วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

มิตรแท้

อหิเต  ปฎิเสโธ  จ,   หิเตสุ  จ  นิโยชโก;
พฺยสเน  จาปริจฺจาโค,   สงฺเขปํ  มิตฺตลกฺขณํ.

ห้ามจากสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ๑  ชักชวนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑  ไม่ทอดทิ้งในยามเคราะห์ร้าย ๑  นี้เป็นลักษณะมิตรแท้โดยย่อ.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๙๗, มหารหนีติ ๑๔๒, กวิทัปปณนีติ ๒๔๗)

ศัพท์น่ารู้ :

อหิเต (ในสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์เกื่อกูล) อหิต+สฺมา, ในสองคัมภีร์นอกนี้เป็น อหิตา

ปฎิเสโธ (การห้าม, ห้ามปราม, ปฏิเสธ) ปฏิเสธ+สิ

(ด้วย, และ) นิบาต

หิเตสุ (ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ท.) หิต+สุ

นิโยชโก (ผู้ประกอบ, ผู้ชักชวน) นิโยชก+สิ

พฺยสเน (ในความฉิบหาย, เคราะห์ร้าย, โชคร้าย) พฺยสน+สฺมึ

จาปริจฺจาโค ตัดบทเป็น จ+อปริจฺจาโค (ไม่ละทิ้ง, ไม่ทอดทิ้ง, ไม่สลัดทิ้ง) อปริจฺจาค+สิ, จ เป็นนิบาต

สงฺเขปํ (โดยย่อ,​ โดยสังเขป) สงฺเขป+สิ

มิตฺตลกฺขณํ (ลักษณะของมิตร, เครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นเพื่อน) มิตฺต+ลกฺขณ > มิตฺตลกฺขณ+สิ นป. แปลง สิ เป็น อํ แน่นอน ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕)

ลำดับนี้ จะได้นำคาถานี้จากนีติอื่นมาเทียบเคียงไว้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาให้ยิ่งขึ้นไป

ในมหารหนีติ คาถา ๑๔๒ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้

อหิตา  ปฎิเสโธ  จ,  หิเตสุ  จ  ปโยชนํ;

พฺยสเนสฺวปริจฺจาโค,  สงฺเขปา  มิตฺตลกฺขณํ.

ส่วนในกวิทัปปณนีติ คาถา ๒๔๗ มีข้อความในบาทสุดท้าย มีการใช้ศัพท์ต่างกันอีก

อหิตา  ปฎิเสโธ  จ,  หิเตสุ  จ  ปโยชนํ;

พฺยสเน  อปริจฺจาโค,  อิติทํ  มิตฺตลกฺขณํ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ห้ามกันในการที่ไร้ประโยชน์ แลชักจูงในการที่เป็น  ประโยชน์ และไม่ละทิ้งในยามวิบัติ นี้เป็นลักษณะ   ของมิตรโดยย่อ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์  ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์  ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ  นี้เป็นลักษณะของมิตรโดยย่อ.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสระบุรี 



Previous Post
Next Post

0 comments: