจิต" 

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า ถ้ารักษาอย่างเดียวแบบนี้สามารถทำได้ 

ตั้งแต่นั้นมา ก็ตั้งหน้าตั้งตาควบคุมรักษาจิตของตน  ไม่นานก็บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์

การเป็นใหญ่เหนือตนก็คือเป็นใหญ่เหนือจิตตน กล่าวคือ สามารถควบคุมจิตใจของตนได้  ชอบ ชัง เฉย (โลภะ โทสะ โมหะ) อยู่ในขอบเขตที่พอเหมาะพอควร ตามวิสัยปุถุชน  ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่เฉย จนคนอื่นเดือดร้อน เสียงาน หรือถึงกับเสียคน

ผู้ที่ควบคุมจิตใจของตนได้แล้วย่อมไม่ห่วงกังวลเรื่องที่จะมีใครมาบังคับควบคุมตนหรือควบคุมใคร  ไม่ห่วงว่าจะต้องเป็นลูกน้องใคร  ไม่กังวลว่าใครจะมาเป็นนาย เพราะผู้ที่ควบคุมตนได้ย่อมรู้ชัดว่า ตนควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร 

เมื่อเป็นลูกน้อง ก็รู้ตัวว่าควรทำอย่างไรหรือไม่ควรทำอย่างไรกับนาย  เมื่อเป็นนาย ก็รู้ตัวว่าควรทำอย่างไรหรือไม่ควรทำอย่างไรกับลูกน้อง  ไม่เป็นทุกข์ไปว่า ทำไมใครจึงทำอะไร หรือจึงไม่ทำอะไร   รวมทั้งไม่วุ่นวายที่จะไปควบคุมใครหรือไปมีอำนาจเหนือใครต่อไปอีกด้วย  ผู้ที่ยังห่วงคิดแต่จะได้เป็นใหญ่เหนือใคร ก็คือผู้ที่ยังไม่ได้เป็นใหญ่เหนือจิตใจของตนนั่นเอง

"ถ้าเป็นใหญ่เหนือตน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใครเป็นใหญ่เหนือใคร" - มีอรรถาธิบายดังแสดงมา ด้วยประการฉะนี้

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๑ เมษายน ๒๕๖๕ ,  ๑๐:๔๙

"หลวงพ่อใหญ่" วัดม่วง จังหวัดอ่างทอง

หรือ "พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก สูงเทียบเท่าตึก 32 ชั้น โดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล องค์พระสีทองอร่าม ตัดกับท้องทุ่งนาสีเขียวบริเวณรอบๆ วัด

หรือ "พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก การอธิษฐานขอพร ให้สัมผัสที่ปลายนิ้วกลางขององค์หลวงพ่อ แล้วตั้งใจขอในสิ่งที่ตั้งใจไว้ จะสมดั่งใจปรารถนา


กิเลสเครื่องผูกรัดและฉุดคร่าให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ คือ

กิเลสเครื่องผูกรัดและฉุดคร่าให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน

๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต

๔. กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ หรือพยาบาท หรือความคิดร้าย

พระพุทธองค์ทรงแสดงอุปมาว่าเปรียบเหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้มันฉุดคร่าให้ติดอยู่กับวัฏสงสารหรือทำให้จ่มอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ดังพระบาลีว่า 

“ปาเทสุ  พนฺธปาสาณา  วิย  ปญฺโจรมฺภาคิยสํโยชนานิ  เหฏฺฐา  อากฑฺฒมานาการานิ  โหนฺติ,  ตานิ  อนาคามิมคฺเคน  ฉินฺเทยฺยาติ  วทติ”  

แปลความว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ เป็นเครื่องฉุดคร่าให้ตกไปในเบื้องต่ำ เหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้ บุคคลจะพึงตัดสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอนาคามิมรรค” เป็นต้น

เพราะฉะนั้น กิเลสเครื่องผูกรัดใจเหล่านี้ควรตัดออกจากจิตใจ เพื่อมิให้ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด การเกิดในชาติหนึ่งๆอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน แต่ถ้าต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแล้วมันจะทุกข์ทรมานขนาดไหน คิดดูเอาเถิด.

สาระธรรมจากกติฉินทสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)





พึงอาศัยคนดี

พึงอาศัยคนดี

มหนฺตํ  นิสฺสยํ  กตฺวา,    ขุทฺทโกปิ  มหา  ภเว;
เหมปพฺพตํ  นิสฺสาย,    เหมปกฺขี  ภวนฺติ  เต.

เพราะอาศัยคนมีอำนาจวาสนา   แม้คนธรรมดาอาจเป็นคนสำคัญได้  

เพราะอาศัยภูเขาทอง ฝูงวิหคนกกา   ก็กลายเป็นปักษีมีสีทองอร่ามไปด้วย.

(ธรรมนีติ นิสสยกถา ๙๓, มหารหนีติ ๒๒๕)

ศัพท์น่ารู้ :

มหนฺตํ (ใหญ่, สำคัญ, ประเสริฐ) มหนฺต+อํ

นิสฺสยํ (ที่พึง,​ ที่อาศัย, นิสสัย) นิสฺสย+อํ

กตฺวา (กระทำแล้ว) √กร+ตฺวา > กตฺวา+สิ ให้ลบสิวิภัตติ, ประโยคว่า มหนฺตํ นิสฺสยํ กตฺวา แปลตรงว่า กระทำผู้เป็นใหญ่(คนมีอำนาจ)ให้เป็นที่อาศัย

ขุทฺทโกปิ ตัดบทเป็น ขุทฺทโก+อปิ (แม้คนกระเล็กน้อย, คนกระจอกงอกง่อย, คนธรรมดา) ขุทฺทก+สิ, ส่วน อปิ ศัพท์เป็นนิบาตบท

มหา (เป็นใหญ่, เป็นคนสำคัญ) มหนฺต+สิ

ภเว (พึงมี, พึงเป็น) √ภู+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

เหมปพฺพตํ (ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง, ภูเขาทอง, เหมบรรพต) เหม+ปพฺพต > เหมปพฺพต+อํ

นิสฺสาย (อาศัยแล้ว) นิ+√สิ+ตฺวา > นิสฺสาย+สิ

เหมปกฺขี (สัตว์มีปีกแล้วด้วยทอง, นกทองคำ) เหม+ปกฺขี > เหมปกฺขี+โย

ภวนฺติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น) √ภู+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

เต (เหล่านั้น) ต+โย สัพพนาม.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

แม้คนต่ำต้อยจะพึงเป็นคนใหญ่โตได้  ก็เพราะทำที่อาศัยอันมหิมา  ตั่งอาศัยภูเขาทอง สิ่งของอื่นก็  พลอยมีฝ่ายเป็นทองด้วย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง

เมื่อได้สร้างที่พึงอาศัยอันใหญ่โต  คนต่ำต้อยก็กลายเป็นคนสูงศักดิ์ได้  ดังสิ่งที่พะพิงภูเขาทอง  สิ่งนั้นก็กลายเป็นฝ่ายข้างทองไปด้วย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ศิลปินเดี่ยวดังยาก , นายที่ไม่น่าคบ , เพื่อนที่ไม่น่าคบ , หลักการบูชา , คนที่ไม่ควรคบ , พึงอาศัยคนดี เพื่อนไม่จริง , ไม้มีผล คนมีบุญ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย





ลูกหลานเอ๋ย ถ้ามีนิสัยแบบนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์จะตักเตือนได้อย่างไร ?

ลูกหลานเอ๋ย ถ้ามีนิสัยแบบนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์จะตักเตือนได้อย่างไร ?

๑. ทำผิดแล้วแต่อำพรางไว้ เมื่อถูกเตือนมักอ้างว่าระลึกไม่ได้

๒. เมื่อมีคนตักเตือนก็โต้ตอบคนเตือนว่าเขาโง่ไม่ฉลาดลักแหลมเท่าตัวเอง ฉะนั้นอย่ามาเตือนไม่มีประโยชน์

๓. เมื่อมีคนเตือนด้วยความหวังดีแต่กลับยกโทษว่ายุ่งเรื่องของคนอื่นทำไม

๔. เมื่อถูกเตือนกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง หรือแสดงอาการโกรธขัดเคืองและไม่พอใจออกมา

๕. ยามเมื่อเขาจับได้แต่ก็ไม่ยอมจำนน มีจิตใจแกว่งออกอาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ที มักแสดงอ้างว่าพวกท่านหลายคนมาทำตนผู้ไม่มีทางสู้ทำไม

๖. แสดงอาการไม่เอื้อเฟื้อต่อหมู่คณะ ไม่เอื้อเฟื้อต่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้คอยสั่งสอน ทั้งที่มีความผิดติดตัวอยู่ แต่ก็หลีกหนีเที่ยวไปตามอำเภอใจ

๗. เมื่อบอกอะไรไป หรือสอนอะไรไปก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมไม่ได้ทำผิดเลย ผมไม่ได้ทำอะไรผิดเลย’ ใช้แต่ความนิ่งทำให้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ลำบากใจ

๘. เมื่อบอกสอนหลายครั้งก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไม พวกท่านจึงพยายามกล่าวหาผมนัก เอาละ ผมจะไม่เรียนหรือไม่อยู่ที่นี้อีกแล้ว พวกท่านจะได้สบาย’ แต่กลับประพฤติตนเป็นดุจตอไม้ที่เป็นอุปสรรคทำให้เสื่อมเสียเกียรติแก่สำนักและวงศ์ตระกูล

เพราะฉะนั้น ลูกหลานทั้งหลาย อย่าได้ประพฤติตนเป็นคนกระจอกเช่นนี้เลย

สาระธรรมโดยย่อจากอัสสขฬุงกสูตร อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 

29/4/65

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ วัดสุทัศนฯ นี้นับว่าเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี



Why we take Refuge in the Buddha?

Why we take Refuge in the Buddha?

—Venerable K. Sri Dhammananda Maha Thera

Buddhists take refuge in the Buddha not out of fear of Him, but to gain inspiration and right understanding for their self-purification.

Buddhist do not take refuge in the Buddha with the belief that He is a god or son of god. The Buddha never claimed any divinity. He was the Enlightened One, the most Compassionate, Wise, and Holy One who ever lived in this world. Therefore, people take refuge in the Buddha as a Teacher or Master who has shown the real path of emancipation. They pay homage to Him to show their gratitude and respect, but they do not ask for material favors. Buddhists do not pray to the Buddha thinking that He is a god who will reward them or punish or curse them. They recite verses or some sutras not in the sense of supplication but as a means of recalling His great virtues and good qualities to get more inspiration and guidance for themselves and to develop the confidence to follow His Teachings. There are critics who condemn this attitude of taking refuge in the Buddha. They do not know the true meaning of the concept of taking refuge in and paying homage to a great religious Teacher. They have learned only about praying which is the only thing that some people do in the name of religion. When Buddhists seek refuge it means they accept the Buddha, Dhamma and the Sangha as the means by which they can eradicate all the causes of their fear and other mental disturbances. Many people, especially those with animistic beliefs, seek protection in certain objects around them which they believe are inhabited by spirits.

The Buddha advised against the futility of taking refuge in hills, woods, groves, trees and shrines when people are fear-stricken:

No such refuge is safe, no such refuge is Supreme. Not by resorting to such a refuge is one freed from all ill. He who has gone for refuge to the Buddha, the Dhamma and the Sangha sees with right knowledge the Four Noble Truths -Sorrow, the cause of Sorrow, the transcending of Sorrow, and the Noble Eightfold Path which leads to the cessation of Sorrow. This indeed is secure refuge. By seeking such refuge one is released from all Sorrow. ―(Dhammapada 188-192)

In the Dhajagga Sutta, it is mentioned that by taking refuge in Sakra, the king of gods or any god, the followers would not be free from all their worldly problems and fears. The reason is, such gods are themselves not free from lust, hatred, illusion and fear, but the Buddha, Dhamma and the Sangha (i.e. the community who has attained perfection) are free from them. Only those who are free from unsatisfactoriness can show the way to lasting happiness.

Francis Story, a well known Buddhist scholar, gives his views on seeking refuge in the Buddha:

'I go for refuge to the Buddha. I seek the presence of the Exalted Teacher by whose compassion I may be guided through the torrents of Samsara, by whose serene countenance I may be uplifted from the mire of worldly thoughts and cravings, seeing there in the very assurance of Nibbanic Peace, which He himself attained. In sorrow and pain I turn to Him and in my happiness I seek His tranquil gaze. I lay before His Image not only flowers and incense, but also the burning fires of my restless heart, that they may be quenched and stilled, I lay down the burden of my pride and my selfhood, the heavy burden of my cares and aspirations, the weary load of this incessant birth and death.'

Sri Rama Chandra Bharati, an Indian poet, gives another meaningful explanation for taking refuge in the Buddha:

'I seek not thy refuge for the sake of gain,

Not fear of thee, nor for the love of fame,

Not as thou hailest from the solar race,

Not for the sake of gaining knowledge vast,

But drawn by the power of the boundless love,

And thy all-embracing peerless ken,

The vast Samsara's sea safe to cross,

I bend low, O lord, and become thy devotee.'

Some people say that since the Buddha was only a man, there is no meaning in taking refuge in Him. But they do not know that although the Buddha very clearly said that He was a man, he was no ordinary man like any of us. He was an extraordinary and incomparably holy person who possessed Supreme Enlightenment and great compassion toward every living being. He was a man freed from all human weaknesses, defilements and even from ordinary human emotions. Of Him it has been said, 'There is none so godless as the Buddha, and yet none so godlike.' In the Buddha is embodied all the great virtues, sacredness, wisdom and enlightenment.

Another question that people very often raise is this: 'If the Buddha is not a god, if He is not living in this world today, how can he bless people?' According to the Buddha, if people follow His advice by leading a religious life, they would certainly receive blessings. Blessing in a Buddhist sense means the joy we experience when we develop confidence and satisfaction. The Buddha once said, 'if anyone wishes to see me, he should look at my Teachings and practise them.' (Samyutta Nikaya) Those who understand His Teachings easily see the real nature of the Buddha reflected in themselves. The image of the Buddha they maintain in their minds is more real than the image they see on the altar, which is merely a symbolic representation. 'Those who live in accordance with the Dhamma (righteous way of life) will be protected by that very Dhamma.' (Thera Gatha) One who knows the real nature of existence and the fact of life through Dhamma will not have any fear and secure a harmonious way of life.

In other religions, the people worship their god by asking for favours to be granted to them. Buddhists do not worship the Buddha by asking for worldly favours, but they respect Him for His supreme achievement. When Buddhists respect the Buddha, they are indirectly elevating their own minds so that one day they also can get the same enlightenment to serve mankind if they aspire to become a Buddha.

Buddhists respect the Buddha as their Master. However, this respect does not imply an attachment to or a dependence on the Teacher. This kind of respect is in accordance with His Teaching which is as follows:

'Monks, even if a monk should take hold of the edge of my outer garment and should walk close behind me, step for step, yet if he should be covetous, strongly attracted by pleasures of the senses, malevolent in thought, of corrupt mind and purpose, of confused recollection, inattentive and not contemplative, scatter-brained, his sense-faculties uncontrolled, then he is far from me and I am far from him.'

'Monks, if the monk should be staying even a hundred miles away, yet he is not covetous, not strongly attracted by the pleasures of the senses, not malevolent in thought, not of corrupt mind and purpose, his collection firmly set, attentive, contemplative, his thoughts be one-pointed, restrained in his sense-faculties, then he is near me and I am near him.' (Samyutta Nikaya)

Credit: Buddhism For World Peace And Humanity

Other articles 👉  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom

The "Wat Tham Suea Monastery" in Kanchanaburi Province, Thailand.

There is "Ked Kaew Prasat Chedi" tall, outstanding and magnificent. The chedi is a brick color divided into different floors, 9 floors, can walk up to visit the top floor enshrines the Buddha's relics which summoned from India.












วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า

กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า

เย  กุกฺกุรา  ราชกุลมฺหิ  วทฺธา, 

โกเลยฺยกา  วณฺณพลูปปนฺนา;

เตเม  น  วชฺฌา  มยมสฺม  วชฺฌา, 

นายํ  สฆจฺจา  ทุพฺพลฆาติกายนฺติฯ

"สุนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุล เกิดในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสรรและกำลัง สุนัขเหล่านี้นั้นไม่ถูกฆ่า, พวกเรากลับถูกฆ่า เมื่อเป็นเช่นนี้ นี้ชื่อว่าการฆ่าโดยไม่แปลกกันก็หาไม่ กลับชื่อว่าฆ่าแต่สุนัขทั้งหลายที่ทุรพล."

กุกกุรชาดกอรรถกถา

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารทรงปรารภการประพฤติ ประโยชน์แก่พระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  เย  กุกฺกุรา  ดังนี้. 

การประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก  ทวาทสนิบาต.   ก็พระศาสดาทรงตั้งเรื่องนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้ :- 

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยกรรมเห็นปานนั้น บังเกิดในกำเนิดสุนัข ห้อมล้อมด้วยสุนัข มิใช่น้อยอยู่ในสุสานใหญ่. 

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถเทียมม้าสินธพขาว ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เสด็จไปยังพระอุทยานทรงเล่นในพระอุทยานนั้น ตลอดส่วนภาคกลางวัน เมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึงเสด็จเข้าพระนคร ราชบุรุษทั้งหลายวางสายเชือกหนึ่งรถนั้นตามที่ผูกไว้นั้นแหละที่พระลานหลวง เนื้อฝนตกตอนกลางคืน รถนั้นก็เปียกฝน. 

พวกสุนัข ที่เลี้ยงไว้ในราชตระกูลลงจากปราสาทชั้นบน กัดกินหนึ่งและชะเนาะของรถนั้น. วันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สุนัขทั้งหลายเข้าไปทางท่อน้ำ กัดกินหนังและชะเนาะของรถนั้นพระเจ้าข้า.

พระราชาทรงกริ้วสุนัข จึงตรัสว่า พวกท่านจงฆ่าพวกสุนัขในที่ที่ได้เห็นแล้ว ๆ. ตั้งแต่นั้นมาความพินาศใหญ่หลวงจึงเกิดขึ้นแก่พวกสุนัข.   

สุนัขเหล่านั้นเมื่อถูกฆ่าในที่ที่พบเห็นจึงหนีไปป่าช้าได้พากันไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์.

พระโพธิสัตว์ถามว่า „ท่านทั้งหลายเป็นอันมากพากันมาประชุม เหตุอะไรหนอ ?" สุนัขเหล่านั้นกล่าวว่า „พระราชาทรงกริ้วว่า นัยว่า สุนัขกินหนังและชะเนาะของรถภายในพระราชวัง จึงทรงสั่งให้ฆ่าสุนัข สุนัขเป็นอันมากพินาศ มหาภัยเกิดขึ้นแล้ว“.

พระโพธิสัตว์คิดว่า ในที่ที่มีการอารักขา สุนัขทั้งหลายในภายนอก ย่อมไม่มีโอกาส, กรรมนี้จักเป็นกรรมของพวกสุนัขเลี้ยงในภายในพระราชนิเวศน์นั่นเอง, ก็ภัยอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่พวกโจร, ส่วนพวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย, ถ้ากระไร เราจะแสดงพวกโจรแก่พระราชาแล้วไห้ทานชีวิตแก่หมู่ญาติ“.

พระโพธิสัตว์นั้น ปลอบโยนญาติทั้งหลายให้เบาใจแล้วกล่าวว่า „ท่านทั้งหลายอย่ากลัว เราจักนำความไม่มีภัยมาให้แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงอยู่ที่นี้แหละจนกว่า เราจะได้เฝ้าพระราชา“, แล้วรำพึงถึงบารมีกระทำเมตตาภาวนาให้เป็นปุเรจาริกไปในเบื้องหน้าแล้วอธิษฐานว่า ใคร ๆอย่าได้สามารถขว้างก้อนดินหรือไม้ค้อนเบื้องบนเรา ผู้เดียวเท่านั้น เข้าไปภายในพระนคร. 

ครั้งนั้น แม้สัตว์ตัวหนึ่งเห็นพระโพธิสัตว์แล้วชื่อว่าโกรธแล้วแลดู มิได้มี. ฝ่ายพระราชาทรงสั่งฆ่าสุนัขแล้วประทับนั่งในที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระโพธิสัตว์ไปในที่วินิจฉัยนั้นนั่นแลแล้ววิ่งเข้าไปภายใต้อาสน์ของพระราชา. 

ลำดับนั้น พวกราชบุรุษเริ่มเพื่อจะนำพระโพธิสัตว์นั้นออกมา แต่พระราชาทรงห้ามไว้พระโพธิสัตว์นั้นพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วออกจากภายใต้อาสน์ ถวายบังคมพระราชาแล้วทูลถามว่า ได้ยินว่า „พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขจริงหรือพระเจ้าข้า?“.

พระราชาตรัสว่า „เออ เราให้ฆ่า“.

พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า „ข้าแต่พระจอมคนสุนัขเหล่านั้นมีความผิดอะไร ?" 

พระราชาตรัสว่า „สุนัขทั้งหลายมันกินหนังหุ้มและชะเนาะแห่งรถของเรา“ 

พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า „พระองค์ทรงรู้จักสุนัขตัวที่กินแล้วหรือ?“.

พระราชาตรัสว่า ไม่รู้, พระโพธิสัตว์ทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพการไม่ทรงทราบโดยถ่องแท้ว่า โจรที่กินหนังชื่อนี้ แล้วทรงให้ฆ่าในที่ที่ได้พบเห็นทันที ไม่สมควร พระเจ้าข้า“.

พระราชาตรัสว่า „เพราะพวกสุนัขมักกัดกินหนังหุ้มรถ, เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่านจงฆ่าสุนัขที่ได้พบเห็นทั้งหมดเลย“.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า „ก็มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นฆ่าสุนัขทั้งหมดทีเดียวหรือ หรือว่า สุนัข แม้ไม่ได้ความตายก็มีอยู่“.

พระราชาตรัสว่า „มีอยู่, สุนัขเลี้ยงในสำหนักของเราไม่ได้การถูกฆ่าตาย“. 

พระมหาสัตว์ทูลว่า „ข้าแต่มหาราชพระองค์ได้ตรัสในบัดนี้ทีเดียวว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกินหนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่านจงฆ่าสุนัขทุกตัวที่ได้พบเห็น, แต่บัดนี้พระองค์ตรัสว่า สุนัขเลี้ยงในตำหนักของเราไม่ได้การถูกฆ่าตาย, เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ย่อมลุอคติเช่นฉันทาคติเป็นต้น, ก็ชื่อว่าการลุอคติไม่สมควรและไม่เป็น(ทศพิธ) ราชธรรม ธรรมดาพระราชาผู้แสวงหาเหตุและมิใช่เหตุ เป็นเช่นกับตาชั่งจึงจะควร. บัดนี้สุนัขเลี้ยงในราชสกุลไม่ได้การตาย, สุนัขที่ทุรพลเท่านั้นจึงจะได้, เมื่อเป็นเช่นนั้น อันนี้ไม่เป็นการฆ่าสุนัขทุกตัว แต่อันนี้ชื่อว่าเป็นการฆ่าสุนัขที่ทุรพล“, 

ก็แหละครั้น ทูลอย่างนี้แล้วจึงเปล่งเสียงอันไพเราะกราบทูลว่า „ข้าแต่มหาราชสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้นไม่เป็นธรรม“ เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- 

"สนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุลเจริญ ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่าโดยไม่แปลกกัน หา มิได้ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลายที่ทุรพล". 

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  เย  กุกฺกุรา  ได้แก่ สุนัขเหล่าใด. เหมือนอย่างว่า ปัสสาวะแม้ยังมีน้ำอุ่นก็เรียกว่า มูตรเน่า สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดในวันนั้นก็เรียกว่า สุนัขจิ้งจอกแก่ เถาหัวด้วนแม้ยังอ่อนก็เรียกว่า เถาหัวเน่า กายแม้จะมีสีเหมือนทองก็เรียกว่า กายเปื่อยเน่า ฉันใด สุนัขแม้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็เรียกว่า  กุกกุระ  ลูกสุนัข  ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สุนัขเหล่านั้นแก่แต่สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ก็เรียกว่า กุกกุระเหมือนกัน. 

บทว่า วฑฺฒา  แปลว่า เจริญเติบโต.   บทว่า  โกเลยฺยถา ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว เจริญแล้วในราชสกุล.   บทว่า  วณฺณพลูปปนฺนา  ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีร่างกายและกำลังกาย.   บทว่า  เตเม  น  วชฺณา  ความว่า สุนัขเหล่านี้นั้นมีเจ้าของมีการอารักขา จึงไม่ถูกฆ่า.   บทว่า  มยมสฺส วชฺณา  ความว่า เราทั้งหลายไม่มีเจ้าของไม่มีการอารักขา เป็นสุนัขที่ถูกฆ่า.  บทว่า  นายํ  สฆจฺจา  ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น อันนี้ย่อมไม่ชื่อว่ามีการฆ่าโดยไม่แปลกกัน.  บทว่า  ทุพฺพลฆาติกายํ  ความว่า ส่วนอันนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการฆ่าอันทุรพล เพราะฆ่าเฉพาะสุนัขทุรพลทั้งหลาย. 

อธิบายว่า 

„ธรรมดาพระราชาทั้งหลายควรข่มพวกโจร พวกที่ไม่เป็นโจรไม่ควรข่ม แต่ในเหตุการณ์นี้ โทษอะไร ๆ ไม่มีแก่พวกโจร พวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย โอ! ในโลกนี้ สิ่งที่ไม่ควรย่อมเป็นไป, โอ! อธรรมย่อมเป็นไป“.

พระราชาได้ทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วจึงตรัสว่า „ดูก่อนบัณฑิต ก็ท่านรู้หรือว่า สุนัขชื่อโน้นกินหนังหุ้มรถ“.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „รู้พระเจ้าข้า“.

พระราชาตรัสว่า „สุนัขพวกไหนกิน“.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า „พวกสุนัขเลี้ยงที่อยู่ในตำหนักของพระองค์กินพระเจ้าข้า“.

พระราชาตรัสว่า „ท่านต้อง (พิสูจน์) รู้ว่า สุนัขเหล่านั้นกินอย่างไร?“.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า „ข้าพระบาทจักแสดงความที่ สุนัขเหล่านั้นกิน“.

พระราชาตรัสว่า „จงแสดงเถิดบัณฑิต".

พระโพธิสัตว์ทูลว่า „พระองค์จงให้นำพวกสุนัขเลี้ยงในตำหนักของพระองค์มาแล้วให้นำเปรียงและหญ้าแพรกมาหน่อยหนึ่ง“.

พระราชาได้ทรงการทำอย่างนั้น. 

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ให้ขยำหญ้ากับเปรียงแล้วทูลกะพระราชานั้นว่า „ขอพระองค์จงให้สุนัข เหล่านั้นดื่ม“ พระราชาทรงให้ทำอย่างนั่นแล้วให้ดื่ม สุนัขทั้งหลายที่ดื่มแล้ว ๆ ก็ถ่ายออกมาพร้อมกับหนังทั้งหลาย พระราชาทรงดีพระทัยว่า เหมือนพยากรณ์ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จึงได้ทรงทำการบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยเศวตฉัตร. 

พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยคาถาว่าด้วยการประพฤติธรรม ๑๐ ประการ อันมาในเตสกุณชาดก มีอาทิว่า „ข้าแต่มหาราชผู้บรมกษัตริย์พระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกและชนนี“ ดังนี้แล้วทูลว่า „ข้าแต่มหาราชจำเดิมแต่นี้ไป พระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท“, แล้วให้พระราชาดำรงอยู่ในศีล ๕ จึงได้ถวายคืนเศวตฉัตรแด่พระราชา.

พระราชาได้ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้วทรงให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวงทรงเริ่มตั้งนิตยภัยเช่นกับโภชนะของพระองค์แก่สุนัขทั้งปวงมีพระโพธิสัตว์เป็นต้น, ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ทรงการทำบุญมีทานเป็นต้นตลอดชั่วพระชนมายุ สวรรคตแล้วเสด็จอุบัติ ในเทวโลก.  

กุกกุโรวาทได้ดำเนินไปถึงหมื่นปี. 

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำรงอยู่ตราบชั่วอายุแล้วได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดา ตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติประโยชน์แก่พระญาติทั้งหลาย ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ประพฤติแล้วเหมือนกัน" ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้นได้เป็นพระอานนท์ บริษัทที่เหลือนอกนี้ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนกุกกุรบัณฑิตคือเราแล.

CR: หมายเหตุ ข้อมูลที่มา ภาษาบาฬี จากเว็บไซต์ tipitaka.org คำแปลจาก ฉบับมหิดล, ฉบับสยามรัฐ, ฉบับมหาเถรสมาคม เป็นต้น, ส่วนอรรถกถาแปลโดยมากจากฉบับมหาจุฬาฯ. 

22. กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21.  กุรุงฺคมิคชาตกํ - ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20.  นฬปานชาตกํ  -  เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด ,  19. อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18.  มตกภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. มาลุตชาตกํ - ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14.  วาตมิคชาตกํ - ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. กณฺฑินชาตกํ - ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. นิคฺโรธมิคชาตกํ - ว่าด้วยการเลือกคบ , 11.  ลกฺขณมิคชาตกํ - ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. สุขวิหาริชาตกํ - ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 09. มฆเทวชาตกํ - ว่าด้วยเทวทูต , 08. คามณิชาตกํ  - ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 07. กฏฺฐหาริชาตกํ - ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ ,  06. เทวธมฺมชาตกํ  -  ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 05. ตณฺฑุลนาฬิชาตกํ - ว่าด้วยราคาข้าวสาร,  04. จูฬเสฏฺฐิชาตกํ - ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 03. เสริววาณิชชาตกํ - ว่าด้วยเสรีววาณิช , 02. วณฺณุปถชาตกํ - ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 01. อปณฺณกชาตกํ - ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ 

พระบรมพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

พระธาตุนาดูน (Phra That Na Dun) หรือ “พุทธมณฑลแห่งอีสาน” พระธาตุองค์สีขาวงดงาม หนึ่งในพระธาตุที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดของทางภาคอีสานซึ่งจำลองแบบมาจากศิลปะสมัยทวารวดีที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี

ภาพ :  นักรบตะวันออก