วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม

เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม

“ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้  เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด

กรรมที่ถูกโลภะโทสะโมหะครอบงำ เกิดจากโลภะโทสะโมหะ มีโลภะโทสะโมหะเป็นเหตุ และมีโลภะโทสะโมหะเป็นแดนเกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล” ดังนี้เป็นอาทิ ฯ

๑.โลภะ คือความโลภที่มีความอยากได้และความละโมบเป็นต้นเหตุ

๒.โทสะ คือความโกรธที่มีความดุร้ายและความประทุษร้ายเป็นต้นเหตุ

๓.โมหะ คือความหลงที่มีความหลงและความงมงายเป็นต้นเหตุ

อกุศลกรรมที่บุคคลทำแล้วด้วยโลภจิต หรือกรรมที่บุคคลผู้ถูกความโลภครอบงำจนเกิดละโมบแล้วทำลงไป ชื่อว่ากรรมที่เกิดจากความโลภ แม้ในอกุศลกรรมที่ทำด้วยโทสจิตและโมหจิตก็เช่นเดียวกัน

สาระธรรมจากนิทานสูตร ปฐมปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ,  12/5/65

การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกันอามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

“อุโบสถเงินหลังแรกของโลก” วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่

อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ตั้งอยู่บนถนนวัวลาย ย่านทำเครื่องเงินเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างจากแรงพลังศรัทธาของชาวบ้านชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องเงินท้องถิ่น

ตัวอุโบสถสร้างด้วยโลหะเงินและดีบุก ทั้งภายในและภายนอก เป็นอุโบสถทรงล้านนาที่มีความละเอียดงดงามของลวดลาย เป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน “พระพุทธปาฏิหาริย์ หรือ "พระพุทธปาฏิหาริย์”








Previous Post
Next Post

0 comments: