วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

"พระจาริก"​ ไม่ใช่ “พระธุดงค์”​ โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

"พระจาริก"​ ไม่ใช่ “พระธุดงค์”​ 

ในบรรดาเรื่องที่คนไทยเข้าใจผิดอย่างชนิดฝังรากลึก ถึงขั้นหลงผิด ก็คือเรื่องพระธุดงค์  พอเห็นพระแบกกลด สะพายบาตร สะพายย่าม เดินไปตามถนนหนทางหรือตามที่ไหนๆ คนไทยจะบอกกันทันทีว่า “พระธุดงค์”  โปรดทราบทั่วกันว่า อาการเช่นว่านั้นไม่ใช่ลักษณะของ “พระธุดงค์”  ธุดงค์ในพระพุทธศาสนามี ๑๓ ลักษณะ  พูดอย่างสั้นที่สุดมีดังนี้ :-

๑. ใช้ผ้าบังสุกุล ไม่ใช้จีวรสำเร็จรูป  

๒. ใช้ผ้าเฉพาะไตรจีวร ๓ ผืน ไม่ใช้ผ้าอื่นอีก

๓. ฉันเฉพาะอาหารที่ไปบิณฑบาตได้มา

๔. เดินบิณฑบาตและไม่เลือกรับ

๕. นั่งฉันครั้งเดียว ลุกแล้วไม่ฉันอีก

๖. ฉันในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น

๗. กำหนดชนิดและปริมาณของอาหารก่อนจะลงมือฉัน และฉันเฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น 

๘. อยู่ป่า

๙. อยู่โคนไม้

๑๐. อยู่กลางแจ้ง ไม่เข้าร่ม

๑๑. อยู่ป่าช้า

๑๒. กรณีไปพักหรือไปอยู่ต่างถิ่น เขาจัดให้พักอย่างไร (อันสมควรแก่สมณบริโภค) ก็อยู่ตามนั้น ไม่เกี่ยง ไม่เลือก ไม่เรื่องมาก

๑๓. ไม่นอน

ประพฤติหรือปฏิบัติตาม ๑๓ ลักษณะเหล่านี้ ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ นี่คือ “พระธุดงค์” ในพระพุทธศาสนา  จะเห็นได้ว่า ทั้ง ๑๓ ลักษณะนั้นไม่มีข้อไหนเลยที่บอกว่า การแบกกลด สะพายบาตร สะพายย่าม เดินไปตามถนนหนทางหรือตามที่ไหนๆ นั้นเป็นธุดงค์  วัดดังในเมืองไทยที่ควรจะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาแก่ประชาชน กลับเป็นหัวหอกตอกย้ำทำให้ผู้คนหลงผิดเรื่องธุดงค์หนักเข้าไปอีก พระที่แบกกลด สะพายบาตร สะพายย่าม เดินไปตามถนนหนทางหรือตามที่ไหนๆ ที่มักพบเห็นกันนั้น ถ้าอยากจะเรียก ผมขอให้เรียกว่า “พระจาริก”

เรียกว่า “พระจาริก” ครับ

อย่าเรียกว่าพระธุดงค์ เพราะไม่ตรงกับความเป็นจริง เห็นพระลักษณะเช่นนั้นแล้วไปเรียกว่าพระธุดงค์ ก็เท่ากับย้ำให้คนหลงผิดลึกลงไปอีก ไม่ยอมเลิกเข้าใจผิดกันสักที

ขออนุญาตย้ำ - ถ้าอยากเรียกให้ถูก เรียก “พระจาริก” ครับ

“พระจาริก” มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องมาจากคนสมัยพุทธกาลมีศรัทธาบวชปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์จากการเวียนตายเวียนเกิด พอบวชแล้ว เรียนรู้วิธีปฏิบัติเข้าใจถูกต้องแล้วก็จะลาพระพุทธเจ้าหรือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ไปหาสถานที่เหมาะๆ เพื่อปฏิบัติธรรม ไปรูปเดียวก็มี ไปเป็นคณะก็มาก

กับอีกประเภทหนึ่ง ตัวพระเองบรรลุธรรมแล้วก็ออกเดินทางไปประกาศพระศาสนาตามสถานที่ต่างๆ ตามพระพุทธดำรัสว่า :-  “จรถ  ภิกฺขเว  จาริกํ  พหุชนหิตาย  พหุชนสุขาย  โลกานุกมฺปาย  อตฺถาย  หิตาย  สุขาย  เทวมนุสฺสานํ.”  แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไปเถิดเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ทวยเทพและมนุษย์". ที่มา: วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๓๒ เป็นต้น

ช่วงเวลาที่ออกเดินทางไปแสวงหาที่ปฏิบัติธรรมหรือประกาศธรรมนั่นแหละครับเรียกว่า “เที่ยวจาริกไป” ซึ่งจะต้องมีอัฐบริขารและอุปกรณ์ในการดำรงชีพตามสมณวิสัยติดตัวไปด้วย และนั่นเองคือภาพพระแบกกลด สะพายบาตร สะพายย่าม เดินไปตามท้องถิ่นต่างๆ  ท่านไม่ได้ปฏิบัติธุดงค์ด้วยการเดินแต่อย่างใดทั้งสิ้น ท่านเดินไปหาที่ปฏิบัติธรรมและเดินไปประกาศธรรม ไม่ใช่เดินปฏิบัติธุดงค์  เดินไปถึงที่อันพึงประสงค์แล้ว ท่านอาจจะปฏิบัติธุดงค์ข้อไหนก็เป็นเรื่องของท่าน เป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่ต้องเอามาเกี่ยวกับการเดินแบกกลดเลย และธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อนั้นก็ไม่มีข้อไหนเลยที่ต้องปฏิบัติด้วยการเดินแบกกลด หรือต้องเริ่มต้นโดยวิธีแบกกลดเหมือนเป็นบุรพภาคหรือเตรียมอุ่นเครื่องก่อนจากนั้นจึงจะปฏิบัติธุดงค์ข้อนั้นๆ ต่อไป-ไม่ใช่อย่างนี้เลย

ธุดงค์บางข้อ อยู่กับวัดนั่นเองก็สามารถปฏิบัติได้ ไม่ต้องเที่ยวแบกกลดเดินไปไหนๆ เลย  ทุกครั้งที่เห็นพระเดินแบกกลดแล้วเรียกว่า “พระธุดงค์” โปรดทราบว่าเรากำลังตอกย้ำตัวเองให้หลงผิด  หากเอาคำนั้นไปเรียกไปบอกให้ใครฟังอีก ก็คือตอกย้ำให้คนอื่นหลงผิดต่อไปอีก และที่ต้องกราบขอร้องอีกอย่างหนึ่งก็คือ กรุณาอย่าพยายามอธิบายผิดให้เป็นถูก เช่นอธิบายว่า การแบกกลดเดินอนุโลมเข้ากับธุดงค์ข้อนั้น หรือสงเคราะห์เข้าได้กับธุดงค์ข้อนี้ หรือเป็นการบริหารร่างกายนับเข้าในธุดงค์ข้อโน้น หรือไม่รู้จะพูดอย่างไรก็พยายามอธิบายประโยชน์ของการแบกกลดเดินว่าดีอย่างนั้นๆ 

เคยได้ยินท่านผู้หนึ่งแก้แทนให้ว่า การได้เห็นพระมาเดินอยู่เช่นนี้นับเข้าในมงคลข้อว่า สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง การได้เห็นสมณะเป็นมงคล - แถออกไปโน่น ช่วยกันแก้ผิดให้ถูกง่ายกว่ากันเยอะเลย ถูกคืออย่างไรท่านก็สอนไว้ชัด ช่วยกันศึกษาให้เข้าใจ แล้วเอาถูกมาชี้ให้ดูว่าอย่างนี้คือถูก อย่างนี้คือธุดงค์ แบบนั้นผิด แบบนั้นไม่ใช่ธุดงค์ ตรงไปตรงมาแค่นี้  ใครจะเห็นประโยชน์ของการแบกกลดเดินว่าดีอย่างไร ก็ว่าไปตรงๆ แต่อย่าอ้างว่าแบบนั้นคือธุดงค์ เรื่องธุดงค์นั้นมีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก แต่ที่มีคำอธิบายละเอียดครบถ้วนมีแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๑ ธุดงคนิเทศ คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นแบบเรียนบาลีชั้นประโยค ๘ วิชาแปลมคธเป็นไทย และชั้นประโยค ๙ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใครจบบาลีต้องผ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาแล้ว

ศึกษาเรื่องธุดงค์ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคให้ดีๆ จะพบนัยที่สำคัญข้อหนึ่ง นั่นคือภิกษุผู้ปฏิบัติธุดงค์โดยปกติแล้วจะปฏิบัติไปเงียบๆ ไม่แสดงตัว ไม่โฆษณาบอกใครๆ ไม่ติดป้ายว่าอาตมาปฏิบัติธุดงค์ ตรงกันข้าม บางทีปฏิบัติไปเงียบๆ พอมีใครแอบรู้ว่าท่านปฏิบัติธุดงค์ท่านกลับกลบเกลื่อนเหมือนกับว่าไม่ได้ปฏิบัติ  ธุดงค์เป็นข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลาตนเอง ทำไปเงียบๆ ตามลำพังตัวใครตัวมันดีที่สุด การประกาศแสดงตัวว่าข้าพเจ้าปฏิบัติธุดงค์ ไม่ได้ช่วยให้ขัดเกลาตัวเองได้ดีขึ้นแต่ประการใดทั้งสิ้น  และการที่คนอื่นไม่รู้ว่าเราปฏิบัติธุดงค์ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคให้ปฏิบัติธุดงค์ได้ลำบากยากขึ้นแต่ประการใด การขัดเกลาตนเองด้วยธุดงค์เป็นวิธีขัดเกลาตนด้วยตน อุปมาเหมือนคนที่ตั้งใจแบกขนสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปด้วยตนเอง เป็นการออกกำลังหรือฝึกทำงานด้วยตัวเอง ก็ไม่ต้องเรียกให้ใครมาช่วย ถ้าเรียกให้ใครมาช่วย ก็เท่ากับเสียความตั้งใจ

ปฏิบัติขัดเกลาตนเอง แต่ไปเที่ยวบอกให้คนอื่นรู้โดยหวังว่าเขาจะได้มาช่วยอำนวยความสะดวกให้เราขัดเกลาตนเองได้ดีขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย ใครจะรู้หรือไม่รู้ ใครจะมาช่วยอำนวยความสะดวกหรือไม่ช่วย เราก็ขัดเกลาตนเองของเราไปตามปกติ  ถ้าใครจะอ้างว่า-ควรประกาศ เพื่อให้คนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็พึงตระหนักเถิดว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเพื่อประโยชน์ของผู้ฟัง ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของผู้สอน

พระพุทธศาสนาสอนให้ผู้ฟังนับถือเลื่อมใสคำสอน แล้วเอาคำสอนไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ไม่ใช่สอนเพื่อให้เลื่อมใสตัวผู้สอนแล้วเอาลาภสักการะมาให้ผู้สอน - ตรงนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่เรามักจะพลาดกันมาก

การเอาธุดงค์มาแสดงกันผิดๆ นี่แหละคือตัวอย่างที่ชัดเจนตัวอย่างหนึ่งของการ-เรียนบาลี แต่ไม่เข้าถึงพระไตรปิฎก

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย , ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔, ๑๑:๒๙



ที่มา : ทองย้อย แสงสินชัย


พระจาริก ----------- ไม่ใช่ “พระธุดงค์” ในบรรดาเรื่องที่คนไทยเข้าใจผิดอย่างชนิดฝังรากลึก ถึงขั้นหลงผิด...

Posted by ทองย้อย แสงสินชัย on Thursday, April 29, 2021
ว่าด้วยวางใจคนที่ชอบใจ

ว่าด้วยวางใจคนที่ชอบใจ

"ยสฺมึ  มโน  นิวิสติ,  จิตฺตญฺจาปิ  ปสีทติ;   อทิฏฺฐปุพฺพเก  โปเส,  กามํ  ตสฺมิมฺปิ  วิสฺสเสติ ฯ   ใจฝังอยู่ในผู้ใด แม้จิตก็เลื่อมใสในผู้ใด ถึงเป็นคนที่ไม่เคยเห็นกันเลย ก็วางใจในผู้นั้นได้โดยแท้"

สาเกตชาดกอรรถกถา

พระศาสดาทรงอาศัยเมืองสาเกต ประทับ ณ พระวิหารอัญชนวันทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ มโน นิวีสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ เสด็จเข้าเมืองสาเกตเพื่อบิณฑบาต พราหมณ์แก่ชาวเมืองสาเกตุหนึ่ง กำลังเดินไปนอกพระนคร เห็นพระทศพลระหว่างประตู ก็หมอบลงแทบพระยุคลบาท ยึดข้อพระบาททั้งคู่ไว้แน่นพลางกราบทูลว่า „พ่อมหาจำเริญ ธรรมดาว่า บุตร ต้องปรนนิบัติ มารดาบิดาในยามแก่มิใช่หรือ? เหตุไรพ่อจึงไม่แสดงตนแก่เราตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราเห็นต่อก่อนแล้ว แต่พ่อจงมาพบกับมารดาแล้วพาพระศาสดาไปเรือนของตน“. พระศาสดาเสด็จไปที่เรือนของพราหมณ์ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ฝ่ายพราหมณีได้ข่าวว่า „บัดนี้บุตรของเรามาแล้ว ก็มาหมอบแทบบาทยุคลของพระบรมศาสดาแล้วร่ำไห้ว่า „พ่อคุณทูลหัว พ่อไปไหนเสียนานถึงปานนี้, ธรรมดาบุตรต้องบำรุงมารดาบิดายามแก่มิใช่หรือ?“ แล้วบอกให้บุตรธิดา พากันมาไหว้ด้วยคำว่า „พวกเจ้าจงไหว้พี่ชายเสีย“. พราหมณ์ทั้งสองผัวเมียดีใจ ถวายมหาทาน.

พระศาสดาครั้นเสวยเสร็จแล้ว ก็ตรัสชราสูตรแก่พราหมณ์แม้ทั้งสองเหล่านั้น. ในเวลาจบพระสูตรคนแม้ทั้งสองก็ตั้งอยู่ในพระอนาคามิผล.  พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะเสด็จไป พระวิหารอัญชนวันตามเดิม. พวกภิกษุนั่งประชุมกันในโรงธรรม สนทนากันขึ้นว่า „ผู้มีอายุทั้งหลายพราหมณ์ก็รู้อยู่ว่า พระบิดาของพระตถาคต คือพระเจ้าสุทโธทนะพระมารดา คือพระนางมหามายา, ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ก็ยังบอกพระตถาคตกับนางพราหมณีว่า บุตรของเรา, ถึงพระศาสดาก็ทรงรับข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรหนอ ?“ 

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์แม้ทั้งสองเรียกบุตรของตนนั่นแหละว่า บุตร“ แล้วทรงนำอดีต นิทานมาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นี้ในอดีตกาลได้เป็นบิดาของเราตลอด ๕๐๐ ชาติ, เป็นอาของเรา ๕๐๐ ชาติ, เป็นปู่ของเรา ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสาย, แม้นางพราหมณีนี้เล่าก็ได้เป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสายเลยดุจกัน, เราเจริญแล้วในมือของพราหมณ์ ๑,๕๐๐ ชาติ จำเริญแล้วในมือของนางพราหมณี ๑,๕๐๐ ชาติอย่างนี้“ เป็นอันทรงตรัสถึงชาติในอดีต ๓,๐๐๐ ชาติ ครั้นตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงตรัส พระคาถานี้ว่า :- „ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด แม้จิตเลื่อมใสในผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมแม้ในผู้นั้น ทั้ง ๆ ที่ ไม่เคยเห็นกันมาก่อน“.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ มโน นิวิสติ ความว่า ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด ผู้เพียงแต่เห็นกันเท่านั้น.  บทว่า จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ความว่า อนึ่งจิตย่อมเลื่อมใสอ่อนโยน ในบุคคลใด ผู้พอเห็นเข้าเท่านั้น.  บทว่า อทิฏฺฐปุพฺพเก โปเส ความว่า ในบุคคลแม้นั้นถึงในยามปกติ จะเป็นบุคคลที่ไม่เคยเห็นกันเลยในอัตภาพนั้น. บทว่า กามํ ตสฺมึปิ วิสฺสเส มีอธิบายว่า ย่อมคุ้นเคยกันโดยส่วนเดียว คือถึงความคุ้นกันทันที แม้ในบุคคลนั้น ด้วยอำนาจความรักที่เคยมีในครั้งก่อนนั่นเอง.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาอย่างนี้แล้วทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้นได้มาเป็นพราหมณ์และนางพราหมณีคู่นี้ นั่นแล ฝ่ายบุตรได้แก่ เราตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล.

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali



พระพุทธศาสนา เป็น “วิภัชชวาท”

พระพุทธศาสนา เป็น “วิภัชชวาท” คือ มองความจริงอย่างวิเคราะห์ แยกแยะ จำแนก แจกแจง ให้เห็นครบทุกแง่ ทุกด้าน

..“ วิภัชชวาท คือ การแสดงความจริงหรือการสอนโดยจำแนกแยกแยะ หมายความว่า ไม่มองความจริงเพียงด้านเดียว แต่จำแนกแยกแยะมองความจริงครบทุกแง่ทุกด้าน ไม่ดิ่งไปอย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มีหลักการแสดงความจริงด้วยวิธีอย่างนั้น ก็เรียกว่า วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที ..เป็นความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะมองอะไรข้างเดียว ด้านเดียว พอเจออะไรอย่างหนึ่ง ด้านหนึ่ง ก็สรุปตีความว่า นั่นคือสิ่งนั้น ความจริงคืออย่างนั้น แต่ความจริงที่แท้ของสิ่งทั้งหลายนั้นมีหลายด้าน ต้องมองให้ครบทุกแง่ทุกมุม พระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะจำแนกแยกแยะ ดังที่เรียกว่า “วิภัชชวาท”

..คำว่า “วิภัชช” แปลว่า จำแนกแยกแยะ มีการจำแนกแยกแยะทั้งในด้านความจริง เช่น เมื่อพูดถึงชีวิตคน ท่านจะจำแนกออกไปเป็นขันธ์ ๕ โดยแยกออกไปเป็นรูปธรรมและนามธรรมก่อน แล้วแยก “นามธรรม” ออกไปอีกเป็น ๔ ขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แม้แต่ ๔ ขันธ์นั้น แต่ละขันธ์ยังแยกแยะออกไปอีก อันนี้เป็นลักษณะหนึ่งของการจำแนก คือแยกแยะความจริงให้เห็นทุกแง่ทุกด้าน ไม่ตีคลุมไปอย่างเดียว คนจำนวนมากมีลักษณะตีขลุมและก็คลุมเอาอย่างเดียว ทำให้มีการผูกขาดความจริงโดยง่าย

..แม้แต่ในการตอบคำถาม ก็จะมีลักษณะของการจำแนกแยกแยะ ไม่ตีขลุมไปอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น มีผู้มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า คฤหัสถ์คือชาวบ้านนั้น เป็นผู้ที่จะยังข้อปฏิบัติที่เป็นกุศลให้สำเร็จ แต่บรรพชิตไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ใช่หรือไม่ นี่ถ้าตอบแบบตีความข้างเดียว ที่เรียกว่า เอกังสวาท ก็ต้องตอบดิ่งไปข้างหนึ่ง โดยต้องปฏิเสธ หรือว่ารับ ถ้ายอมรับก็บอกว่าใช่แล้ว คฤหัสถ์เท่านั้นทำสำเร็จ บรรพชิตไม่สำเร็จ ถ้าปฏิเสธก็บอกว่าไม่ใช่ คฤหัสถ์ไม่สำเร็จ บรรพชิตจึงจะสำเร็จ แต่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสแบบวิภัชชวาท ทรงชี้แจงว่า พระองค์ไม่ตรัสเอียงไปข้างเดียวอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ถ้ามีสัมมาปฏิบัติแล้ว ก็ทำกุศลธรรมให้สำเร็จทั้งสิ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ถ้าเป็นมิจฉาปฏิบัติ ปฏิบัติผิดแล้วก็ทำกุศลธรรมให้สำเร็จไม่ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า วิภัชชวาท

..อีกตัวอย่างหนึ่ง มีคนมากราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า วาจาที่ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระองค์ตรัสไหม ถ้าเป็นเรา เราจะตอบว่าอย่างไร ถ้าเขามาถามว่า คำพูดที่คนอื่นไม่ชอบใจ ไม่เป็นที่รักของเขา ท่านพูดไหม ท่านจะตอบว่าอย่างไร จะตอบว่าพูดหรือจะตอบว่าไม่พูด ถ้าอย่างนั้นเรียกว่าดิ่งไปข้างเดียว พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า ในข้อนี้เราไม่มีการตอบดิ่งไปข้างเดียว แล้วพระองค์ก็ตรัสแยกแยะให้ฟังว่า...:-

วาจาใดไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ไม่ตรัส

วาจาใดจริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ก็ไม่ตรัส

วาจาใดจริง เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์เลือกกาลที่จะตรัส

วาจาใดไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ก็ไม่ตรัส

วาจาใดจริง ไม่เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ก็ไม่ตรัส

วาจาใดจริง เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์เลือกกาลที่จะตรัส

..เขาถามเพียงคำถามเดียว พระองค์ตรัสแยก ๖ อย่าง ขอให้พิจารณาดู อย่างนี้เรียกว่า วิภัชชวาท นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงลักษณะท่าทีของการสนองตอบ หรือปฏิกิริยาต่อสิ่งทั้งหลายแบบชาวพุทธ ซึ่งมีการมองอย่างวิเคราะห์และแยกแยะ จำแนกแจกแจง เพื่อให้เห็นความจริง ครบทุกแง่ทุกด้าน ..อีกตัวอย่างหนึ่ง คือในการแยกประเภทคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าตรัสกามโภคี ๑๐ ประเภท แสดงหลักการวินิจฉัยคฤหัสถ์โดยการแสวงหาทรัพย์ วินิจฉัยโดยการใช้จ่ายทรัพย์ และวินิจฉัยโดยท่าทีของจิตใจต่อทรัพย์ เป็นต้น แล้วก็แยกประเภทคฤหัสถ์ไปตามหลักการเหล่านี้

..หลักการต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจะเป็นอย่างนี้มาก เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า ธรรมในพระพุทธศาสนานี้มีลักษณะพิเศษที่มักจะมีเป็นข้อๆ จัดเป็นหมวดธรรมต่างๆ เช่น หมวดสอง หมวดสาม หมวดสี่ หมวดห้า หมวดหก ..พระพุทธเจ้าเป็นนักจำแนกธรรม จึงได้รับการเฉลิมพระนามอย่างหนึ่งว่า ภควา ภควานั้นแปลได้ ๒ อย่าง แปลว่า ผู้มีโชค ก็ได้ แปลว่า ผู้จำแนกแจกธรรม ก็ได้ นี้เป็นลักษณะที่เรียกว่า วิภัชชวาท คือ เป็นนักวิเคราะห์ จำแนกแจกธรรม หรือแยกแยะให้เห็นครบทุกแง่ทุกด้านของความจริง”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )

ที่มา : จากธรรมนิพนธ์ เรื่อง “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา”, ธรรมะเพื่อทางพ้นทุกข์ โดย ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ


"ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเรานี้เป็นอุปกรณ์เครื่องฝึกตน..."

“ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเรานี้เป็นอุปกรณ์เครื่องฝึกตน ผู้ฝึกตนได้แล้วย่อมเป็นที่หมายปองของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนม้าอาชาไนยที่ฝึกดีแล้วฉะนั้น”

บุคคลผู้ฝึกสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของตนให้สงบ คือฝึกดีแล้วจนไม่เกิดความเห็นผิดเป็นชอบ จนละความถือตัวถือตนได้  ฝึกตนก็เพื่อมิให้กิเลสชุบย้อมจิตใจให้เศร้าหมองหรือให้ขุ่นมัว จนเป็นผู้มั่นคงคงที่ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม บุคคลเช่นนั้นใครๆ ก็อยากจะเห็นหรืออยากจะพบ เพราะพวกเขาก็ภาคภูมิใจในความสำเร็จนั้นด้วย เหมือนม้าอาชาไนยที่นายสารถีผู้ฉลาดฝึกหัดเลี้ยงดีแล้ว เมื่อม้านั้นได้เป็นพระราชพาหนะทรง ใครๆ ก็อยากจะดูหรืออยากจะชมให้เป็นบุญตาและบุญใจฉะนั้น.

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

29/4/64



รสของความโกรธมีหนึ่งเดียวคือเผาไหม้จิตใจ ดุจสะเดามีรสขมอย่างเดียวฉะนั้น

รสของความโกรธมีหนึ่งเดียวคือเผาไหม้จิตใจ ดุจสะเดามีรสขมอย่างเดียวฉะนั้น

หน่ออ่อนที่งอกจากเมล็ดสะเดามีใบข้างละหนึ่งใบ โผล่พ้นจากแผ่นดินยังไม่ถึง ๔ นิ้ว ยังมีรสขมเสมอกับยาพิษ ต้นไม้นี้เติบโตขึ้นจักขมสักเพียงไร  

ความโกรธที่อยู่ในจิตใจก็เช่นเดียวกัน ทำให้ผิวพรรณเศร้าหมองหน้าตาเหมือนถูกลนไฟ ถ้าถูกกระทบให้แสดงออกมาทางกายหรือทางวาจาแล้วจะดุร้ายหยาบคายขนาดไหน  และด้วยอำนาจความโกรธนั้นตายไปแล้วย่อมเกิดในอบายภูมิ

เพราะฉะนั้น ผู้มีความอดทน มีจิตเมตตา มีจิตอ่อนโยน และมีจิตเอื้อเฟื้อในสรรพสัตว์ บุคคลเช่นนี้ย่อมรอดพ้นจากภัยมีนรกเป็นต้นได้ 

สาระธรรมจากเอกปัณณชาดก

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ), 29/4/64



“กายนี้เป็นเหมือนถุงยาวๆ ที่มีปาก ๒ ข้างที่เขาบรรจุธัญญชาติชนิดต่างๆ ไว้”

“กายนี้เป็นเหมือนถุงยาวๆ ที่มีปาก ๒ ข้างที่เขาบรรจุธัญญชาติชนิดต่างๆ ไว้”

ในถุงยาวๆ ที่มีปาก ๒ สองข้าง ที่เขาบรรจุธัญญชาติชนิดต่างๆ ไว้จนเต็ม คือใส่ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสารเป็นต้นไว้,  ถ้าเราแก้ถุงนั้นออกแล้วพิจารณาดูก็จะรู้ว่า “เหล่านี้เป็นข้าวสาลี เหล่านี้เป็นข้าวเปลือก เหล่านี้เป็นถั่วเขียว เหล่านี้เป็นถั่วเหลือง เหล่านี้เป็นงา เหล่านี้เป็นข้าวสาร” ฉันใด,  

ในกายของเรานี้ก็ฉันนั้น ถ้าเราพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า  “มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม–ขน–เล็บ–ฟัน–หนัง–เนื้อ–เอ็น–กระดูก–เยื่อในกระดูก–ม้าม–หัวใจ–ตับ–พังผืด–ไต–ปอด–ไส้ใหญ่–ไส้น้อย–อาหารใหม่–อาหารเก่า–น้ำดี–น้ำเสลด–น้ำเหลือง–น้ำเลือด–น้ำเหงื่อ–มันข้น–น้ำตา–มันเหลว–น้ำลาย–น้ำมูก–ไขข้อ–น้ำมูตร” ดังนี้ ทั้งในกายภายใน (ในกายของตน) บ้าง ทั้งในกายภายนอก (ในกายของผู้อื่น) บ้าง  เราย่อมเห็นความเป็นธรรมดาของร่างกายนี้ คือ เห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง เห็นความเสื่อมไปในกายบ้าง เห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ดังนี้

เมื่อสติของเราตั้งมั่น กายนี้ก็เพียงสักว่าเป็นที่รู้ (คือรู้ว่ามีเพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้นเท่านั้น) และกายนี้ก็เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก (เป็นที่ตั้งสติ) เราจะไม่ถูกตัณหา (ตัณหาคือความทะยานอยาก) และทิฏฐิ (ทิฏฐิคือความเห็นผิด) เข้าครอบง่ำ และเราก็จะละความยึดถืออะไรๆ ในโลกว่า “เป็นเรา เป็นของเรา” ได้  ดังนี้  ฯ

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ), 28/4/64



วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

การหัดตาย ก็คือปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย

การหัดตาย ก็คือปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย

..“ ปราชญ์ทางพุทธศาสนาคือผู้มีปัญญา ท่านสอนให้เร่งอบรม “มรณสติ” นึกถึงความตาย หัดตายก่อนตายจริง จุดมุ่งหมายสำคัญของการหัดตาย ก็คือ เพื่อปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย

..กิเลส เครื่องเศร้าหมองใจ, ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยาก, อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวง, หัดใจให้ปล่อยเสียพร้อมกับหัดตาย สิ่งอันเป็นเหตุให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้เกิดตัณหา อุปาทาน หัดละเสีย ปล่อยเสีย พร้อมกับหัดตาย ซึ่งจะมาถึงเราทุกคนเข้าจริงๆได้ทุกวินาที ไม่ว่าจะแก่เฒ่าหนุ่มสาวหรือเด็กเล็กเพียงไหน

ผู้ละโลกนี้ไปในขณะที่จิตเศร้าหมอง “ทุคติ” เป็นอันหวังได้อย่างแน่นอน

..เมื่อลมหายใจออกจากร่างไม่กลับเข้าอีก สิ่งที่เป็นนามแลไม่เห็นด้วยสายตา เช่นเดียวกับลมหายใจ คือ “จิต” ก็จะออกจากร่างนั้นด้วย จิตจะออกจากร่างโดยคงสภาพเดิม ลักษณะเดิม คือ พร้อมด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงที่มีอยู่ ในขณะจิตจะออกจากร่าง คือ ขณะยังเป็นจิตของคนเป็น ขณะยังเป็นจิตของคนยังไม่ตาย

..พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า “ผู้ละโลกนี้ไปในขณะที่จิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้” กิเลสทั้งปวงเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต จิตที่มีกิเลสจึงเป็นจิตที่เศร้าหมอง กิเลสมากจิตก็เศร้าหมองมาก กิเลสน้อยจิตก็เศร้าหมองน้อย จิตที่มีกิเลสเศร้าหมอง เมื่อละจากร่างก็จะคงกิเลสนั้นอยู่ คงความเศร้าหมองนั้นไว้ ภพภูมิไปสู่นั้นจึงเป็นทุคติ คติที่ชั่ว คติที่ไม่ดี คติที่ไม่มีความสุข (คือ อบายภูมิ ๔ มี นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย) มากน้อย หนักเบา ตามกิเลส ตามความเศร้าหมองของจิต”

สมเด็จพระญาณสังวร


ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก,  ภารนิกฺเขปนํ สุขํ - แบกภาระเป็นทุกข์ ปลงภาระเป็นสุข

ภาราทานํ  ทุกฺขํ  โลเก,  ภารนิกฺเขปนํ  สุขํ - แบกภาระเป็นทุกข์ ปลงภาระเป็นสุข

ภารา  หเว  ปญฺจกฺขนฺธา,  ภารหาโร  จ  ปุคฺคโล,  

ภาราทานํ  ทุกฺขํ  โลเก,   ภารนิกฺเขปนํ  สุขํ.

นิกฺขิปิตฺวา  ครุํ  ภารํ,   อญฺญํ  ภารํ  อนาทิย,  

สมูลํ  ตณฺหํ  อพฺพุยฺห,  นิจฺฉาโต  ปรินิพฺพุโตติ ฯ

ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล เครื่องถือมั่น. ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข  บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม.  ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้. (ภารสูตร ๑๗/๕๓)

การแบกถือของหนักเป็นทุกข์ในโลก 

ประโยคที่ว่า “ภาราทานํ  ทุกขํ  โลเก” การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก หรือจะแปลว่า การแบกถือของหนักในโลกเป็นความทุกข์ ดังนี้ก็ได้

...ในโลกนี้มีของหนักก็เพราะว่า คนยังมีความยึดถือนั่นเอง คนยึดถือสิ่งต่างๆ ในโลก หรือยึดถือตัวโลกนั่นเองว่าเป็นของของตน ฉะนั้น มันจึงมีการยึดถือโลกหรือแบกโลกทั้งโลกเข้าไว้ นี้เรียกว่า แบกของหนัก คําว่า ของหนัก หมายถึง เบญจขันธ์ทั้งห้าจริง แต่เบญจขันธ์ทั้งห้านั่นแหละคือ โลก สิ่งที่เราเรียกว่าโลกนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าขันธ์ทั้งห้าที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การแบกถือของหนักย่อมเป็นทุกข์นี้เกือบไม่ต้องอธิบาย เพราะว่าเมื่อไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมสลัดทิ้ง แบกไว้เรื่อย มันก็หนักเรื่อย

การสลัดของหนักทิ้งไปเสียเป็นความสุข

..ประโยคถัดไป มีอยู่ว่า “ภารนิกฺเขปนํ  สุขํ ” การสลัดของหนักทิ้งไปเสียเป็นความสุข บางคนอาจจะหัวเราะเยาะว่าทําไมจะต้องกลัวอย่างนี้ จะต้องพูดประโยคว่าตัวเองกําลังแบกของหนักเหล่านั้นไว้ทําไม ถ้าหากว่าตัวเองมีความรู้ในเรื่องนี้ดีจนหัวเราะเยาะผู้กล่าว ถ้าหากว่าตัวเองมีความรู้ในเรื่องนี้ดีจนหัวเราะเยาะผู้กล่าวแล้ว ตนก็ไม่ควรจะแบกของหนักเหล่านั้นไว้อย่างเต็มอัด เพราะฉะนั้น คนที่กล่าวว่าประโยคนี้เป็นประโยคที่มีความหมายตื้นๆ สั้นๆ เด็กๆ ก็พูดได้นั่นแหละ ระวังให้ดีว่ามันมีอะไรเต็มอัดอยู่บนศีรษะของตน บนบ่าบนคอของตน ลองแหงนขึ้นดูบ้าง

..“การถือ การหนัก แบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข”

แม้จะฟังดูง่าย ๆ เข้าใจได้ง่าย ๆ แต่ความหมายนั้นลึกซึ้ง และที่ลึกซึ้งมากที่สุดก็คือ ตัวเองไม่รู้สึกว่าตัวเองกําลังแบกของหนัก ความคิดที่จะสลัดทิ้งของหนักจึงไม่เคยมี แม้แก่บุคคลเหล่านั้น แม้ท่านทั้งหลายที่อยู่ที่นี่ทุกคน ลองนึกสอบสวนตัวเองดูด้วยความเป็นธรรมว่า ได้เคยมีความรู้สึกคิดนึกว่าหนัก และจะสละของหนักเหล่านี้กันบ้างหรือไม่ หรือว่ากําลังไม่รู้จักของหนักที่มีอยู่เดิม และพยายามที่จะแสวงหาของหนักให้เข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งตายก็ไม่มีที่สิ้นสุด ยังจะเพิ่มกันไปในชาติหน้าและชาติต่อๆไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมีความรู้สึกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับของหนักอย่างนี้ ก็จะสนใจในคําของพระพุทธเจ้ามากขึ้น และรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่จะนํามาใช้ได้เป็นประจําวันแก่เรามากขึ้น” -พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “ในวัฏฏสงสารมีนิพพาน” บรรยายเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๑๑ ที่สวนโมกขพลาราม จากเอกสารชุดมองด้านใน อันดับที่ ๑๗



เวลาที่เราสบายใจที่สุด ก็คือ เวลาที่เราลืมว่า “เรามีตัวเรา”

เวลาที่เราสบายใจที่สุด ก็คือ เวลาที่เราลืมว่า “เรามีตัวเรา”

“… เพราะฉะนั้น ประโยคที่ว่า “เรามีความสุขแท้จริงต่อเมื่อเราไม่รู้สึกว่ามีอะไร เป็นตัวเรา ของเรา” นี้เป็นเรื่องจริงของธรรมชาติด้วย, และเป็นพุทธศาสนาทันที. ส่วนที่ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติแท้ๆ ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ก็สังเกตดู : เวลาที่เราสบายใจที่สุด, รู้สึกสบาย พอใจตัวเองที่สุด ก็คือเวลาที่เราลืมว่า เรามีตัวเรา ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง, หรือลืมภาระของตัวเรา, ภาระของของเรา ไม่มีภาระเหล่านั้นมาผูกพัน, แม้ว่าเรากําลังทําการงานอยู่ แต่เราลืมตัวเราก็ได้ ลืมของเราก็ได้ การงานนั้นก็เลยเป็นของสนุกไป.

..พอเราพูดว่า “เมื่อจิตไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว การงานก็สนุก” นี้คนเขาฟังไม่ถูก; คนบางคนหาว่าเป็นการแกล้งพูดเล่นลิ้นเล่นสํานวน. ต้องฟังให้ดีๆ แล้วเอาไปคิดให้ดีๆ แล้วไปสังเกตให้ดีๆ จนกระทั่งเห็นว่า เรามีความสบายอย่างบอกไม่ถูก ต่อเมื่อมี conception ว่าตัวเรา ว่าของเรานั้น ไม่เข้ามาวี่แววแก่เรา, มันเหลืออยู่แต่สติปัญญา กําลังทําการงานอยู่บ้าง กําลังศึกษาบ้าง กําลังพักผ่อนบ้าง อะไรบ้าง : อยู่ด้วยสติปัญญาที่เป็นอิสระ หรืออารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่เจืออยู่ด้วย “ตัวกู” หรือ “ของกู” อย่างนี้จะรู้สึกสบาย, พอตัวกู-ของกูมา ก็หมายความว่าภาระมา, ภาระคือของหนัก ของผูกพัน ของครอบงํา อะไรนั้นมา, เพราะฉะนั้น ให้ถือเสียว่า “ตัวกู” เป็นศัตรูของ “ความสงบ” และมันมี “ของกู” เนื่องกันอยู่ด้วย. ชีวิตที่ประกอบอยู่ด้วยความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู นี้ เป็นชีวิตที่ทรมาน.”

พุทฺธทาสภิกฺขุ

ที่มา : ให้โอวาทแก่พระภิกษุที่จะสึกที่เรียกว่า “ธรรมปาฏิโมกข์” หัวข้อเรื่อง “อยู่ที่สวนโมกข์นี้ทำอะไร?” เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๑๐ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “ธรรมปาฏิโมกข์ เล่ม ๑”

ผู้หญิงหาลูกหาผัวได้ง่าย


ผู้หญิงหาลูกหาผัวได้ง่าย

"อุจฺฉงฺเค  เทว  เม  ปุตฺโต,  ปเถ  ธาวนฺติยา  ปติ;    ตญฺจ  เทสํ  น  ปสฺสามิ,  ยโต  โสทริยมานเยติ ฯ   ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ บุตรของหม่อมฉันหาได้ง่ายเหมือนกับเมี่ยงในพก เมื่อหม่อมฉันเดินไปตามทาง สามีก็หาได้ง่าย, หม่อมฉันไม่เห็นประเทศที่จะนำพี่ชายผู้ร่วมอุทรมาได้"

อุจฉังคชาดกอรรถกถา

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภหญิงชาวชนบทคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุจฺฉงฺเค เทฺว เม ปุตฺโต ดังนี้. 

ความพิสดารว่า ในแคว้นโกศล มีคน ๓ คน ไถนาอยู่ที่ปากดงแห่งหนึ่ง. ในสมัยนั้น พวกโจรในดง คุมพวกปล้นหมู่มนุษย์แล้วพากันหนีไป พวกมนุษย์สืบจับโจรพวกนั้น เมื่อไม่พบ จึงตามมาจนถึงที่นั่นกล่าวว่า „พวกเจ้าเที่ยวปล้นเขาในดงแล้วเดี๋ยวนี้แสร้งทำเป็นชาวนา“ จับคนเหล่านั้นด้วยสำคัญว่า „พวกนี้เป็นโจร“ นำมาถวายพระเจ้าโกศล.  ครั้งนั้น มีหญิงคนหนึ่ง มาร่ำไห้ว่า „โปรดพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่หม่อมฉันเถิด“ เดินวนเวียนพระราชนิเวศน์ไป ๆ มา ๆ.

พระราชาทรงสดับเสียงของนางแล้ว รับสั่งว่า „พวกเจ้าจงให้ผ้าห่มแก่นาง“. พวกราชบุรุษพากันหยิบผ้าสาฎกส่งให้. นางเห็นผ้านั้นแล้วกล่าวว่า „ดิฉันไม่ได้ขอพระราชทานผ้านี้ดอก, ดิฉันขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มคือสามี“. พวกมนุษย์พากันไปกราบบังคมทูลแด่พระราชาว่า „พระเจ้าข้านัยว่า หญิงผู้นี้มิได้พูดถึงผ้านุ่งห่มนี้ นางพูดเครื่องนุ่งห่มคือสามี“. พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้า มีพระราชาดำรัสถามว่า „ได้ยินว่า เจ้าขอผ้าคือสามีหรือ ?“ นางกราบทูลว่า „พระเจ้าค่ะ พระองค์ผู้สมมติเทพ สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาตั้งพันกระษาปณ์ จะต้องชื่อว่าเป็นหญิงเปลือยอยู่นั่นเอง พระเจ้าค่ะ“.  ก็เพื่อจะให้เนื้อความนี้สำเร็จประโยชน์ บัณฑิตพึงนำเรื่องมาสาธกดังนี้ว่า :-  „แม่น้ำที่ไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจากผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย“. 

พระราชาทรงเลื่อมใสนาง รับสั่งถามว่า „คนทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นอะไรกับเจ้า ?“ นางกราบทูลว่า „ขอเดชะข้าแต่พระองค์สมมติเทพ คนหนึ่งเป็นสามี, คนหนึ่งเป็นพี่, คนหนึ่งเป็นบุตร พระเจ้าค่ะ“.  พระราชารับสั่งถามว่า „เราพอใจเจ้า ในคน ๓ คนนี้ เราจะยกให้เจ้าคนหนึ่ง เจ้าปรารถนาคนไหนเล่า ?" นางกราบทูลว่า „ขอเดชะ พระกรุณาเป็นล้นพ้น เมื่อหม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีคนหนึ่งต้องหาได้ แม้บุตรก็ต้องได้ด้วย, แต่เพราะมารดาบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชายคนเดียวหาได้ยาก พระเจ้าค่ะ, จงโปรดพระราชทานพี่ชายแก่กระหม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ“.  พระราชาทรงยินดีแล้ว โปรดให้ปล่อยไป ทั้ง ๓ คน เพราะอาศัยหญิงนั้นผู้เดียว คนทั้ง ๓ จึงพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้. 

เรื่องนั้นรู้กันทั่วในหมู่ภิกษุ. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรม นั่งสนทนาสรรเสริญคุณของหญิงนั้นว่า „ผู้มีอายุทั้งหลาย อาศัยหญิงคนเดียวคน ๓ คน พ้นทุกข์หมด“. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่า ?“ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่หญิงผู้นี้จะปลดเปลื้องคนทั้ง ๓ ให้พ้นจากทุกข์, ถึงแม้ในปางก่อน ก็ปลดเปลื้องแล้วเหมือนกัน“ ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-  ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี คนทั้ง ๓ พากันไถนาอยู่ที่ปากดง ดังนี้ ต่อนั้นไปเรื่องทั้งหมดก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นแหละ. (แต่ที่แปลกออกไปมีดังนี้) 

เมื่อพระราชาตรัสถามว่า „ในคนทั้ง ๓ เจ้าต้องการ ใครเล่า ?" นางกราบทูลว่า „ขอเดชะพระบารมีเป็นล้นพ้น พระองค์ไม่สามารถจะพระราชทานหมดทั้ง ๓ คน หรือพระเจ้าค่ะ ?" พระราชาตรัสว่า „เออเราไม่อาจให้ได้ทั้ง ๓ คน". นางกราบทูลว่า "ขอเดชะพระกรุณาเป็นล้นพ้น แม้นไม่ทรงสามารถพระราชทานได้ทั้ง ๓ คนไซร้ได้ ทรงพระกรุณาพระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิด“ พระราชา: „เจ้าต้องการพี่ชาย เพราะเหตุไร?“ นางจึงกราบทูลว่า „ขอเดชะพระบารมีล้นเกล้า ธรรมดาคนเหล่านี้หาได้ง่าย แต่พี่ชายกระหม่อมฉันหาได้ยากพระเจ้าค่ะ“ แล้วกราบทูลคาถานี้ว่า :-  „ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่ ในพกของเกล้ากระหม่อมฉัน, สามีเล่าเมื่อเกล้า กระหม่อมฉันไปตามทาง (ก็หาได้), แต่ประเทศ ที่หม่อมฉันจะหาพี่น้องร่วมอุทรได้ เกล้า กระหม่อมฉันมองไม่เห็นเลย“. 

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  อุจฺฉงฺเค เทว เม ปุตฺโต  ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่ในพกของเกล้ากระหม่อมฉันแล้วทีเดียว โดยเปรียบ ความว่า เมื่อหม่อมฉันเข้าป่าทำผ้าเป็นพกไว้ เก็บผักใส่ในพกนั้น ผักจึงชื่อว่าเป็นของหาง่าย เพราะมีอยู่ในพก ฉันใด แม้หญิงก็หาบุตรได้ง่ายฉันนั้น เป็นเช่นกับผักในพกนั่นทีเดียว ด้วยเหตุนั้น หม่อมฉันจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่ในพกของหม่อมฉัน ดังนี้.  บทว่า ปเถ ธาวนฺติยา ปติ ความว่า ธรรมดาว่า สามีสตรีย่างขึ้นสู่หนทาง เดินไปคนเดียวประเดี๋ยวก็ได้ ชายที่พบเห็นเป็นสามีได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนั้น หม่อมฉันจึงกล่าวว่า สามีเล่าเมื่อเกล้ากระหม่อมฉันเที่ยวไปตามทาง (ก็หาได้) ดังนี้.  บทว่า ตญฺจ เทสํ น ปสฺสามิ ยโต โสทริยมานเย ความว่า แต่เพราะมารดาบิดาของหม่อมฉันไม่มีเสียแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ประเทศอื่นกล่าวคือท้องของมารดา ที่หม่อมฉันจะหาพี่น้องซึ่งกล่าวว่า ร่วมท้องกัน เพราะเกิดร่วมอุทรนั้น หม่อมฉันมองไม่เห็นเลย พระเจ้าค่ะ เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิดพระเจ้าค่ะ พระราชาทรงพระดำริว่า นางนี้พูดจริง ดังนี้แล้ว มีพระทัยยินดีแล้วโปรดให้นำคนทั้ง ๓ มาจากเรือนจำ พระราชทานให้นางไป. นางจึงพาคนทั้ง ๓ กลับไป. 

พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน นางก็เคยช่วยคนทั้ง ๓ นี้ให้พ้นจากทุกข์แล้วเหมือนกัน" ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า „คนทั้ง ๔ ในอดีตได้มาเป็นคนทั้ง ๔ ในปัจจุบัน ส่วนพระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล".

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali

ว่าด้วยความต้องการไม่มีสิ้นสุด

ว่าด้วยความต้องการไม่มีสิ้นสุด 

"เอกา  อิจฺฉา  ปุเร  อาสิ,  อลทฺธา  มุทุลกฺขณํ;    ยโต  ลทฺธา  อฬารกฺขี,  อิจฺฉา  อิจฺฉํ  วิชายถาติ ฯ   ครั้งยังไม่ได้นางมุทุลักขณาเทวี เกิดความปรารถนาเพียงอย่างเดียว, แต่เมื่อได้นางลักขณาเทวีผู้มีดวงตางามแล้ว ได้เกิดความปรารถนาสิ่งต่างๆ ขึ้นอีก"

มุทุลักขณชาดกอรรถกถา

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภสภาวธรรมทำให้คนเศร้าหมอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอกา อิจฺฉา ปุเร อาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า บุรุษชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว บรรพชาถวายชีวิตในพระศาสนากล่าวคือ พระรัตนตรัย เป็นพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติเคร่งครัดไม่ว่างเว้นพระกรรมฐาน วันหนึ่งเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นหญิงคนหนึ่งตกแต่งตัวสวยงาม ไม่สำรวมจักษุ จ้องดูนาง ด้วยอำนาจของความงาม. กิเลสภายในของเธอหวั่นไหวเป็นเหมือนต้นไม้มียางอันถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น.  จำเดิมแต่นั้นเธอก็ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่ได้ความสบายกายและความเบาใจเลยทีเดียว ดูวุ่นวายคล้ายกับชมด ไม่มีความยินดีในพระศาสนา ปล่อยผมและขนรุงรัง เล็บยาว จีวรก็เศร้าหมอง. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหาย เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งอินทรีย์ของเธอ พากันถามว่า „ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นอย่างไรเล่า อินทรีย์ของเธอจึงไม่เหมือนก่อน ๆ". เธอตอบว่า "ผู้มีอายุ ผมกระสัน (หมดความยินดีในพระศาสนา)". ภิกษุเหล่านั้นก็นำเธอไปยังสำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาตรัสถามว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนามาหรือ ?" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า „ภิกษุรูปนี้ไม่ยินดีแล้วแล้วพระเจ้าข้า“. ตรัสถามว่า „ดูก่อนภิกษุจริงหรือที่ว่า เธอไม่ยินดีเสียแล้ว ?“ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า „ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความจริงพระเจ้าข้า“. ตรัสถามว่า „ใครทำให้เธอกระสันเล่า ?" ภิกษุกราบทูลว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตได้เห็นหญิงคนหนึ่ง ไม่สำรวมจักษุมองดูนาง ลำดับนั้น กิเลสของข้าพระองค์ก็กำเริบเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกระสัน พระเจ้าข้า“.

พระศาสดาตรัสกะเธอว่า „ดูก่อนภิกษุ การที่เธอทำลายอินทรีย์ มองดูวิสภาคารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความงาม กิเลสกำเริบนี้ ไม่อัศจรรย์, ในครั้งก่อนแม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ข่มกิเลสได้แล้วด้วยกำลังฌาน มีจิตบริสุทธิ์ เที่ยวไปในอากาศได้ เมื่อทำลายอินทรีย์มองดูวิสภาคารมณ์ ก็เสื่อมจากฌาน กิเลสกำเริบเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง ลมมีกำลังถอนภูเขาสิเนรุได้ ที่ไหน จะไม่พัดภูเขาโล้น เพียงเท้าช้างให้ปลิวไป, ลมที่โค่นต้นหว้าใหญ่ที่ไหนเล่า จะไม่พัดกอไม้อันงอกขึ้นที่ตลิ่งนั้นให้ลอยไปได้, อนึ่งเล่า ลมที่พัดมหาสมุทรให้แห้งได้ ไฉนเล่าจึงจะไม่พัดน้ำในบ่อน้อยให้เหือดแห้งไป, กิเลสอันกระทำความไม่รู้แก่พระโพธิสัตว์ ผู้มีความรู้สูงส่ง ผู้มีจิตผ่องแผ้วได้ปานนี้ จักยำเกรงอะไรในเธอเล่า, สัตว์แม้นบริสุทธิ์ต้องเศร้าหมอง แม้เพรียบพร้อมด้วยยศอันสูงส่ง ก็ยังถึงความสิ้นยศได้“, ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :- 

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีสมบัติมากตระกูลหนึ่ง ในแคว้นกาสี บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เรียนจบศิลปะทุกประเภท ละกามเสียแล้วไปบวชเป็นฤาษี กระทำกสิณบริกรรมให้อภิญญาสมาบัติเกิดขึ้นแล้วยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌานพำนักอาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ กาลครั้งหนึ่งท่านเข้ามาท่านมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อบริโภคโภชนะมีรสเค็ม รสเปรี้ยวบ้างบรรลุถึงกรุงพาราณสี พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งขึ้นกระทำสรีรกิจเสร็จแล้ว ครองผ้าเปลือกไม้ ห่มหนังสือเฉวียงบ่าเกล้าผมเรียบร้อยแล้วทรงบริขาร เที่ยวภิกษาจารอยู่ในกรุงพาราณสี ถึงประตูพระราชนิเวศน์. 

พระราชทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของท่านรับสั่งให้นิมนต์มา ให้นั่งเหนืออาสนะอันมีค่ามากทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชานียาหารอันประณีตท่านกระทำ อนุโมทนาแล้วทรงอาราธนาให้พำนักในพระราชอุทยาน.   พระดาบสก็รับพระราชอายาจนการ ฉันในพระราชวัง ถวายโอวาทราชสกุล พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน ๑๖ ปี.  อยู่มาวันหนึ่งพระราชเสด็จไปปราบปรามปัจจันตชนบทอันกำเริบ ตรัสสั่งพระมเหษีพระนามว่ามุทุลักขณาว่า „เธอจงอย่าประมาท จงปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้า“ ดังนี้แล้ว เสด็จไป. พระโพธิสัตว์ ตั้งแต่เวลาที่พระราชาเสด็จไปแล้ว ก็ไปสู่พระราชวัง ตามเวลาที่ตนพอใจ. อยู่มาวันหนึ่ง พระนางมุทุลักขณาทรงเตรียมอาหารสำหรับพระโพธิสัตว์เสร็จทรงดำริว่า „วันนี้พระคุณเจ้า คงช้า“ ก็ทรงสรงสนานด้วยพระสุคันโธทก ตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ให้ลาดพระยี่ภู่น้อย ณ พื้นท้องพระโรง ประทับเอนพระกายรอพระโพธิสัตว์จะมา ฝ่ายพระโพธิสัตว์ กำหนดเวลาของตนแล้ว ออกจากฌานเหาะไปสู่พระราชนิเวศน์ทันที พระนางมุทุลักขณาทรงสดับเสียงผ้าเปลือกไม้ รับสั่งว่า „พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว“ รีบเสด็จลุกขึ้น. เมื่อพระนางรีบเสด็จลุกขึ้น ผ้าที่ทรงเป็นผ้าเนื้อเกลี้ยงก็หลุดลง. 

พอดีพระดาบสเข้าทางช่องพระแกลแลเห็นรูปารมณ์อันเป็นวิสภาคของพระเทวี ก็ทำลายอินทรีย์เสียตลึงดูด้วยอำนาจความงาม ที่นั้นกิเลสที่อยู่ภายในของท่านก็กำเริบ เป็นเหมือนต้นไม้มียางที่ถูกมีดกรีด ทันใดนั้นเอง ฌานของท่านก็เสื่อม เป็นเหมือนกาปีกหักเสียแล้ว. พระโพธิสัตว์ยืนตลึงรับอาหารแล้ว ก็หา บริโภคไม่ เสียวสะท้านไปเพราะกิเลสทั้งหลาย ลงจากปราสาทเดินไปพระราชอุทยาน เข้าบรรณศาลา วางอาหารไว้ใต้ที่นอนอันเป็นกระดานเลียบ วิสภาคารมณ์ติดตาตรึงใจ ไฟกิเลสแผดเผาซูบเซียวเพราะขาดอาหารนอนซมบนกระดานเลียบถึง ๗ วัน. 

ในวันที่ ๗ พระราชทรงปราบปรามปัจจันตชนบททราบคาบแล้ว เสด็จกลับมาทรงประทับษิณพระนครแล้ว ยังไม่เสด็จไปพระราชนิเวศน์ทีเดียวทรงพระดำริว่า „เราจักพบพระผู้เป็นเจ้าก่อน“ ดังนี้แล้ว เสด็จเลยไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นท่านนอนทรงดำริว่า „ชะรอยจะเกิดความไม่สำราญสักอย่างหนึ่ง“ รับสั่งให้ทำความสะอาดบรรณศาลา พลางทรงนวดเฟ้นเท้าทั้งสองรับสั่งถามว่า „พระผู้เป็นเจ้าไม่สบายไปหรือ ?“ พระดาบสถวายพระพรว่า „มหาบพิตร ความไม่สำราญอย่างอื่นไม่มีแก่อาตมาภาพ, แต่เพราะอำนาจกิเลส อาตมาภาพมีจิตกำหนัดเสียแล้ว“.  รับสั่งถามว่า „พระคุณเจ้าข้า จิตของพระคุณเจ้า ปฏิพัทธ์ในนางคนไหน ?" ถวายพระพรว่า „จิตของอาตมาภาพปฏิพัทธ์ในพระนางมุทุลักขณา“. รับสั่งว่า „ดีแล้วพระคุณเจ้าข้า ข้าพเจ้ายินดีถวายพระนางมุทุลักขณาแด่พระคุณเจ้า“แล้วทรงพาพระดาบสเข้าพระราชนิเวศน์ ให้พระเทวีประดับพระองค์ด้วยเครื่องต้น เครื่องทรงงามสรรพและได้พระราชทานแก่พระดาบส แต่เมื่อจะพระราชทานนั้นได้ทรงพระราชท่านสัญญาลับแด่พระนางมุทุลักขณาว่า „เธอต้องพยายามป้องกันพระผู้เป็นเจ้าด้วยกำลังของตน“. 

พระนางรับสนองพระราชโองการว่า „พะยะค่ะ กระหม่อมฉันจักรักษาตนให้พ้นมือพระคุณเจ้า“. ดาบสก็พาพระเทวีลงจากพระราชนิเวศน์ เวลาที่จะออกพ้นประตูใหญ่ พระนางตรัสกะท่านว่า „ท่านเจ้าค่ะ เราควรจะได้เรือน, ท่านจงไปกราบทูลขอพระราชทานเรือนสักหลังหนึ่งเถิด“ ดาบสก็ไปกราบทูลของพระราชทานเรือน. พระราชาพระราชทานเรือนร้างหลังหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ใช้เป็นวัจจกุฏิ, ท่านก็พาพระเทวีไปที่เรือนนั้น, พระนางไม่ทรงประสงค์จะเข้าไป, ท่านทูลถามว่า „เหตุไร จึงไม่เสด็จเข้าไป ? „พระนางรับสั่งว่า „เพราะเรือนสกปรก“.  พระดาบสทูลถามว่า „บัดนี้เราควรจะทำอย่างไร ?“ พระนางรับสั่งว่า „ต้องทำความสะอาดเรือนนั้น“ แล้วส่งดาบสไปสู่ราชสำนัก มีพระเสาวนีย์ว่า „ท่านจงไปเอาจอบมา เอาตะกร้ามา“ ครั้นดาบสนำมาแล้ว ก็ให้โกยสิ่งสกปรกและขยะเอาไปทิ้ง เสร็จแล้วให้ไปขนเอาโคมัยมาฉาบไว้ ครั้นแล้วก็ตรัสว่า „ท่านต้องไปขนเตียงมา ขนตั่งมา“ แล้วให้พระดาบสขนมาทีละอย่าง มิหนำซ้ำ ยังแกล้งใช้ให้ตักน้ำเป็นต้นอีกด้วย. 

พระดาบสเอาหม้อไปตักน้ำมาจนเต็มตุ่ม เตรียมน้ำสำหรับอาบ ปูที่นอน. ที่นั้น พระนางเทวีทรงจับพระดาบสผู้กำลังนั่งร่วมกันบนที่นอน มีสีข้าง ฉุดให้ก้มลงมาตรงหน้าพลางตรัสว่า „ท่านไม่รู้ตัวว่า เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์เลยหรือเจ้าคะ ?“  พระดาบส กลับได้สติในเวลานั้นเอง. แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่รู้ตัวเอาเสียเลย. ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย กระทำความไม่รู้ตัวได้ถึงอย่างนี้.  ก็ในอธิการนี้ ควรกล่าวอ้างพระพุทธพจน์มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำให้ไม่รู้ตัว ดังนี้ไว้ด้วย.   พระดาบส กลับได้สติคิดว่า „ตัณหานี้เมื่อเจริญขึ้น จักไม่ให้เรายกศีรษะขึ้นได้จากอบายทั้ง ๔ เราควรถวายคืนพระนางเทวีนี้แด่พระราชา แล้วกลับเข้าสู่ป่าหิมวันต์ในวันนี้ทีเดียว“ ดังนี้แล้ว พาพระนางเทวีเข้าเฝ้าพระราชาถวายพระพรว่า „ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่มีความต้องการพระเทวีของมหาบพิตร เพราะอาศัยพระนางผู้เดียว ตัณหาจึงเจริญแก่อาตมภาพทุกอย่างเลย“ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :- „ครั้งก่อน เรายังไม่ได้ประสบพระนาง มุทุลักขณา ความปรารถนามีอย่างเดียว, ครั้นได้ พบพระนางผู้มีพระเนตรแวววาวเข้าแล้ว, ความปรารถนาช่วยให้ความปรารถนาเกิดได้ต่าง ๆ“. 

ในคาถานั้นประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ขอถวายพระพรมหาบพิตร ครั้งก่อนอาตมาภาพ ยังไม่ได้รับพระราชทานพระเทวีมุทุลักขณา ของมหาบพิตรองค์นี้ อาตมภาพมีความปรารถนาอย่างเดียว เกิดความต้องการขึ้นอย่างเดียวเท่านั้นว่า โอหนอ เราพึงได้พระนาง แต่พออาตมาภาพได้รับพระราชทานพระนาง ผู้มีพระเนตรแวววาว มีพระเนตรกว้าง มีดวงตาพระเนตรงามขำเข้าแล้ว ทีนั้นความปรารถนาข้อแรกของอาตมา ช่วยให้กำเนิดเกิดความปรารถนาสืบต่อเนื่องขึ้นไป เช่น ความปรารถนาเรื่องเรือน ความปรารถนาในเครื่องอุปกรณ์ ความปรารถนาในเครื่องอุปโภคเป็นต้น ก็ความปรารถนาของอาตมานั้นเล่า เมื่อพอกพูนเข้าอย่างนี้ จักไม่ยอมให้อาตมภาพยกศีรษะขึ้นได้จากอบาย พอกันทีสำหรับพระนางนี้ ที่จะเป็นภรรยาของอาตมภาพ ขอมหาบพิตร จงรับมเหสีของมหาบพิตรคืนไปส่วยอาตมภาพจักไปหิมพานต์. 

ทันใดนั้นเอง พระดาบสก็ทำฌานที่เสื่อมไปให้เกิดขึ้นนั่งในอากาศแสดงธรรม ถวายโอวาทแด่พระราชาแล้วไปสู่ป่าหิมพานต์ทางอากาศทันที ไม่มาสู่ประเทศ ที่ชื่อว่าเป็นถิ่นของมนุษย์อีกเลย แต่เจริญพรหมวิหาร ไม่เสื่อมจากฌาน บังเกิดในพรหมโลกแล้ว.  พระบรมศาสดา ครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศสัจธรรม เมื่อจบสัจจะภิกษุนั้นประดิษฐานในพระอรหัตผล. พระศาสดาทรงสืบต่ออนุสนธิ ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ มุทุลักขณาได้มาเป็นอุบลวัณณา ส่วนฤาษีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali




About Being Careful

A Dhammatalk by Ajahn Chah: About Being Careful

The Buddha taught to see the body in the body. What does this mean? We are all familiar with the parts of the body such as hair, nails, teeth and skin. So how do we see the body in the body? If we recognize all these things as being impermanent, unsatisfactory and not-self, that's what is called 'seeing the body in the body.' Then it isn't necessary to go into detail and meditate on the separate parts. It's like having fruit in a basket. If we have already counted the pieces of fruit, then we know what's there, and when we need to, we can pick up the basket and take it away, and all the pieces come with it. We know the fruit is all there, so we don't have to count it again.

Having meditated on the thirty-two parts of the body, and recognized them as something not stable or permanent, we no longer need to weary ourselves separating them like this and meditating in such detail. Just as with the basket of fruit - we don't have to dump all the fruit out and count it again and again. But we do carry the basket along to our destination, walking mindfully and carefully, taking care not to stumble and fall.

When we see the body in the body, which means we see the Dhamma in the body, knowing our own and others' bodies as impermanent phenomena, then we don't need detailed explanations. Sitting here, we have mindfulness constantly in control, knowing things as they are, and meditation then becomes quite simple. It's the same if we meditate on Buddho - if we understand what Buddho really is, then we don't need to repeat the word 'Buddho.' It means having full knowledge and firm awareness. This is meditation.

Still, meditation is generally not well understood. We practice in a group, but we often don't know what it's all about. Some people think meditation is really hard to do. ''I come to the monastery, but I can't sit. I don't have much endurance. My legs hurt, my back aches, I'm in pain all over.'' So they give up on it and don't come anymore, thinking they can't do it.

But in fact samādhi is not sitting. Samādhi isn't walking. It isn't lying down or standing. Sitting, walking, closing the eyes, opening the eyes, these are all mere actions. Having your eyes closed doesn't necessarily mean you're practicing samādhi. It could just mean that you're drowsy and dull. If you're sitting with your eyes closed but you're falling asleep, your head bobbing all over and your mouth hanging open, that's not sitting in samādhi. It's sitting with your eyes closed. Samādhi and closed eyes are two separate matters. Real samādhi can be practiced with eyes open or eyes closed. You can be sitting, walking, standing or lying down.

Samādhi means the mind is firmly focused, with all-encompassing mindfulness, restraint, and caution. You are constantly aware of right and wrong, constantly watching all conditions arising in the mind. When it shoots off to think of something, having a mood of aversion or longing, you are aware of that. Some people get discouraged: ''I just can't do it. As soon as I sit, my mind starts thinking of home. That's evil (Thai: bahp).'' Hey! If just that much is evil, the Buddha never would have become Buddha. He spent five years struggling with his mind, thinking of his home and his family. It was only after six years that he awakened.

Some people feel that these sudden arisings of thought are wrong or evil. You may have an impulse to kill someone. But you are aware of it in the next instant, you realize that killing is wrong, so you stop and refrain. Is there harm in this? What do you think? Or if you have a thought about stealing something and that is followed by a stronger recollection that to do so is wrong, and so you refrain from acting on it - is that bad kamma? It's not that every time you have an impulse you instantly accumulate bad kamma. Otherwise, how could there be any way to liberation? Impulses are merely impulses. Thoughts are merely thoughts. In the first instance, you haven't created anything yet. In the second instance, if you act on it with body, speech or mind, then you are creating something. Avijjā (ignorance) has taken control. If you have the impulse to steal and then you are aware of yourself and aware that this would be wrong, this is wisdom, and there is vijjā (knowledge) instead. The mental impulse is not consummated.

This is timely awareness, of wisdom arising and informing our experience. If there is the first mind-moment of wanting to steal something and then we act on it, that is the dhamma of delusion; the actions of body, speech and mind that follow the impulse will bring negative results.  This is how it is. Merely having the thoughts is not negative kamma. If we don't have any thoughts, how will wisdom develop? Some people simply want to sit with a blank mind. That's wrong understanding.

I'm talking about samādhi that is accompanied by wisdom. In fact, the Buddha didn't wish for a lot of samādhi. He didn't want jhāna and samāpatti. He saw samādhi as one component factor of the path. Sīla, samādhi and paññā are components or ingredients, like ingredients used in cooking. We use spices in cooking to make food tasty. The point isn't the spices themselves, but the food we eat. Practicing samādhi is the same. The Buddha's teachers, Uddaka and Ālāra, put heavy emphasis on practicing the jhāna, and attaining various kinds of powers like clairvoyance. But if you get that far, it's hard to undo. Some places teach this deep tranquility, to sit with delight in quietude. The meditators then get intoxicated by their samādhi. If they have sīla, they get intoxicated by their sıla. If they walk the path, they become intoxicated by the path, dazzled by the beauty and wonders they experience, and they don't reach the real destination.

The Buddha said that this is a subtle error. Still, it's something correct for those on a coarse level. But actually what the Buddha wanted was for us to have an appropriate measure of samādhi, without getting stuck there. After we train in and develop samādhi, then samādhi should develop wisdom.

Samādhi that is on the level of samatha - tranquility - is like a rock covering grass. In samādhi that is sure and stable, even when the eyes are opened, wisdom is there. When wisdom has been born, it encompasses and knows ('rules') all things. So the teacher did not want those refined levels of concentration and cessation, because they become a diversion and the path is forgotten.  So what is necessary is not to be attached to sitting or any other particular posture. Samādhi doesn't reside in having the eyes closed, the eyes open, or in sitting, standing, walking or lying down. Samādhi pervades all postures and activities. Older persons, who often can't sit very well, can contemplate especially well and practice samādhi easily; they too can develop a lot of wisdom.

How is it that they can develop wisdom? Everything is rousing them. When they open their eyes, they don't see things as clearly as they used to. Their teeth give them trouble and fall out. Their bodies ache most of the time. Just that is the place of study. So really, meditation is easy for old folks. Meditation is hard for youngsters. Their teeth are strong, so they can enjoy their food. They sleep soundly. Their faculties are intact and the world is fun and exciting to them, so they get deluded in a big way. For the old ones, when they chew on something hard they're soon in pain. Right there the devadūta (divine messengers) are talking to them; they're teaching them every day. When they open their eyes their sight is fuzzy. In the morning their backs ache. In the evening their legs hurt. That's it! This is really an excellent subject to study. Some of you older people will say you can't meditate. What do you want to meditate on? Who will you learn meditation from?

This is seeing the body in the body and sensation in sensation. Are you seeing these or are you running away? Saying you can't practice because you're too old is only due to wrong understanding. The question is, are things clear to you? Elderly persons have a lot of thinking, a lot of sensation, a lot of discomfort and pain. Everything appears! If they meditate, they can really testify to it. So I say that meditation is easy for old folks. They can do it best. It's like the way everyone says, ''When I'm old, I'll go to the monastery.'' If you understand this, it's true alright. You have to see it within yourself. When you sit, it's true; when you stand up, it's true; when you walk, it's true. Everything is a hassle, everything is presenting obstacles - and everything is teaching you. Isn't this so? Can you just get up and walk away so easily now? When you stand up, it's ''Oy!'' Or haven't you noticed? And it's ''Oy!'' when you walk. It's prodding you.

When you're young you can just stand up and walk, going on your way. But you don't really know anything. When you're old, every time you stand up it's ''Oy!'' Isn't that what you say? ''Oy! Oy!'' Every time you move, you learn something. So how can you say it's difficult to meditate? Where else is there to look? It's all correct. The devadūta are telling you something. It's most clear. Sankhāra are telling you that they are not stable or permanent, not you or yours. They are telling you this every moment.  But we think differently. We don't think that this is right. We entertain wrong view and our ideas are far from the truth. But actually, old persons can see impermanence, suffering and lack of self, and give rise to dispassion and disenchantment - because the evidence is right there within them all the time. I think that's good.

Having the inner sensitivity that is always aware of right and wrong is called Buddho. It's not necessary to be continually repeating ''Buddho.'' You've counted the fruit in your basket. Every time you sit down, you don't have to go to the trouble of spilling out the fruit and counting it again. You can leave it in the basket. But someone with mistaken attachment will keep counting. He'll stop under a tree, spill it out and count, and put it back in the basket. Then he'll walk on to the next stopping place and do it again. But he's just counting the same fruit. This is craving itself. He's afraid that if he doesn't count, there will be some mistake. We are afraid that if we don't keep saying ''Buddho,'' we'll be mistaken. How are we mistaken? It's only the person who doesn't know how much fruit there is who needs to count. Once you know, you can take it easy and just leave it in the basket. When you're sitting, you just sit. When you're lying down, you just lie down because your fruit is all there with you.

Practicing virtue and creating merit, we say, ''Nibbāna paccayo hotu'' - may it be a condition for realizing Nibbāna. As a condition for realizing Nibbāna, making offerings is good. Keeping precepts is good. Practicing meditation is good. Listening to Dhamma teachings is good. May they become conditions for realizing Nibbāna.  But what is Nibbāna all about anyway? Nibbāna means not grasping. Nibbāna means not giving meaning to things. Nibbāna means letting go. Making offerings and doing meritorious deeds, observing moral precepts, and meditating on loving-kindness, all these are for getting rid of defilements and craving, for making the mind empty - empty of self-cherishing, empty of concepts of self and other, and for not wishing for anything - not wishing to be or become anything.

Nibbāna paccayo hotu: make it become a cause for Nibbāna. Practicing generosity is giving up, letting go. Listening to teachings is for the purpose of gaining knowledge to give up and let go, to uproot clinging to what is good and to what is bad. At first we meditate to become aware of the wrong and the bad. When we recognize that, we give it up and we practice what is good. Then, when some good is achieved, don't get attached to that good. Remain halfway in the good, or above the good - don't dwell under the good. If we are under the good then the good pushes us around, and we become slaves to it. We become the slaves, and it forces us to create all sorts of kamma and demerit. It can lead us into anything, and the result will be the same kind of unhappiness and unfortunate circumstances we found ourselves in before.

Give up evil and develop merit - give up the negative and develop what is positive. Developing merit, remain above merit. Remain above merit and demerit, above good and evil. Keep on practicing with a mind that is giving up, letting go and getting free. It's the same no matter what you are doing: if you do it with a mind of letting go, then it is a cause for realizing Nibbāna. Free of desire, free of defilement, free of craving, then it all merges with the path, meaning Noble Truth, meaning saccadhamma. It is the four Noble Truths, having the wisdom that knows tanhā, which is the source of dukkha. Kāmatanhā, bhavatanhā, vibhavatanhā (sensual desire, desire for becoming, desire not to be): these are the origination, the source. If you go there, if you are wishing for anything or wanting to be anything, you are nourishing dukkha, bringing dukkha into existence, because this is what gives birth to dukkha. These are the causes. If we create the causes of dukkha, then dukkha will come about. The cause is vibhavatanhā: this restless, anxious craving. One becomes a slave to desire and creates all sorts of kamma and wrongdoing because of it, and thus suffering is born. Simply speaking, dukkha is the child of desire. Desire is the parent of dukkha. When there are parents, dukkha can be born. When there are no parents, dukkha cannot come about - there will be no offspring.

This is where meditation should be focused. We should see all the forms of tanha, which cause us to have desires. But talking about desire can be confusing. Some people get the idea that any kind of desire, such as desire for food and the material requisites for life, is tanha. But we can have this kind of desire in an ordinary and natural way. When you're hungry and desire food, you can take a meal and be done with it. That's quite ordinary. This is desire that's within boundaries and doesn't have ill effects. This kind of desire isn't sensuality. If it's sensuality then it becomes something more than desire. There will be craving for more things to consume, seeking out flavors, seeking enjoyment in ways that bring hardship and trouble, such as drinking liquor and beer.

Some tourists told me about a place where people eat live monkeys' brains. They put a monkey in the middle of the table and cut open its skull. Then they spoon out the brain to eat. That's eating like demons or hungry ghosts. It's not eating in a natural or ordinary way. Doing things like this, eating becomes tanha. They say that the blood of monkeys makes them strong. So they try to get hold of such animals and when they eat them they're drinking liquor and beer too. This isn't ordinary eating. It's the way of ghosts and demons mired in sensual craving. It's eating coals, eating fire, eating everything everywhere. This sort of desire is what is called tanha. There is no moderation. Speaking, thinking, dressing, everything such people do goes to excess. If our eating, sleeping, and other necessary activities are done in moderation, then there is no harm in them. So you should be aware of yourselves in regard to these things; then they won't become a source of suffering. If we know how to be moderate and thrifty in our needs, we can be comfortable.

Practicing meditation and creating merit and virtue, are not really such difficult things to do, provided we understand them well. What is wrongdoing? What is merit? Merit is what is good and beautiful, not harming ourselves or others with our thinking, speaking, and acting. Then there is happiness. Nothing negative is being created. Merit is like this. Skillfulness is like this.  It's the same with making offerings and giving charity. When we give, what is it that we are trying to give away? Giving is for the purpose of destroying self-cherishing, the belief in a self along with selfishness. Selfishness is powerful, extreme suffering. Selfish people always want to be better than others and to get more than others. A simple example is how, after they eat, they don't want to wash their dishes. They let someone else do it. If they eat in a group they will leave it to the group. After they eat, they take off. This is selfishness, not being responsible, and it puts a burden on others. What it really amounts to is someone who doesn't care about himself, who doesn't help himself and who really doesn't love himself. In practicing generosity, we are trying to cleanse our hearts of this attitude. This is called creating merit through giving, in order to have a mind of compassion and caring towards all living beings without exception.

If we people can be free of just this one thing, selfishness, then we will be like the Lord Buddha. He wasn't out for himself, but sought the good of all. If we people have the path and fruit arising in our hearts like this we can certainly progress. With this freedom from selfishness then all the activities of virtuous deeds, generosity, and meditation will lead to liberation. Whoever practices like this will become free and go beyond - beyond all convention and appearance.  The basic principles of practice are not beyond our understanding. In practicing generosity, for example, if we lack wisdom there won't be any merit. Without understanding, we think that generosity merely means giving things. ''When I feel like giving, I'll give. If I feel like stealing something, I'll steal it. Then if I feel generous, I'll give something.'' It's like having a barrel full of water. You scoop out a bucketful, and then you pour back in a bucketful. Scoop it out again, pour it in again, scoop it out and pour it in - like this. When will you empty the barrel? Can you see an end to it? Can you see such practice becoming a cause for realizing Nibbāna? Will the barrel become empty? One scoop out, one scoop in - can you see when it will be finished?

Going back and forth like this is vatta, the cycle itself. If we're talking about really letting go, giving up good as well as evil, then there's only scooping out. Even if there's only a little bit, you scoop it out. You don't put in anything more, and you keep scooping out. Even if you only have a small scoop to use, you do what you can and in this way the time will come when the barrel is empty. If you're scooping out a bucket and pouring back a bucket, scooping out and then pouring back - well, think about it. When will you see an empty barrel? This Dhamma isn't something distant. It's right here in the barrel. You can do it at home. Try it. Can you empty a water barrel like that? Do it all day tomorrow and see what happens.

''Giving up all evil, practicing what is good, purifying the mind.'' Giving up wrongdoing first, we then start to develop the good. What is the good and meritorious? Where is it? It's like fish in the water. If we scoop all the water out, we'll get the fish - that's a simple way to put it. If we scoop out and pour back in, the fish remain in the barrel. If we don't remove all forms of wrongdoing, we won't see merit and we won't see what is true and right. Scooping out and pouring back, scooping out and pouring back, we only remain as we are. Going back and forth like this, we only waste our time and whatever we do is meaningless. Listening to teachings is meaningless. Making offerings is meaningless. All our efforts to practice are in vain. We don't understand the principles of the Buddha's way, so our actions don't bear the desired fruit.

When the Buddha taught about practice, he wasn't only talking about something for ordained people. He was talking about practicing well, practicing correctly. Supatipanno means those who practice well. Ujupatipanno means those who practice directly. Ñāyapatipanno means those who practice for the realization of path, fruition and Nibbāna. Sāmīcipatipanno are those who practice inclined towards truth. It could be anyone. These are the Sangha of true disciples (sāvaka) of the Lord Buddha. Laywomen living at home can be sāvaka. Laymen can be sāvaka. Bringing these qualities to fulfillment is what makes one a sāvaka. One can be a true disciple of the Buddha and realize enlightenment.

Most of us in the Buddhist fold don't have such complete understanding. Our knowledge doesn't go this far. We do our various activities thinking that we will get some kind of merit from them. We think that listening to teachings or making offerings is meritorious. That's what we're told. But someone who gives offerings to 'get' merit is making bad kamma.  You can't quite understand this. Someone who gives in order to get merit has instantly accumulated bad kamma. If you give in order to let go and free the mind, that brings you merit. If you do it to get something, that's bad kamma.  Listening to teachings to really understand the Buddha's way is difficult. The Dhamma becomes hard to understand when the practice that people do - keeping precepts, sitting in meditation, giving - is for getting something in return. We want merit, we want something. Well, if something can be gotten, then who gets it? We get it. When that is lost, whose thing is it that's lost? The person who doesn't have something doesn't lose anything. And when it's lost, who suffers over it?

Don't you think that living your life to get things brings you suffering? Otherwise you can just go on as before trying to get everything. And yet, if we make the mind empty, then we gain everything. Higher realms, Nibbāna and all their accomplishments - we gain all of it. In making offerings, we don't have any attachment or aim; the mind is empty and relaxed. We can let go and put down. It's like carrying a log and complaining it's heavy. If someone tells you to put it down, you'll say, ''If I put it down, I won't have anything.'' Well, now you do have something - you have heaviness. But you don't have lightness. So do you want lightness, or do you want to keep carrying? One person says to put it down, the other says he's afraid he won't have anything. They're talking past each other.

We want happiness, we want ease, we want tranquility and peace. It means we want lightness. We carry the log, and then someone sees us doing this and tells us to drop it. We say we can't because what would we have then? But the other person says that if we drop it, then we can get something better. The two have a hard time communicating.  If we make offerings and practice good deeds in order to get something, it doesn't work out. What we get is becoming and birth. It isn't a cause for realizing Nibbāna. Nibbāna is giving up and letting go. If we are trying to get, to hold on, to give meaning to things, that isn't a cause for realizing Nibbāna. The Buddha wanted us to look here, at this empty place of letting go. This is merit. This is skillfulness.

When we practice any sort of merit and virtue, once we have done that, we should feel that our part is done. We shouldn't carry it any further. We do it for the purpose of giving up defilements and craving. We don't do it for the purpose of creating defilements, craving and attachment. Then where will we go? We don't go anywhere. Our practice is correct and true.  Most of us Buddhists, though we follow the forms of practice and learning, have a hard time understanding this kind of talk. It's because Māra, meaning ignorance, meaning craving - the desire to get, to have, and to be - enshrouds the mind. We only find temporary happiness. For example, when we are filled with hatred towards someone it takes over our minds and gives us no peace. We think about the person all the time, thinking what we can do to strike out at him. The thinking never stops. Then maybe one day we get a chance to go to his house and curse him and tell him off. That gives us some release. Does that make an end of our defilements? We found a way to let off steam and we feel better for it. But we haven't gotten rid of the affliction of anger, have we? There is some happiness in defilement and craving, but it's like this. We're still storing the defilement inside and when the conditions are right, it will flare up again even worse than before. Then we will want to find some temporary release again. Do the defilements ever get finished in this way?

It's similar when someone's spouse or children die, or when people suffer big financial loss. They drink to relieve their sorrow. They go to a movie to relieve their sorrow. Does it really relieve the sorrow? The sorrow actually grows; but for the time being they can forget about what happened so they call it a way to cure their misery. It's like if you have a cut on the bottom of your foot that makes walking painful. Anything that contacts it hurts and so you limp along complaining of the discomfort. But if you see a tiger coming your way, you'll take off and start running without any thought of your cut. Fear of the tiger is much more powerful than the pain in your foot, so it's as if the pain is gone. The fear made it something small.

You might experience problems at work or at home that seem so big. Then you get drunk and in that drunken state of more powerful delusion, those problems no longer trouble you so much. You think it solved your problems and relieved your unhappiness. But when you sober up the old problems are back. So what happened to your solution? You keep suppressing the problems with drink and they keep on coming back. You might end up with cirrhosis of the liver, but you don't get rid of the problems; and then one day you are dead.

There is some comfort and happiness here; it's the happiness of fools. It's the way that fools stop their suffering. There's no wisdom here. These different confused conditions are mixed in the heart that has a feeling of well-being. If the mind is allowed to follow its moods and tendencies it feels some happiness. But this happiness is always storing unhappiness within it. Each time it erupts our suffering and despair will be worse. It's like having a wound. If we treat it on the surface but inside it's still infected, it's not cured. It looks okay for a while, but when the infection spreads we have to start cutting. If the inner infection is never cured we can be operating on the surface again and again with no end in sight. What can be seen from the outside may look fine for a while, but inside it's the same as before.

The way of the world is like this. Worldly matters are never finished. So the laws of the world in the various societies are constantly resolving issues. New laws are always being established to deal with different situations and problems. Something is dealt with for a while, but there's always a need for further laws and solutions. There's never the internal resolution, only surface improvement. The infection still exists within, so there's always need for more cutting. People are only good on the surface, in their words and their appearance. Their words are good and their faces look kind, but their minds aren't so good. When we get on a train and see some acquaintance there we say, ''Oh, how good to see you! I've been thinking about you a lot lately! I've been planning to visit you!'' But it's just talk. We don't really mean it. We're being good on the surface, but we're not so good inside. We say the words, but then as soon as we've had a smoke and taken a cup of coffee with him, we split. Then if we run into him one day in the future, we'll say the same things again: ''Hey, good to see you! How have you been? I've been meaning to go visit you, but I just haven't had the time.'' That's the way it is. People are superficially good, but they're usually not so good inside.

The great teacher taught Dhamma and Vinaya. It is complete and comprehensive. Nothing surpasses it and nothing in it need be changed or adjusted, because it is the ultimate. It's complete, so this is where we can stop. There's nothing to add or subtract, because it is something of the nature not to be increased or decreased. It is just right. It is true. So we Buddhists come to hear Dhamma teachings and study to learn these truths. If we know them then our minds will enter the Dhamma; the Dhamma will enter our minds. Whenever a person's mind enters the Dhamma then the person has wellbeing, the person has a mind at peace. The mind then has a way to resolve difficulties, but has no way to degenerate. When pain and illness afflict the body, the mind has many ways to resolve the suffering. It can resolve it naturally, understanding this as natural and not falling into depression or fear over it. Gaining something, we don't get lost in delight. Losing it, we don't get excessively upset, but rather we understand that the nature of all things is that having appeared they then decline and disappear. With such an attitude we can make our way in the world. We are lokavidū, knowing the world clearly. Then samudaya, the cause of suffering, is not created, and tanhā is not born. There is vijjā, knowledge of things as they really are, and it illumines the world. It illumines praise and blame. It illumines gain and loss. It illumines rank and disrepute. It clearly illumines birth, aging, illness, and death in the mind of the practitioner.

That is someone who has reached the Dhamma. Such people no longer struggle with life and are no longer constantly in search of solutions. They resolve what can be resolved, acting as is appropriate. That is how the Buddha taught: he taught those individuals who could be taught. Those who could not be taught he discarded and let go of. Even had he not discarded them, they were still discarding themselves - so he dropped them. You might get the idea from this that the Buddha must have been lacking in mettā to discard people. Hey! If you toss out a rotten mango are you lacking in metta? You can't make any use of it, that's all. There was no way to get through to such people. The Buddha is praised as one with supreme wisdom. He didn't merely gather everyone and everything together in a confused mess. He was possessed of the divine eye and could clearly see all things as they really are. He was the knower of the world.

As the knower of the world he saw danger in the round of samsāra. For us who are his followers it's the same. If we know all things as they are, that will bring us well-being. Where exactly are those things that cause us to have happiness and suffering? Think about it well. They are only things that we create ourselves. Whenever we create the idea that something is us or ours, that is when we suffer. Things can bring us harm or benefit, depending on our understanding. So the Buddha taught us to pay attention to ourselves, to our own actions and to the creations of our minds. Whenever we have extreme love or aversion to anyone or anything, whenever we are particularly anxious, that will lead us into great suffering. This is important, so take a good look at it. Investigate these feelings of strong love or aversion, and then take a step back. If you get too close, they'll bite. Do you hear this? If you grab at and caress these things, they bite and they kick. When you feed grass to your buffalo, you have to be careful. If you're careful when it kicks out, it won't kick you. You have to feed it and take care of it, but you should be smart enough to do that without getting bitten. Love for children, relatives, wealth and possessions will bite. Do you understand this? When you feed it, don't get too close. When you give it water, don't get too close. Pull on the rope when you need to. This is the way of Dhamma, recognizing impermanence, unsatisfactoriness and lack of self, recognizing the danger and employing caution and restraint in a mindful way.

Ajahn Tongrat didn't teach a lot; he always told us, ''Be really careful! Be really careful!'' That's how he taught. ''Be really careful! If you're not really careful, you'll catch it on the chin!'' This is really how it is. Even if he didn't say it, it's still how it is. If you're not really careful you'll catch it on the chin. Please understand this. It's not someone else's concern. The problem isn't other people loving or hating us. Others far away somewhere don't make us create kamma and suffering. It's our possessions, our homes, our families where we have to pay attention. Or what do you think? These days, where do you experience suffering? Where are you involved in love, hate and fear? Control yourselves, take care of yourselves. Watch out you don't get bitten. If they don't bite they might kick. Don't think that these things won't bite or kick. If you do get bitten, make sure it's only a little bit. Don't get kicked and bitten to pieces. Don't try to tell yourselves there's no danger. Possessions, wealth, fame, loved ones, all these can kick and bite if you're not mindful. If you are mindful you'll be at ease. Be cautious and restrained. When the mind starts grasping at things and making a big deal out of them, you have to stop it. It will argue with you, but you have to put your foot down. Stay in the middle as the mind comes and goes. Put sensual indulgence away on one side. Put self-torment away on the other side. Love to one side, hate to the other side. Happiness to one side, suffering to the other side. Remain in the middle without letting the mind go in either direction.

Like these bodies of ours: earth, water, fire and wind - where is the person? There isn't any person. These few different things are put together and it's called a person. That's a falsehood. It's not real; it's only real in the way of convention. When the time comes the elements return to their old state. We've only come to stay with them for a while so we have to let them return. The part that is earth, send back to be earth. The part that is water, send back to be water. The part that is fire, send back to be fire. The part that is wind, send back to be wind. Or will you try to go with them and keep something? We come to rely on them for a while; when it's time for them to go, let them go. When they come, let them come. All these phenomena (sabhāva) appear and then disappear. That's all. We understand that all these things are flowing, constantly appearing and disappearing.

Making offerings, listening to teachings, practicing meditation, whatever we do should be done for the purpose of developing wisdom. Developing wisdom is for the purpose of liberation, freedom from all these conditions and phenomena. When we are free then no matter what our situation, we don't have to suffer. If we have children, we don't have to suffer. If we work, we don't have to suffer. If we have a house, we don't have to suffer. It's like a lotus in the water. ''I grow in the water, but I don't suffer because of the water. I can't be drowned or burned, because I live in the water.'' When the water ebbs and flows it doesn't affect the lotus. The water and the lotus can exist together without conflict. They are together yet separate. Whatever is in the water nourishes the lotus and helps it grow into something beautiful.

Here it's the same for us. Wealth, home, family, and all defilements of mind, they no longer defile us but rather they help us develop pāramı, the spiritual perfections. In a grove of bamboo the old leaves pile up around the trees and when the rain falls they decompose and become fertilizer. Shoots grow and the trees develop because of the fertilizer, and we have a source of food and income. But it didn't look like anything good at all. So be careful - in the dry season, if you set fires in the forest they'll burn up all the future fertilizer and the fertilizer will turn into fire that burns the bamboo. Then you won't have any bamboo shoots to eat. So if you burn the forest you burn the bamboo fertilizer. If you burn the fertilizer you burn the trees and the grove dies.

Do you understand? You and your families can live in happiness and harmony with your homes and possessions, free of danger from floods or fire. If a family is flooded or burned it is only because of the people in that family. It's just like the bamboo's fertilizer. The grove can be burned because of it, or the grove can grow beautifully because of it.  Things will grow beautifully and then not beautifully and then become beautiful again. Growing and degenerating, then growing again and degenerating again - this is the way of worldly phenomena. If we know growth and degeneration for what they are we can find a conclusion to them. Things grow and reach their limit. Things degenerate and reach their limit. But we remain constant. It's like when there was a fire in Ubon city. People bemoaned the destruction and shed a lot of tears over it. But things were rebuilt after the fire and the new buildings are actually bigger and a lot better than what we had before, and people enjoy the city more now.

This is how it is with the cycles of loss and development. Everything has its limits. So the Buddha wanted us to always be contemplating. While we still live we should think about death. Don't consider it something far away. If you're poor, don't try to harm or exploit others. Face the situation and work hard to help yourself. If you're well off, don't become forgetful in your wealth and comfort. It's not very difficult for everything to be lost. A rich person can become a pauper in a couple of days. A pauper can become a rich person. It's all owing to the fact that these conditions are impermanent and unstable. Thus, the Buddha said, ''Pamādo maccuno padam: Heedlessness is the way to death.'' The heedless are like the dead. Don't be heedless! All beings and all sankhārā are unstable and impermanent. Don't form any attachment to them! Happy or sad, progressing or falling apart, in the end it all comes to the same place. Please understand this.

Living in the world and having this perspective we can be free of danger. Whatever we may gain or accomplish in the world because of our good kamma, it is still of the world and subject to decay and loss, so don't get too carried away by it. It's like a beetle scratching at the earth. It can scratch up a pile that's a lot bigger than itself, but it's still only a pile of dirt. If it works hard it makes a deep hole in the ground, but it's still only a hole in dirt. If a buffalo drops a load of dung there, it will be bigger than the beetle's pile of earth, but it still isn't anything that reaches to the sky. It's all dirt. Worldly accomplishments are like this. No matter how hard the beetles work, they're just involved in dirt, making holes and piles. People who have good worldly kamma have the intelligence to do well in the world. But no matter how well they do they're still living in the world. All the things they do are worldly and have their limits, like the beetle scratching away at the earth. The hole may go deep, but it's in the earth. The pile may get high, but it's just a pile of dirt. Doing well, getting a lot, we're just doing well and getting a lot in the world.

Please understand this and try to develop detachment. If you don't gain much, be contented, understanding that it's only the worldly. If you gain a lot, understand that it's only the worldly. Contemplate these truths and don't be heedless. See both sides of things, not getting stuck on one side. When something delights you, hold part of yourself back in reserve, because that delight won't last. When you are happy, don't go completely over to its side because soon enough you'll be back on the other side with unhappiness.

Source: http://www.ajahnchah.org

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom