วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การรู้ระดับขั้นพฤติกรรม​กับการรู้ระดับขั้นปรมัตถ์​ และสัจจะต่างกันเช่นไร ?


สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

การรู้ระดับขั้นพฤติกรรม​กับการรู้ระดับขั้นปรมัตถ์ ​และสัจจะต่างกันเช่นไร?

มีการสอนกันว่า​ "เรื่องทุกข์​ให้คิดซะว่า​ เป็นเพียงก้อนหิน​(ใหญ่)​ อย่าไปถือมันไว้ให้มันหนัก​ ให้ปล่อยไปใจจะคลายทุกข์​ แล้วจะพบความสุขในจิตใจ​ ให้เห็นเป็นธรรมดา​ เป็นธรรมชาติ​" เมื่อเหตุมีอยู่ยังไม่ได้กำจัดไป​ นึกเอาแต่ผล​ เช่นว่าหิวอยู่นึกเอาว่าอิ่มแล้ว​ ความหิวจะหายไปไหม? พวกสร้างพฤติกรรม​ปลอบใจตนเองและผู้อื่นจึงมีผลทำให้สบายใจขึ้นเท่านั้นไม่สามารถเข้าถึงปรมัตถ์​ และ​สัจจะได้รู้พฤติกรรม​กับรู้องค์​ธรรม​(ปรมัตถ์)​ที่เป็นสัจจะ​ คือ​ ทนต่อการพิสูจน์​ และ​ เป็นสาธารณะ​แก่บุคคลทั่วๆไป​ ซึ่งแต่ละประเภทของปรมัตถ์​ต้องประกอบด้วย

1. บอกลักษณะ​ให้ทราบได้ว่าเป็นปรมัตถ์​นั้นๆ   2. บอกหน้าที่(กิจ)หรือคุณสมบัติ(รส)แห่งปรมัตถ์​นั้นๆได้  3. บอกผลหรืออาการ​ที่ปรากฏ​แห่งปรมัตถ์​นั้นๆได้  4. บอกเหตุใกล้ที่ให้เกิดแห่งปรมัตถ์​นั้นๆได้

ตัวอย่างเช่น  - การรู้ระดับ​ขั้น​พฤติกรรม​กับการรู้​ระดับ​ขั้น​ปรมัตถ์​และสัจจะ​ต่างกัน​ต่างกันเช่นไร ?  ถามว่า ระหว่างเมตตากับขันติ ต่างก็มีมูล คือ อโทสะเหมือนกัน แต่อาการแตกต่างกันเช่นไร ?

ตอบ : เมตตาเป็นความหวังดีเป็นสภาวะ ส่วนขันติ เป็นการยอมรับความจริงเป็นสภาวะ มีลักษณะเฉพาะดังนี้ :-  1. มีการยอมรับความจริงเป็นสภาวะ  2. มีการกำจัดความขัดเคืองใจเป็นกิจ  3. มีการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเป็นผลปรากฏ  4. มีปัญญาที่รู้ความจริงเป็นเหตุใกล้

ดังนั้นที่เราเข้าใจกันว่า โกรธขัดเคืองแล้วอดทนเอาจึงผิดกับตัวสภาวะที่เป็นองค์ธรรมอันมูลเหตุคือ อโทสะ เมื่อจัดเป็นสถานะของศีล เมตตาเป็นปหานศีลคือ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการทุศีล ด้วยอาการที่ทำให้การทุศีลเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น เพราะมีความเมตตาจึงฆ่สัตว์ไม่ได้

ส่วน ขันติ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการทุศีล ด้วยอาการป้องกันการทุศีล เช่น นางปฏาจารา ผู้เป็นธิดาสาวรูปงามของเศรษฐี ชาวกรุงสาวัตถี หนีพิธีวิวาห์ที่มารดาบิดาจัดแจงให้ ไปกับชายคนใช้ซึ่งแอบรักใคร่ชอบพอกันอยู่ ไปอยู่กินเป็นสามีภรรยากัน ประกอบอาชีพทำไรไถนาที่หมู่บ้านอื่นที่คนไม่รู้จักพวกตน ครั้นนางปฏาจาราตั้งครรภ์ นางจึงอ้อนวอนสามีพากลับไปบ้านมารดาบิดาตามธรรมเนียมประเพณีนิยม สามีพยายามบ่ายเบี่ยงผ้ดวันประกันพรุ่งเรื่อยมา ด้วยเกรงว่าหากกลับไปสู่ตระกูลของภรรยาอาจถูกลงโทษอย่างรุนแรง เพราะเหตุนี้เมื่อเมื่อครรภ์แก่นางจึงแอบหนีกลับตามลำพังขณะที่สามีออกไปทำงานนอกบ้าน ครั้นสามีทราบความจริงจากเพื่อนบ้าน ก็รีบติดตามจนพบนางระหว่างทาง อ้อนวอนอย่างไรนางก็ไม่ยอมกลับ พลันก็ได้เกิด กัมมัชวาต คือ ลมเบ่ง สามีจึงพาไปพักใต้ต้นไม้ เมื่อคลอดแล้ว ความจำเป็นที่จะไปบ้านมารดาบิดาก็หมดไปต่างพากันกลับสู่เรือนของตน.  อยู่มาไม่นานนางก็ตั้งครรภ์อีก นางก็แอบหนีกลับไปบ้านมารดาบิดาตามประเพณีนิยมเหมือนเดิมพร้อมกับอุ้มบุตรคนแรกไปด้วย สามีก็ติดตามมาทันเช่นเคย ขณะนั้นฝนตกอย่างหนักลมพายุก็แรงด้วย สามีจึงต้องหาตัดไม้ทำทำซุ้มให้นางคลอด แต่ก็ถูกงูฉกก้ดตาย

นางเศร้าโศกเสียใจมากโอกาสที่จะกลับไป ครองรักเรือนเดิมเป็นอันหมดสิ้นไป พอนางคลอดบุตรคนที่สองแล้ว จึงจูงบุตรคนโตอุ้มบุตรคนเล็กมุ่งกลับสู่เรือนมารดาบิตาของตน ระหว่างทาง ขณะข้ามแม่น้ำใหญ่ นางต้องอุ้มบุตรคนเล็กไปวางไว้ฝั่งข้างหน้าก่อน เสร็จแล้วจึงจะย้อนกลับมาอุ้มบุตรคนโตภายหลัง ขณะย้อนกลับมากลางแม่น้ำเหยี่ยวก็โฉบคาบเอาลูกคนเล็กของเธอไป นางตกใจหวังจะไล่เหยี่ยว นางจึงโบกไม้โบกมือพร้อมส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก ฝ่ายบุตรคนโตก็สำคัญว่ามารดาเรียกตน เพราะความไร้เดียงสา จึงกระโจนส่งสู่แม่น้ำทันที กระแสน้ำที่เชี่ยวกรากก็พัดพาหายลับไปทันที เพราะเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจเกิดติดๆกันนางก็เริ่มเบลอร้องให้คร่ำครวญไปว่า ”สามีของเราก็มาตายระหว่างทาง บุตรคนเล็กก็ถูกเหยี่ยวโฉบไป บุตรคนโตก็ถูกน้ำพัดไป” นางบ่นเพ้อเช่นนี้แล้วๆเล่าๆ จนมาถึงเมื่องสาวัตถี พอเขาบอกว่า มารดาบิดาพร้อมทั้งพีชายของนาง ถูกเรือนพังทับตาย เพราะฟ้าที่ผ่าลงมาเมื่อคืนตอนฝนตกหนัก เวลานี้ร่างของคนทั้งสามกำลังถูกเผาอยู่เชิงตะกอน เพียงแค่นี้เท่านั้น นางก็เสียสติเพราะยอมรับความจริงที่กระหน่ำซ้ำเติมเธอไม่ไหว หมดสติล้มทั้งยืน พอฟื้นขึ้นมาก็เป็นบ้าเลย.  ขันติธรรมจึงมีประโยชน์และลักษณะดังได้กล่าวมาแล้วแล นางซัดเซเร่รอนเป็นคนบ้าไปจนถึงพระเชตวันมหาวิหารซึ่งในเวลานั้น

พระบรมศาสดาประทับแสดงธรรมอยู่ พระบรมศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นทางเดินมาแต่ไกล ก็ทรงดำริอยู่ในพระทัยว่า "หญิงนี้ ยกเว้นเราเสียแล้ว ก็ไม่มีใครอี่นที่สามารถจะเป็นที่พึ่งได้” จึงทรงกระทำโดยประการที่นางปฏาจารานั้นจะเดินมุ่งหน้าตรงมาวิหารด้วยพุทธานุภาพ ชาวบริษัทที่นั่งฟ้งธรรมอยู่ เห็นนางเดินเข้ามา ก็ร้องบอกกันว่า "พระบรมศาสดากำลังแสดงธรรมอย่าให้หญิงบ้านี้เข้ามานะ” พระบรมศาสดารับสังว่า “พวกท่านจงเปิดทางให้นาง อย่าได้ห้ามนางเลย” เมื่อนางเข้ามายืนอยู่ใกล้ เบื้องพระพักตร์แล้ว ก็ทรงตรัสปลอบประโลมด้วยพระมหากรุณาธิคุณว่า  “เธอจงได้สติกลับคืนเถิด น้องหญิง” นางปฏาจาราอาศัยพุทธานุภาพ ได้ยินพระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงหรหมที่ทรงเปล่งด้วยพระมหา กรุณาธิคุณนั้น ก็ได้สติกลับคืนมาในขณะนั้นนั่นเอง พอได้สติแล้ว ก็รู้ว่าตนไร้เสื้อผ้า เกิดความละอาย ก็ทรุดต้วลงนั่งยองๆ บุรุษท่านหนึ่งเปลื้องผ้าห่มโยนมาให้ นางนุ่งห่มผ้านั้นแล้วก็เข้าไปถวายบังคมทูล

พระบรมศาสดาถึงเรื่องราวที่พ่านมา พร้อมกับขอให้พระองค์เป็นที่พึงแก่นางด้วย พระบรมศาสดาทรงตรัสปลอบนางเพื่อให้คลายความเศร้าโศกเสียใจ จิตใจจักยอมรับความจริงได้หนักแน่นขึ้น ด้วยพรมหากรุณาธิคุณว่า "ดูก่อน ปฏาจารา เธออย่าได้คิดมากไปเลย เธอได้มาสู่สำนักของเราผู้สามารถเป็นที่พึ่งของเธอได้แน่นอน ก็ในส้งสารวัฏอันยาวนานนี้ น้ำตาของเธอที่ร้องให้ ในเวลาบุตรเป็นต้นตายไปดุจในบัดนี้นั้น มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 รวมกันเสียอีก” เมื่ทรงทราบว่า นางมีขันติธรรมเข้มแข็งสามารถรับรู้ความจริงได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็แสดงธรรมโปรดนาง ด้วยพระคาถาว่า  "น  สนฺติ  ปุตตา  ตาณาย” เป็นต้น จบพระธรรมเทศนานางก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน นี่คือขันติธรรมตามสภาวะที่เป็นลักษณะเฉพาะ หาใช่ตามที่เข้าใจกันไม่ จักเป็นไปได้เช่นไร ก็ในเมื่อตัวสภาวะที่เป็นองค์ธรรมก็ผิดอย่างเห็นประจักษ์ ต่อไปจะหาโอกาสสำทับสภาวะดังกล่าวด้วยการนำเสนอพระพุทธ​พจน์ที่เป็นขันติบารมีชัดๆเพิ่มให้เพื่อนสหธรรมิคได้เข้าใจยิ่งขึ้นครับ

จะเห็นได้ว่าการรู้เพียงพฤติกรรม​ไม่เป็นปรมัตถ์​และสัจจะ​ เพราะไม่มีข้อที่ทนต่อการพิสูจน์​ที่ชัดเจน(ปรมัตถ์)​ และข้อที่เป็น.  สาธารณะ​แก่บุคคลทั่วๆไปที่ชัดเจน​(สัจจะ)​ เหตุเพราะไม่มีองค์ประกอบทั้ง​ 4​ กำกับนั้นเอง(สาระการรู้ระดับขั้นพฤติกรรม​กับการรู้ระดับขั้น ปรมัตถ์​และสัจจะ​ต่างกันเช่นไร ? จากคัมภีร์​นิสสยะ​ อักษร​ปัลลวะ, อักษร​สิงหล)

ที่มา : http://dhamma.serichon.us


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: