วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สภาที่ไม่เป็นสภา

สภาที่ไม่เป็นสภา

น  สา  สภา  ยตฺถ  น  สนฺติ  สนฺโต,
น  เต  สนฺโต  เย  น  วทนฺติ  ธมฺมํ;
ราคญฺจ  โทสญฺจ  ปหาย  โมหํ,
ธมฺมํ  ภณนฺตาว  ภวนฺติ  สนฺโต.

ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา   ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ  คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว  พูดเป็นธรรมนั่นแล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๓, มหารหนีติ ๑๙๖, ขุ. ชา. ๒๘/๓๙๓)

ศัพท์น่ารู้ :

น สา สภา (ในที่นั้น ไม่ชื่อว่าสภา)

ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต (ในที่ใด ไม่มีสัตบุรุษ)

น เต สนฺโต (ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ)

เย น วทนฺติ ธมฺมํ (ชนเหล่าใด ย่อมไม่กล่าวธรรม)

ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ (ผู้ละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว)

ธมฺมํ ภณนฺตาว ภวนฺติ สนฺโต (กล่าวธรรมอยู่นั้นเทียว ย่อมชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ)

ขออนุญาตนำคาถาในพระบาฬีชาดก ข้อเดียวกันนี้มาแสดงครบชุด เพื่อการศึกษาและเพื่อความเจริญแห่งปัญญาดังต่อไปนี้

น  โส  ราชา  โย  อเชยฺยํ  ชินาติ,

น  โส  สขา  โย  สขารํ  ชินาติ;

น  สา  ภริยา  ยา  ปติโน  น  วิเภติ,

น  เต  ปุตฺตา  ยตฺถ  น  ภรนฺติ  ชิณฺณํ.

พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา   ผู้ใดเอาชนะเพื่อน ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน.   ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรงสามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา   บุตรเหล่าใด ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นบุตร.

น  สา  สภา  ยตฺถ  น  สนฺติ  สนฺโต,

น  เต  สนฺโต  เย  น  วทนฺติ  ธมฺมํ;

ราคญฺจ  โทสญฺจ  ปหาย  โมหํ,

ธมฺมํ  ภณนฺตาว  ภวนฺติ  สนฺโต.

ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา   ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ  คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว พูดเป็นธรรมนั่นแล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ.

นาภาสมานํ  ชานนฺติ,     มิสฺสํ  พาเลหิ  ปณฺฑิตํ;

ภาสมานญฺจ  ชานนฺติ,     เทเสนฺตํ  อมตํ  ปทํ.

บัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูดใครๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นบัณฑิต   แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูดแสดงอมตธรรม ใครๆ จึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต.

ภาสเย  โชตเย  ธมฺมํ,     ปคฺคณฺเห  อิสินํ  ธชํ;

สุภาสิตทฺธชา  อิสโย,    ธมฺโม  หิ  อิสินํ  ธโชติ ฯ

บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงส่องธรรมให้สว่าง พึงยกธรรมของพระอริยเจ้าไว้   พระอริยเจ้ามีหลายสุภาษิตเป็นธง แท้จริง พระธรรมเป็นธงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย.

(สํ. นิ. ๑๖/๗๐๘, องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๘, ขุ. ชา. ๒๘/๓๙๓, มหาสุตโสมชาดก)

หมายเหตุ : คาถาสุดท้ายเป็นสำนวนของหลวงพ่อพระภัททันตธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต วัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ท่านแปลไว้ในสาส์นถึงสมเด็จ ฉบับที่ ๒. จากบางส่วนของหนังสือ นาวุติกานุสรณ์.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นเป็นสภาไม่ได้   ชนเหล่าใดไม่พูดถูกธรรม   ชนเหล่านั้นเป็นสัตบุรุษไม่ได้   ผู้ที่ละราคะโทษะแลโมหะได้   พูดถูกธรรมนั้นแลจัดเป็นสัตบุรุษ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในที่ประชุมใด ไม่มีสัตบุรุษ  ที่ประชุมนั้นไม่เรียกว่าสภา  คนที่พูดไม่ถูกธรรม เขาเป็นสัตบุรุษไม่ได้  ผู้ละราคะ โทสะ โมหะได้ พูดถูกธรรมนั้นแล เป็นสัตบุรุษ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดป่าภูหายหลง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

วัดป่าภูหายหลง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภูเขาสูงของ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดป่าภูหายหลง เป็นสิ่งมหัศจรรย์บนยอดเขาที่สวยงามและประทับใจมาก เมื่อได้มาเห็นกับตา วิวสวยงาม มองมาด้านล่าง ทำให้รู้สึกสัมผัสได้ถึงธรรมชาติ 







Previous Post
Next Post

0 comments: